ข้ามไปเนื้อหา

คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 58

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คณะรัฐมนตรีสมชาย
คณะรัฐมนตรีคณะที่ 58 แห่งราชอาณาจักรไทย
กันยายน - ธันวาคม พ.ศ. 2551
วันแต่งตั้ง24 กันยายน พ.ศ. 2551
วันสิ้นสุด19 ธันวาคม พ.ศ. 2551
(0 ปี 86 วัน)
บุคคลและองค์กร
พระมหากษัตริย์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
นายกรัฐมนตรีสมชาย วงศ์สวัสดิ์ (พปช.)
ชวรัตน์ ชาญวีรกูล ปฏิบัติหน้าที่แทน
รองนายกรัฐมนตรี
จำนวนรัฐมนตรีทั้งหมด35
พรรคร่วมรัฐบาลพรรคพลังประชาชน
พรรคชาติไทย
พรรคเพื่อแผ่นดิน
พรรคมัชฌิมาธิปไตย
พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา
พรรคประชาราช
พรรคเพื่อไทย
สถานะในสภานิติบัญญัติรัฐบาลผสม
298 / 466
พรรคฝ่ายค้านพรรคประชาธิปัตย์
ผู้นำฝ่ายค้านอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ประวัติ
การเลือกตั้ง
การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี17 กันยายน พ.ศ. 2551
สภานิติบัญญัติสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 23
วาระสภานิติบัญญัติ4 ปี
ก่อนหน้าคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 57
ถัดไปคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 59

คณะรัฐมนตรีคณะที่ 58 (24 กันยายน – 19 ธันวาคม พ.ศ. 2551) หรือที่รู้จักกันในชื่อ คณะรัฐมนตรีสมชาย (ครม.สมชาย 1)

นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี ตามประกาศพระบรมราชโองการ เมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2551 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงลงพระปรมาภิไธยในประกาศ โดยมีนายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ และในวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2551 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม แต่งตั้งคณะรัฐมนตรี โดยมี นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

คณะรัฐมนตรีคณะนี้เป็นคณะแรกที่ไม่สามารถทำงานภายในทำเนียบรัฐบาลไทยได้ เนื่องจากทำเนียบรัฐบาลไทยในขณะนั้นถูกยึดโดยกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย โดยได้ใช้ท่าอากาศยานดอนเมืองเป็นที่ทำการชั่วคราวจนสิ้นสุดวาระ

