ข้ามไปเนื้อหา

ดิ เอ็มดิสทริค

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ดิ เอ็มดิสทริค
ดิ เอ็มดิสทริค logo
ที่ตั้ง8, 622, 628, 630, 689, 693 และ 695 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองตัน เขตคลองเตย และแขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร
เปิดให้บริการ27 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 (เอ็มโพเรียม)
27 มีนาคม พ.ศ. 2558 (เอ็มควอเทียร์)
1 ธันวาคม พ.ศ. 2566 (เอ็มสเฟียร์)[1]
ผู้บริหารงานกลุ่มเดอะมอลล์ โดย บริษัท สุขุมวิทซิตี้มอลล์ กรุ๊ป จำกัด
พื้นที่ชั้นขายปลีก200,000 ตร.ม. (เอ็มโพเรียม, เอ็มสเฟียร์)
250,000 ตร.ม. (เอ็มควอเทียร์)
650,000 ตร.ม. (ทั้งโครงการ)
จำนวนชั้น8 ชั้น (เอ็มโพเรียม ช็อปปิ้ง คอมเพล็กซ์)
41 ชั้น (เอ็มโพเรียมทาวเวอร์)
11 ชั้น (ฮีลิกส์ควอเทียร์)
45 ชั้น (กลาสควอเทียร์และภิรัชทาวเวอร์)
7 ชั้น (วอเตอร์ฟอลควอเทียร์)
12 ชั้น (เอ็มสเฟียร์ ช็อปปิ้ง คอมเพล็กซ์)
24 ชั้น (เอ็มสเฟียร์ ทาวเวอร์)
ที่จอดรถ6,300 คัน

ดิ เอ็มดิสทริค (อังกฤษ: The Em District) เป็นโครงการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชยกรรมแบบผสมใจกลางกรุงเทพมหานคร บนพื้นที่ริมถนนสุขุมวิทตอนกลาง ระหว่างซอยสุขุมวิท 31 ถึงซอยสุขุมวิท 39 ในพื้นที่แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา และระหว่างซอยสุขุมวิท 22 ถึงซอยสุขุมวิท 26 ในพื้นที่แขวงคลองตัน เขตคลองเตย บริหารโครงการโดย บริษัท ซิตี้มอลล์ กรุ๊ป จำกัด ในกลุ่มเดอะมอลล์ โครงการประกอบด้วยศูนย์การค้าหลักจำนวน 3 โครงการ ได้แก่ เอ็มโพเรียม เอ็มควอเทียร์ และเอ็มสเฟียร์ โอบล้อมรอบอุทยานเบญจสิริ

องค์ประกอบ

[แก้]

โครงการดิ เอ็มดิสทริค ประกอบด้วยศูนย์การค้า อาคารสำนักงาน ที่อยู่อาศัย และแหล่งท่องเที่ยว มีศูนย์การค้าหลักจำนวนสามโครงการ คือเอ็มโพเรียม เอ็มควอเทียร์ และเอ็มสเฟียร์ และยังมีพันธมิตรอสังหาริมทรัพย์ รวมถึงภาคเอกชนเข้าร่วมโครงการ กลุ่มเดอะมอลล์มุ่งหมายให้เอ็ม ดิสทริค เป็นศูนย์กลางทางการค้าที่สำคัญแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร อันมีร้านค้าแฟชั่น ลีลาชีวิตหรูหรา ศิลปะ และเทคโนโลยี จากยี่ห้อสินค้าที่มีชื่อเสียงกว่า 1,000 ยี่ห้อ อีกทั้งยังเป็นศูนย์รวมร้านอาหารและร้านเพื่อการสังสรรค์ที่มีขนาดใหญ่แห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ[2] โดยภายในโครงการประกอบด้วยสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ดังนี้ (ตัวหนา คือสมาชิกอย่างเป็นทางการ)

ศูนย์การค้า

[แก้]
  • เอ็มโพเรียม - ห้างสรรพสินค้าลำดับแรกของกลุ่ม ตั้งอยู่ริมถนนสุขุมวิท ใกล้ซอยสุขุมวิท 24 บริเวณข้างเคียงกับสวนเบญจสิริ เปิดให้บริการเมื่อปี พ.ศ. 2540 ปรับปรุงใหญ่ในปี พ.ศ. 2557 และ พ.ศ. 2566
  • เอ็มควอเทียร์ - ศูนย์การค้าและห้างสรรพสินค้าแห่งที่สองของกลุ่ม ตั้งอยู่บนที่ดินฝั่งตรงข้ามพื้นที่ของดิเอ็มโพเรียม ระหว่างซอยสุขุมวิท 35, 37 และ 39 เปิดให้บริการบางส่วนตั้งแต่วันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2558 และแล้วเสร็จทั้งโครงการในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2558 พร้อมกับเอ็มโพเรียม
  • เอ็มสเฟียร์ - ศูนย์การค้าและห้างสรรพสินค้าแห่งที่สาม ตั้งอยู่บนถนนสุขุมวิท ระหว่างซอยสุขุมวิท 22 กับซอยสุขุมวิท 24 ติดโรงแรมฮอลลิเดย์ อินน์ กรุงเทพ สุขุมวิท สร้างบนพื้นที่ซึ่งเคยเป็นวอชิงตันสแควร์ เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2566[1]

