ข้ามไปเนื้อหา

สโมสรฟุตบอลการท่าเรือ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก การท่าเรือไทย เอฟ.ซี.)
การท่าเรือ
ชื่อเต็มสโมสรฟุตบอลการท่าเรือ
ฉายาสิงห์เจ้าท่า
ก่อตั้งพ.ศ. 2510
สนามแพตสเตเดียม
ความจุ6,250 ที่นั่ง
เจ้าของบริษัท การท่าเรือ เอฟซี จำกัด
ประธานเฉลิมโชค ล่ำซำ
ผู้จัดการธัญญะ วงศ์นาค
ผู้ฝึกสอนรังสรรค์ วิวัฒน์ชัยโชค
ลีกไทยลีก
2566–67อันดับที่ 3
สีชุดทีมเยือน
สีชุดที่สาม
ฤดูกาลปัจจุบัน
สโมสรกีฬาของ
การท่าเรือแห่งประเทศไทย
ฟุตบอล ฟุตบอลบี ฟุตซอล

สโมสรฟุตบอลการท่าเรือ (อังกฤษ: Port F.C.) เป็นสโมสรฟุตบอลในประเทศไทย โดยได้เข้ามาร่วมเล่นในไทยลีก ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2539 ซึ่งในอดีตสโมสรนี้มีชื่อว่า การท่าเรือแห่งประเทศไทย, การท่าเรือไทย และ สิงห์ท่าเรือ

ประวัติสโมสร

[แก้]

ยุคก่อนระบบฟุตบอลลีก

[แก้]

สโมสร ก่อตั้งเมื่อปี 2510 ในชื่อ สโมสรการท่าเรือแห่งประเทศไทย โดยเริ่มต้นจากพนักงานการท่าเรือฯ 3 ท่าน คือ อำพล สิงห์สุมาลี, สง่า บังเกิดลาภ และ พี่เดียร์ (นามสมมุติ) โดยในช่วงแรก ส่งทีมร่วมแข่งขันในฟุตบอลระดับเยาวชน และถ้วยน้อย ก่อนที่ในเวลาต่อมา พลตรี ประจวบ สุนทรางกูร ผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย (ในขณะนั้น) ได้ให้ความสำคัญ และเข้าร่วมดูแลสโมสร โดยมีโค้ชในยุคแรก คือ ทวิช นรเดชานนท์ และ ไพสิต คชเสนี[1]

โดยเริ่มต้นส่งเข้าร่วมการแข่งขัน ถ้วยพระราชทาน ง. โดยชนะเลิศการแข่งขัน 3 สมัยติดต่อกันในปี 2510 - 2512 ทำให้ในปี 2513 จึงได้รับเชิญเข้าร่วมการแข่งขัน ถ้วยพระราชทาน ก. และได้ตำแหน่งชนะเลิศ ตั้งแต่ครั้งแรกที่เข้าร่วมการแข่งขัน[2]

ต่อมาในช่วงปี 2519 ถึง 2522 นับว่าเป็นช่วงที่ดีที่สุดของสโมสร โดยมี น.อ.ลาโภ อิศรางกูร ณ อยุธยา (ร.น.) ซึ่งเป็นผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย ในช่วงนั้นเป็นผู้ให้การสนับสนุนทีมท่าเรืออย่างเต็มกำลัง จนสามารถคว้าตำแหน่งชนะเลิศ ถ้วยพระราชทาน ก. ได้ 3 สมัย และชนะเลิศ ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานควีนสคัพ ได้ในปี 2521-2523 (โดยในปี 2520 และ 2522 ได้ตำแหน่งชนะเลิศร่วมกัน)[2] ขณะเดียวกันในการแข่งขันฟุตบอลกีฬาท่าเรือระหว่างประเทศ สโมสรก็ยังสามารถทำผลงานได้ตำแหน่งชนะเลิศ การแข่งขันฟุตบอลกีฬาท่าเรืออาเซียน 4 สมัยอีกด้วย

