โจว เอินไหล
บทความนี้ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น คุณสามารถปรับปรุงแก้ไขบทความนี้ได้ และนำป้ายออก พิจารณาใช้ป้ายข้อความอื่นเพื่อชี้ชัดข้อบกพร่อง |
โจว เอินไหล | |||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
周恩来 | |||||||||||||||||||||||||
ภาพอย่างเป็นทางการ ทศวรรษที่ 1950 | |||||||||||||||||||||||||
นายกรัฐมนตรีจีน คนที่ 1 | |||||||||||||||||||||||||
ดำรงตำแหน่ง 27 กันยายน ค.ศ. 1954 – 8 มกราคม ค.ศ. 1976 (21 ปี 103 วัน) | |||||||||||||||||||||||||
รองนายกรัฐมนตรีลำดับที่หนึ่ง | ต่ง ปี้อู่ เฉิน ยฺหวิน หลิน เปียว เติ้ง เสี่ยวผิง | ||||||||||||||||||||||||
ก่อนหน้า | เหมา เจ๋อตง (ในฐานะประธานรัฐบาลประชาชนส่วนกลางสาธารณรัฐประชาชนจีน) ตนเอง (ในฐานะนายกสภาบริหารรัฐบาลกลาง รัฐบาลประชาชนส่วนกลาง) | ||||||||||||||||||||||||
ถัดไป | ฮฺว่า กั๋วเฟิง | ||||||||||||||||||||||||
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน คนที่ 1 | |||||||||||||||||||||||||
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม ค.ศ. 1949 – 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1958 (8 ปี 133 วัน) | |||||||||||||||||||||||||
หัวหน้ารัฐบาล | ตนเอง | ||||||||||||||||||||||||
ก่อนหน้า | หู ชื่อ (ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสาธารณรัฐจีน) | ||||||||||||||||||||||||
ถัดไป | เฉิน อี้ | ||||||||||||||||||||||||
รองประธานพรรคคอมมิวนิสต์จีนลำดับที่หนึ่ง | |||||||||||||||||||||||||
ดำรงตำแหน่ง 30 สิงหาคม ค.ศ. 1973 – 8 มกราคม ค.ศ. 1976 (2 ปี 131 วัน) | |||||||||||||||||||||||||
ประธาน | เหมา เจ๋อตง | ||||||||||||||||||||||||
ก่อนหน้า | หลิน เปียว (1971) | ||||||||||||||||||||||||
ถัดไป | ฮฺว่า กั๋วเฟิง | ||||||||||||||||||||||||
รองประธานพรรคคอมมิวนิสต์จีน | |||||||||||||||||||||||||
ดำรงตำแหน่ง 28 กันยายน ค.ศ. 1956 – 1 สิงหาคม ค.ศ. 1966 (9 ปี 307 วัน) | |||||||||||||||||||||||||
ประธาน | เหมา เจ๋อตง | ||||||||||||||||||||||||
ประธานสภาที่ปรึกษาทางการเมืองประชาชนจีน คนที่ 2 | |||||||||||||||||||||||||
ดำรงตำแหน่ง 25 ธันวาคม ค.ศ. 1954 – 8 มกราคม ค.ศ. 1976 (21 ปี 14 วัน) | |||||||||||||||||||||||||
ประธานกิตติมศักดิ์ | เหมา เจ๋อตง | ||||||||||||||||||||||||
ก่อนหน้า | เหมา เจ๋อตง | ||||||||||||||||||||||||
ถัดไป | ว่าง (1976–1978) เติ้ง เสี่ยวผิง | ||||||||||||||||||||||||
นายกสภาบริหารรัฐบาลกลาง รัฐบาลประชาชนส่วนกลาง | |||||||||||||||||||||||||
