ข้ามไปเนื้อหา

กลุ่ม 40 ส.ว.

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

กลุ่ม 40 ส.ว. เป็นการรวมตัวกันของสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ในขณะนั้น จำนวน 40 คน ตามสถานการณ์ต่าง ๆ ซึ่งส่วนใหญ่มีความขัดแย้งกับทักษิณ ชินวัตร และพรรคการเมืองที่ทักษิณก่อตั้ง เช่น พรรคพลังประชาชน และพรรคเพื่อไทย เป็นต้น โดยปัจจุบันสามารถแบ่งได้เป็น 2 ชุด ใน 2 ยุค ดังนี้

พ.ศ. 2551

[แก้]

กลุ่ม 40 ส.ว. ชุดปี พ.ศ. 2551 เป็นการรวมตัวกันของสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ที่มาจากการเลือกตั้งและจากการสรรหา โดยไม่มีการจดทะเบียนหรือมีกฎระเบียบข้อบังคับอย่างเป็นทางการ สมาชิกในกลุ่มนี้เป็นที่รู้จักเนื่องจากมีความกระตือรือร้นในการทำงาน มักอภิปรายในสภาและยื่นญัตติต่าง ๆ ซึ่งทำให้กลุ่มนี้มีบทบาทที่โดดเด่นและเป็นที่จับตามองจากสื่อมวลชนและสาธารณชน[1]

ประวัติ

[แก้]

กลุ่ม 40 ส.ว. ชุดปี พ.ศ. 2551 เป็นการรวมตัวกันของสมาชิกวุฒิสภาประมาณ 40 คน ร่วมหารือถึงการลงชื่อเพื่อเปิดอภิปรายทั่วไป ครม. สมัคร โดยไม่ลงมติ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 161 [2] [3] ประกอบด้วยสมาชิกวุฒิสภาที่มีจุดยืนในการคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 และมีการดำเนินการทางการเมืองที่ชัดเจนในการต่อต้านกลุ่มการเมืองที่พวกเขาเห็นว่าไม่ถูกต้อง กลุ่มนี้มีลักษณะแนวทางไม่เห็นด้วยกับพรรคพลังประชาชนและพรรคเพื่อไทยที่มีการสนับสนุนทักษิณ ชินวัตร

วิกฤตการณ์การเมืองในประเทศไทย พ.ศ. 2548-2552 กลุ่ม 40 สว. มีบทบาทสำคัญในการอภิปรายและการตัดสินใจต่างๆ เพื่อหาทางออกจากวิกฤติ มีผลงานเด่น ๆ ได้แก่ เรียกร้องให้นายสมัครลาออกหรือยุบสภาหลังเกิดเหตุการณ์ นปช. ปะทะพันธมิตรฯ ที่ถนนราชดำเนิน , การยื่นวินิจฉัยกรณีจัดรายการชิมไปบ่นไปของนายสมัคร สุนทรเวช จนต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจากคำพิพากษาของศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2551 , ลงชื่อคัดค้านการก่อสร้างรัฐสภาใหม่ที่เกียกกาย, ไม่เข้าร่วมประชุมรัฐสภา เพื่อรับฟังการแถลงนโยบายของรัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ และเรียกร้องนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ลาออกหรือยุบสภา เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อเหตุการณ์การสลายการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยด้วยความรุนแรงในวันที่ 7 ตุลาคม ที่หน้าอาคารรัฐสภา เคยยื่นศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยกรณีนายสมชายถือหุ้น บ.ซีเอส ล็อกอินโฟร์ จำกัด และยังได้คัดค้านการแก้ไข รธน.ปี 50 ไม่เห็นด้วยกับการตั้ง ส.ส.ร.3 เป็นต้น

หลังจากที่สมาชิกในกลุ่มหมดวาระการดำรงตำแหน่ง สถานะของกลุ่มก็เริ่มห่างหายไป สมาชิกบางคนที่เคยมีบทบาทสำคัญในการประสานงานกลุ่มก็ไม่ได้รับการเลือกตั้งใหม่ ทำให้กลุ่ม 40 สว. เริ่มแตกแยกและไม่ได้มีการประชุมหรือทำงานร่วมกันอย่างเป็นทางการเหมือนเดิม แต่สมาชิกบางส่วนยังคงมีการพบปะและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในบางโอกาสตามความเหมาะสม

รายชื่อ

[แก้]

สายสรรหา

[แก้]

สายเลือกตั้ง

[แก้]

ข้อเสนอการปฏิรูปประเทศก่อนเลือกตั้ง

[แก้]

