ข้ามไปเนื้อหา

ความส่องสว่างของอุปราคา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


ความส่องสว่างของอุปราคา คือ เศษส่วนของเส้นผ่านศูนย์กลางของตัวคราส ทั้งสุริยุปราคาและจันทรุปราคา ระหว่างอุปราคาบางส่วนและวงแหวน ค่าความส่องสว่างของอุปราคาจะอยู่ระหว่าง 0.0 ถึง 1.0 ขณะที่ระหว่างอุปราคาเต็มดวง ค่าความส่องสว่างจะอยู่ที่อย่างน้อยที่สุด 1.0 เสมอ

การวัดนี้ไม่ควรสับสนกับการคลุมเครือของอุปราคา สิ่งนี้คือเศษส่วนของตัวอุปราคาถูกบดบังโดยตัวคราส ในทางตรงกันข้ามความส่องสว่างของอุปราคา คือ อัตราของเส้นผ่าศูนย์กลางอย่างแท้จริง

ผลของความส่องสว่างบนสุริยุปราคา

[แก้]
แต่ละสัญรูปแสดงมุมมองจากศูนย์กลางของจุดดำ แสดงถึงดวงจันทร์ (ไม่ตามสเกล)

ในสุริยุปราคา ความส่องสว่างของอุปราคา คือ อัตราส่วนระหว่างขนาดเชิงมุมปรากฏของดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์ ในระหว่างเกิดอุปราคา เป็นผลให้อัตราส่วนมีค่าน้อยกว่า 1.0

ในสุริยุปราคาเต็มดวง ซึ่งเป็นอุปราคาศูนย์กลาง ความส่องสว่างก็เช่นเดียวกัน ค่าอัตราส่วนเส้นผ่าศูนย์กลางปรากฏของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ แต่ครั้งนี้ค่าอัตราส่วนจะมากกว่าหรือเท่ากับ 1.0 ถ้าสุริยุปราคาเต็มดวงไม่เป็นแบบศูนย์กลาง ความส่องสว่างจะอยู่ระหว่าง 1.0 และค่าอัตราส่วนของเส้นผ่านศูนย์กลางปรากฏ

ในสุริยุปราคาบางส่วน ความส่องสว่างของอุปราคา คือ เศษส่วนของเส้นผ่านศูนย์กลางดวงอาทิตย์ถูกบดบังโดยดวงจันทร์ในเวลาสุริยคราสเต็มที่[1] ดวงจันทร์และโลกมีขนาดปรากฏโดยประมาณเท่ากัน แต่ทั้งคู่ก็แปรปรวน เพราะ ระยะห่างระหว่างโลกและดวงจันทร์นั้นแปรปรวน (ระยะห่างระหว่างโลกและดวงอาทิตย์ ก็แปรปรวนแต่มีผลกระทบน้อยมากในการเปรียบเทียบ)

เมื่อความส่องสว่างของอุปราคามากกว่า 1 จานดวงจันทร์จะคลุมจานดวงอาทิตย์ได้อย่างสมบูรณ์ในท้องฟ้า และจะเป็นอุปราคาแบบเต็มดวง เส้นทางของอุปราคาเต็มดวง (นั้นคือ เงาที่เคลื่อนไปของดวงจันทร์ตัดแสงอาทิตย์ไปทั้งหมดจากพื้นผิวโลก) คือ ริ้วแคบสัมพัทธ์ (Relatively narrow strip) ที่เคลื่อนผ่านหลายร้อยกิโลเมตร

เมื่อความส่องสว่างของอุปราคาน้อยกว่า 1 จานดวงจันทร์จะไม่สามารถคลุมจานดวงอาทิตย์ได้อย่างสมบูรณ์ เมื่อศูนย์กลางของทั้งสองจานอยู่ในแนวเดียวกันอย่างเพียงพอ จะมีวงแหวนของแสงดวงอาทิตย์มองเห็นได้รอบดวงอาทิตย์ นี้คืออุปราคาแบบวงแหวน ในภาษาอังกฤษคำว่า annular มาจากภาษาลาติน หมายความว่า "วงแหวน"[2]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Glossary of Solar Eclipse Terms". NASA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-07-27. สืบค้นเมื่อ 2009-07-27.
  2. Erickson, Robbi (2008). "Happy Living Magazine - Solar eclipse viewing schedule and information". Happy Living Magazine. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-09. สืบค้นเมื่อ 2009-07-27.