ดำรงตำแหน่ง 21 ตุลาคม ค.ศ. 1949 – 26 กันยายน ค.ศ. 1954 (4 ปี 340 วัน) | |||||||||||||||||||||||||
ประธาน | เหมา เจ๋อตง | ||||||||||||||||||||||||
ก่อนหน้า | สถาปนาตำแหน่ง | ||||||||||||||||||||||||
ถัดไป | ตนเอง (ในฐานะนายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาชนจีน) | ||||||||||||||||||||||||
ข้อมูลส่วนบุคคล | |||||||||||||||||||||||||
เกิด | 5 มีนาคม ค.ศ. 1898 หฺวายอาน, มณฑลเจียงซู, จักรวรรดิชิง | ||||||||||||||||||||||||
เสียชีวิต | 8 มกราคม ค.ศ. 1976 ปักกิ่ง, สาธารณรัฐประชาชนจีน | (77 ปี)||||||||||||||||||||||||
พรรคการเมือง | พรรคคอมมิวนิสต์จีน (1921–1976) | ||||||||||||||||||||||||
การเข้าร่วม พรรคการเมืองอื่น | พรรคก๊กมินตั๋ง (1923–1927) | ||||||||||||||||||||||||
คู่สมรส | เติ้ง อิ่งเชา (สมรส 1925) | ||||||||||||||||||||||||
บุตร | ไม่มีบุตรทางสายเลือด; บุตรบุญธรรม: ซุน เหวย์ชื่อ, หวัง ชู่ (หลานชาย), โจว เป่าจาง (หลานชาย), โจว เป่าจวง (หลานสาว), วรรณไว พัธโนทัย, สิรินทร์ พัธโนทัย | ||||||||||||||||||||||||
การศึกษา | โรงเรียนมัธยมหนานไค | ||||||||||||||||||||||||
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยหนานไค มหาวิทยาลัยเมจิ | ||||||||||||||||||||||||
ลายมือชื่อ | |||||||||||||||||||||||||
เว็บไซต์ | zhouenlai | ||||||||||||||||||||||||
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |||||||||||||||||||||||||
สังกัด | กองทัพปฏิวัติแห่งชาติจีน (1937–1945) กองทัพแดงจีน กองทัพปลดปล่อยประชาชน | ||||||||||||||||||||||||
ยศ | พลโทแห่งกองทัพปฏิวัติแห่งชาติจีน | ||||||||||||||||||||||||
ผ่านศึก | |||||||||||||||||||||||||
ชื่อภาษาจีน | |||||||||||||||||||||||||
อักษรจีนตัวย่อ | 周恩来 | ||||||||||||||||||||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 周恩來 | ||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||
ชื่อรอง | |||||||||||||||||||||||||
ภาษาจีน | 翔宇 | ||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||
โจว เอินไหล (จีน: 周恩来; พินอิน: Zhōu Ēnlái; เวด-ไจลส์: Chou1 Ên1-lai2; 5 มีนาคม ค.ศ. 1898 – 8 มกราคม ค.ศ. 1976) เป็นรัฐบุรุษ นักการทูต และนักปฏิวัติชาวจีน ผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนแรกของสาธารณรัฐประชาชนจีนตั้งแต่เดือนกันยายน ค.ศ. 1954 จนถึงเดือนมกราคม ค.ศ. 1976 โจวดำรงตำแหน่งภายใต้การนำของประธานเหมา เจ๋อตง และให้ความช่วยเหลือพรรคคอมมิวนิสต์ในการก้าวขึ้นสู่อำนาจ ต่อมาได้ช่วยรวมอำนาจควบคุม กำหนดนโยบายต่างประเทศ และพัฒนาเศรษฐกิจของจีน
