ข้ามไปเนื้อหา

สุริยุปราคา 21 สิงหาคม พ.ศ. 2560

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สุริยุปราคา 21 สิงหาคม พ.ศ. 2560
สุริยุปราคาเต็มดวงเมื่อสังเกตจากเมืองแมดราส รัฐออริกอน
แผนที่
ประเภท
ประเภทเต็มดวง
แกมมา0.4367
ความส่องสว่าง1.0306
บดบังมากที่สุด
ระยะเวลา160 วินาที (2 นาที 40 วินาที)
พิกัด37°00′N 87°42′W / 37°N 87.7°W / 37; -87.7
ความกว้างของเงามืด115 กิโลเมตร
เวลา (UTC)
(P1) เริ่มอุปราคาบางส่วน15:46:48
(U1) เริ่มอุปราคาเงามืด16:48:32
บดบังมากที่สุด18:26:40
(U4) สิ้นสุดอุปราคาเงามืด20:01:35
(P4) สิ้นสุดอุปราคาบางส่วน21:04:19
แหล่งอ้างอิง
แซรอส145 (22 จาก 77)
บัญชี # (SE5000)9546

สุริยุปราคาเต็มดวง เกิดขึ้นในวันจันทร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2560 สุริยุปราคาเกิดขึ้นเมื่อดวงจันทร์ โคจรผ่านระหว่างโลกและดวงอาทิตย์ โดยวิธีนั้นจะเห็นสุริยุปราคาแบบเต็มดวงและแบบบางส่วนเมื่อมองจากโลก สุริยุปราคาเต็มดวงเกิดขึ้นเมื่อขนาดเชิงมุมของดวงจันทร์ มีขนาดใหญ่กว่าดวงอาทิตย์ โดยจะบดบังแสงโดยตรงทั้งหมดจากดวงอาทิตย์ ทำให้เวลากลางวันเข้าสู่ความมืด สุริยุปราคาแบบเต็มดวงเกิดขึ้นในแนวแคบผ่านบนพื้นผิวโลก และสุริยุปราคาบางส่วนสามารถมองเห็นได้เหนือบริเวณรอบ ๆ ภูมิภาคนั้นกว้างหลายพันกิโลเมตร

อุปราคาครั้งนี้เป็นครั้งที่ 22 จาก 77 ครั้งของแซรอสดวงอาทิตย์ที่ 145 โดยครั้งก่อนหน้าคือ สุริยุปราคา 11 สิงหาคม พ.ศ. 2542 ซึ่งสมาชิกของชุดนี้มีระยะเวลาเพิ่มขึ้น โดยอุปราคาที่นานที่สุดของชุดนี้จะเกิดขึ้นในวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 3065 และมีเวลาคราส 7 นาที 12 วินาที

สภาพมองเห็นได้

[แก้]
ภาพเคลื่อนไหวของเงาในเหตุการณ์สุริยุปราคาสิงหาคม 2560 โดยคราสเต็มดวงปรากฏเป็นจุดสีดำเล็ก ๆ ท่ามกลางวงกลมสีเทาขนาดใหญ่

สุริยุปราคาเต็มดวงครั้งนี้มีแมกนิจูดที่ 1.0306 และจะมองเห็นได้เป็นระยะ 110 กม. ผ่านรัฐจำนวนสิบสี่รัฐของสหรัฐอเมริกา ได้แก่ รัฐออริกอน รัฐไอดาโฮ รัฐไวโอมิง รัฐมอนแทนา รัฐไอโอวา รัฐแคนซัส รัฐเนแบรสกา รัฐมิสซูรี รัฐอิลลินอย รัฐเคนทักกี รัฐเทนเนสซี รัฐจอร์เจีย รัฐนอร์ทแคโรไลนา และรัฐเซาท์แคโรไลนา[1][2] โดยมองเห็นจากแผ่นดินครั้งแรกหลังจากเวลา 10:15 PDT (17:15 UTC) เพียงไม่นานที่ชายฝั่งแปซิฟิกของรัฐออริกอน จากนั้นคราสจะเคลื่อนตัวไปทางตะวันออกผ่านเมืองเซเล็ม รัฐออริกอน เมืองแคสเปอร์ รัฐไวโอมิง เมืองลิงคอล์น รัฐเนแบรสกา เมืองแคนซัสซิตี รัฐมิสซูรี เมืองเซนต์หลุยส์ รัฐมิสซูรี เมืองโฮปคินส์วิลล์ รัฐเคนทักกี เมืองแนชวิลล์ รัฐเทนเนสซี เมืองโคลัมเบีย รัฐเซาท์แคโรไลนา และสุดท้ายที่เมืองชาร์เลสตัน รัฐเซาท์แคโรไลนา (คราส)

