สุริยุปราคา 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2258
สุริยุปราคา 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2258 | |
---|---|
ประเภท | |
ประเภท | เต็มดวง |
แกมมา | 0.7112 |
ความส่องสว่าง | 1.0632 |
บดบังมากที่สุด | |
ระยะเวลา | 254 วินาที (4 นาที 14 วินาที) |
พิกัด | 59°24′N 17°54′E / 59.4°N 17.9°E |
ความกว้างของเงามืด | 295 กิโลเมตร |
เวลา (UTC) | |
บดบังมากที่สุด | 09:36:30 |
แหล่งอ้างอิง | |
แซรอส | 114 (60 จาก 72) |
บัญชี # (SE5000) | 8826 |
สุริยุปราคาเต็มดวงเกิดขึ้นในวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2258 สุริยุปราคาครั้งนี้รู้จักกันในชื่อ สุริยุปราคาของแฮลลีย์ (Halley's Eclipse) หลังจากที่เอ็ดมันด์ แฮลลีย์ (2199–2285) ได้พยากรณ์อุปราคาครั้งนี้ไว้ด้วยความแม่นยำ 4 นาที แฮลลีย์สังเกตการณ์อุปราคาครั้งนี้จากลอนดอน ซึ่งลอนดอนนั้นได้เห็นอุปราคาเต็มดวงครั้งนี้เป็นเวลา 3 นาที 33 วินาที เขายังได้วาดแผนที่พยากรณ์คราสเต็มดวงบนเกาะอังกฤษขึ้นด้วย หลังจากอุปราคาครั้งนี้ เขาได้ปรับแก้แนวเส้นทางให้ถูกต้อง และได้เพิ่มแนวคราสและอธิบายสุริยุปราคา 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2267อีกด้วย[1]
ตารางดวงจันทร์ถูกวาดขึ้นโดยนักดาราศาสตร์หลวงคนแรก คือ จอห์น เฟลมสตีด และวิลเลียม วิสตันได้ผลิตแผนที่อุปราคาเชิงเทคนิคมากขึ้นในเวลาเดียวกันกับแฮลลีย์ ทั้งแผนที่ของแฮลลีย์และวิสตันนั้นถูกตีพิมพ์โดยจอห์น เซเนกซ์ ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2258
คราสเต็มดวงสามารถสังเกตได้ในเกาะอังกฤษ จากคอร์นวอลล์ในทางใต้-ตะวันตก ไปถึงลิงคอล์นเชอร์และนอร์ฟอล์กทางตะวันออกของเกาะ นอกจากนี้ยังเห็นได้ในไอร์แลนด์ ซึ่งมีหมู่ชนจำนวนมากไปรวมตัวเพื่อดูปรากฏการณ์นี้ ซึ่งอากาศในดับลินนั้นหนาวและชื้นเป็นพิเศษ และผู้พิพากษาโจเซฟ ดีนที่มีชื่อเสียงได้ถึงแก่ความตายจากความหนาวเหน็บเนื่องจากการสังเกตอุปราคาครั้งนี้[ต้องการอ้างอิง]
บริเตนใหญ่นั้นไม่ได้นำปฏิทินเกรกอเรียนมาใช้จนถึง พ.ศ. 2295 ทำให้ขณะเกิดอุปราคาครั้งนี้ถูกพิจารณาว่าเกิดขึ้นในวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2258 ในเวลานั้น
|
อุปราคาที่เกี่ยวข้อง
[แก้]สุริยุปราคาครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของแซรอสดวงอาทิตย์ที่ 114
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Westfall, John; Sheehan, William (2014). Celestial Shadows: Eclipses, Transits, and Occultations. Springer. p. 115. ISBN 978-1-4939-1535-4.
- แผนภาพกราฟิกโดยนาซา (อังกฤษ)
- แผนที่กูเกิล (อังกฤษ)
- เบสเซเลียนเอลีเมนท์ (อังกฤษ)
สุริยุปราคา | ||||
---|---|---|---|---|
สุริยุปราคาครั้งก่อนหน้า: 7 ธันวาคม 2257 ( สุริยุปราคาบางส่วน) |
สุริยุปราคา 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2258 | สุริยุปราคาครั้งถัดไป: 27 ตุลาคม 2258 ( สุริยุปราคาวงแหวน) | ||
สุริยุปราคาเต็มดวงครั้งก่อนหน้า: 28 ธันวาคม 2255 |
สุริยุปราคาเต็มดวง |
สุริยุปราคาเต็มดวงครั้งถัดไป: 22 เมษายน 2259 |