ประเทศไทยใน พ.ศ. 2516
หน้าตา
| |||||
ดูเพิ่ม: |
---|
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน พ.ศ. 2516 (ค.ศ. 1973) ในประเทศไทย เป็นปีที่ 192 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และเป็นปีที่ 28 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
ผู้นำ
[แก้]- พระมหากษัตริย์ : พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
- สยามมกุฎราชกุมาร: สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณฯ สยามมกุฎราชกุมาร
- นายกรัฐมนตรี:
- ถนอม กิตติขจร (รัฐประหาร) (จนถึง 14 ตุลาคม)
- สัญญา ธรรมศักดิ์ (อิสระ) (ตั้งแต่ 14 ตุลาคม)
- รัฐสภา:
- สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ถึง 16 ธันวาคม)
- สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (เริ่ม 23 ธันวาคม)
- ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ:
- ศิริ สิริโยธิน (แต่งตั้ง) (จนถึง 11 ธันวาคม)
- หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช (แต่งตั้ง) (ตั้งแต่ 29 ธันวาคม)
- ประธานศาลฎีกา:
- ทองคำ จารุเหติ (จนถึง 15 มีนาคม)
- จินตา บุณยอาคม (ตั้งแต่ 1 เมษายน)
เหตุการณ์
[แก้]มกราคม
[แก้]- 13 มกราคม – พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอทุกพระองค์ เสด็จในการพระราชทานเพลิงศพ เจ้าราชบุตร (วงศ์ตวัน ณ เชียงใหม่) เจ้าราชบุตรพระองค์สุดท้ายแห่งนครเชียงใหม่ และเป็นการพระราชทานเพลิงศพเจ้าประเทศราชครั้งสุดท้ายของประเทศไทย
เมษายน
[แก้]- 29 เมษายน – เกิดเหตุเฮลิคอปเตอร์ทหารหมายเลข ทบ.6102 ตกกลางทุ่งนาที่ อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม มีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 6 คน ในซากเฮลิคอปเตอร์นั้นพบซากสัตว์เป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่เป็นซากกระทิง ซึ่งล่ามาจากทุ่งใหญ่นเรศวร สร้างกระแสไม่พอใจในหมู่นิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และประชาชนทั่วไปเป็นอย่างมาก
กันยายน
[แก้]- 24 กันยายน – เปิดการจราจรบนสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า
ตุลาคม
[แก้]- 6 ตุลาคม – มีบุคคลร่วมลงชื่อ 100 คน เพื่อเรียกร้องขอรัฐธรรมนูญ โดยได้มีการเดินแจกใบปลิวเรียกร้องรัฐธรรมนูญตามสถานที่ต่าง ๆ ในกรุงเทพมหานคร
- 10 ตุลาคม – รัฐบาลมีมติให้ตั้งศูนย์ปราบจลาจลที่กองอำนวยการป้องกันและปราบปราม คอมมิวนิสต์สวนรื่นฤดี โดยมีจอมพลประภาส จารุเสถียร รองผู้บัญชาการทหารสูงสุดเป็นผู้อำนวยการศูนย์ฯ และพลเอกกฤษณ์ สีวะรา เป็นรองผู้อำนวยการศูนย์ฯ เพื่อดำเนินการปราบปรามจลาจล และการก่อความไม่สงบที่อาจเกิดขึ้น