คราสบดบังลึกที่สุดครั้งนี้กินระยะเวลา 2 นาที 41.6 วินาทีที่ 37°35′0″N 89°7′0″W / 37.58333°N 89.11667°W / 37.58333; -89.11667 ในอุทยานแห่งรัฐไจแอนท์ซิตี ทางใต้ของเมืองคาร์บอนเดล รัฐอิลลินอย และเงาคราสมีขนาดใหญ่ที่สุดที่ 36°58′0″N 87°40′18″W / 36.96667°N 87.67167°W / 36.96667; -87.67167 ใกล้กับหมู่บ้านของเซรูเลียน รัฐเคนทักกี อยู่ระหว่างเมืองโฮปคินส์วิลล์ และพรินซ์ตัน[3] นับเป็นสุริยุปราคาเต็มดวงครั้งแรกที่มองเห็นได้จากสหรัฐอเมริกาตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่สุริยุปราคาเต็มดวง 7 มีนาคม พ.ศ. 2513 ซึ่งมองเห็นได้แต่ที่รัฐฟลอริดา

ส่วนสุริยุปราคาบางส่วนจะมองเห็นได้กว้างกว่าโดยเส้นทางเงามัวของดวงจันทร์ ซึ่งจะมองเห็นได้ในทวีปอเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ตอนเหนือ ยุโรปตะวันตก และทวีปแอฟริกา

ระเบียงภาพ

[แก้]

อุปราคาที่เกี่ยวข้อง

[แก้]

สุริยุปราคา พ.ศ. 2558–2561

[แก้]

อุปราคานี้เป็นสมาชิกของชุดเทอม โดยอุปราคาในชุดเทอมของสุริยุปราคาจะวนซ้ำโดยประมาณทุก ๆ 177 วัน 4 ชั่วโมง (เทอม) ที่การสลับโหนดของวงโคจรดวงจันทร์[4]

แซรอสที่ 145

[แก้]

อุปราคาครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของวงรอบแซรอสที่ 145 ซึ่งวนซ้ำทุก ๆ 18 ปี 11 วัน 8 ชั่วโมง ประกอบด้วย 77 เหตุการณ์ โดยชุดนี้เริ่มต้นจากสุริยุปราคาบางส่วนในวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2182 (ค.ศ. 1639) จากนั้นเป็นสุริยุปราคาวงแหวนเริ่มตั้งแต่วันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2434 (ค.ศ. 1891) จากนั้นเป็นสุริยุปราคาผสมในวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2452 (ค.ศ. 1909) จากนั้นเป็นสุริยุปราคาเต็มดวงเริ่มตั้งแต่วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2470 (ค.ศ. 1927) จนถึงวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 3191 (ค.ศ. 2648) และชุดแซรอสนี้จบลงในสุริยุปราคาบางส่วนวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 3552 (ค.ศ. 3009) คราสเต็มดวงนานที่สุดของแซรอสนี้อยู่ในวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 3065 (ค.ศ. 2522) ด้วยเวลา 7 นาที 12 วินาที[5]


อ้างอิง

[แก้]
  1. "Eclipse: Who? What? Where? When? and How?", NASA.
  2. "Voyages of Discovery: 2017 Total Solar Eclipse". Voyages of Discovery. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-30. สืบค้นเมื่อ 2017-07-30.
  3. "2017 August 21 Total Solar Eclipse". USNO. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-12. สืบค้นเมื่อ 25 April 2014.
  4. van Gent, R.H. "Solar- and Lunar-Eclipse Predictions from Antiquity to the Present". A Catalogue of Eclipse Cycles. Utrecht University. สืบค้นเมื่อ 6 October 2018.
  5. Espenak, Fred (September 26, 2009). "Statistics for Solar Eclipses of Saros 145". NASA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 30, 2009.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
สุริยุปราคา
สุริยุปราคาครั้งก่อนหน้า:
26 กุมภาพันธ์ 2560
(สุริยุปราคาวงแหวน สุริยุปราคาวงแหวน)

สุริยุปราคา 21 สิงหาคม พ.ศ. 2560
สุริยุปราคาครั้งถัดไป:
15 กุมภาพันธ์ 2561
(สุริยุปราคาบางส่วน สุริยุปราคาบางส่วน)
สุริยุปราคาเต็มดวงครั้งก่อนหน้า:
9 มีนาคม 2559
สุริยุปราคาเต็มดวง
สุริยุปราคาเต็มดวง
สุริยุปราคาเต็มดวงครั้งถัดไป:
2 กรกฎาคม 2562