ถนนทางรถไฟสายเก่าปากน้ำ
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
ถนนทางรถไฟสายเก่าปากน้ำ | |
---|---|
ทางแยกที่สำคัญ | |
ปลายทางทิศเหนือ | ถนนพระรามที่ 4 ในเขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร |
ปลายทางทิศใต้ | ถนนสุขุมวิท ในอำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ |
ถนนทางรถไฟสายเก่าปากน้ำ (อักษรโรมัน: Thanon Thang Rotfai Sai Kao Paknam) เป็นถนนสายสำคัญสายหนึ่งของกรุงเทพมหานครและจังหวัดสมุทรปราการ เดิมเป็นทางเดินรถไฟสายปากน้ำ ต่อมาเมื่อยกเลิกรถไฟสายปากน้ำแล้วจึงปรับเป็นถนนขนาด 2 ช่องทางจราจรสวนทาง มีจุดเริ่มต้นจากถนนพระรามที่ 4 ในพื้นที่แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร ตัดกับถนนเกษมราษฏร์ แล้วจึงเลียบทางพิเศษเฉลิมมหานคร ตัดกับถนนกล้วยน้ำไทแล้วจึงลอดใต้ทางพิเศษเฉลิมมหานคร จากนั้นจึงข้ามคลองพระโขนงเข้าสู่แขวงพระโขนง เขตคลองเตย ตัดกับซอยสุขุมวิท 50 จากนั้นจึงเข้าพื้นที่แขวงพระโขนงใต้ เขตพระโขนง บริเวณใกล้กับจุดตัดกับถนนอาจณรงค์ซึ่งเป็นถนนเลียบทางรถไฟ แล้วเลียบแม่น้ำเจ้าพระยา ตัดกับซอยสุขุมวิท 62 จากนั้นจึงข้ามคลองบางอ้อเข้าพื้นที่แขวงบางนาเหนือ เขตบางนา ตัดกับถนนสรรพาวุธเข้าพื้นที่แขวงบางนาใต้ แล้วข้ามคลองบางนา ผ่านหน่วยงานทหารเรือ จากนั้นจึงเข้าเขตจังหวัดสมุทรปราการ โดยถนนสายนี้ทำหน้าที่แบ่งเขตระหว่างเขตเทศบาลตำบลสำโรงเหนือ อำเภอเมืองสมุทรปราการ กับเขตเทศบาลเมืองปู่เจ้าสมิงพราย อำเภอพระประแดง จากนั้นจึงข้ามคลองสำโรง แล้วตัดกับถนนปู่เจ้าสมิงพราย สุดท้ายจึงลอดใต้ทางพิเศษกาญจนาภิเษก และไปสิ้นสุดที่ถนนสุขุมวิทกิโลเมตรที่ 22 (บริเวณพิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ) ที่ทางแยกโค้งเกริก ถนนทางรถไฟสายเก่านี้เดิมเคยเป็น ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3109 ปัจจุบันอยู่ในความรับผิดชอบของกรุงเทพมหานครและกรมทางหลวงชนบท (ช่วงถนนในเขตจังหวัดสมุทรปราการ)
ลักษณะและสภาพพื้นผิวถนน
[แก้]ในเขตกรุงเทพมหานครเป็นถนนลาดยางและถนนคอนกรีต สภาพถนนตั้งแต่ซอยสุขุมวิท 50 ถึงทางแยกสรรพาวุธถนนเป็นหลุมบ่อเสียหายมาก มีหลุมบ่อขนาดใหญ่และลึกอยู่ทั่วไป (เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง โดยเฉพาะผู้ขับขี่จักรยานยนต์) เนื่องจากเป็นเส้นทางวิ่งของรถบรรทุกสินค้าเข้าท่าเรือคลองเตย ส่วนเขตจังหวัดสมุทรปราการเป็นถนนคอนกรีต โดยทั่วไปสภาพถนนดี มั่นคง แข็งแรง มีหลุมบ่อบ้างเล็กน้อยบริเวณหน้าบริษัทโตโยต้า มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด ช่วงตั้งแต่ถนนสุขุมวิทถึงถนนปู่เจ้าสมิงพรายเปิดให้เดินรถขาขึ้นได้ทางเดียว