สุริยุปราคา 23 สิงหาคม พ.ศ. 2587
สุริยุปราคา 23 สิงหาคม พ.ศ. 2587 | |
---|---|
ประเภท | |
ประเภท | เต็มดวง |
แกมมา | 0.9612 |
ความส่องสว่าง | 1.0365 |
บดบังมากที่สุด | |
ระยะเวลา | 124 วินาที (2 นาที 4 วินาที) |
พิกัด | 64°18′N 120°24′W / 64.3°N 120.4°W |
ความกว้างของเงามืด | 452 กิโลเมตร |
เวลา (UTC) | |
(P1) เริ่มอุปราคาบางส่วน | 23:09:09 |
(U1) เริ่มอุปราคาเงามืด | 00:44:16 |
(U2) เริ่มอุปราคาศูนย์กลาง | 00:50:59 |
บดบังมากที่สุด | 01:15:20 |
(U3) สิ้นสุดอุปราคาศูนย์กลาง | 01:40:14 |
(U4) สิ้นสุดอุปราคาเงามืด | 01:46:52 |
(P4) สิ้นสุดอุปราคาบางส่วน | 03:21:54 |
แหล่งอ้างอิง | |
แซรอส | 126 (49 จาก 72) |
บัญชี # (SE5000) | 9606 |
สุริยุปราคาเต็มดวงจะเกิดขึ้นในวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2587 สุริยุปราคาเกิดขึ้นเมื่อดวงจันทร์ โคจรผ่านระหว่างโลกและดวงอาทิตย์ โดยวิธีนั้นจะเห็นสุริยุปราคาแบบเต็มดวงและแบบบางส่วนเมื่อมองจากโลก สุริยุปราคาเต็มดวงเกิดขึ้นเมื่อขนาดเชิงมุมของดวงจันทร์ มีขนาดใหญ่กว่าดวงอาทิตย์ โดยจะบดบังแสงโดยตรงทั้งหมดจากดวงอาทิตย์ ทำให้เวลากลางวันเข้าสู่ความมืด สุริยุปราคาแบบเต็มดวงเกิดขึ้นในแนวแคบผ่านบนพื้นผิวโลก และสุริยุปราคาบางส่วนสามารถมองเห็นได้เหนือบริเวณรอบ ๆ ภูมิภาคนั้นกว้างหลายพันกิโลเมตร
สุริยุปราคาเต็มดวงมองเห็นได้จากนอร์ทเวสต์เทร์ริทอรีส์ รัฐอัลเบอร์ต้า และส่วนตะวันตกที่สุดของรัฐซัสแคตเชวันในแคนาดา และมองเห็นได้จากรัฐมอนแทนาและบางส่วนของรัฐนอร์ทดาโคตาในสหรัฐ และพื้นท่ีส่วนมากในสหรัฐตะวันตกมองเห็นเป็นสุริยุปราคาบางส่วนในช่วงดวงอาทิตย์ตก
บริเวณที่เห็นคราสบดบังนานที่สุดของอุปราคาครั้งนี้อยู่ในบริเวณห่างจากทะเลสาบเกรตแบร์ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ 97 กม. ในนอร์ทเวสต์เทร์ริทอรีส์[1]
ภาพ
[แก้]อุปราคาที่เกี่ยวข้อง
[แก้]สุริยุปราคา พ.ศ. 2587–2590
[แก้]อุปราคานี้เป็นสมาชิกของชุดเทอม โดยอุปราคาในชุดเทอมของสุริยุปราคาจะวนซ้ำโดยประมาณทุก ๆ 177 วัน 4 ชั่วโมง (เทอม) ที่การสลับโหนดของวงโคจรดวงจันทร์[2]
ชุดอนุกรมสุริยุปราคา ระหว่าง พ.ศ. 2587–2590 | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|
โหนดขึ้น | โหนดลง | |||||
121 | 28 กุมภาพันธ์ 2587 วงแหวน |
126 | 23 สิงหาคม 2587 เต็มดวง | |||
131 | 16 กุมภาพันธ์ 2588 วงแหวน |
136 | 12 สิงหาคม 2588 เต็มดวง | |||
141 | 5 กุมภาพันธ์ 2589 วงแหวน |
146 | 2 สิงหาคม 2589 เต็มดวง | |||
151 | 26 มกราคม 2590 บางส่วน |
156 | 22 กรกฎาคม 2590 บางส่วน | |||
สุริยุปราคาบางส่วนในวันที่ 23 มิถุนายน 2590 และ 16 ธันวาคม 2590 เกิดขึ้นในชุดอุปราคาปีจันทรคติถัดไป |
แซรอส