ในฐานะนักการทูต โจวเคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของจีนตั้งแต่ปี ค.ศ. 1949 ถึง 1958 หลังจากสงครามเกาหลี เขาได้สนับสนุนแนวทางการอยู่ร่วมกันอย่างสันติกับชาติตะวันตก โดยเข้าร่วมการประชุมเจนีวาในปี ค.ศ. 1954 และการประชุมบันดุงในปี ค.ศ. 1955 นอกจากนี้เขายังมีบทบาทสำคัญในการจัดการเยือนประเทศจีนของประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสันในปี ค.ศ. 1972 เขามีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายเกี่ยวกับข้อพิพาทกับสหรัฐ ไต้หวัน สหภาพโซเวียต (หลังปี ค.ศ. 1960) อินเดีย เกาหลี และเวียดนาม
โจวรอดพ้นจากการกวาดล้างเจ้าหน้าที่ระดับสูงคนอื่น ๆ ในช่วงการปฏิวัติทางวัฒนธรรม ขณะที่เหมาใช้เวลาส่วนใหญ่ในช่วงบั้นปลายชีวิตทุ่มเทให้กับการต่อสู้ทางการเมืองและอุดมการณ์ โจวก็เป็นหนึ่งในกำลังสำคัญที่ขับเคลื่อนกิจการบ้านเมืองในช่วงการปฏิวัติทางวัฒนธรรมเป็นส่วนใหญ่ ความพยายามของเขาในการบรรเทาผลกระทบที่เกิดจากการกระทำของกลุ่มยุวชนแดง และการปกป้องผู้อื่นจากความโกรธแค้นของกลุ่มดังกล่าว ทำให้เขาได้รับความนิยมอย่างมากในช่วงปลายของการปฏิวัติทางวัฒนธรรม
สุขภาพของเหมาเริ่มเสื่อมลงในปี ค.ศ. 1971 และหลิน เปียวก็ตกที่นั่งลำบาก ถูกปลดจากตำแหน่ง และเสียชีวิตจากอุบัติเหตุเครื่องบินตกในเวลาต่อมา ท่ามกลางเหตุการณ์ดังกล่าว ในปี ค.ศ. 1973 คณะกรรมาธิการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนชุดที่ 10 ได้มีมติเลือกโจวให้ดำรงตำแหน่งรองประธานพรรคคอมมิวนิสต์จีนลำดับที่หนึ่ง ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ว่างลง และด้วยเหตุนี้จึงทำให้โจวได้รับเลือกเป็นผู้สืบทอดอำนาจจากเหมา (นับเป็นบุคคลลำดับที่สามที่ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งนี้ ต่อจากหลิว เช่าฉี และหลิน เปียว) อย่างไรก็ตาม โจวยังคงต้องเผชิญกับการต่อสู้ทางการเมืองภายในพรรคกับแก๊งออฟโฟร์เพื่อแย่งชิงอำนาจในการนำประเทศจีน การปรากฏตัวต่อสาธารณะครั้งสุดท้ายที่สำคัญของเขาคือในการประชุมครั้งแรกของสภาประชาชนแห่งชาติชุดที่ 4 เมื่อวันที่ 13 มกราคม ค.ศ. 1975 โดยเขาได้นำเสนอรายงานผลการทำงานของรัฐบาล จากนั้นเขาก็หายไปจากสายตาประชาชนเพื่อเข้ารับการรักษาพยาบาล และได้ถึงแก่อสัญกรรมในอีกหนึ่งปีต่อมา ความโศกเศร้าใหญ่หลวงของสาธารณชนอันเนื่องมาจากการอสัญกรรมของเขาในกรุงปักกิ่งกลายมาเป็นความโกรธแค้นต่อแก๊งออฟโฟร์ ซึ่งนำไปสู่เหตุการณ์กรณีเทียนอันเหมินในปี ค.ศ. 1976 หลังการถึงแก่อสัญกรรม ฮฺว่า กั๋วเฟิง ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองประธานลำดับที่หนึ่งและผู้สืบทอดตำแหน่ง อย่างไรก็ตาม เติ้ง เสี่ยวผิง ซึ่งเป็นพันธมิตรของโจวก็สามารถเอาชนะแก๊งออฟโฟร์และขึ้นดำรงตำแหน่งผู้นำสูงสุดแทนฮฺว่าในปี ค.ศ. 1978