ต่อมาในปี 2534 สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ได้มีนโยบายในการที่จะจัดการแข่งขันฟุตบอลอาชีพ โดยให้สโมสรที่ลงทำการแข่งขันในระดับ ถ้วยพระราชทาน ก. เป็นทีมยืนในการแข่งขัน โดย สโมสร ต้องยกเลิกการส่งสโมสรเข้าร่วมแข่งขันใน ฟุตบอลถ้วยพระราชทาน ทุกประเภท เพื่อเข้าร่วมการแข่งขัน ฟุตบอลลีกอาชีพในขณะนั้น (การแข่งขัน ไทยแลนด์เซมิโปรลีก)

ยุคระบบฟุตบอลลีก

[แก้]

ต่อมาในปี 2539 ได้มีการจัดการแข่งขัน ไทยลีก ฤดูกาล 2539/40 ขึ้น โดยเป็นหนึ่งใน 18 สโมสรแรกที่ร่วมทำการแข่งขัน และทำผลงานโดยจบอันดับที่ 11 จาก 18 สโมสร

ต่อมาในปี 2552 หลังจากที่ได้มีการปรับโครงสร้างของลีกให้เป็นมืออาชีพ สโมสร ก็ต้องทำการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลด้วย โดยได้มีการจดทะเบียนในนาม บจก.สโมสรฟุตบอลการท่าเรือไทย โดยมี พิเชษฐ์ มั่นคง เป็นประธานสโมสร และในปีนั้น สโมสรสามารถชนะเลิศการแข่งขัน ไทยแลนด์ เอฟเอคัพ ได้โดยเอาชนะจุดโทษ สโมสรบีอีซี เทโรศาสน 5-4 ซึ่งเป็นการได้ตำแหน่งชนะเลิศครั้งแรกในรอบ 16 ปี โดยความสำเร็จครั้งสุดท้ายคือ ชนะเลิศ ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทาน ควีนสคัพ เมื่อปี 2536

ต่อมาในปี 2555 ได้มีการเปลื่ยนแปลงผู้บริหาร ทำให้มีการเปลื่ยนชื่อสโมสรเป็น สโมสรฟุตบอลสิงห์ท่าเรือ พร้อมกับเปลี่ยนทีมผู้ฝึกสอนและผู้บริหารทั้งหมด และได้ พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง เป็นประธานกิตติมศักดิ์ (ในฐานะประธานคณะกรรมการการท่าเรือแห่งประเทศไทย) และ ทรง วงศ์วานิช เป็นประธาน สโมสร[3] โดยในปีนั้น สโมสร ซึ่งทำการแข่งขัน ดิวิชั่น 1 2556 ทำผลงานได้อย่างน่าประทับใจ โดยจบด้วยตำแหน่งรองชนะเลิศ ได้สิทธิ์เลื่อนชั้นไปแข่งขันไทยลีกอีกครั้ง

แพตสเตเดียม สนามเหย้าปัจจุบันของสโมสร

ต่อมาในปี 2557 ทางคณะกรรมการการท่าเรือแห่งประเทศไทยได้มีมติ นำสิทธิ์การบริหารคืน หลังจากที่ผู้บริหารชุดเดิม ได้คืนสิทธิ์ให้[4] โดยได้จัดตั้ง บจก.การท่าเรือ เอฟซี เข้ามาบริหารแทน เพื่อแข่งขันใน ไทยลีก 2558 โดยมี พล.ร.อ.อภิชาติ เพ็งศรีทอง เป็นประธานสโมสร และมี สมชาย ชวยบุญชุม เป็นหัวหน้าผู้ฝึกสอน[4] ต่อมาช่วงก่อนเปิดเลกสอง นวลพรรณ ล่ำซำ ผู้จัดการทีม ฟุตบอลหญิงทีมชาติไทย ได้ร่วมทำสัญญาและเข้ามาบริหารสโมสร จึงได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น สโมสรฟุตบอลการท่าเรือ เมืองไทยประกันภัย รวมไปถึงเปลี่ยนตราสัญลักษณ์และฉายาใหม่เป็น อาชาท่าเรือ[5] แต่ต่อมาในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ ปีเดียวกัน ได้ขอเปลี่ยนชื่อทีมใช้แบบเดิมในชื่อ สโมสรฟุตบอลการท่าเรือ แต่ผลงานของสโมสรกลับไม่ดี โดยตกชั้นในอันดับที่ 17 ของตาราง[6]