- 14 ตุลาคม – เหตุการณ์ 14 ตุลา: นักเรียน นิสิต นักศึกษา รวมทั้งประชาชน รวมตัวประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตย เนื่องจากจอมพลถนอม กิตติขจร ใช้อำนาจเผด็จการ ก่อการปฏิวัติยึดอำนาจตนเองเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 จัดตั้งรัฐบาลคณะปฏิวัติขึ้นปกครองประเทศ ทำให้เกิดการปะทะกันอย่างรุนแรงจนกลายเป็นการจลาจลนองเลือด
- 15 ตุลาคม – เหตุการณ์ 14 ตุลา: จอมพลถนอม กิตติขจร จอมพลประภาส จารุเสถียร และ พ.อ.ณรงค์ กิตติขจร ออกเดินทางไปนอกประเทศจากนั้นพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายสัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับใหม่
วันเกิด
[แก้]กุมภาพันธ์
[แก้]- 16 กุมภาพันธ์ – โอลิเวอร์ พูพาร์ต นักแสดง
มีนาคม
[แก้]- 23 มีนาคม – ปฏิภาณ ปฐวีกานต์ นักร้อง
เมษายน
[แก้]- 3 เมษายน – ศุภมาส อิศรภักดี นักการเมือง
- 20 เมษายน – ชาติชาย งามสรรพ์ นักแสดง
พฤษภาคม
[แก้]- 16 พฤษภาคม – ภู ศรีวิไล นักร้อง
- 19 พฤษภาคม – ธนกร วังบุญคงชนะ นักการเมือง
- 30 พฤษภาคม – แคท รัตกาล นักร้อง
- 31 พฤษภาคม – คงกะพัน แสงสุริยะ นักแสดง
มิถุนายน
[แก้]- 4 มิถุนายน – ขวัญฤดี กลมกล่อม นักแสดง
- 5 มิถุนายน – พัน พลุแตก พิธีกร
- 7 มิถุนายน
- นุสบา ปุณณกันต์ นักแสดง
- โหน่ง ชะชะช่า นักแสดง
- 18 มิถุนายน – จอมขวัญ กัลยา นักร้อง
- 21 มิถุนายน – พุทธชาด พงศ์สุชาติ นักแสดง
- 26 มิถุนายน – บุญพิทักษ์ จิตต์กระจ่าง นักแสดง (ถึงแก่กรรม 27 ตุลาคม พ.ศ. 2538)
กรกฎาคม
[แก้]- 8 กรกฎาคม – ไมค์ ภิรมย์พร นักร้อง
- 11 กรกฎาคม – วราวุธ ศิลปอาชา นักการเมือง
- 22 กรกฎาคม – ธีรภัทร์ สัจจกุล นักแสดง
สิงหาคม
[แก้]- 2 สิงหาคม – ณิชชยาณัฐ ศิริพงศ์ปรีดา นักแสดง
- 8 สิงหาคม – ศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์ นักการเมือง
- 22 สิงหาคม – ศรราม เทพพิทักษ์ นักแสดง
ตุลาคม
[แก้]- 29 ตุลาคม – นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ นักการเมือง
พฤศจิกายน
[แก้]- 1 พฤศจิกายน – วิชชุดา สวนสุวรรณ นักแสดง (ถึงแก่กรรม 7 มกราคม พ.ศ. 2536)
ธันวาคม
[แก้]- 2 ธันวาคม – อุเทน พรหมมินทร์ นักร้อง
- 10 ธันวาคม – อรรถพร ธีมากร นักแสดง
- 15 ธันวาคม – อิทธิพล คุณปลื้ม นักการเมือง
- 18 ธันวาคม – เจี๊ยบ เชิญยิ้ม นักแสดง
วันถึงแก่กรรม
[แก้]มกราคม
[แก้]- 26 มกราคม – ผิน ชุณหะวัณ อดีตรองนายกรัฐมนตรี (เกิด 14 ตุลาคม พ.ศ. 2434)
พฤษภาคม
[แก้]- 12 พฤษภาคม – พระยาสุนทรพิพิธ (เชย สุนทรพิพิธ) (เกิด 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2434)
- 17 พฤษภาคม – พระสารสาสน์ประพันธ์ (ชื้น จารุวัสตร์) (เกิด 27 กันยายน พ.ศ. 2433)
- 21 พฤษภาคม – จารุพัตรา ศุภชลาศัย (ประสูติ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2447)
กันยายน
[แก้]- 29 กันยายน – หม่อมเอลีซาเบท รังสิต ณ อยุธยา (เกิด 15 กันยายน พ.ศ. 2435)
ธันวาคม
[แก้]- 3 ธันวาคม – หม่อมเจ้าพัฒนายุคุณวรรณ ดิศกุล (ประสูติ 8 มกราคม พ.ศ. 2441)