ประเทศไทยใน พ.ศ. 2440
หน้าตา
| |||||
ดูเพิ่ม: |
---|
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน พ.ศ. 2440 (ค.ศ. 1897) ในประเทศไทย เป็นปีที่ 116 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และเป็นปีที่ 30 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และนับเป็นปี ร.ศ. 115 (1 มกราคม - 31 มีนาคม) และ 116 (1 เมษายน - 31 ธันวาคม) ในแบบปัจจุบัน
ผู้นำ
[แก้]- พระมหากษัตริย์: พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
- ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์: สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ (7 เมษายน – 16 ธันวาคม)
- สยามมกุฎราชกุมาร: สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร
- เจ้าผู้ครองประเทศราช
- นครเชียงใหม่:
- พระเจ้าอินทวิชยานนท์ (จนถึง 23 พฤศจิกายน)
- เจ้าอุปราช (ตั้งแต่ 23 พฤศจิกายน)
- นครลำปาง: เจ้าอุปราช
- นครลำพูน: เจ้าอุปราช
- นครน่าน: พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช
- นครเชียงใหม่:
เหตุการณ์
[แก้]- 26 มกราคม - จัดตั้งโรงเรียนสอนกฎหมายแห่งแรกของไทยโดยพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์
- 7 เมษายน - พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ 1 และเสด็จนิวัติพระนคร 16 ธันวาคม พ.ศ. 2440 รวมระยะเวลาที่เสด็จประพาสยุโรป 253 วัน ซึ่งในครั้งนั้นได้มีช่างภาพของบริษัทลูมิแอร์ ประเทศฝรั่งเศส บันทึกภาพยนตร์การเสด็จถึงกรุงเบอร์นของพระเจ้ากรุงสยามไว้ 1 ม้วน ใช้เวลาประมาณ 1 นาที นับว่าเป็นการถ่ายภาพยนตร์ม้วนแรกของโลกที่บันทึกเกี่ยวกับชนชาติไทย
- 23 พฤศจิกายน - พระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้านครเชียงใหม่ องค์ที่ 7 ถึงแก่พิราลัยด้วยโรคชรา
ผู้เกิด
[แก้]มกราคม
[แก้]- 7 มกราคม – หม่อมหลวงจรัญ สนิทวงศ์ (หลวงจรัญสนิทวงศ์) อดีตปลัดกระทรวงคมนาคม (อนิจกรรม พ.ศ. 2501)
- 16 มกราคม – สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (จวน อุฏฺฐายี) สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 16 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (สิ้นพระชนม์ พ.ศ. 2514)
- 17 มกราคม – หม่อมเจ้าอมรสมานลักษณ์ กิติยากร พระอนุวงศ์ (สิ้นชีพิตักษัย พ.ศ. 2511)
กุมภาพันธ์
[แก้]- 5 กุมภาพันธ์
- ประยูร ภมรมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขคนที่ 12 (อนิจกรรม พ.ศ. 2525)
- นายวรกิจบรรหาร (ประยงค์ ภมรมนตรี) มหาดเล็ก (ไม่ทราบปีอนิจกรรม)
- 24 กุมภาพันธ์ – พระครูสุดานุโยค (สุข สุจิตโต) เจ้าอาวาสวัดบันไดทอง (มรณภาพ พ.ศ. 2518)
มีนาคม
[แก้]- 2 มีนาคม – สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวราลงกรณ สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 18 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (สิ้นพระชนม์ พ.ศ. 2531)
- 9 มีนาคม – พระยาไชยยศสมบัติ (เสริม กฤษณามระ) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังคนที่ 5 (อนิจกรรม พ.ศ. 2521)
- 17 มีนาคม – หม่อมเจ้าประสิทธิศักดิ์ เกษมสันต์ ผู้พิพากษาศาลมณฑลนครชัยศรี (สิ้นชีพิตักษัย พ.ศ. 2472)
- 30 มีนาคม – สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (ปุ่น ปุณฺณสิริ) สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 17 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (สิ้นพระชนม์ พ.ศ. 2516)
เมษายน
[แก้]- 5 เมษายน – สมเด็จพระธีรญาณมุนี (ธีร์ ปุณฺณโก) เจ้าคณะใหญ่หนเหนือรูปที่ 1 (มรณภาพ พ.ศ. 2527)
- 15 เมษายน – เจ้าฟ้าสิริสุวรรณราชยสสรพรหมลือ เจ้าฟ้าเชียงตุงพระองค์ที่ 43 (พิราลัย พ.ศ. 2498)
- 25 เมษายน – มงคล รัตนวิจิตร อดีตรองประธานสภาผู้แทนราษฎร (ไม่ทราบปีอนิจกรรม)
พฤษภาคม
[แก้]- 1 พฤษภาคม – สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธมฺมธโร) อดีตรองประธานสังฆสภา (มรณภาพ พ.ศ. 2517)
- 15 พฤษภาคม – บัว นิลอาชา (บัว วัดอิ่ม) ผู้ฝึกสอนมวยไทยสายโคราช (ไม่ทราบปีเสียชีวิต)
- 28 พฤษภาคม
- หม่อมเจ้าเจริญใจ จิตรพงศ์ พระอนุวงศ์ (สิ้นชีพิตักษัย พ.ศ. 2493)
- เจ้ากาวิละวงศ์ ณ เชียงใหม่ พระราชวงศ์เชียงใหม่ (พิราลัย พ.ศ. 2510)
มิถุนายน
[แก้]- 11 มิถุนายน – หลวงอิศรางกูรเสนีย์ (หม่อมหลวงแช่ม อิศรางกูร) อดีตรองเสนาธิการทหารอากาศ (อนิจกรรม พ.ศ. 2518)
กรกฎาคม
[แก้]- 7 กรกฎาคม – ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์) ผู้ประพันธ์เนื้อร้องเพลงชาติสยาม (อนิจกรรม พ.ศ. 2523)
- 14 กรกฎาคม – แปลก พิบูลสงคราม (หลวงพิบูลสงคราม) นายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 3 (อสัญกรรม พ.ศ. 2507)
- 23 กรกฎาคม – จัง จริงจิตร อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตรัง (อนิจกรรม พ.ศ. 2497)
สิงหาคม
[แก้]- 2 สิงหาคม – หลวงอธึกเทวเดช (บุญเจียม โกมลมิศร์) อดีตรัฐมนตรี (อนิจกรรม พ.ศ. 2529)
- 5 สิงหาคม – พระธรรมเสนานี (ฟุ้ง ปุณฺณโก) เจ้าคณะเขตพระนคร (มรณภาพ พ.ศ. 2527)
- 8 สิงหาคม – หม่อมเจ้าพิไลยเลขา ดิศกุล พระอนุวงศ์ (สิ้นชีพิตักษัย พ.ศ. 2528)
- 10 สิงหาคม – หม่อมเจ้าบุญจิราธร จุฑาธุช พระอนุวงศ์ (สิ้นชีพิตักษัย พ.ศ. 2523)
กันยายน
[แก้]- 18 กันยายน – ทองอยู่ เอี่ยมบุญอิ่ม อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนนทบุรี (อนิจกรรม พ.ศ. 2513)
ตุลาคม
[แก้]- 4 ตุลาคม – จิร วิชิตสงคราม (หลวงวิชิตสงคราม) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมคนที่ 9 (อนิจกรรม พ.ศ. 2522)
- 12 ตุลาคม – เมธ รัตนประสิทธิ์ (หลวงวิลาสวันวิท) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ (อนิจกรรม พ.ศ. 2512)
- 20 ตุลาคม – พระมงคลศีลาจารย์ (คร่ำ ยโสธโร) เจ้าคณะตำบลเนินฆ้อ (มรณภาพ พ.ศ. 2540)
- 21 ตุลาคม – พระครูนิยุตต์ธรรมกิจ (บุญธรรม ธมฺมปฺปสาโท) เจ้าอาวาสวัดเขาแก้ว (มรณภาพ พ.ศ. 2523)
ธันวาคม
[แก้]- 2 ธันวาคม – หลวงบริบาลบุรีภัณฑ์ (ป่วน อินทุวงศ์) นักประวัติศาสตร์ (อนิจกรรม พ.ศ. 2529)
- ไม่ทราบวัน – ฟื้น สุพรรณสาร อดีตรองประธานสภาผู้แทนราษฎร (อนิจกรรม พ.ศ. 2503)
ไม่ทราบวัน
[แก้]- นายจ่ายวด (ปาณี ไกรฤกษ์) มหาดเล็ก (อนิจกรรม พ.ศ. 2462)
- สงวน รุจิราภา อดีตเจ้ากรมการแพทย์การเรือ (อนิจกรรม พ.ศ. 2499)
- พระศรีวรานุรักษ์ (ศรี บุญเฉลียว) อดีตนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ (อนิจกรรม พ.ศ. 2518)
- พระอธิการโต๊ะ เลี้ยงประเสริฐ เจ้าอาวาสวัดคุ้งตะเภา (ไม่ทราบปีมรณภาพ)
ผู้เสียชีวิต
[แก้]มกราคม
[แก้]- 2 มกราคม – เจ้าจอมกิมเหนียว พระสนมในรัชกาลที่ 5 (ไม่ทราบปีเกิด)
เมษายน
[แก้]- 8 เมษายน – หม่อมอิน หม่อมของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (เกิด พ.ศ. 2365)
พฤษภาคม
[แก้]- 29 พฤษภาคม – พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโอภาสไพศาลรัศมี พระบรมวงศ์ (ประสูติ พ.ศ. 2416)
สิงหาคม
[แก้]- 18 สิงหาคม – พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าไชยรัตนวโรภาส พระบรมวงศ์ (ประสูติ พ.ศ. 2419)
- 24 สิงหาคม – พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธิดาจำรัสแสงศรี พระบรมวงศ์ (ประสูติ พ.ศ. 2414)
พฤศจิกายน
[แก้]- 23 พฤศจิกายน – พระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่พระองค์ที่ 7 (ประสูติ พ.ศ. 2360)
- 26 พฤศจิกายน – พระยาประธานนคโรไทย (รอด รัตนวราห) จางวางกำกับราชการเมืองอุไทยธานี (เกิด พ.ศ. 2346)
ธันวาคม
[แก้]- 8 ธันวาคม – พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์ อดีตอธิบดีกรมพระนครบาล (ประสูติ พ.ศ. 2398)