ชีวิตช่วงต้น
[แก้]วัยเด็ก
[แก้]โจวเอินไหลมีภูมิลำเนาเป็นชาวเมืองเส้าซิง มณฑลเจ้อเจียง ในขณะที่ความจริงแล้ว เขาเกิดที่เมืองหวยอัน(淮安) มณฑลเจียงซู ในวันที่ 5 มีนาคม ค.ศ.1898 ซึ่งเป็นรกรากของฝ่ายมารดา บรรพบุรุษหลายชั่วอายุคนของตระกูลโจวที่เมืองเส้าซิงนี้ ล้วนเป็นที่ปรึกษาให้กับข้าราชการในเมือง ซึ่งอาชีพดังกล่าวได้รับความนิยมสูงสุดจน รับรู้กันว่ามีชาวเส้าซิงมากมายที่ประจำอยู่ตามหน่วยงานราชการทั่วประเทศของจีน นอกเหนือไปจากการเป็นพ่อค้า
โจวรำลึกถึงผู้ให้กำเนิดของตนว่า ยายของเขาเป็นหญิงชาวนาในชนบทของหวยอิน(淮阴) ดังนั้น ในร่างกายเขาก็มีเลือดของชาวนาไหลเวียนอยู่ด้วย ส่วนมารดานั้นเป็นผู้หญิงที่มีหน้าตางดงาม และจิตใจอ่อนโยน แต่น่าเสียดายที่ต้องเสียชีวิตตั้งแต่ยังสาวเมื่อมีอายุได้เพียง 35 ปี
เนื่องจากป่วยเป็นวัณโรค อันมีสาเหตุมาจากการทำงานหนักเกินไปหลังจากที่ปู่เสียชีวิตลงโดยไม่เหลือมรดกไว้ให้ครอบครัวเลย ปู่ของโจวเสียชีวิตลงเมื่ออายุได้ 50 ปี ในช่วงที่มีชีวิตอยู่ก็ไม่ได้สร้างทรัพย์สมบัติใด ๆ ไว้
มีเพียงบ้านที่อาศัยเท่านั้น เมื่อมาถึงรุ่นพ่อ ครอบครัวก็ถึงคราวลำบาก ซึ่งทั้งบิดาและอาของเขาต่างรับราชการ โดยบิดาของโจวมีตำแหน่งเป็นผู้ดูแลด้านเอกสาร ส่วนอาดำรงตำแหน่งเป็นที่ปรึกษา ซึ่งรวมกันแล้วรายได้ก็ยังไม่เพียงพอ
การศึกษา
[แก้]ที่เฟิงเทียน โจวเรียนที่ Dongguan Model Academy ก่อนหน้านั้นการเรียนของโจวเป็นการเรียนที่บ้านเท่านั้น นอกเหนือจากวิชาวิทยาศาสตร์และภาษาอังกฤษนั้น โจวยังได้สัมผัสงานเขียนของนักปฏิวัติและนักปฏิรูปหลายคน เช่น เหลียง ฉีเฉา, คัง โหยวเว่ย, เฉิน เทียนหัว, ซู หรง และ จาง ปิงหลิน เมื่อโจวอายุ 14 ปี ได้ประกาศแรงบัลดาลใจในการศึกษาของเขาคือ “การเป็นคนยิ่งใหญ่และรับผิดชอบภาระอันหนักอึ้งของประเทศ” ในปี 1913 ลุงของโจว เอินไหลถูกย้ายไปที่เทียนจิน และโจวได้เข้าเรียนที่โรงเรียนมัธยมหนานไคที่มีชื่อเสียง
โรงเรียนมัธยมหนานไคก่อตั้งโดย หยาน ซิ่ว นักวิชาผู้มีชื่อเสียง และนำโดย จาง โบหลิง วิธีการสอนของโรงเรียนมัธยมหนานไคนั้น ไม่ธรรมดาเมื่อเทียบกับมาตรฐานการสอนสมัยนั้น สมัยที่โจว เอินไหลเรียนนั้น โรงเรียนมัธยมหนานไคได้นำรูปแบบการศึกษามาจากวิทยาลัยฟิลลิปส์ สหรัฐ ด้วยชื่อเสียงของโรงเรียนที่มีวินัยสูง ทำให้ดึงดูดนักเรียนจำนวนซึ่งหลายคนกลายมาเป็นคนที่มีชื่อเสียง เพื่อนร่วมชั้นของโจว มีตั้งแต่ หม่า จุน (ผู้นำคอมมิวนิสต์คนแรกที่ถูกประหาร) ถึง เค ซี อู๋ (ต่อมาเป็นนายกเทศมนตรีเมืองเซี่ยงไฮ้และผู้ว่าการไต้หวันภายใต้พรรคชาตินิยม) ความสามารถของโจวเข้าตา หยาน ซิ่ว และ จาง โบหลิง โดยเฉพาะหยาน ช่วยจ่ายค่าเรียนโจวที่ญี่ปุ่นและฝรั่งเศสในเวลาต่อมา