ในฤดูกาล 2559 ที่สโมสรลงไปทำการแข่งขันในดิวิชั่น 1 สโมสรก็สามารถเลื่อนชั้นสู่ไทยลีกอีกครั้ง โดยจบด้วยอันดับที่ 3 โดยในปีนั้นมีการเปลื่ยนแปลงตราสโมสร โดยกลับมาใช้รูปสิงห์อีกครั้ง รวมไปถึงการกลับมาใช้ฉายา สิงห์เจ้าท่า อีกครั้ง

สถิติของสโมสร

[แก้]

ผลงานในแต่ละฤดูกาล

[แก้]
ฤดูกาล ลีก[8] เอฟเอ คัพ ลีกคัพ ถ้วย ก/ไทยแลนด์แชมเปียนส์คัพ การแข่งขันระดับเอเชีย ผู้ทำประตูสูงสุด
ระดับลีก แข่ง ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย แต้ม อันดับ เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีกทู
/เอเอฟซีคัพ
ชื่อ ประตู
2539/40 ไทยลีก 34 9 14 11 44 39 41 อันดับ 11  –  –  –  – คณิต อัจฉราโยธิน 11
2540 ไทยลีก 22 9 5 8 36 35 32 อันดับ 4  –  –  –  –
2541 ไทยลีก 22 10 7 5 50 27 37 อันดับ 4  –  –  –  – รณชัย สยมชัย 23
2542 ไทยลีก 22 12 3 7 31 16 39 รองชนะเลิศ  –  –  –  – อภิสิทธิ์ ไข่แก้ว 8
2543 ไทยลีก 22 8 6 8 18 21 30 อันดับ 5  –  –  –  – รณชัย สยมชัย 6
2544/45 ไทยลีก 22 6 10 6 26 23 28 อันดับ 6  –  –  –  – ปิติพงษ์ กุลดิลก 12
2545/46 ไทยลีก 18 10 3 5 25 19 33 อันดับ 3  –  –  –  –  – ศรายุทธ ชัยคำดี 12
2546/47 ไทยลีก 18 9 1 8 29 28 28 อันดับ 5  –  –  –  –  –
2547/48 ไทยลีก 18 7 5 6 26 27 26 อันดับ 4  –  –  –  –  – ศรายุทธ ชัยคำดี 10
2549 ไทยลีก 22 7 7 8 21 28 28 อันดับ 7  –  –  –  –  – นิรุตน์ คำสวัสดิ์ 6
2550 ไทยลีก 30 9 9 12 36 43 36 อันดับ 12  –  –  –  –  – ปิติพงษ์ กุลดิลก 7
2551 ไทยลีก 30 7 9 14 30 47 30 อันดับ 13  –  –  –  –  – ธีระวุฒิ สันพันธ์ 6
2552 ไทยลีก 30 12 8 10 33 30 44 อันดับ 6 ชนะเลิศ  –  –  –  – พิพัฒน์ ต้นกันยา 10