โรงแรม

[แก้]
  • โรงแรมดับเบิลทรีบายฮิลตัน สุขุมวิท กรุงเทพ - โรงแรมบูทีกระดับห้าดาวโดยกลุ่มฮิลตัน ตั้งอยู่ภายในซอยสุขุมวิท 26 โดยปรับปรุงจากพื้นที่เดิมของโรงแรมอิมพีเรียล ธารา บริหารโครงการโดยกลุ่มทีซีซีแลนด์ร่วมกับฮิลตันเวิลด์ไวด์
  • โรงแรมฮิลตัน สุขุมวิท กรุงเทพ - โรงแรมระดับห้าดาวแห่งที่สองของกลุ่มฮิลตัน ตั้งอยู่ภายในซอยสุขุมวิท 24 โดยปรับปรุงจากพื้นที่เดิมของโรงแรมอิมพีเรียล อิมพาลา บริหารโครงการโดยกลุ่มทีซีซีแลนด์ร่วมกับฮิลตันเวิลด์ไวด์ และมีทางเดินเชื่อมไปยังโรงแรมดับเบิลทรีบายฮิลตันด้วย
  • โรงแรมแบงค็อก แมริออท มาร์คีส์ ควีนส์ปาร์ค - โรงแรมระดับสี่ดาวของกลุ่มแมริออท และยังเป็นโรงแรมที่มีจำนวนห้องมากที่สุดในกรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่ภายในซอยสุขุมวิท 24 บริหารโครงการโดยกลุ่มทีซีซีแลนด์ร่วมกับแมริออท อินเตอร์เนชั่นแนล ซึ่งปรับปรุงมาจากโรงแรมอิมพีเรียล ควีนส์ปาร์ค
  • โรงแรมเอ็มโพเรียม สวีท บาย ชาเทรียม - บริหารโดยเครือโรงแรมชาเทรียม ตั้งอยู่ภายในศูนย์การค้าเอ็มโพเรียม

อสังหาริมทรัพย์

[แก้]
  • โครงการพาร์ค ออริจิน พร้อมพงษ์ - โครงการอาคารชุดโดยกลุ่มออริจิน พร็อพเพอร์ตี้ ตั้งอยู่ภายในซอยสุขุมวิท 24
  • อาคารภิรัชทาวเวอร์ แอท เอ็มควอเทียร์ - อาคารสำนักงานระดับเอ ความสูง 45 ชั้น ตั้งอยู่ภายในศูนย์การค้าเอ็มควอเทียร์ บริหารงานโดยกลุ่มภิรัชบุรี
  • อาคารเอ็มโพเรียมทาวเวอร์ - ตั้งอยู่ภายในศูนย์การค้าเอ็มโพเรียม

พื้นที่อื่น ๆ

[แก้]
  • สถานีพร้อมพงษ์ - เป็นสถานีรถไฟฟ้าในเส้นทางรถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติฯ สาย 1 (รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท) ตั้งอยู่ระหว่างอาคารเอ็มโพเรียมและอาคารเอ็มควอเทียร์ นอกจากนี้สถานีดังกล่าวจะเชื่อมต่อกับสถานีอโศกและสถานีทองหล่อด้วยสกายวอล์ค และระหว่างทางจะมีทางเชื่อมกับอาคารใกล้เคียงอีกเป็นจำนวนมาก รวมถึงอาคารเอ็มสเฟียร์ด้วย โดยมีการตกแต่งสถานีใหม่ทั้งหมด เพื่อให้เข้ารูปแบบเดียวกันกับอาคารศูนย์การค้า ด้วยความร่วมมือของ บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ และ กรุงเทพมหานคร
  • อุทยานเบญจสิริ - เป็นสวนสาธารณะที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรุงเทพมหานคร โดยจะมีการปรับปรุงรูปแบบ และปรับปรุงภูมิทัศน์ในสวนสาธารณะใหม่ทั้งหมด[3]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "ไม่ต้องไปถึงบางนา-บางใหญ่ IKEA ยกสาขามาไว้ที่ Emsphere กลางถนนสุขุมวิทแล้ว • Thumbsup". Thumbsup. 2022-03-25.
  2. "แหล่งช็อปสินค้าลักชัวรีโลก เปิดตัว "ดิ เอ็มสเฟียร์" แม่เหล็กใหม่ กทม". www.thairath.co.th. 2022-10-06.
  3. "The Mall เตรียมช่วยปรับปรุงสวนเบญจสิริ รับเปิดศูนย์การค้า Emsphere ธันวาคม 2566". Time Out กรุงเทพมหานคร.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]