หยานประทับใจโจวมาก และสนับสนุนให้โจวแต่งงานกับลูกสาว แต่โจวปฏิเสธ โจวได้บอกเหตุผลให้กับจาง หงห่าวเพื่อนร่วมชั้น ว่าที่โจวปฏิเสธเพราะเกรงว่าอนาคตการเงินของเขาในอนาคตจะไม่สู้ดี และเกรงว่าหยานจะเข้ามามีอิทธิพลในชีวิตเขาในภายหลัง
โจวเรียนได้ดีที่มัธยมหนานไค โจวเก่งภาษาจีน และได้รับรางวัลจากชมรมการพูดในโรงเรียนหลายรางวัล และได้เป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์โรงเรียนในปีสุดท้าย และโจวยังมีความสามารถในการแสดงละครเวที นักเรียนที่ไม่รู้จักโจวมาก่อน รู้จักโจวจากการแสดงของเขา ในปัจจุบัน โรงเรียนมัธยมหนานไคได้เก็บรักษาเรียงความและบทความจำนวนหนึ่งที่เขียนโดยโจวเอาไว้ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงวินัย การฝึกฝน และความห่วงใยในประเทศที่ผู้ก่อตั้งโรงเรียนหนานไคพยายามปลูกฝังให้กับลูกศิษย์ พิธีจบในปี 1917 โจวเป็นหนึ่งในห้าคนที่ได้รับเกียรติในพิธี และเป็นหนึ่งในสองคนกล่าวอำลา
โจวจบจากหนานไค คำสอนของจาง โบหลิงเรื่อง กง (จิตวัญญาณสาธารณะ) และ เนิง (ความสามารถ) ทำให้โจวประทับใจจางเป็นอย่างมาก การมีส่วมร่วมให้การอภิปรายและการแสดงละครเวที ทำให้โจวมีความสามารถในการพูดได้อย่างไพเราะ และความสามารถในการโน้มน้าว โจวจบจากหนานไคไปพร้อมกับความปารถนาที่รับใช้ประชาชนและฝึกฝนทักษะที่จำเป็น
กิจกรรมทางการเมืองยุคแรก
[แก้]โจว เอินไหลกลับเทียนจินในปี 1919 ฤดูใบไม้ร่วง นักประวัติศาสตร์หลายคนไม่เชื่อว่าโจวเข้าร่วมขบวนการ 4 พฤษภาคม ชีวประวัติอย่างเป็นทางการภาษาจีนของโจวระบุว่า โจวเป็นผู้นำในการประท้วงของนักศึกษาที่เทียนจินในขบวนการ 4 พฤษภาคม แต่นักวิชาการสมัยใหม่หลายคนเชื่อว่าไม่น่าเเป็นไปได้ที่โจวจะเข้าร่วม เนื่องจากขาดหลักฐานที่ยังเหลือรอดจากสมัยนั้น ในเดือน กรกฎาคม 1919 จากคนขอของหม่า จุน เพื่อนร่วมชั้นจากโรงเรียนมัธยมหนานไค โจวได้เป็นบรรณธิการสมาพันธ์นักศึกษาเทียนจินในที่สุด ในช่วงเวลาสั้นจากเดือนกรกฎาคม 1919 ถึง ต้นปี 1920 กระดานข่าวของโจว ถูกอ่านโดยกลุ่มนักศึกษาทั่วประเทศ และถูกรัฐบาลระงับอย่างน้อย 1 ครั้ง เนื่องจากเป็นความอันตรายต่อความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อยของสังคม
ในเดือนสิงหาคม 1919 เมื่อหนานไคกลายมาเป็นมหาวิทยาลัย โจวเป็นนักเรียนรุ่นแรก และเป็นนักกิจกรรมเต็มเวลา กิจกรรมทางการเมืองของโจวเริ่มขยายไปเรื่อย ๆ ในเดือน กันยายน โจวและนักศึกษาหลายคนเห็นด้วยที่จะก่อตั้งสมาคมเจี้ยอู้ (ตื่นตัว) ซึ่งเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ที่มีสมาชิกไม่ถึง 25 คน จุดประสงค์ของสมาคม โจวได้ประกาศว่า สิ่งใดก็ตามที่สอดคล้องกับยุคปัจจุบันควรถถูกปฏิรูป เช่น การทหาร