ประเทศไทยใน พ.ศ. 2435
หน้าตา
| |||||
ดูเพิ่ม: |
---|
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน พ.ศ. 2435 (ค.ศ. 1892) ในประเทศไทย เป็นปีที่ 111 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และเป็นปีที่ 25 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และนับเป็นปี ร.ศ. 110 (1 มกราคม - 31 มีนาคม) และ 111 (1 เมษายน - 31 ธันวาคม) ในแบบปัจจุบัน
ผู้นำ
[แก้]- พระมหากษัตริย์: พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
- สยามมกุฎราชกุมาร: สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร
- สมุหนายก: เจ้าพระยารัตนบดินทร์ (จนถึง ?)
- สมุหพระกลาโหม: เจ้าพระยาพลเทพ
เหตุการณ์
[แก้]- 1 เมษายน - สยามประกาศตั้งกระทรวง 12 กระทรวงคือ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงกลาโหม กระทรวงนครบาล กระทรวงวัง กระทรวงเกษตรพาณิชการ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงพระคลัง กระทรวงยุทธนาธิการ กระทรวงยุติธรรม กระทรวงธรรมการ กระทรวงโยธาธิการ กระทรวงมุรธาธร และเลิกตำแหน่งสมุหนายก
- 3 เมษายน - ลดฐานะกระทรวงยุทธนาธิการเป็นกรมยุทธนาธิการ
- 21 กันยายน - ออกหนังสือพิมพ์ยุทธโกษฉบับแรก
- 23 ธันวาคม - อังกฤษประกาศจุดยืนของตนต่อฝรั่งเศสว่าจะไม่ขยายอิทธิพลไปไกลกว่าแม่น้ำโขง
- 14 มีนาคม - ม. ปาวี เรียกร้องให้สยามถอนตัวออกจากฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง
- 31 มีนาคม - ทหารฝรั่งเศสรุกล้ำด่านสยามในดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงเป็นครั้งแรกทำให้มีกรณี ร.ศ. 112 ตามมา
- 27 ตุลาคม- ไทยเสีย ดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำสาละวิน (5 เมืองเงี้ยว และ13 เมืองกะเหรี่ยง) ให้กับ อังกฤษ ตรงกับสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕)
ผู้เกิด
[แก้]มกราคม
[แก้]- 1 มกราคม – สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก อดีตอธิบดีกรมมหาวิทยาลัย (สวรรคต พ.ศ. 2472)
กุมภาพันธ์
[แก้]- 15 กุมภาพันธ์
- คุณหญิงจินดารักษ์ (เสมอใจ สวัสดิ์-ชูโต) นักเขียน (อนิจกรรม พ.ศ. 2521)
- เจ้าจอมแส พระสนมในรัชกาลที่ 5 (อนิจกรรม พ.ศ. 2521)
- 16 กุมภาพันธ์ – หม่อมเจ้ารัชฎาภิเศก โสณกุล ปลัดกระทรวงศึกษาธิการคนที่ 3 (สิ้นชีพิตักษัย พ.ศ. 2492)
- 21 กุมภาพันธ์ – พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรณ์ศิริประสาธน์ พระบรมวงศ์ (สิ้นพระชนม์ พ.ศ. 2443)
มีนาคม
[แก้]- 10 มีนาคม – พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมเขตรมงคล พระบรมวงศ์ (สิ้นพระชนม์ พ.ศ. 2500)
- 24 มีนาคม – พระประจนปัจจนึก (พุก มหาดิลก) ประธานรัฐสภาคนที่ 7 (อสัญกรรม พ.ศ. 2513)
- 30 มีนาคม – พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าลวาดวรองค์ พระบรมวงศ์ (สิ้นพระชนม์ พ.ศ. 2436)
เมษายน
[แก้]- 11 เมษายน – พระครูนิสิตคุณากร (กัน คงฺครตโน) เจ้าคณะตำบลพยุหะ (มรณภาพ พ.ศ. 2513)
กรกฎาคม
[แก้]- 5 กรกฎาคม – สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราไชย ผู้บัญชาการโรงเรียนเพาะช่างคนที่ 1 (สิ้นพระชนม์ พ.ศ. 2466)
