สุริยุปราคา 23 ตุลาคม พ.ศ. 2557
หน้าตา
สุริยุปราคา 23 ตุลาคม พ.ศ. 2557 | |
---|---|
ประเภท | |
ประเภท | บางส่วน |
แกมมา | 1.0908 |
ความส่องสว่าง | 0.8114 |
บดบังมากที่สุด | |
พิกัด | 71°12′N 97°12′W / 71.2°N 97.2°W |
เวลา (UTC) | |
(P1) เริ่มอุปราคาบางส่วน | 19:37:33 |
บดบังมากที่สุด | 21:44:31 |
(P4) สิ้นสุดอุปราคาบางส่วน | 23:51:40 |
แหล่งอ้างอิง | |
แซรอส | 153 (9 จาก 70) |
บัญชี # (SE5000) | 9540 |
สุริยุปราคาบางส่วนเกิดขึ้นในวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2557 สุริยุปราคาเกิดขึ้นเมื่อดวงจันทร์ โคจรผ่านระหว่างโลกและดวงอาทิตย์ โดยวิธีนั้นจะเห็นสุริยุปราคาแบบเต็มดวงและแบบบางส่วนเมื่อมองจากโลก สุริยุปราคาบางส่วนเกิดขึ้นในภูมิภาคขั้วโลก เมื่อศูนย์กลางเงาของดวงจันทร์นั้นพลาดหรือไม่ได้ทอดลงมาบนโลก
การมองเห็น
[แก้]ศูนย์กลางเงาของดวงจันทร์พลาดหรือไม่ได้ทอดลงบนโลก โดยศูนย์กลางเงาผ่านอยู่เหนือขั้วโลกเหนือ แต่สุริยุปราคาบางส่วนสามารถมองเห็นได้ขณะดวงอาทิตย์ขึ้น (วันที่ 24 ตุลาคม ตามเวลาท้องถิ่น) ในตะวันออกไกลของรัสเซียและญี่ปุ่น และขณะดวงอาทิตย์ตก (วันที่ 23 ตุลาคม) ผ่านส่วนใหญ่ของทวีปอเมริกาเหนือ
ภาพเคลื่อนไหวแนวเส้นทาง |
ระเบียงภาพ
[แก้]-
มินนีแอโพลิส, รัฐมินนิโซตา เวลา 21:34 UTC อุปราคาเกิดขึ้นในเวลาใกล้เคียงกับจุดมืดดวงอาทิตย์ขนาดยักษ์ภูมิภาค 2192 ซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดใน 24 ปี[1]
-
มินนีแอโพลิส, รัฐมินนิโซตา เวลา 22:35:23 UTC มุมกว้าง 30 นาทีก่อนดวงอาทิตย์ตก
-
มินนีแอโพลิส, รัฐมินนิโซตา เวลา 22:36 UTC ขณะคราสบดบังลึกที่สุด
-
มินนีแอโพลิส, รัฐมินนิโซตา เวลา 22:54:12 UTC 11 นาทีก่อนดวงอาทิตย์ตก
-
สุริยุปราคาบางส่วน ในคอรอลวิลล์, รัฐไอโอวา เวลา 22:55:58 UTC
-
ภาพประกอบสุริยุปราคาจากมินนีแอโพลิส, รัฐมินนิโซตา
อ้างอิง
[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ สุริยุปราคา 23 ตุลาคม พ.ศ. 2557