ข้ามไปเนื้อหา

สุริยุปราคา 21 สิงหาคม พ.ศ. 2103

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สุริยุปราคา 21 สิงหาคม พ.ศ. 2103
แผนที่
ประเภท
ประเภทเต็มดวง
แกมมา0.4050
ความส่องสว่าง1.0469
บดบังมากที่สุด
ระยะเวลา225 วินาที (3 นาที 45 วินาที)
พิกัด29°42′N 5°18′E / 29.7°N 5.3°E / 29.7; 5.3
ความกว้างของเงามืด170 กิโลเมตร
เวลา (UTC)
(P1) เริ่มอุปราคาบางส่วน21:47:45
(U1) เริ่มอุปราคาเงามืด22:46:08
(U2) เริ่มอุปราคาศูนย์กลาง22:47:37
บดบังมากที่สุด12:30:55
(U3) สิ้นสุดอุปราคาศูนย์กลาง01:55:18
(U4) สิ้นสุดอุปราคาเงามืด01:56:49
(P4) สิ้นสุดอุปราคาบางส่วน02:55:08
แหล่งอ้างอิง
แซรอส118 (43 จาก 72)
บัญชี # (SE5000)8451

สุริยุปราคาเต็มดวงเกิดขึ้นในวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2103 สุริยุปราคาเกิดขึ้นเมื่อดวงจันทร์ โคจรผ่านระหว่างโลกและดวงอาทิตย์ โดยวิธีนั้นจะเห็นสุริยุปราคาแบบเต็มดวงและแบบบางส่วนเมื่อมองจากโลก สุริยุปราคาเต็มดวงเกิดขึ้นเมื่อขนาดเชิงมุมของดวงจันทร์ มีขนาดใหญ่กว่าดวงอาทิตย์ โดยจะบดบังแสงโดยตรงทั้งหมดจากดวงอาทิตย์ ทำให้เวลากลางวันเข้าสู่ความมืด สุริยุปราคาแบบเต็มดวงเกิดขึ้นในแนวแคบผ่านบนพื้นผิวโลก และสุริยุปราคาบางส่วนสามารถมองเห็นได้เหนือบริเวณรอบ ๆ ภูมิภาคนั้นกว้างหลายพันกิโลเมตร

การสังเกต

[แก้]

การพยากรณ์สุริยุปราคาครั้งนี้เป็นแรงบันดาลใจให้ทือโก ปราเออ (ค.ศ. 1546–1601) สนใจในดาราศาสตร์ตอนอายุ 13 ปี

คริสโตเฟอร์ คลาวีอุส

การประกาศการมาถึงของสุริยคราสครั้งนี้ในฝรั่งเศส ทำให้ชาวฝรั่งเศสจำนวนมากตกอยู่ในความหวั่นวิตก และต่อสู้กันเพื่อให้ได้อยู่ในแถวที่ห้องสารภาพผิด นักบวชในปารีสซึ่งตกอยู่ในความยุ่งยากลำบากพยายามที่จะสงบสติอารมณ์ของประชาชน โดยประกาศว่า เนื่องจากผู้คนจำนวนมากมารอเพื่อที่จะสารภาพผิด จึงตัดสินใจเลื่อนการเกิดสุริยคราสไปอีกสองสัปดาห์[1]

คริสโตเฟอร์ คลาวีอุส ได้บันทึกไว้ใน Sphaeram Ioannis de Sacro Bosco Commentarius ซึ่งถูกตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1593 ว่า "ข้าพเจ้าจะขอกล่าวถึงคราสแห่งดวงอาทิตย์อันน่าประหลาดสองครั้ง ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้เอง ครั้งหนึ่งข้าพเจ้าสังเกตมันในช่วงกลางวันที่กูอิงบราในลูซิตาเนีย (โปรตุเกส) เมื่อปี 1559 [sic] โดยที่ดวงจันทร์อยู่ระหว่างสายตาของข้าพเจ้าและดวงอาทิตย์ ผลที่ตามมาคือมันบดบังดวงอาทิตย์ทั้งดวงเป็นระยะเวลานาน มันมืดจนบางวิถีทางนั้นยิ่งกว่าราตรีเสียอีก ไม่มีใครก้าวเท้าเดินไปไหน ดวงดาวปรากฏบนท้องฟ้า (น่าประหลาดที่ได้แลดูนัก) นกบินลงมาจากบนท้องฟ้าสู่พื้นดินด้วยความหวาดกลัวต่อความน่าสยดสยองของความมืดมิด"[2]

อุปราคาที่เกี่ยวข้อง

[แก้]

สุริยุปราคาครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของแซรอสดวงอาทิตย์ที่ 118

อ้างอิง

[แก้]
สุริยุปราคา
สุริยุปราคาครั้งก่อนหน้า:
26 กุมภาพันธ์ 2103
(สุริยุปราคาวงแหวน สุริยุปราคาวงแหวน)
สุริยุปราคา 21 สิงหาคม พ.ศ. 2103 สุริยุปราคาครั้งถัดไป:
14 กุมภาพันธ์ 2104
(สุริยุปราคาวงแหวน สุริยุปราคาวงแหวน)
สุริยุปราคาเต็มดวงครั้งก่อนหน้า:
18 เมษายน 2101
สุริยุปราคาเต็มดวง
สุริยุปราคาเต็มดวง
สุริยุปราคาเต็มดวงครั้งถัดไป:
3 กุมภาพันธ์ 2105