- 26 กรกฎาคม – พระอธิการดี ฉนฺโน เจ้าอาวาสวัดป่าสุนทราราม (มรณภาพ พ.ศ. 2502)
สิงหาคม
[แก้]- 3 สิงหาคม – หม่อมเจ้าทองเติม ทองแถม ผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์คนที่ 8 (สิ้นชีพิตักษัย พ.ศ. 2506)
- 12 สิงหาคม – พระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุมเสน) อดีตรัฐมนตรี (อสัญกรรม พ.ศ. 2504)
- 25 สิงหาคม – พระยาบริรักษ์เวชชการ (ไล่ฮวด ติตติรานนท์) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขคนที่ 11 (อสัญกรรม พ.ศ. 2511)
กันยายน
[แก้]- 6 กันยายน – ชิต บุรทัต นักเขียน (เสียชีวิต พ.ศ. 2485)
- 15 กันยายน
- ศิลป พีระศรี (กอร์ราโด เฟโรชี) ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยศิลปากร (อนิจกรรม พ.ศ. 2505)
- หม่อมเอลีซาเบท รังสิต ณ อยุธยา หม่อมในกรมพระยาชัยนาทนเรนทร (อสัญกรรม พ.ศ. 2516)
ตุลาคม
[แก้]- 25 ตุลาคม – พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวัลลภาเทวี อดีตพระคู่หมั้นในรัชกาลที่ 6 (สิ้นพระชนม์ พ.ศ. 2494)
พฤศจิกายน
[แก้]- 23 พฤศจิกายน – หลวงไพเราะเสียงซอ (อุ่น ดูรยะชีวิน) นักดนตรีไทย (อนิจกรรม พ.ศ. 2518)
ธันวาคม
[แก้]- 22 ธันวาคม – พระหลวงบรรณสารประสิทธิ์ (สิทธิ ปรฺณสาโร) ผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทองคนที่ 17 (มรณภาพ พ.ศ. 2513)
ไม่ทราบวัน
[แก้]- พระยาวิกรมรัตนสุภาษ (ชม ศุขะวณิช) ประธานศาลฎีกาคนที่ 9 (อสัญกรรม พ.ศ. 2503)
- หลวงจีนป่วยพวง แซ่โค้ว หลวงจีน (มรณภาพ พ.ศ. 2510)
- เจ้าจอมแก้ว พระสนมในรัชกาลที่ 5 (อนิจกรรม พ.ศ. 2521)
ผู้เสียชีวิต
[แก้]กุมภาพันธ์
[แก้]- 21 กุมภาพันธ์ – พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิมลนาคนพีสี พระบรมวงศ์ (ประสูติ พ.ศ. 2432)
- ไม่ทราบวัน – พระยาอนุกูลสยามกิจ (ตันกิมเจ๋ง) กงสุลสยามประจำสิงคโปร์ (เกิด พ.ศ. 2372)
เมษายน
[แก้]- 1 เมษายน – พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนเจริญผลภูลสวัสดิ์ ผู้กำกับคลังพิมานอากาศ (ประสูติ พ.ศ. 2370)
- 2 เมษายน – พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้านันทวัน พระบรมวงศ์ (ประสูติ พ.ศ. 2396)
พฤษภาคม
[แก้]- 28 พฤษภาคม – เจ้าอนันตวรฤทธิเดช เจ้าผู้ครองนครน่านพระองค์ที่ 12 (ประสูติ พ.ศ. 2348)
กรกฎาคม
[แก้]- 17 กรกฏาคม – พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพื้นพงศ์ประยุรวงศ์สนิท พระอนุวงศ์ (ประสูติ พ.ศ. 2378)
กันยายน
[แก้]- 13 กันยายน – พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบรรจบเบญจมา พระบรมวงศ์ (ประสูติ พ.ศ. 2404)
- 21 กันยายน – พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอิศริยาภรณ์ พระบรมวงศ์ (ประสูติ พ.ศ. 2431)
- 28 กันยายน – สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 8 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (ประสูติ พ.ศ. 2352)
ไม่ทราบวัน
[แก้]- เจ้าพระยาคทาธรธรณินทร์ (เยีย อภัยวงศ์) ผู้สำเร็จราชการเมืองพระตะบองคนที่ 7 (ไม่ทราบปีเกิด)