ข้ามไปเนื้อหา

ชุมชนแออัดคลองเตย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชุมชนแออัดคลองเตย
ชุมชนแออัดคลองเตย
ชุมชนแออัดคลองเตย
ชุมชนแออัดคลองเตยตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร
ชุมชนแออัดคลองเตย
ชุมชนแออัดคลองเตย
พิกัด: 13°43′17″N 100°33′46″E / 13.72139°N 100.56278°E / 13.72139; 100.56278
ประเทศ ไทย
เขตปกครองพิเศษ กรุงเทพมหานคร
เขตคลองเตย
แขวงคลองเตย
พื้นที่(432 ไร่)
 • ทั้งหมด0.6912 ตร.กม. (0.2669 ตร.ไมล์)
เขตเวลาUTC+7 (อินโดจีน)
รหัสไปรษณีย์10110
รหัสภูมิศาสตร์103301

ชุมชนแออัดคลองเตย เป็นชุมชนที่ตั้งอยู่ในพื้นที่เขตคลองเตย ทั้งที่อยู่ในบริเวณท่าเรือกรุงเทพ เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นพื้นที่ของการท่าเรือแห่งประเทศไทย ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 432 ไร่ และพื้นที่ของหน่วยงานอื่น หรือพื้นที่เอกชน โดยเป็นชุมชนแออัดที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย[1]

ประวัติ

[แก้]
ท่าเรือคลองเตย พ.ศ. 2499

นโยบายของรัฐบาลเน้นในการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ มีการสร้างสาธารณูปโภค ถนน ไฟฟ้า ประปา ออกโฉนดกรรมสิทธิ์ที่ดินหลายพื้นที่ มีการจัดสรรที่ดินเกิดขึ้น เริ่มมีคนจนปลูกบ้านในที่ดินเช่า มีการอพยพจากชนบทเข้าสู่กรุงเทพ มีการเกิดธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ มีการเก็บกำไรที่ดิน ส่งผลให้ที่ดินแพง ผู้อพยพมาไม่สามารถซื้อที่ดินได้ สร้างที่พักชั่วคราวหรือไม่ก็ปักหลักสร้างบ้านในที่ดินเปล่าของราชการ

ระหว่าง พ.ศ. 2481–2490 ช่วงที่การท่าเรือแห่งประเทศไทยก่อสร้างท่าเรือกรุงเทพ ทำให้มีความต้องการแรงงานจำนวนมาก จึงดึงแรงงานมาจากต่างจังหวัด และสร้างแคมป์ให้คนงานพัก[2] บริเวณท่าเรือกรุงเทพซึ่งเริ่มมีการเข้ามาอยู่อาศัยของชาวบ้านตั้งแต่ พ.ศ. 2505 เดิมทีมีประชาชนอาศัยอยู่ราว 200 ครอบครัว ทำมาหากินเลี้ยงหมู เลี้ยงเป็ดและปลูกผัก

การท่าเรือแห่งประเทศไทยยังไม่ได้สนใจที่จะควบคุมพื้นที่ เพราะบริเวณดังกล่าวเป็นที่ราบน้ำท่วมขัง ไม่มีไฟฟ้าประปาใช้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ได้เข้ามาดูแล ทำให้เริ่มมีการตั้งชุมชนแออัดทีละเล็กทีละน้อย เช่น ชุมชนวัดคลองเตย ชุมชนริมคลองสามัคคี ชุมชนอโยธา ชุมชนหลังอาคารทวิช เป็นต้น จน พ.ศ. 2507 การท่าเรือแห่งประเทศไทยเริ่มมีการขับไล่ชาวบ้านประมาณ 1,000 ครอบครัว เพื่อขยายท่าเทียบเรือไปทางทิศตะวันออก พ.ศ. 2511 ได้มีการขับไล่อีก 200 ครอบครัว เพื่อสร้างทางเข้าท่าเทียบเรือฝั่งตะวันออก

พ.ศ. 2515 ได้มีการจัดตั้งการเคหะแห่งชาติ และต่อมา กรุงเทพมหานครได้เข้าดำเนินการพัฒนาชุมชนแออัดและชุมชนบุกรุกเขตคลองเตยร่วมกับการเคหะแห่งชาติเมื่อปี พ.ศ. 2518

การท่าเรือแห่งประเทศไทยพยายามแก้ปัญหาด้วยการรับเอาคนงานบางส่วนเข้าทำงานเป็นพนักงานการท่าเรือ และจัดสร้างบ้านพักเป็นห้องแถวริมถนนอาจณรงค์ แบ่งออกเป็นล็อก ๆ ละ 8 ห้อง รวม 12 ล็อก แต่ปรากฏว่าพนักงานเหล่านี้ได้ชักชวนแรงงานที่อพยพเข้ามาหางานทำกับฐานทัพอเมริกัน ให้เข้ามาปลูกสร้างบ้านพักชั่วคราวบริเวณหลังบ้านพนักงานการท่าเรือ เรียกที่อยู่อาศัยเหล่านี้ว่า "ล็อก" ตามล็อกห้องแถวบ้านพักพนักงานการท่าเรือ คือตั้งแต่ล็อก 1 ถึง ล็อก 12 การท่าเรือจึงเริ่มใช้วิธีรุนแรงในการผลักดันชุมชนแออัดออกไปจากพื้นที่ เช่น นำเอาเลนที่เรือขุดดูดขึ้นมาจากสันดอน มาพ่นใส่พื้นที่ตั้งชุมชน ทำให้ชาวบ้านได้ย้ายออกไปในบริเวณใกล้เคียง อย่าง หลังบ้านพักพนักงานการท่าเรือ หรือชุมชนแออัดรอบ ๆ

