ข้ามไปเนื้อหา

พระครูนิสิตคุณากร (กัน คงฺครตโน)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระครูนิสิตคุณากร

(กัน คงฺครตโน)
ชื่ออื่นกัน ศรีเพ็ง
ส่วนบุคคล
เกิด11 เมษายน พ.ศ. 2435 (78 ปี 281 วัน ปี)
มรณภาพ17 มกราคม พ.ศ. 2513
นิกายมหานิกาย
การศึกษาประถมศึกษาปีที่ 4
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่วัดเขาแก้ว จังหวัดนครสวรรค์
อุปสมบท9 พฤษภาคม พ.ศ. 2456
พรรษา57
ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดเขาแก้ว
เจ้าคณะตำบลพยุหะ

พระครูนิสิตคุณากร นามเดิม กัน ศรีเพ็ง ฉายา คงฺครตโน (11 เมษายน พ.ศ. 2435 — 17 ตุลาคม พ.ศ. 2513) เป็นพระเถระชั้นผู้ใหญ่อีกท่านหนึ่งในจังหวัดนครสวรรค์ เป็นเจ้าอาวาสวัดเขาแก้ว, อดีตเจ้าคณะตำบลพยุหะ และเป็น 1 ใน 3 พระเกจิที่มีชื่อเสียงของอำเภอพยุหะคีรี ร่วมกับ หลวงพ่อเทศกับหลวงพ่อเดิม[1]

ประวัติ

[แก้]

พระครูนิสิตคุณากร นามเดิม กัน ศรีเพ็ง เกิดเมื่อวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2435 ตรงกับวันจันทร์ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 ปีมะโรง ณ ตำบลพยุหะ อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ โยมบิดาชื่อนายเปลี่ยน โยมมารดา นางไพร มีพี่น้องร่วมบิดามารดา 4 คน คือ[2]

  1. นายสิน ศรีเพ็ง
  2. นางเม้า มากบุญ
  3. นายโชติ ศรีเพ็ง
  4. นางคุด มากบุญ

ปฐมวัยและการศึกษาสามัญ

[แก้]

โยมบิดามารดาของเด็กชายกัน ศรีเพ็ง ปรารถนาจะให้บุตรได้ศึกษา ซึ่งตอนนั้น ยังไม่มีโรงเรียนประชาบาลในเขตพยุหะ จึงต้องมาฝากตัวเล่าเรียนกับภิกษุในวัดเขาแก้ว โดยเรียนหนังสือไทย เลข อักษรขอม เมื่อร่ำเรียนได้ชำนาญ ก็ออกมาช่วยงานเกตรกรรมกับทางบ้านจนเรียกได้ว่าเป็นช่างฝีมือที่มีความชำนาญเสียแต่ยังไม่เข้าวัยหนุ่ม

อุปสมบท

[แก้]

พระครูนิสิตคุณากร(กัน คงฺครตโน) ได้บรรพชาเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2453 เมื่ออายุได้ 19 ปี โดยมีพระอธิการอ่อง วัดพระปรางค์เหลือง เป็นพระอุปัชฌาย์และได้อุปสมบท เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2456 ณ พัทธสีมาวัดเขาแก้ว โดยมีพระอธิการอ่อง วัดพระปรางค์เหลือง เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการไข่ วัดอินทาราม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระญาณกิติ (ยอด อกฺกวํโส) (ต่อมาได้รับการเลื่อนสมณศีกดิ์เป็น พระธรรมไตรโลกาจารย์ (ยอด อกฺกวํโส)) วัดเขาแก้ว เป็นอนุสาวนาจารย์ [3]

การศึกษาเล่าเรียนในเพศสมณะ

[แก้]

ได้ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยและเวทมนตร์คาถาจากพระครูนิวาสธรรมขันธ์ (เดิม พุทฺธสโร) วัดหนองโพ และสนใจศึกษาการช่างเพิ่มเติม

วิทยะฐานะ

[แก้]

จบการศึกษาประถมศึกษาชั้นปีที่ 4 จากวัดเขาแก้ว

ลำดับสมณศักดิ์

[แก้]
  • พ.ศ. 2470 เป็นพระสมุห์
  • พ.ศ. 2477 เป็นพระวินัยธรรม
  • พ.ศ. 2479 เป็นพระครูวินัยธร
  • พ.ศ. 2500 เป็นพระครูสัญญาบัตร ที่ พระครูนิสิตคุณากร
  • พ.ศ. 2509 เป็นพระครูชั้นโทที่นามเดิม

งานการปกครอง

[แก้]
  • พ.ศ. 2461 เจ้าอาวาสวัดเขาแก้ว
  • พ.ศ. 2496 เจ้าคณะตำบลพยุหะ

หน้าที่ทางด้านการศึกษา

[แก้]
ตึกเรียนแห่งแรกของโรงเรียนพยุหะวิทยา (วัดเขาแก้ว)