ชนชั้นกระฎุมพี ความเท่าเทียมระหว่างชายหญิง จริยธรรมเก่า ๆ ฯลฯ และเป็นจุดประสงค์ของสมาคมที่ตั้งใจจะเผยแพร่ให้แก่ประชาชนชาวจีน ในสมาคมนี้เป็นสถานที่ที่โจวพบกับเติ้ง อิ่งเชา ภรรยาในอนาคต ในอีกมุม สมาคมเจี้ยอู้มีความคล้ายกับกลุ่มศึกษาลัทธิมาร์กซิสต์นำโดยหลี่ ต้าเจา ที่ใช้ตัวเลขแทนชื่อเป็นรหัสลับ (โจว เอินไหล ได้เลข 5 จึงใข้นามปากกาว่า อู่หาว และยังคงใช้นามฝางในปีต่อ ๆ มา) โดยแท้จริงแล้ว ทันทีหลังจากที่ก่อตั้งสมาคม ก็ได้มีการเชิญหลี่ ต้าเจามาบรรยายเรื่องลัทธิมาร์กซิสต์
อาการป่วย
[แก้]ค.ศ. 1972
[แก้]วันที่ 12 พฤษภาคม แพทย์ประจำตัวของโจวได้ทำการตรวจปัสสาวะประจำเดือนตามปกติและพบว่ามีเม็ดเลือดแดงปนอยู่จำนวนมากเมื่อส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ ต่อมาในวันที่ 18 พฤษภาคม หลังปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านระบบปัสสาวะหลายคน ได้แก่ อู๋ เจียผิง, ยฺหวี ซ่งถิง, สฺยง หรู่เฉิง, ยฺหวี ฮุ่ย-ยฺเหวียน และอู๋ เต๋อเฉิง ผลการวินิจฉัยสรุปว่าโจวเป็นโรคมะเร็งเยื่อบุผนังกระเพาะปัสสาวะ[1]: 295 อู๋และคณะจึงรายงานสภาพร่างกายของโจวให้แก่ผู้บังคับบัญชาชั้นสูงทราบทันที โดยหวังว่าเขาจะได้รับการรักษาโดยเร็วที่สุด[1]: 301 อย่างไรก็ตาม ประธานเหมา เจ๋อตง แห่งคณะกรรมาธิการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน ได้ให้คำสั่งสี่ประการผ่านวัง ตงซิง ผู้อำนวยการสำนักงานทั่วไปคณะกรรมาธิการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน ดังนี้ ประการแรก ให้เก็บเป็นความลับ ห้ามบอกโจวและภริยา ประการที่สอง ห้ามตรวจสอบ ประการที่สาม ห้ามผ่าตัด และประการที่สี่ ให้เสริมสร้างโภชนาการและดูแลตามอาการ[2][3] เมื่อพูดถึงวิธีการรักษาโรคนี้ เหมากล่าวว่า "การผ่าตัดอาจทำให้โรคแพร่กระจายได้ง่ายและเป็นอันตราย เราใช้ยาแผนโบราณคุมโรคนี้ได้หรือไม่?" แล้วเขาก็อธิบายต่อว่า "พวกหมอผ่าตัดนี่ผ่าตัดกันตลอดเวลา และทุกครั้งที่ผ่าก็มีคนตายไปหนึ่งคน นายพลเฉินไม่ใช่เหรอที่เสียชีวิตระหว่างผ่าตัด? เซี่ย ฟู่จื้อ ก็ตายระหว่างผ่าตัดเหมือนกันไม่ใช่หรือ?"[4]: 2586–2587 [5]
ค.ศ. 1973
[แก้]วันที่ 5 มกราคม โจวปัสสาวะเป็นเลือดจำนวนมาก เนื่องจากการรักษาล่าช้าซ้ำแล้วซ้ำเล่า[6] ในเช้าวันที่ 13 มกราคม โจวปัสสาวะเป็นเลือด น้ำในโถส้วมทั้งหมดกลายเป็นสีแดง อู๋และคณะจึงรายงานเรื่องนี้ไปยังวัง ตงซิงอีกครั้งเพื่อขอให้มีการตรวจวินิจฉัยและผ่าตัด และแจ้งให้เติ้ง อิ่งเชา ภริยาของโจวทราบถึงอาการป่วย[1]: 305-306 อย่างไรก็ตาม กระทั่งวันที่ 10 มีนาคม เมื่อโจวเข้าพักที่เขายฺวี่เฉฺวียน จึงสามารถเข้ารับการตรวจกระเพาะปัสสาวะด้วยกล้องส่องได้[1]: 321 ในระหว่างการตรวจรักษา