ข้ามไปเนื้อหา

ปัญญา สิงห์ศักดา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปัญญา สิงห์ศักดา
เลขาธิการนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
11 ตุลาคม พ.ศ. 2531 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2533
นายกรัฐมนตรีชาติชาย ชุณหะวัณ
ก่อนหน้านาวาอากาศตรี ประสงค์ สุ่นศิริ
ถัดไปพลเอก วันชัย จิตต์จำนงค์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด22 พฤษภาคม พ.ศ. 2473
จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม
เสียชีวิต4 มกราคม พ.ศ. 2553 (79 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย

พลเอก ปัญญา สิงห์ศักดา (22 พฤษภาคม พ.ศ. 2473 - 4 มกราคม พ.ศ. 2553) อดีตเลขาธิการนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลพลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา สังกัดพรรคความหวังใหม่ อดีตนายกสมาคมไทย – ลาวเพื่อมิตรภาพ[1] และอดีตนายกสมาคมรัฐธรรมนูญเพื่อประชาธิปไตย

ประวัติ

[แก้]

พลเอก ปัญญา สิงห์ศักดา เกิดเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2473 เป็นชาวกรุงเทพมหานคร จบการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 1 และวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 26

การทำงาน

[แก้]

เขารับราชการทหาร เคยดำรงตำแหน่งเป็นผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 5[2] และเป็นรองแม่ทัพภาคที่ 4 เป็นรองเสนาธิการทหารบก ฝ่ายยุทธการ จนกระทั่งในปีพ.ศ. 2531 ได้รับแต่งตั้งเป็นเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของพลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ จนถึงก่อนเกษียณอายุในปีพ.ศ. 2533

ต่อมาหลังเกษียณอายุในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 เขาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งและเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา สังกัดพรรคความหวังใหม่ และได้รับเลือกเป็นประธานคณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ สภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 17

ในปีพ.ศ. 2539 สมัยรัฐบาลนาย บรรหาร ศิลปอาชา ขณะนั้นมีการเรียกร้องให้มีการปฏิรูปการเมือง ให้แก้ไขรัฐธรรมนูญให้มีความเป็นประชาธิปไตย สกัดกั้นนักการเมืองที่ซื้อเสียง และหวังเข้ามาคอร์รัปชัน เขาได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ[3] ทำหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540

ต่อมาพลเอก ปัญญา ได้รับเลือกเป็นนายกสมาคมรัฐธรรมนูญเพื่อประชาธิปไตย แต่ถูกดำเนินคดีฉ้อโกงและยักยอกเงินจำนวน 30 ล้านบาท ของสมาคมฯ โดยเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ศาลแขวงดุสิต พิพากษาจำคุกเป็นเวลา 3 ปี แต่ได้ยื่นหลักทรัพย์ขอประกันตัวสู้คดี[4]

การเสียชีวิต

[แก้]

เขาก่อเหตุใช้เชือกผูกคาตายภายในบ้านพักในกรุงเทพมหานคร แต่ญาตินำส่งโรงพยาบาลได้ทัน ก่อนจะถึงแก่อนิจกรรมในอีก 3 วันต่อมา เมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2553[5]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "สมาคมไทย – ลาวเพื่อมิตรภาพ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-29. สืบค้นเมื่อ 2021-01-21.
  2. ทำเนียบ ผบ.พล.ร.5 - กองพลทหารราบที่ 5
  3. ประกาศรัฐสภา เรื่อง ตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญราชกิจจานุเบกษา เล่ม 114 ตอน 2ง วันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2540
  4. จำคุก 3 ปี “พล.อ.ปัญญา สิงห์ศักดา” โกงเงินสมาคมรัฐธรรมนูญฯ
  5. “พล.อ.ปัญญา” เครียดปัญหารุมเร้า-ผูกคอตายในบ้านพัก
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๒๐๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๑
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๒๑๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔, ๓ ธันวาคม ๒๕๒๙
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๙ ข หน้า ๔, ๑๖ ธันวาคม ๒๕๔๐
  9. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๗๗ ตอนที่ ๙ ง หน้า ๒๕๓, ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๓
  10. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องหมายเปลวระเบิดสำหรับประดับแพรแถบเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๙๐ ตอนที่ ๑๘๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๒๒, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๖
  11. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๒๓๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๒๗ ธันวาคม ๒๕๓๑
  12. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๙๒ ตอนที่ ๑๐๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๙ มิถุนายน ๒๕๑๘
  13. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๘๓ ตอนที่ ๑๑๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖๕๙, ๑๙ ธันวาคม ๒๕๐๙
  14. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๘๑ ตอนที่ ๘๕ ง หน้า ๒๓๓๙, ๘ กันยายน ๒๕๐๗
  15. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชรุจิ, เล่ม ๘๕ ตอนที่ ๖๗ ง หน้า ๒๔๘๑, ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๑๑