ธีรพล นพรัมภา
นายธีรพล นพรัมภา | |
---|---|
เลขาธิการนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 – 18 กันยายน พ.ศ. 2551 | |
นายกรัฐมนตรี | นายสมัคร สุนทรเวช |
ก่อนหน้า | พลเอกพงษ์เทพ เทศประทีป |
ถัดไป | นายชูศักดิ์ ศิรินิล |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2492 |
ศาสนา | พุทธ |
คู่สมรส | นางปรางทิพย์ นพรัมภา |
นายธีรพล นพรัมภา อดีตเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สมัยรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช และอดีตปลัดเมืองพัทยา เป็น 1 ใน 4 ของแก๊งออฟโฟร์ในพรรคพลังประชาชน[1]
ประวัติ
[แก้]นายธีรพล นพรัมภา เกิดวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2492 จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อปี พ.ศ. 2510 (รุ่นเดียวกับ สหัส บัณฑิตกุล) และ วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (เครื่องกล) ด้านชีวิตครอบครัว สมรสกับนางปรางทิพย์ นพรัมภา
การทำงาน
[แก้]ธีรพล นพรัมภา เริ่มทำงานเป็นวิศวกรในบริษัท Caudil Rowlett Scott Corp. และเป็นผู้จัดการในบริษัทเอกชนอีกหลายแห่ง อาทิ บริษัท สยามกลการ, บริษัท ชลประทานคอนกรีต ต่อมาในปี พ.ศ. 2533 จึงได้ดำรงตำแหน่งปลัดเมืองคนแรกของเมืองพัทยา และในปี พ.ศ. 2543 นายสมัคร สุนทรเวช ได้รับตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ทำให้นายธีรพล นพรัมภา ซึ่งมีความสนิทสนมกับนายสมัคร ได้เข้ามารับตำแหน่งผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โดยทำหน้าที่เป็นเลขานุการของนายสหัส บัณฑิตกุล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครฝ่ายการโยธา หลังจากหมดวาระดังกล่าว จึงได้หันไปประกอบธุรกิจ เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับ 4 ในบริษัท ศิครินทร์ จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารโรงพยาบาลศิครินทร์ ถนนศรีนครินทร์ บางนา
ในปี พ.ศ. 2551 นายธีรพล นพรัมภา จึงได้กลับเข้ามาสู่งานการเมืองอีกครั้งโดยการรับตำแหน่งเป็นเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของนายสมัคร สุนทรเวช[2] และถูกเปิดเผยจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กลุ่มอีสานพัฒนา ว่าเป็นหนึ่งในสมาชิกแก๊งออฟโฟร์ของพรรค
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2551 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)[3]
- พ.ศ. 2545 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)[4]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ทุบกระปุกพรรคการเมืองเปิดกลุ่มทุน : ใครหนุนใคร ?
- ↑ คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 17/2551 เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (นายธีรพล นพรัมภา)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๒, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2021-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๓, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