สุริยุปราคา 8 เมษายน พ.ศ. 2195
สุริยุปราคา 8 เมษายน พ.ศ. 2195 | |
---|---|
ประเภท | |
ประเภท | เต็มดวง |
แกมมา | 0.7713 |
ความส่องสว่าง | 1.0412 |
บดบังมากที่สุด | |
ระยะเวลา | 169 วินาที (2 นาที 49 วินาที) |
พิกัด | 49°36′N 8°54′W / 49.6°N 8.9°W |
ความกว้างของเงามืด | 213 กิโลเมตร |
เวลา (UTC) | |
บดบังมากที่สุด | 10:22:28 |
แหล่งอ้างอิง | |
แซรอส | 133 (25 จาก 72) |
บัญชี # (SE5000) | 8666 |
สุริยุปราคาเต็มดวงเกิดขึ้นในวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2195 สุริยุปราคาเกิดขึ้นเมื่อดวงจันทร์ โคจรผ่านระหว่างโลกและดวงอาทิตย์ โดยวิธีนั้นจะเห็นสุริยุปราคาแบบเต็มดวงและแบบบางส่วนเมื่อมองจากโลก สุริยุปราคาเต็มดวงเกิดขึ้นเมื่อขนาดเชิงมุมของดวงจันทร์ มีขนาดใหญ่กว่าดวงอาทิตย์ โดยจะบดบังแสงโดยตรงทั้งหมดจากดวงอาทิตย์ ทำให้เวลากลางวันเข้าสู่ความมืด สุริยุปราคาแบบเต็มดวงเกิดขึ้นในแนวแคบผ่านบนพื้นผิวโลก และสุริยุปราคาบางส่วนสามารถมองเห็นได้เหนือบริเวณรอบ ๆ ภูมิภาคนั้นกว้างหลายพันกิโลเมตร
ในแหล่งข้อมูลร่วมสมัยของบริติช วันที่ของสุริยุปราคาถูกบันทึกไว้ในรายการว่าเป็นวันที่ 29 มีนาคม ค.ศ. 1652 ตามวันที่แบบเก่าของเกรทบริเตน ซึ่งยังไม่ได้รับเอาปฏิทินเกรโกเรียนมาใช้ในเวลานั้น[1][2] นักเขียนในศตวรรษที่ 19 ได้ปรับวันที่ไปเป็นวันที่ 24 มีนาคม ค.ศ. 1652 เพื่อให้ตรงกับวันจันทร์[3] แนวของคราสพาดผ่านสหราชอาณาจักร และชายฝั่งด้านตะวันตกของประเทศนอร์เวย์
การสังเกต
[แก้]ดร.จอห์น เวเบิร์ตได้สังเกตสุริยคราสครั้งนี้จากเมืองแคริกเฟอร์กัสบนเกาะไอร์แลนด์ โดยบันทึกข้อความไว้เป็นภาษาละตินว่า:
- "Luna momento quasi, et eximproviso, totam se intra Disci Solis orbitam seu ambitum (quatenus conspectui nostro appareret) tam agiliter injiciebat; ut circumagere aut circumvolutare videretur, sicut catillus, seu lapis molaris superior; Sole tunc circum-circa, ejus limbum seu marginem splendidulo vel corusco, apparente.”
- "ราวกับว่าในขณะนั้นและไม่คาดฝันดวงจันทร์ โยนตัวเองอย่างเหลือเชื่อระหว่างเส้นทางหรือการโคจรรอบแผ่นจานดวงอาทิตย์ (ในขณะที่มันปรากฏต่อหน้ามัน) มันดูเหมือนเคลื่อนเป็นวงกลมหรือม้วนไปรอบ ๆ ประหนึ่งจานหรือโม่หินด้านบน โดยดวงอาทิตย์เรืองแสงหรือส่องแสงระยิบระยับรอบ ๆ ขอบของมัน"
เนื่องจากอุปราคาครั้งนี้เกิดขึ้นในวันจันทร์ ทำให้วันนั้นกลายเป็นที่รู้จักในฐานะวันจันทร์มืด[4]
อุปราคาที่เกี่ยวข้อง
[แก้]สุริยุปราคาครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของแซรอสดวงอาทิตย์ที่ 133
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Thulesius, Olav (1992). Nicholas Culpeper English Physician and Astrologer. New York: St. Martin's Press. p. 125. ISBN 978-0-230-37153-8. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-26. สืบค้นเมื่อ July 20, 2017.
- ↑ Simpson, J.A.; Weiner, E.S.C. (1989). The Oxford English Dictionary. Oxford: Clarendon Press. p. 111. ISBN 0198612222.
- ↑ Barrington, D. (June 1818). "The Possibility of approaching the North Pole Asserted". The Edinburgh Review. 30 (59): 29. สืบค้นเมื่อ 19 July 2017.
- ↑ Mairi Robinson (editor)Concise Scottish Dictionary, (1985), "mirk", p.416.
- แผนภาพกราฟิกโดยนาซา (อังกฤษ)
- แผนที่กูเกิล (อังกฤษ)
- เบสเซเลียนเอลีเมนท์ (อังกฤษ)
สุริยุปราคา | ||||
---|---|---|---|---|
สุริยุปราคาครั้งก่อนหน้า: 14 ตุลาคม 2194 ( สุริยุปราคาวงแหวน) |
สุริยุปราคา 8 เมษายน พ.ศ. 2195 | สุริยุปราคาครั้งถัดไป: 2 ตุลาคม 2195 ( สุริยุปราคาวงแหวน) | ||
สุริยุปราคาเต็มดวงครั้งก่อนหน้า: 25 ตุลาคม 2193 |
สุริยุปราคาเต็มดวง |
สุริยุปราคาเต็มดวงครั้งถัดไป: 12 สิงหาคม 2197 |