รายชื่อรัฐมนตรี

รัฐมนตรีว่าการกระทรวง ดำรงตำแหน่งเมื่อตั้งคณะรัฐมนตรี ดำรงตำแหน่งจนสิ้นสุดคณะรัฐมนตรี
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง แต่งตั้งเพิ่ม เปลี่ยนแปลง/โยกย้ายไปตำแหน่งอื่น
รัฐมนตรีลอย ย้ายมาจากตำแหน่งอื่น ออกจากตำแหน่ง
คณะรัฐมนตรีคณะที่ 58 ของไทย
ตำแหน่ง ลำดับ รายนาม เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ หมายเหตุ พรรคการเมือง
นายกรัฐมนตรี * สมชาย วงศ์สวัสดิ์ 18 กันยายน พ.ศ. 2551 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ตัดสิทธิ์ทางการเมือง 5 ปี พลังประชาชน
ชวรัตน์ ชาญวีรกูล 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 19 ธันวาคม พ.ศ. 2551 รักษาการแทนนายกรัฐมนตรี พลังประชาชน
รองนายกรัฐมนตรี 1 ชวรัตน์ ชาญวีรกูล 24 กันยายน พ.ศ. 2551 19 ธันวาคม พ.ศ. 2551 พลังประชาชน
พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ 24 กันยายน พ.ศ. 2551 7 ตุลาคม พ.ศ. 2551 ลาออกจากตำแหน่ง พลังประชาชน
สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ 24 กันยายน พ.ศ. 2551 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ตัดสิทธิ์ทางการเมือง 5 ปี พลังประชาชน
2 โอฬาร ไชยประวัติ 24 กันยายน พ.ศ. 2551 19 ธันวาคม พ.ศ. 2551 พลังประชาชน
3 พลตรีสนั่น ขจรประศาสน์ 24 กันยายน พ.ศ. 2551 19 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ชาติไทย
สำนักนายกรัฐมนตรี สุขุมพงศ์ โง่นคำ 24 กันยายน พ.ศ. 2551 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ตัดสิทธิ์ทางการเมือง 5 ปี พลังประชาชน
4 สุพล ฟองงาม 24 กันยายน พ.ศ. 2551 19 ธันวาคม พ.ศ. 2551 พลังประชาชน
กลาโหม * สมชาย วงศ์สวัสดิ์ 24 กันยายน พ.ศ. 2551 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ตัดสิทธิ์ทางการเมือง 5 ปี
(ให้ปลัดกระทรวงกลาโหม รักษาราชการแทน)
พลังประชาชน
การคลัง 5 สุชาติ ธาดาธำรงเวช 24 กันยายน พ.ศ. 2551 19 ธันวาคม พ.ศ. 2551 เพื่อไทย[a]
6 ประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ 24 กันยายน พ.ศ. 2551 19 ธันวาคม พ.ศ. 2551 รวมใจไทยชาติพัฒนา
7 ระนองรักษ์ สุวรรณฉวี 24 กันยายน พ.ศ. 2551 19 ธันวาคม พ.ศ. 2551 เพื่อแผ่นดิน
การต่างประเทศ * สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ 24 กันยายน พ.ศ. 2551 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ตัดสิทธิ์ทางการเมือง 5 ปี พลังประชาชน
การท่องเที่ยวและกีฬา วีระศักดิ์ โควสุรัตน์ 24 กันยายน พ.ศ. 2551 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ตัดสิทธิ์ทางการเมือง 5 ปี ชาติไทย
* พลตรีสนั่น ขจรประศาสน์ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 19 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ชาติไทย
การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 8 อุดมเดช รัตนเสถียร 24 กันยายน พ.ศ. 2551 19 ธันวาคม พ.ศ. 2551 พลังประชาชน
เกษตรและสหกรณ์ สมศักดิ์ ปริศนานันทกุล 24 กันยายน พ.ศ. 2551 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ตัดสิทธิ์ทางการเมือง 5 ปี ชาติไทย
* พลตรีสนั่น ขจรประศาสน์ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 19 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ชาติไทย
ธีระชัย แสนแก้ว 24 กันยายน พ.ศ. 2551 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ตัดสิทธิ์ทางการเมือง 5 ปี พลังประชาชน
สมพัฒน์ แก้วพิจิตร 24 กันยายน พ.ศ. 2551 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ตัดสิทธิ์ทางการเมือง 5 ปี ชาติไทย
คมนาคม 9 สันติ พร้อมพัฒน์ 24 กันยายน พ.ศ. 2551 19 ธันวาคม พ.ศ. 2551 พลังประชาชน
10 โสภณ ซารัมย์ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 19 ธันวาคม พ.ศ. 2551 พลังประชาชน
วราวุธ ศิลปอาชา 24 กันยายน พ.ศ. 2551 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ตัดสิทธิ์ทางการเมือง 5 ปี ชาติไทย
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อนงค์วรรณ เทพสุทิน 24 กันยายน พ.ศ. 2551 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ตัดสิทธิ์ทางการเมือง 5 ปี มัชฌิมาธิปไตย
พลตำรวจเอกประชา พรหมนอก 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 19 ธันวาคม พ.ศ. 2551 เพื่อแผ่นดิน
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 11 มั่น พัธโนทัย 24 กันยายน พ.ศ. 2551 19 ธันวาคม พ.ศ. 2551 เพื่อแผ่นดิน
พลังงาน 12 วรรณรัตน์ ชาญนุกูล 24 กันยายน พ.ศ. 2551 19 ธันวาคม พ.ศ. 2551 รวมใจไทยชาติพัฒนา
พาณิชย์ ไชยา สะสมทรัพย์ 24 กันยายน พ.ศ. 2551 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ตัดสิทธิ์ทางการเมือง 5 ปี พลังประชาชน
สงคราม กิจเลิศไพโรจน์ 24 กันยายน พ.ศ. 2551 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ตัดสิทธิ์ทางการเมือง 5 ปี พลังประชาชน
พันตำรวจโทบรรยิน ตั้งภากรณ์ 24 กันยายน พ.ศ. 2551 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ตัดสิทธิ์ทางการเมือง 5 ปี มัชฌิมาธิปไตย
13 โอฬาร ไชยประวัติ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 19 ธันวาคม พ.ศ. 2551 พลังประชาชน
มหาดไทย 14 พลตำรวจเอกโกวิท วัฒนะ 24 กันยายน พ.ศ. 2551 19 ธันวาคม พ.ศ. 2551 พลังประชาชน
15 ปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข 24 กันยายน พ.ศ. 2551 19 ธันวาคม พ.ศ. 2551 พลังประชาชน
16 ประสงค์ โฆษิตานนท์ 24 กันยายน พ.ศ. 2551 19 ธันวาคม พ.ศ. 2551 พลังประชาชน
ยุติธรรม 17 สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ 24 กันยายน พ.ศ. 2551 19 ธันวาคม พ.ศ. 2551 พลังประชาชน
แรงงาน 18 อุไรวรรณ เทียนทอง 24 กันยายน พ.ศ. 2551 19 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ประชาราช
วัฒนธรรม 19 วรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล 24 กันยายน พ.ศ. 2551 19 ธันวาคม พ.ศ. 2551 พลังประชาชน
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 20 วุฒิพงศ์ ฉายแสง 24 กันยายน พ.ศ. 2551 19 ธันวาคม พ.ศ. 2551 พลังประชาชน
ศึกษาธิการ ศรีเมือง เจริญศิริ 24 กันยายน พ.ศ. 2551 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ตัดสิทธิ์ทางการเมือง 5 ปี พลังประชาชน
21 วรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 19 ธันวาคม พ.ศ. 2551 พลังประชาชน
สาธารณสุข 22 ร้อยตำรวจเอกเฉลิม อยู่บำรุง 24 กันยายน พ.ศ. 2551 19 ธันวาคม พ.ศ. 2551 พลังประชาชน
23 วิชาญ มีนชัยนันท์ 24 กันยายน พ.ศ. 2551 19 ธันวาคม พ.ศ. 2551 พลังประชาชน
อุตสาหกรรม 24 พลตำรวจเอกประชา พรหมนอก 24 กันยายน พ.ศ. 2551 19 ธันวาคม พ.ศ. 2551 เพื่อแผ่นดิน
  1. เดิมสังกัดพรรคพลังประชาชน ต่อมาได้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคเพื่อไทยเมื่อวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2551