ในวันที่ 14-16 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ส.ว. ไพบูลย์ นิติตะวัน ได้ไปร่วมรายการ เจาะข่าวเด่น ของ สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 พร้อมกับชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ ดำเนินรายการโดย สรยุทธ สุทัศนะจินดา นายไพบูลย์ ยืนยันว่า นายกคนกลางที่ตนไม่สามารถเปิดเผยชื่อได้นั้น เมื่อเข้ามาดำรงตำแหน่ง จะสามารถแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ และความขัดแย้งได้ หากมีผู้ต่อต้าน ไม่ยอมรับ ก็จะสามารถจัดการกับปัญหาได้ นาย ไพบูลย์ ยืนยันว่าการแต่งตั้งนายกคนกลางนั้นเป็นเป็นไปตามมาตรา 7 ถ้าใช้มาตรา 7 ไม่ได้ ก็สามารถใช้อำนาจตามมาตรา 3 ของรัฐธรรมนูญได้ และเมื่อถูกซักถามจากนายชูวิทย์ ว่าที่จะปฏิรูป จะทำอะไรบ้าง? ในที่สุดนายไพบูลย์ จึงได้บอกรายละเอียดของการปฏิรูปคร่าวๆ ออกมาโดยกล่าวว่า

1. "พรรคการเมืองไม่ให้ใครไปเป็นเจ้าของ มหาชนเป็นเจ้าของ"

2. "ติดป้าย ติดเป้ยอะไร ไม่ต้องไปติด กกต. ไปติดให้เอง หาเสียงให้"

3. "เวลาเลือกตั้งเข้ามา ห้ามหาเสียงอะไรที่นอกจากการเป็น ส.ส. ทำหน้าที่นิติบัญญัติ คุณก็พูดแต่เรื่องกฎหมาย ไปพูดเรื่องบ้าเรื่องบออะไร 2 ล้านล้าน"

ซึ่งแบ่งเป็นประเด็นหลักๆ 3 ข้อ ซึ่งก็ถูกซักจากนายชูวิทย์ ว่าทำไม่ได้ในทางปฏิบัติ ไม่สามารถรับประกันการแก้ไขปัญหาได้ และเมื่อมองในรายละเอียดแล้วก็มีปัญหาจริง เช่น

ตามข้อ 1. ถึงนายทุนไม่ได้เป็นเจ้าของพรรค แต่พรรคก็ต้องทำตามมติพรรค ซึ่งจะโน้มเอียงไปตามความเห็นของหัวหน้าพรรคการเมืองอยู่ดี

ตามข้อ 2. หมายความว่า กกต. เป็นผู้หาเสียง และ พรรคการเมืองไม่มีสิทธิในการหาเสียง หมายความว่าหาก กกต. ไม่เป็นกลางอย่างแท้จริง อาจจะไม่หาเสียงให้พรรคการเมืองที่เป็นฝ่ายตรงข้ามกับตน

ตามข้อ 3. เป็นการยึดอำนาจบริหารจาก สภาผู้แทนราษฎรไทย และอนุญาตให้มีแค่อำนาจนิติบัญญัติเท่านั้น ซึ่งทำให้รัฐบาลไม่สามารถบริหาร หรือ ดำเนินโครงการพัฒนาประเทศใดๆ ได้

พ.ศ. 2567

[แก้]

กลุ่ม 40 ส.ว. ในปี พ.ศ. 2567 เป็นคำที่สื่อมวลชนใช้เรียกกลุ่มสมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 12 ที่แต่งตั้งโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จำนวน 40 คน ที่ได้ยื่นเรื่องต่อพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานวุฒิสภาในขณะนั้น เพื่อให้ส่งเรื่องต่อไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยถอดถอนนายเศรษฐา ทวีสิน ออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 170 วรรคสาม ประกอบมาตรา 82 จากกรณีที่เศรษฐาแต่งตั้งพิชิต ชื่นบาน เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี โดยขาดคุณสมบัติ[4]

รายชื่อ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ข่าวโพสต์ทูเดย์ กลุ่ม40สว.ต่างสภา"มุ่งทำงานไม่คิดแก้แค้น"
  2. ส.ว.เอาแน่ซักฟอกรัฐบาล ไทยรัฐ 7 มิ.ย. 51
  3. สภาสูงล่าชื่อ40ส.ว.ยื่นซักฟอกรัฐบาล Dailynews เก็บถาวร 2008-06-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 7 มิ.ย. 51
  4. "เปิดรายชื่อ 40 สว. ยื่นศาลรัฐธรรมนูญ ถอดถอนนายกฯเศรษฐา". อมรินทร์ทีวี. 25 พฤษภาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 22 สิงหาคม 2024.