2553 ไทยลีก 30 13 9 8 41 29 48 อันดับ 4 รอบที่ 3 ชนะเลิศ รองชนะเลิศ  – รอบก่อนรองชนะเลิศ ศรายุทธ ชัยคำดี 13
2554 ไทยลีก 34 12 9 13 33 38 45 อันดับ 7 รอบที่ 3 รองชนะเลิศ  –  –  – เอกชัย สำเร 4
2555 ไทยลีก 34 8 9 17 32 48 33 อันดับ 16 รอบที่ 4 รอบที่ 3 โอลอฟ วัตสัน 10
2556 ดิวิชั่น 1 34 20 5 9 61 40 65 รองชนะเลิศ รอบที่ 4 รอบที่ 2  –  –  – เลอันโดร โอลิเวียร่า 24
2557 ไทยลีก 38 15 9 14 44 52 45 อันดับ 13 รอบที่ 4 รอบที่ 2  –  –  – เลอันโดร โอลิเวียร่า 10
2558 ไทยลีก 34 10 3 21 31 49 33 อันดับ 17 รอบที่ 4 รอบที่ 2  –  –  – วุฒิชัย ทาทอง 6
2559 ดิวิชั่น 1 26 13 8 5 55 30 43 อันดับ 3 รอบที่ 2 รอบที่ 3  –  –  – โรดิโก้ มารันเยา 10
2560 ไทยลีก 34 14 8 12 60 63 50 อันดับ 9 รอบที่ 3 รอบที่ 2  –  –  – โจซิมาร์ 13
2561 ไทยลีก 34 19 4 11 73 45 61 อันดับ 3 รอบ 8 ทีม รอบที่ 2  –  –  – ดราแกน บอสโควิช 17
2562 ไทยลีก 30 15 8 7 55 36 53 อันดับ 3 ชนะเลิศ รอบ 32 ทีมสุดท้าย  –  –  – เซร์ฆิโอ ซัวเรซ 10
2563–64 ไทยลีก 30 17 5 8 58 36 56 อันดับ 3 รอบ 16 ทีม  – รองชนะเลิศ รอบคัดเลือกรอบสอง  – เซร์ฆิโอ ซัวเรซ 14
2564–65 ไทยลีก 30 11 6 13 41 37 39 อันดับ 8 รอบ 16 ทีม รอบ 32 ทีมสุดท้าย  – รอบแบ่งกลุ่ม  – เซร์ฆิโอ ซัวเรซ 9
2565–66 ไทยลีก 30 14 10 6 52 38 52 อันดับ 3 รอบรองชนะเลิศ รอบ 32 ทีมสุดท้าย  – รอบเพลย์ออฟ  – ฮามิลตง ซูวาริส 15
2566–67 ไทยลีก 30 16 9 5 72 37 57 อันดับ 3 รอบ 64 ทีมสุดท้าย รอบรองชนะเลิศ  – รอบเพลย์ออฟ  – ธีรศักดิ์ เผยพิมาย 15
2567–68 ไทยลีก รอบ 64 ทีมสุดท้าย  –  –
ชนะเลิศ รองชนะเลิศ อันดับที่ 3 เลื่อนชั้น ตกชั้น