การเปลี่ยนแปลงคณะรัฐมนตรี

นโยบายและผลงาน

  • เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์

ความมั่นคง

  • แก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้
  • ส่งเสริมความร่วมมือในการพัฒนาและสร้างสัมพันธไมตรีที่ดีในภูมิภาค
  • จัดตั้งสภาเกษตรกรและสร้างระบบประกันความเสี่ยง

เศรษฐกิจ

  • แก้ไขปัญหาวิกฤติสถาบันการเงินในประเทศ
  • เร่งรัดการลงทุนที่สำคัญของประเทศ
  • สร้างกลไกในการบริหารจัดการความเสี่ยงที่เกิดจากวิกฤติการเงินของโลกที่ส่งผลต่อการเคลื่อนย้ายเงินทุนทั้งระยะสั้นและระยะยาว
  • เดินหน้าโครงการ 6 มาตรการ 6 เดือน ช่วยคนจน

สิทธิมนุษยชน

  • เร่งรัดปราบปรามการค้ายาเสพติด ปราบปรามผู้มีอิทธิพล อบายมุขและสิ่งยั่วยุเยาวชน

อื่นๆ

คำชื่นชม

คำวิจารณ์

หลังจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ ใช้แก๊สน้ำตาในการสลายการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่หน้าอาคารรัฐสภา เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม คณาจารย์ส่วนหนึ่งของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ได้ตั้งสมญานามแก่รัฐบาลชุดนี้ว่า รัฐบาลมือเปื้อนเลือด[1]

วันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 อาจารย์ธีรยุทธ บุญมี อาจารย์ประจำคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แถลงข่าวถึงสถานการณ์ทางการเมือง ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ พร้อมทั้ง ตั้งฉายารัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี ว่าเป็น "รัฐบาลชายกระโปรง"[2]

การสิ้นสุดของคณะรัฐมนตรี

เมื่อเวลา 12.30 น. ของวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ศาลรัฐธรรมนูญได้อ่านคำวินิจฉัยคดียุบพรรคพลังประชาชน พรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมาธิปไตย อันเนื่องมาจากกรณีทุจริตการเลือกตั้งของนายยงยุทธ ติยะไพรัช ภายหลังนายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย และนางอนงค์วรรณ เทพสุทิน หัวหน้าพรรคมัชฌิมาธิปไตย แถลงด้วยวาจาเสร็จสิ้นแล้ว โดยไม่รอพรรคพลังประชาชนไม่ได้ส่งตัวเข้าแถลงปิดคดีแต่อย่างใด

ต่อมา ศาลรัฐธรรมนูญได้อ่านคำวินิจฉัยในส่วนของพรรคพลังประชาชน ด้วยมติเอกฉันท์ 9 ต่อ 0 ให้ยุบพรรคพลังประชาชน และตัดสิทธิทางการเมืองหัวหน้าพรรค และกรรมการบริหารพรรค 5 ปี (รวม 37 คน) ทำให้สมชาย วงศ์สวัสดิ์ ในฐานะรักษาการหัวหน้าพรรคพลังประชาชน ต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีโดยปริยาย โดยรัฐมนตรีที่ไม่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง 5 ปี ยังต้องปฏิบัติหน้าที่ต่อไปตามเดิม โดยแต่งตั้งให้ชวรัตน์ ชาญวีรกูล ปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรี จนกว่าจะมีการลงมติเลือกนายกคนใหม่ และจนกระทั่งได้คณะรัฐมนตรีชุดใหม่

จากนั้นศาลรัฐธรรมนูญได้อ่านคำวินิจฉัยในส่วนของพรรคมัชฌิมาธิปไตย โดยมีมติให้ยุบพรรคมัฌชิมาฯ และตัดสิทธิทางการเมืองหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรค 5 ปี (รวม 43 คน)

ต่อมาศาลรัฐธรรมนูญมีมติเสียงข้างมาก 8 ต่อ 1 ให้ยุบพรรคชาติไทยตามไปอีกพรรค โดยศาลฯได้วินิจฉัยว่ามีความผิดตามมาตรา 237 วรรค 2 และมาตรา 68 ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ ถือว่าเป็นข้อเท็จจริงที่ปฏิเสธไม่ได้ และกฎหมายได้เอาไว้เป็นเด็ดขาด แม้จะมีการโต้แย้งว่าหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรคคนอื่นฟังไม่ขึ้น (รวม 29 คน) [3]

อ้างอิง