หม่อมเจ้าทองเติม ทองแถม
หม่อมเจ้าทองเติม ทองแถม | |
---|---|
หม่อมเจ้า ชั้น 4 | |
ประสูติ | 3 สิงหาคม พ.ศ. 2435 |
สิ้นชีพตักษัย | พ.ศ. 2506 |
หม่อม | หม่อมเชิญ ทองแถม ณ อยุธยา |
พระบุตร | 8 คน |
ราชสกุล | ทองแถม |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ |
พระมารดา | หม่อมเจ้าเม้า ทองแถม |
อำมาตย์เอก หม่อมเจ้าทองเติม ทองแถม (3 สิงหาคม พ.ศ. 2435 – พ.ศ. 2506) อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี และผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ประวัติ
[แก้]หม่อมเจ้าทองเติม ทองแถม เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ ประสูติแต่หม่อมเจ้าเม้า ทองแถม (ราชสกุลเดิม รองทรง; พระธิดาในพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นสิทธิสุขุมการ) เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2435 มีโสทรภราดา ดังนี้
- หม่อมเจ้าทองเชื้อธรรมชาติ ทองแถม (พ.ศ. 2427 – 2476) เสกสมรสกับหม่อมเจ้าพันธ์สิหิงค์ (ราชสกุลเดิม ทองใหญ่)
- หม่อมเจ้าทองชมพูนุท ทองแถม (พ.ศ. 2433 – 2491) เสกสมรสกับหม่อมหลวงแฉล้ม (ราชสกุลเดิม อิศรเสนา)
- หม่อมเจ้าทองต่อ ทองแถม (พ.ศ. 2436 – 2501) เสกสมรสกับหม่อมเจ้าพิมพ์รำไพ โสณกุล
- หม่อมเจ้าทองบรรณาการ ทองแถม (พ.ศ. 2446 – 2506) เสกสมรสกับหม่อมราชวงศ์ศรีถนอม (ราชสกุลเดิม ศรีธวัช)
หม่อมเจ้าทองเติม เสกสมรสกับหม่อมเชิญ (บุตรีเจ้าพระยาสุรสีห์วิสิษฐศักดิ์ (เชย กัลยาณมิตร) และท่านผู้หญิงพุ่ม สุรสีห์วิศิษฐศักดิ์) มีโอรสธิดาดังนี้
- หม่อมราชวงศ์ทองเพิ่ม ทองแถม (22 มิถุนายน พ.ศ. 2455 – 27 มีนาคม พ.ศ. 2513)
- หม่อมราชวงศ์ทองทศ ทองแถม (19 ธันวาคม พ.ศ. 2456 – 16 กันยายน พ.ศ. 2470)
- พันเอก หม่อมราชวงศ์แววจักร ทองแถม (1 พฤษภาคม พ.ศ. 2458 – 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2506)
- หม่อมราชวงศ์สายทอง รักติประกร (13 ตุลาคม พ.ศ. 2459 – 10 กันยายน พ.ศ. 2518)
- หม่อมราชวงศ์สร้อยทอง ทองแถม (26 ธันวาคม พ.ศ. 2462 – ?)
- หม่อมราชวงศ์ครุยทอง ทองแถม (17 เมษายน พ.ศ. 2465 – ?)
- หม่อมราชวงศ์ชาลทอง วีรานุวัตร (23 กันยายน พ.ศ. 2467 – 30 ธันวาคม พ.ศ. 2527)
- หม่อมราชวงศ์เฟื่องทอง จุลานนท์ (? – 29 ธันวาคม พ.ศ. 2525)
การทรงงาน
[แก้]หม่อมเจ้าทองเติม ทองแถม ทรงรับราชการในกระทรวงมหาดไทย จนกระทั่งทรงเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี ระหว่าง พ.ศ. 2457–2471 และผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ระหว่าง พ.ศ. 2471–2476 โดยในขณะที่ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ทรงดำริที่จะปลูกสร้างโรงเรียนสตรีประจำอำเภอเกาะหลักขึ้นโดยเฉพาะ เพื่อความสะดวกแก่บรรดากุลสตรีที่จะได้ศึกษาเล่าเรียน และได้ขนานนามว่า โรงเรียนสตรีประจวบคีรีขันธ์ "ประจวบสมบูรณ์" ปัจจุบันคือโรงเรียนประจวบวิทยาลัย
ตำแหน่งราชการ
[แก้]- – มหาดไทยมณฑลกรุงเก่า
- 11 กันยายน 2456 – มหาดไทยมณฑลปราจิณบุรี[1]
- 8 ตุลาคม 2457 – รักษาราชการแทนในตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองปราจิณบุรี[2]
- 18 กันยายน 2458 – ผู้ว่าราชการเมืองปราจิณบุรี[3]
พระยศ
[แก้]- รองอำมาตย์ตรี
- 14 มิถุนายน 2457 – นายหมู่ตรี[4]
- 5 ตุลาคม พ.ศ. 2457 รองอำมาตย์เอก[5]
- 14 กันยายน พ.ศ. 2458 อำมาตย์ตรี[6]
- 29 กันยายน 2458 – นายหมู่เอก[7]
- 9 กันยายน 2459 – นายหมวดโท[8]
- 22 ธันวาคม 2459 – อำมาตย์โท[9]
- 31 ธันวาคม 2460 – นายหมวดเอก[10]
- – นายกองตรี
- 20 กันยายน 2463 – นายกองโทเสือป่า[11]
- 13 ตุลาคม 2464 – อำมาตย์เอก[12]
- 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2465 นายกองเอกเสือป่า[13] กองเสนารักษาดินแดนอาคเณย์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2466 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 4 จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก (จ.ช.)[14]
- พ.ศ. 2469 – เหรียญศารทูลมาลา (ร.ศ.ท.)
- พ.ศ. 2464 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 4 (ว.ป.ร.4)
- พ.ศ. 2471 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 7 ชั้นที่ 4 (ป.ป.ร.4)[15]
อ้างอิง
[แก้]- http://www.thongthaem.org เก็บถาวร 2012-12-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ย้ายตำแหน่งหน้าที่ราชการ
- ↑ แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ย้ายผู้ว่าราชการเมืองนครราชสีมา
- ↑ แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองปราจิณบุรี
- ↑ ส่งสัญญาบัตรเสือป่าไปพระราชทาน
- ↑ พระราชทานยศและเลื่อนยศ (หน้า ๑๕๐๘)
- ↑ พระราชทานยศและเลื่อนยศ (หน้า ๑๓๓๕)
- ↑ พระราชทานยศเสือป่า
- ↑ พระราชทานยศเสือป่า
- ↑ พระราชทานยศ
- ↑ พระราชทานยศเสือป่า
- ↑ พระราชทานยศนายเสือป่า
- ↑ "พระราชทานยศ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 23 ตุลาคม 1921.
- ↑ พระราชทานยศนายเสือป่า (หน้า ๒๖๒๔)
- ↑ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญ (หน้า 3446)
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2471/D/2096.PDF