ผลงานระดับทวีป

[แก้]
ฤดูกาล การแข่งขัน รอบ คู่แข่ง เหย้า เยือน รวม
1986–87 ฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรเอเชีย รอบคัดเลือก มาเลเซีย เซอลาโงร์ 0–1 0–1 0–2
1991–92 ฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรเอเชีย รอบแบ่งกลุ่ม ประเทศกาตาร์ อัรร็อยยาน 3–1 อันดับที่ 3
มัลดีฟส์ Mohammedan SC 1–4
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อัล ชะบาบ 3–1
2010 เอเอฟซีคัพ รอบแบ่งกลุ่ม เวียดนาม เอสเอชบี ดานัง 2–3 0–0 อันดับที่ 2
ฮ่องกง ไทโป 2–0 1–0
สิงคโปร์ เกย์ลัง ยูไนเต็ด 2–2 1–0
รอบ 16 ทีมสุดท้าย อินโดนีเซีย ศรีวิชัย 4–1
รอบก่อนรองชนะเลิศ คูเวต Al-Qadsia 0–0 0–3 0–3
2020 เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก รอบคัดเลือกรอบที่ 2 ฟิลิปปินส์ เซเรส–เนกรอส 0–1
2021 เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก กลุ่ม เจ ฮ่องกง คิตฉี 1–1 0–2 อันดับที่ 3
จีน กว่างโจว 3–0 5–1
ญี่ปุ่น เซเรซโซ โอซากะ 0–3 1–1
2022 เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก รอบเพลย์ออฟ เกาหลีใต้ อุลซันฮุนได 0–3
2023–24 เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก รอบเพลย์ออฟ จีน เจ้อเจียง 0–1
2024–25 เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีกทู กลุ่ม เอฟ จีน เจ้อเจียง 1–0 2–1 อันดับที่ 2
สิงคโปร์ ไลออนซิตีเซเลอส์ 1–3 2–5
อินโดนีเซีย เปอร์ซิบบันดุง 2–2 1–0
รอบ 16 ทีมสุดท้าย เกาหลีใต้ ช็อนบุกฮุนไดมอเตอส์

สถิติอื่น ๆ

[แก้]

เกียรติยศสโมสร

[แก้]
การแข่งขัน ชนะเลิศ รองชนะเลิศ ปีที่ชนะเลิศ ปีที่รองชนะเลิศ
ไทยลีก 0 1 2542
ไทยลีก 2 0 1 2556
ฟุตบอลควีนสคัพ 6 3 2520, 2521, 2522, 2523, 2530, 2536 2515, 2526, 2527
ไทยแลนด์ เอฟเอคัพ 3 1 2525, 2552, 2562 2537
ไทยลีกคัพ 1 1 2553 2554
ไทยแลนด์แชมเปียนส์คัพ 0 1 2563
ถ้วย ก 8 1 2511, 2515, 2517, 2519, 2521, 2522, 2528, 2533 2553
ถ้วย ข 5 0 2513, 2519, 2522, 2526, 2535
ถ้วย ค 6 0 2512, 2517, 2520, 2521, 2523, 2524
ถ้วย ง 3 1 2510, 2511, 2512
โปรวินเชียลลีก 0 1 2549

ระดับเอเชีย

[แก้]

บุคลากร

[แก้]

เจ้าหน้าที่สโมสร

[แก้]
ตำแหน่ง ชื่อ-สกุล
ประธานสโมสร ไทย เฉลิมโชค ล่ำซำ
รองประธานสโมสร ไทย นวลวรรณ พรรณเชษฐ์
ประธานกิตติมศักดิ์สโมสร ไทย สาระ ล่ำซำ
ผู้จัดการทีม ไทย ธัญญะ วงศ์นาค
หัวหน้าผู้ฝึกสอน ไทย รังสรรค์ วิวัฒน์ชัยโชค
ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน ไทย โชคทวี พรหมรัตน์
ผู้ฝึกสอนผู้รักษาประตู เซอร์เบีย มิลาน เดวิช
บราซิล เบโต้ กัวสเทล
ผู้ฝึกสอนฟิตเนส ไทย ไพฑูรย์ วงศ์อนุการ
ทีมงานสมรรถภาพ ไทย ณรากร จันทร์สงคราม
ไทย ศิริวรรณ ศรีทอง
ประธานเทคนิค อังกฤษ สเปนเซอร์ พรีออร์

ทำเนียบหัวหน้าผู้ฝึกสอน

[แก้]

รายชื่อหัวหน้าผู้ฝึกสอนตั้งแต่ พ.ศ. 2539 ถึงปัจจุบัน

ผู้เล่น

[แก้]

ผู้เล่นชุดปัจจุบัน

[แก้]