งานสาธารณูปการ

[แก้]
  • พ.ศ. 2474 เป็นกรรมการก่อสร้างโรงเรียนปริยัติธรรมตึกรัตนคีรีวิทยากร วัดเขาแก้ว (ปัจจุบันยังคงสภาพเดิมอยู่)
อาคารเรียนปริยัติศึกษาหลังแรกของวัดเขาแก้ว
  • พ.ศ. 2478 เป็นกรรมการก่อสร้างและดำเนินการก่อสร้างอุโบสถวัดเนินมะกอก ตำบลเนินมะกอก อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์
  • พ.ศ. 2480 เป็นกรรมการก่อสร้างและดำเนินการก่อสร้างอุโบสถวัดเขาแก้ว (ปัจจุบันได้รับการบูรณะซ่อมแซมใหม่เกือบทั้งหลัง)
  • พ.ศ. 2482 เป็นกรรมการก่อสร้างและดำเนินการก่อสร้างอุโบสถวัดหัวงิ้ว ตำบลเนินมะกอก อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์[4]
  • พ.ศ. 2484 เป็นกรรมการก่อสร้างและดำเนินการก่อสร้างอุโบสถวัดหนองหมูตำบลเนินมะกอก อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์[5]
  • พ.ศ. 2493 เป็นกรรมการก่อสร้างและดำเนินการก่อสร้างอุโบสถวัดอินทาราม ตำบลพยุหะ อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ และวัดโพธิ์ทอง อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี[6]
  • พ.ศ. 2494 เป็นกรรมการก่อสร้างและดำเนินการก่อสร้างอุโบสถวัดใหม่คูเมือง อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี
  • พ.ศ. 2495 เป็นกรรมการก่อสร้างและดำเนินการก่อสร้างอุโบสถวัดสระทะเล ตำบลย่านมัทรี อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์
  • พ.ศ. 2498 เป็นกรรมการก่อสร้างและดำเนินการก่อสร้างอุโบสถวัดพระนอน อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์
  • พ.ศ. 2500 เป็นกรรมการก่อสร้างและดำเนินการก่อสร้างอุโบสถวัดควนปรุง อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
  • พ.ศ. 2504 เป็นประธานและดำเนินการก่อสร้างศาลาการเปรียญ วัดเขาแก้ว (ปัจจุบันได้รับการบูรณะบางส่วน)
    ศาลาการเปรียญคอนกรีตเสริมเหล็กแห่งแรกของตำบลพยุหะ
    และเป็นกรรมการก่อสร้างอุโบสถวัดท่าชัย อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท
  • พ.ศ. 2507 เป็นประธานกรรมการก่อสร้าง ซุ้ม กำแพง รั้ววด สร้างและซ่อมแซมมณฑป วัดเขาแก้ว
  • พ.ศ. 2508 เป็นกรรมการก่อสร้างและดำเนินการก่อสร้างอุโบสถวัดวาปีรัตนาราม ตำบลหนองโพ อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์

งานทางด้านการศึกษา

[แก้]

เปิดสำนักวิปัสสนากรรมฐานวัดเขาแก้วขึ้น เมื่อวันศุกร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2498 โดยมีพระพิมลธรรม (อาจ อาสภเถร ป.ธ.8) วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร เป็นผู้อำนวยการฝ่ายวิปัสสนาธุระ เป็นประธานเปิดสำนัก พระธรรมคุณาภรณ์ (เช้า ฐิตปญฺโญ) เป็นผู้อำนวยการ พระครูนิสิตคุณากร (กัน คงฺครตโน) เจ้าอาวาสวัดเขาแก้วเป็นผู้อุปถัมภ์

อนุสรณ์สถานที่เกี่ยวข้อง

[แก้]
  • รูปหล่อเหมือนพระครูนิสิตคุณากร (กัน คงครตฺโน) คู่กับพระธรรมคุณาภรณ์ (เช้า ฐิตปญฺโญ) บริเวณหน้าทางเข้าโรงเรียนพยุหะวิทยา (วัดเขาแก้ว)
รูปปั้นเหมือนพระครูนิสิตคุณากรและพระพรหมคุณาภรณ์ ตั้งอยู่ ณ ทางเข้าโรงเรียนพยุหะวิทยา

อวสานชีวิต

[แก้]

พระครูนิสิตคุณากร เริ่มอาพาธด้วยโรคเบาหวาน และเข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง โดยมีคณะศิษยานุศิษย์พาตัวไปรักษา แต่ด้วยโรคแทรกซ้อน จึงทำให้มรณภาพ ด้วยอาการสงบที่ โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ จังหวัดนครสวรรค์ เมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2513 รวมอายุ 79 ปี พรรษา 57 โดยมีการพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุวัดเขาแก้ว เมื่อวันเสาร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2515

อ้างอิง

[แก้]
  1. [ประวัติหลวงพ่อกัน]
  2. ธรรมปริทรรศน์ อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพพระครูนิสิตคุณากร หน้า ก
  3. ธรรมปริทรรศน์ อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพพระครูนิสิตคุณากร หน้า ค
  4. http://www.noenmakok.go.th/travel_detail.php?id=759
  5. http://www.noenmakok.go.th/travel_detail.php?id=780
  6. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-25. สืบค้นเมื่อ 2016-10-26.