คณะแพทย์ได้ละเมิดคำสั่งของเหมาและใช้ไฟฟ้าจี้เผาเนื้องอกบริเวณเยื่อบุผิวกระเพาะปัสสาวะ[a] การรักษาด้วยการผ่าตัดมีประสิทธิผลและปัสสาวะกลับมาเป็นปกติอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม การให้เคมีบำบัดที่ควรจะทำสัปดาห์ละสองครั้งหลังการผ่าตัดกลับไม่ได้เป็นไปตามแผนที่วางไว้[1]: 306-307 ปลายเดือนตุลาคม โจวปัสสาวะเป็นเลือดจำนวนมากอีกครั้ง แต่ด้วยอิทธิพลทางการเมืองของ "ขบวนการวิจารณ์หลิน เปียวและขงจื๊อ" และปัจจัยทางการเมืองอื่น ๆ ทำให้เขาไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที
ค.ศ. 1974
[แก้]อาการของเขารุนแรงขึ้นในช่วงต้น ค.ศ. 1974 และตั้งแต่ต้นเดือนมีนาคมเป็นต้นมา เขาปัสสาวะมีเลือดปนกว่า 100 มิลลิลิตรทุกวัน[6] วันที่ 12 มีนาคม คณะแพทย์ได้ทำการส่องกล้องกระเพาะปัสสาวะครั้งที่สองกับโจว และทำการรักษาด้วยไฟฟ้ากัดกร่อน แต่ผลลัพธ์ที่ได้ไม่เป็นที่น่าพอใจและไม่นานเลือดก็ปนออกมาในปัสสาวะอีกครั้ง ตามคำแนะนำของกรมการเมืองพรรคคอมมิวนิสต์จีน ได้มีการใช้การรักษาด้วยยาแบบอนุรักษ์นิยมและการถ่ายเลือดตั้งแต่นั้นมา ในช่วงเวลานี้ เลือดจำนวนมากได้สะสมอยู่ในกระเพาะปัสสาวะของโจวจนแข็งตัวเป็นลิ่มเลือดและอุดกั้นช่องเปิดภายในท่อปัสสาวะ ส่งผลให้เขามีอาการปวดอย่างรุนแรง[1]: 321-322 ในช่วงต้นเดือนพฤษภาคม การตรวจทางพยาธิวิทยาของปัสสาวะพบก้อนเนื้อมะเร็งปัสสาวะชนิดปาปิลลารีหลุดลอกออกมา อู๋และคณะจึงยื่นคำขอประชุมกับผู้นำส่วนกลางอีกครั้งเพื่อเริ่มกระบวนการผ่าตัดรักษาโดยเร็วที่สุด[1]: 323
วันที่ 1 มิถุนายน โจวถูกนำตัวเข้าโรงพยาบาล 305 กองทัพปลดปล่อยประชาชน เพื่อเข้ารับการผ่าตัด เขาได้รับการผ่าตัดเนื้องอกที่กระเพาะปัสสาวะครั้งแรก และอาการของเขาก็ดีขึ้น[1]: 334 วันที่ 7–8 สิงหาคม ปริมาณเลือดในปัสสาวะเพิ่มขึ้น และอาการเดิมกลับมาอีกครั้ง แพทย์วินิจฉัยว่ามะเร็งลุกลาม หลังปรึกษากับคณะแพทย์และได้รับอนุมัติจากกรมการเมืองแล้ว เขาได้เข้ารับการตรวจกระเพาะปัสสาวะด้วยกล้องส่องและรับการผ่าตัดครั้งใหญ่เป็นครั้งที่สอง หลังผ่าตัด อาการของเขาค่อนข้างคงที่และสามารถดูแลตัวเองได้[6] ก่อนเดือนธันวาคม คณะแพทย์ได้พบว่าโจวเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ แต่การรักษาถูกเลื่อนออกไปเพราะโจวต้องเดินทางไปยังเมืองฉางชาเพื่อรายงานการเตรียมการประชุมสภาประชาชนแห่งชาติครั้งที่ 4 ต่อเหมา[1]: 334
ค.ศ. 1975
[แก้]การตรวจระบบทางเดินอาหารในวันที่ 6 และ 18 มีนาคม พบว่าโจวมีก้อนเนื้อขนาดเท่าลูกวอลนัทในลำไส้ใหญ่บริเวณใกล้ตับ คณะแพทย์จึงตัดสินใจทำการผ่าตัดมะเร็งลำไส้ใหญ่ให้แก่เขา วันที่ 26 เจิง เซี่ยนจิ่ว ได้ทำการผ่าตัดตัดลำไส้ใหญ่ส่วนขวาและใช้ไฟฟ้าเผาเพื่อรักษามะเร็งกระเพาะปัสสาวะ โจวมีอาการอ่อนเพลียอย่างเห็นได้ชัดหลังการผ่าตัด[1]: 346