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
1 GK ไทย สมพร ยศ
3 DF อินโดนีเซีย อัซนาวี มังกูวาลัม
4 DF ไทย ศุภนันท์ บุรีรัตน์
5 DF อิรัก ฟรานส์ ปุตรอส
6 DF ไทย เฉลิมศักดิ์ อักขี
7 MF ไทย ปกรณ์ เปรมภักดิ์ (รองกัปตันทีม)
8 MF ไทย ธนบูรณ์ เกษารัตน์ (กัปตันทีม)
9 FW ไทย ณัฐวุฒิ สมบัติโยธา
10 MF ไทย บดินทร์ ผาลา
14 FW ไทย ธีรศักดิ์ เผยพิมาย
16 DF ไทย ชินวัฒน์ วงศ์ไชย
17 DF สิงคโปร์ อีร์ฟัน ฟันดี
18 MF ไทย ปฐมพล เจริญรัตนาภิรมย์
20 FW ไทย ภควัฒน์ สัพโส
22 FW บราซิล เฟลีเป อามูริม
23 DF ไทย เควิน ดีรมรัมย์
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
26 FW กินี ลอนซานา ดูมบูยา
27 DF ไทย ธิติ ทุมพร
30 GK ไทย ชนินทร์ แซ่เอียะ
31 GK ไทย ศุเมธี โคกโพธิ์
33 MF ญี่ปุ่น โนโบรุ ชิมูระ
35 DF กานา ไอแซค ฮันนี
36 GK ไทย วรวุฒิ ศรีสุภา (รองกัปตันทีม)
37 MF ไทย ชานุกูล ก๋ารินทร์
38 FW ไทย ณัฐกิตติ์ โพธิ์ศรี
40 GK ไทย รังสิมันตุ์ เข็มเมือง
44 MF ไทย วรชิต กนิตศรีบำเพ็ญ
47 MF ไทย สิทธา บุญหล้า
62 MF ไทย ชัยวัฒน์ บุราณ
88 MF ไทย ชยพิพัฒน์ สุพรรณเภสัช
89 MF ไทย พีรดนย์ ฉ่ำรัศมี
97 GK ไทย ธีรพัฒน์ แสนวันดี
99 FW ไทย ธนาสิทธิ์ ศิริผลา
FW บราซิล บาร์รอส ทาร์เดลี

ผู้เล่นที่ถูกยืมตัว

[แก้]

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
11 DF ไทย นาคิน วิเศษชาติ (ไปนครปฐม ยูไนเต็ด จนสิ้นสุดฤดูกาล)
12 MF ไทย วิลเลียม ไวเดอร์เฌอ (ไปอุทัยธานี จนสิ้นสุดฤดูกาล)
20 MF ไทย กุสตอว์ ซาหลิน (ไปนครศรีฯ ยูไนเต็ด จนสิ้นสุดฤดูกาล)
24 DF ไทย วรวุฒิ นามเวช (ไปราชบุรี จนสิ้นสุดฤดูกาล)
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
28 DF อังกฤษ ชาร์ลี คลัฟ (ไปชลบุรี จนสิ้นสุดฤดูกาล)
DF ไทย อนุศักดิ์ ใจเพชร (ไปนครปฐม ยูไนเต็ด จนสิ้นสุดฤดูกาล)
FW ไทย อภิเดช จันทร์งาม (ไปเมืองเลย ยูไนเต็ด จนสิ้นสุดฤดูกาล)

ผู้เล่นชุดรุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี

[แก้]