พ.ศ. 2521 มีการทดลองจัดตั้งผู้นำชุมชนขึ้น โดยการแยกออกเป็น 18 ชุมชน

พ.ศ. 2563 มีโครงการพัฒนาพื้นที่ จะใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างทั้งสิ้น 10 ปี จะตั้งอยู่บนพื้นที่ 58 ไร่ ซอยตรีมิตร ติดถนนริมทางรถไฟสายเก่า ด้านหลังติดริมคลองพระโขนง ประกอบด้วยคอนโดมิเนียม 4 อาคาร ความสูง 25 ชั้น[3]

พ.ศ. 2567 ราชตฤณมัยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้เปิดตัวโครงการ ดินแดนสรวงสวรรค์แห่งพระราชา (The Royal Siam Haven) โดยเบื้องต้นคาดการณ์ว่าจะสร้างบนพื้นที่เดิมของชุมชนแออัดคลองเตยและท่าเรือกรุงเทพ[4]

ชุมชน

[แก้]

ชุมชนแออัดคลองเตย ประกอบด้วยชุมชนที่อยู่ในพื้นที่หลายส่วน

ขุมชนในเขตพื้นที่ของการท่าเรือแห่งประเทศไทย

[แก้]
  • ชุมชนหมู่บ้านพัฒนา ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 70 ไร่ จากข้อมูล พ.ศ. 2548 มีประชากรอาศัย 1,113 ครัวเรือน จำนวนประชากร 8,493 คน ประชาชนเช่าที่ดินจากการท่าเรือ
  • ชุมชนแฟลต 1–10 ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 44 ไร่ จากข้อมูล พ.ศ. 2548 มีประชากรอาศัย 2,098 ครัวเรือน จำนวนประชากร 8,390 คน ประชาชนเช่าที่ดินจากการเคหะแห่งชาติ
  • ชุมชนแฟลต 11–18 ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 32 ไร่ จากข้อมูล พ.ศ. 2548 มีประชากรอาศัย 1,140 ครัวเรือน จำนวนประชากร 7,000 คน ประชาชนเช่าที่ดินจากการเคหะแห่งชาติ
  • ชุมชนแฟลต 19–22 ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 17.5 ไร่ จากข้อมูล พ.ศ. 2548 มีประชากรอาศัย 530 ครัวเรือน จำนวนประชากร 2,584 คน ประชาชนเช่าที่ดินจากการเคหะแห่งชาติ
  • ชุมชนแฟลต 23–24 ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 4.5 ไร่ จากข้อมูล พ.ศ. 2548 มีประชากรอาศัย 275 ครัวเรือน จำนวนประชากร 1,200 คน ประชาชนเช่าที่ดินจากการเคหะแห่งชาติ
  • ชุมชนคลองเตยล็อก 1–2–3 ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 41 ไร่ จากข้อมูล พ.ศ. 2548 มีประชากรอาศัย 1,800 ครัวเรือน จำนวนประชากร 7,126 คน ประชาชนบุกรุกพื้นที่จากการท่าเรือ
  • ชุมชนคลองเตยล็อก 4–5–6 ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 21 ไร่ จากข้อมูล พ.ศ. 2548 มีประชากรอาศัย 1,000 ครัวเรือน จำนวนประชากร 3,000 คน ประชาชนบุกรุกพื้นที่จากการท่าเรือ
  • ชุมชนคลองเตยล็อก 7–8–9–10–11–12 มีจำนวน 372 ครอบครัว ประชาชนบุกรุกพื้นที่จากการท่าเรือ[5]

นอกจากจะเป็นที่ตั้งของชุมชนแล้ว ยังเป็นที่ตั้งของหน่วยงานพัฒนาเอกชนและมูลนิธิต่าง ๆ เช่น ดวงประทีป เด็กอ่อนในสลัม ศูนย์ Merci ศูนย์บริการด้านสุขภาพ ฯลฯ ยังมีโรงเรียนเอกชน 2 แห่ง สอนระดับประถมและมัธยมต้น และโรงเรียนของกรุงเทพมหานคร รวมทั้งยังมีโรงรับจำนำของเอกชน 1 แห่ง[6]

ชุมชนที่อยู่นอกพื้นที่ของการท่าเรือแห่งประเทศไทย

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. วัชรพล ตั้งกอบลาภ. "พัฒนาการของนโยบายการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยในชุมนนแออัดคลองเตย กรุงเทพมหานคร" (PDF). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์.
  2. วชิรวิชญ์ กิติชาติพรพัฒน์. ""คนจำนวนมากถูกสังคมปฏิเสธ" สบตา 'ชุมชนคลองเตย' ผ่านมุมมองของคนนอกและบันทึกของคนใน". becommon.co.
  3. ""คลองเตย" ชุมชนนี้มีที่มา แต่ "ชาวชุมชนคลองเตย" วันนี้ (ยัง) ไม่มีที่ไป". คมชัดลึก.
  4. "เปิดแผน Royal Siam Haven เอนเตอร์เทนเมนต์ คอมเพล็กซ์ สนามม้านางเลิ้งริมเจ้าพระยา". ไทยรัฐ. 26 สิงหาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 27 สิงหาคม 2024.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  5. "ชุมชนคลองเตยล็อค 7-12:กรุงเทพฯ". สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน).
  6. ""คนจนสร้างเมือง" และสิทธิที่จะอยู่ในเมือง !". ไทยโพสต์.