บัณฑูร สุภัควณิช
บัณฑูร สุภัควณิช | |
---|---|
เลขาธิการนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 25 สิงหาคม พ.ศ. 2554 – 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 | |
นายกรัฐมนตรี | ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร |
ก่อนหน้า | อัญชลี วานิช เทพบุตร |
ถัดไป | สุรนันทน์ เวชชาชีวะ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 13 เมษายน พ.ศ. 2492 อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ชาติไทยพัฒนา |
คู่สมรส | รัตนา สุภัควณิช |
บัณฑูร สุภัควณิช (เกิด 13 เมษายน พ.ศ. 2492) อดีตเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สังกัดพรรคเพื่อไทย และอดีตผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ
ประวัติ
[แก้]บัณฑูร สุภัควณิช เกิดเมื่อวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2492 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวนศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2514 ระดับปริญญาโท ด้านรัฐประศาสนศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเคนทักกี สถาบันอุดมศึกษาของรัฐในริชมอนด์เมื่อปี พ.ศ. 2517 และเป็นเพื่อนร่วมรุ่นกับ ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี[1] จากนั้นในปี พ.ศ. 2540 ได้ผ่านการศึกษาอบรมปริญญาวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) รุ่นที่ 39 และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขารัฐศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2545 จากมหาวิทยาลัยรามคำแหงอีกแห่งหนึ่งด้วย[2]
บัณฑูร สุภัควณิช สมรสกับรัตนา สุภัควณิช มีบุตร 2 คน คือ นาย ณภัทร สุภัควณิช และดวงดาลัด สุธาธรรม[3]
การทำงาน
[แก้]บัณฑูร สุภัควณิช เป็นข้าราชการพลเรือน สังกัดกระทรวงการคลังและสำนักนายกรัฐมนตรี เคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์งบประมาณส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น ในปี พ.ศ. 2537 และได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ ในระหว่างปี พ.ศ. 2551 ถึง พ.ศ. 2552 ต่อมาได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ในระหว่างปี พ.ศ. 2552 ถึง พ.ศ. 2554 [4]
ในการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2554 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในระบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร) เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2554 และได้ลาออกจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[5] ต่อมาได้ลาออกจากตำแหน่งเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555[6]
ในวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2559 ได้รับโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกสภา มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ [7]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2551 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[8]
- พ.ศ. 2547 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[9]
- พ.ศ. 2546 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[10]
- พ.ศ. 2543 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[11]
- พ.ศ. 2551 – เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[12]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ เปิดตัว'บัณฑูร'เลขายิ่งลักษณ์เพื่อนสนิท'ทักษิณ'[ลิงก์เสีย]
- ↑ บัณฑูร สุภัควณิช[ลิงก์เสีย]
- ↑ บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของนายบัณฑูร สุภัควณิช[ลิงก์เสีย]
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-03. สืบค้นเมื่อ 2011-08-04.
- ↑ 2 ดารา พท. เตรียมขึ้น ส.ส. หลัง "ชัจจ์-บัณฑูร" ลาออก
- ↑ นายกฯ รับ "บัณฑูร" ลาออกจริง บอกมีปัญหาด้านสุขภาพ-ปัดขัดแย้งภายใน
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยและกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 133 ตอน 133 ง พิเศษ หน้า 3 10 มิถุนายน พ.ศ. 2559
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๓, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๑๒, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๑๙, ๒๐ ตุลาคม ๒๕๔๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๒๐๐, ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ และเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๕๑, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๕ ข หน้า ๖, ๑๘ มีนาคม ๒๕๕๒
ก่อนหน้า | บัณฑูร สุภัควณิช | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
อัญชลี วานิช เทพบุตร | เลขาธิการนายกรัฐมนตรี (25 สิงหาคม พ.ศ. 2554 - 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555) |
สุรนันทน์ เวชชาชีวะ |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2492
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากอำเภอกมลาไสย
- ข้าราชการพลเรือนชาวไทย
- นักการเมืองไทย
- เลขาธิการนายกรัฐมนตรีไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบบัญชีรายชื่อ
- นักการเมืองพรรคเพื่อไทย
- พรรคชาติไทยพัฒนา
- บุคคลจากคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- บุคคลจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- บุคคลจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรพรรดิมาลา
- นายกสภาสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย