ประเทศไทยใน พ.ศ. 2500
หน้าตา
| |||||
ดูเพิ่ม: |
---|
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1957) ในประเทศไทย เป็นปีที่ 176 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และเป็นปีที่ 12 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
ผู้นำ
[แก้]- พระมหากษัตริย์: พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
- นายกรัฐมนตรี:
- แปลก พิบูลสงคราม (ธรรมาธิปัตย์, เสรีมนังคศิลา) (จนถึง 16 กันยายน)
- สฤษดิ์ ธนะรัชต์ (รัฐประหาร, ผู้ใช้อำนาจ) (16 – 21 กันยายน)
- พจน์ สารสิน (อิสระ) (ตั้งแต่ 21 กันยายน)
- คณะผู้ยึดอำนาจการปกครอง: คณะปฏิวัติ (16 – 21 กันยายน)
- หัวหน้าคณะปฏิวัติ: สฤษดิ์ ธนะรัชต์ (16 – 21 กันยายน)
- สภาผู้แทนราษฎร:
- ประธานสภาผู้แทนราษฎร:
- พระประจนปัจจนึก (แต่งตั้ง) (จนถึง 25 กุมภาพันธ์)
- พระประจนปัจจนึก (แต่งตั้ง) (15 มีนาคม – 20 กันยายน)
- หลวงสุทธิสารรณกร (แต่งตั้ง) (20 กันยายน – 14 ธันวาคม)
- พระประจนปัจจนึก (แต่งตั้ง) (ตั้งแต่ 15 ธันวาคม)
- ประธานศาลฎีกา: พระมนูเวทย์วิมลนาท
เหตุการณ์
[แก้]กุมภาพันธ์
[แก้]- 20 กุมภาพันธ์ - วันก่อตั้ง "สมาคมทนายความ" ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นสมาคมทนายความแห่งประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2518
- 26 กุมภาพันธ์ - มีการเลือกตั้งทั่วไปทั้งประเทศ ที่ได้ชื่อว่าเป็น "การเลือกตั้งที่สกปรกที่สุดในประวัติศาสตร์" โดยมีการโกงการเลือกตั้งหลายวิธี และใช้เวลานับคะแนนนานถึง 7 วัน 7 คืน
สิงหาคม
[แก้]- 23 สิงหาคม - พระราชพิธีสมโภชเดือนและขึ้นพระอู่ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต
กันยายน
[แก้]- 16 กันยายน - รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2500 : จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ก่อรัฐประหารยึดอำนาจจอมพล ป. พิบูลสงคราม และแต่งตั้งพจน์ สารสิน เป็นนายกรัฐมนตรี โดยประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2495 เพื่อเตรียมการเลือกตั้งครั้งใหม่
ธันวาคม
[แก้]- 15 ธันวาคม - มีการเลือกตั้งทั่วไป นายพจน์ สารสิน ลาออกจากตำแหน่ง สภามีมติให้ พลโท ถนอม กิตติขจร ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2501
ไม่ทราบวัน
[แก้]- เริ่มก่อสร้างวัดไทยพุทธคยา ณ เมืองคยา รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย เพื่อร่วมฉลอง 25 พุทธศตวรรษ เช่นเดียวกับการสร้างพุทธมณฑลในประเทศไทย
- สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เข้าเป็นภาคีสมาชิกสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย
วันเกิด
[แก้]มกราคม
[แก้]- 2 มกราคม - เจินเจิน บุญสูงเนิน นักร้อง
- 25 มกราคม - ชัยชาญ ช้างมงคล นักการเมือง
กุมภาพันธ์
[แก้]- 5 กุมภาพันธ์ - ธีระชัย แสนแก้ว นักการเมือง
เมษายน
[แก้]- 30 เมษายน - นิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ นักการเมือง
พฤษภาคม
[แก้]- 2 พฤษภาคม - สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี อดีตรองนายกรัฐมนตรี
- 28 พฤษภาคม - วัฒนา เมืองสุข นักการเมือง
มิถุนายน
[แก้]- 14 มิถุนายน - ทนุศักดิ์ เล็กอุทัย นักการเมือง
- 20 มิถุนายน - หม่อมราชวงศ์พงษ์สวัสดิ์ สวัสดิวัตน์
กรกฎาคม
[แก้]- 4 กรกฎาคม - สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสางควัฒน วรขัตติยราชนารี
- 13 กรกฎาคม - พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ
- 17 กรกฎาคม - สุชาติ โชคชัยวัฒนากร นักการเมือง
สิงหาคม
[แก้]- 19 สิงหาคม - ระวี หิรัญโชติ นักการเมือง
- 20 สิงหาคม - ปานปรีย์ พหิทธานุกร อดีตรองนายกรัฐมนตรี
- 23 สิงหาคม - ศักดิ์สิริ มีสมสืบ ศิลปินแห่งชาติ
- 29 สิงหาคม - พงษ์เทพ หนูเทพ องคมนตรี
กันยายน
[แก้]- 3 กันยายน - สมชาย เบญจรงคกุล นักการเมือง
- 9 กันยายน - เดือนเต็ม สาลิตุล นักแสดง
- 15 กันยายน - จิราวัฒน์ วชิรศรัณย์ภัทร นักพากย์
ตุลาคม
[แก้]- 17 ตุลาคม - สุวิทย์ คุณกิตติ อดีตรองนายกรัฐมนตรี
- 20 ตุลาคม - เฉลิมชัย สิทธิสาท องคมนตรี
- 31 ตุลาคม - พวงเพ็ชร ชุนละเอียด นักการเมือง
พฤศจิกายน
[แก้]- 1 พฤศจิกายน - อุทุมพร ศิลาพันธ์ นักแสดง
- 2 พฤศจิกายน - ปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข นักการเมือง
- 9 พฤศจิกายน - ธีระ สลักเพชร นักการเมือง
- 27 พฤศจิกายน - อรสม สุทธิสาคร ศิลปินแห่งชาติ
- 28 พฤศจิกายน - นัยนา ชีวานันท์ นักแสดง
ธันวาคม
[แก้]- 17 ธันวาคม - สุรพงษ์ อึ้งอัมพรวิไล นักการเมือง
วันถึงแก่กรรม
[แก้]มกราคม
[แก้]- 23 มกราคม - พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมเขตรมงคล (ประสูติ 10 มีนาคม พ.ศ. 2435)
มิถุนายน
[แก้]- 18 มิถุนายน - หม่อมเจ้าดิลกฤทธิ์ กฤดากร (ประสูติ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2451)
พฤศจิกายน
[แก้]- 2 พฤศจิกายน - หม่อมเจ้าเสรฐศิริ กฤดากร (ประสูติ 26 มีนาคม พ.ศ. 2424)