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
1 GK ไทย ณัฐวุฒิ ภู่บุญ
2 DF ไทย ธนกฤต โพนทองถิ่น
3 MF ไทย อดิศร หวันเตะ
4 DF ไทย ชินภัค นนยะโส
5 DF ไทย ธรรมนูญ เชียงกะเสม
6 DF ไทย ณัชญ์พิสิษฎ์ มณีโชติ
7 FW ไทย อานนท์ แพงสา
10 FW ไทย รูบิน เคลย์ตัน
11 MF ไทย สัตตบุษย์ ขุนสุข
12 MF ไทย วีรัช ตู้เฮี่ยน
13 DF ไทย ชยพล จูสุข
14 DF ไทย วัชรชัย โพธิบาล
16 FW ไทย อันเดร เคลย์ตัน
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
17 DF ไทย ณัฐวุฒิ อีสา
18 FW ไทย ณัฏฐวรรธน์ ทานะศิล
19 DF ไทย ธนภัทร วังจันทร์
20 FW ไทย ภควัฒน์ สัพโส (กัปตันทีม)
22 FW ไทย กานต์นิธิ ไวทยะชัยวัฒน์
23 DF ไทย สัณหณัฐ ทองจันทร์
31 GK ไทย ชาญชัย ทองสุข
38 FW ไทย ณัฐกิตติ์ โพธิ์ศรี
44 MF ไทย ปุรเชษฐ์ วัฒนานุสิทธิ์
47 FW ไทย วุฒิชัย เอียดวารี
49 FW ไทย อลีฟ ยามาสาเร๊ะ
97 GK ไทย ธีรพัฒน์ แสนวันดี

สโมสรพันธมิตร

[แก้]

พันธมิตรต่างประเทศ

[แก้]

พันธมิตรในประเทศ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ประวัติทีมฟุตบอลการท่าเรือฯ โดยสังเขป - สโมสรการท่าเรือไทย เอฟซีhttps://web.archive.org/web/20110716215859/http://www.thaiportfc.com/the-club/profile-club.html
  2. 2.0 2.1 https://www.facebook.com/564147727055833/photos/a.994669950670273.1073741832.564147727055833/986815274789074/?type=3&theater พลิกแฟ้ม การท่าเรือ - ชมรมประวัติศาสตร์ฟุตบอลสิงห์ท่าเรือ
  3. https://www.thairath.co.th/content/329539 'สิงห์ท่าเรือ' ทุ่ม 70 ล้าน หวังขึ้นไทยลีกปีหน้า - ไทยรัฐ
  4. 4.0 4.1 "นับ 1 ใหม่! "ท่าเรือ" เปลี่ยนชื่อ ตั้ง "ฉ่วย" คุมทีม". ผู้จัดการออนไลน์. 20 November 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-11-29. สืบค้นเมื่อ 21 November 2014.
  5. ""มาดามแป้ง" อุ้ม "ท่าเรือ" เปลี่ยนโลโก้เป็นม้า". ผู้จัดการออนไลน์. 12 February 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-13. สืบค้นเมื่อ 12 February 2015.
  6. หน้า 17 ต่อ 19 กีฬา, บีอีซีเก่งเมื่อสาย แม้ถล่มกว่างโซ้ง. เดลินิวส์ฉบับที่ 24,168: วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ขึ้น 4 ค่ำ เดือน 1 ปีมะแม
  7. https://www.facebook.com/ByTommyBar/photos/a.727548561011254/1310639729368798/ 100 เรื่องฟุตบอลไทยที่ต้องรู้ (11) “ปลาโลมาคาบลูกบอล” - ฟุตบอลไทยในอดีตByTommyBar
  8. King, Ian; Schöggl, Hans & Stokkermans, Karel (20 มีนาคม 2014). "Thailand – List of Champions". RSSSF. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 July 2014. สืบค้นเมื่อ 29 October 2014. Select link to season required from chronological list.
  9. โหดจัง! การท่าเรือ ถล่มอัมพวา 22-1 สร้างสถิติยิงเยอะสุดช้างเอฟเอคัพ
  10. ทีมแรกจากยุโรป "การท่าเรือ" เซ็นพันธมิตร "เลบันเต" เตรียมส่งแข้งฝึกฝีเท้าที่สเปน
  11. การท่าเรือ เซ็นพันธมิตร อวิสป้า ฟูกูโอกะ ผนึกกำลังยกระดับทีมทุกมิติ

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]