[แก้]อุปราคาครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของวงรอบแซรอสที่ 126 ซึ่งวนซ้ำทุก ๆ 18 ปี 11 วัน ประกอบด้วย 71 เหตุการณ์ โดยชุดนี้เริ่มต้นจากสุริยุปราคาบางส่วนในวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 1722 (ค.ศ. 1179) จากนั้นเป็นสุริยุปราคาวงแหวนซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 1866 (ค.ศ. 1323) จนถึงวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2353 (ค.ศ. 1810) จากนั้นเป็นสุริยุปราคาผสมซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2371 (ค.ศ. 1828) จนถึงวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2407 (ค.ศ. 1864) จากนั้นเป็นสุริยุปราคาเต็มดวงซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2425 (ค.ศ. 1882) จนถึงวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2587 (ค.ศ. 2044) และชุดแซรอสนี้จบลงในสุริยุปราคาบางส่วน วันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 3002 (ค.ศ. 2459) คราสบดบังยาวนานที่สุดของสุริยุปราคากึ่งกลางในแซรอสนี้ (แบบวงแหวนหรือเต็มดวง) คือ 5 นาที 46 วินาทีของสุริยุปราคาวงแหวนวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2136 (ค.ศ. 1593) ส่วนคราสเด็มดวงยาวนานที่สุดในแซรอสนี้คือ 2 นาที 36 วินาทีของสุริยุปราคาเต็มดวงวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2515 (ค.ศ. 1972)[3]
สมาชิกของชุดแซรอสนี้ในลำดับที่ 39–49 เกิดขึ้นระหว่างปี 2444 ถึง 2643 | ||
---|---|---|
39 | 40 | 41 |
8 มิถุนายน 2461 |
19 มิถุนายน 2479 |
30 มิถุนายน 2497 |
42 | 43 | 44 |
10 กรกฎาคม 2515 |
22 กรกฎาคม 2533 |
1 สิงหาคม 2551 |
45 | 46 | 47 |
12 สิงหาคม 2569 |
23 สิงหาคม 2587 |
3 กันยายน 2605 |
48 | 49 | |
13 กันยายน 2623 |
25 กันยายน 2641 |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Greatest Duration of Total Solar Eclipse of 2044 Aug 23". NASA Eclipse Website. NASA. สืบค้นเมื่อ 9 September 2017.
- ↑ van Gent, R.H. "Solar- and Lunar-Eclipse Predictions from Antiquity to the Present". A Catalogue of Eclipse Cycles. Utrecht University. สืบค้นเมื่อ 6 October 2018.
- ↑ Solar_Saros_series_126, accessed October 2010
- สถิติอุปราคาและแผนที่การมองเห็นบนโลก การทำนายอุปราคาโดยเฟรด เอสเปนาก นาซา/ศูนย์การบินอวกาศก็อดเดิร์ด
สุริยุปราคา | ||||
---|---|---|---|---|
สุริยุปราคาครั้งก่อนหน้า: 28 กุมภาพันธ์ 2587 ( สุริยุปราคาวงแหวน) |
สุริยุปราคา 23 สิงหาคม พ.ศ. 2587 | สุริยุปราคาครั้งถัดไป: 16 กุมภาพันธ์ 2588 ( สุริยุปราคาวงแหวน) | ||
สุริยุปราคาเต็มดวงครั้งก่อนหน้า: 9 เมษายน 2586 |
สุริยุปราคาเต็มดวง |
สุริยุปราคาเต็มดวงครั้งถัดไป: 12 สิงหาคม 2588 |