วันที่ 1 กรกฎาคม โจวได้ถ่ายภาพหมู่ร่วมกับเจ้าหน้าที่บางส่วน และกล่าวว่า "นี่เป็นครั้งสุดท้ายที่ฉันจะถ่ายรูปกับพวกคุณ ฉันหวังว่าในอนาคตพวกคุณจะไม่ตบหน้าฉัน"[6] ระหว่างเดือนสิงหาคมถึงกันยายน ผลตรวจทางพยาธิวิทยาปัสสาวะของโจวพบเซลล์มะเร็ง squamous (ชนิดหนึ่งของมะเร็งผิวหนัง) ร่วมด้วยหลายตำแหน่ง วันที่ 20 กันยายน เขาได้เข้ารับการผ่าตัดใหญ่ ในวันนั้นเอง เติ้ง เสี่ยวผิง, จาง ชุนเฉียว, หลี่ เซียนเนี่ยน, วัง ตงซิง และเติ้ง อิ่งเชา ต่างเฝ้ารออยู่ที่โรงพยาบาล เมื่อเข้าห้องผ่าตัด โจวได้ตะโกนเสียงดังว่า "ฉันภักดีต่อพรรคและประชาชน! ฉันไม่ใช่ผู้ยอมจำนน!" ระหว่างการผ่าตัด แพทย์พบว่าเซลล์มะเร็งได้แพร่กระจายไปทั่วร่างกายและไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ทันทีที่ทราบข่าว เติ้ง เสี่ยวผิงจึงสั่งการให้คณะแพทย์ทำทุกวิถีทางเพื่อ "ลดการปวดและยืดอายุขัย" ให้มากที่สุด[6] หลังปลายเดือนตุลาคม โจวแทบจะนอนติดเตียง และรับประทานอาหารผ่านสายยางทางจมูก การใช้ยาปฏิชีวนะปฏิชีวนะวงกว้างในปริมาณมากอาจทำให้ภาวะสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้เสีย ส่งผลให้เกิดอาการท้องร่วง และอาจตามมาด้วยการติดเชื้อทั่วร่างกาย ไข้สูงเรื้อรัง และภาวะไตวายและหัวใจล้มเหลว[1]: 358 [b]
กลางเดือนพฤศจิกายน วัง ตงซิง และจี้ เติงขุย ได้จัดการประชุมระดับย่อย ณ โถงฟูเจี้ยน ภายในมหาศาลาประชาชน ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยกัว ยฺวี่เฟิง อธิบดีกรมองค์การพรรคคอมมิวนิสต์จีน และเจิ้ง ผิงเหนียน รองอธิบดี ตลอดจนโจว ฉี่ไฉ ผู้ปฏิบัติงานในสำนักเลขาธิการสำนักงานกลางคณะกรรมาธิการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน การประชุมดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมการจัดพิธีศพของโจวล่วงหน้าตามคำสั่งของคณะกรรมาธิการกลางฯ ต่อมาโจว ฉี่ไฉ ได้ร่างประกาศการถึงอสัญกรรมและคำสรรเสริญ[8]
ค.ศ. 1976
[แก้]วันที่ 1 มกราคม โจวอยู่ในสภาพวิกฤตและอยู่ในอาการโคม่ามานาน ขณะตื่นนอน เขาได้ฟังวิทยุซึ่งกำลังเผยแพร่บทกวีสองบทที่ประพันธ์ขึ้นใหม่โดยเหมาใน ค.ศ. 1965 ได้แก่ "น้ำเสียงเพลง: กลับสู่เขาจิ่งกัง" และ "เนี่ยนหนูเจียว: คำถามและคำตอบของนก" เขาแนะนำให้เจ้าหน้าที่ซื้อหนังสือรวมบทกวีและอ่านกวีทั้งสองบทนี้[6] นอกจากนี้โจวยังขอให้คณะทำงานเปิดเพลง "ไต้ยฺวี่ฝังดอกไม้" (黛玉葬花) และ "เป่ายฺวี่คร่ำครวญถึงความตาย" (宝玉哭灵) จากอุปรากรเรื่อง "ฝันของคฤหาสน์แดง" (红楼梦) ฟังซ้ำ ๆ[2]
ในช่วงเช้าของวันที่ 5 มกราคม โจวได้รับการผ่าตัดครั้งสุดท้าย (การสร้างลำไส้เทียม) เนื่องจากลำไส้เป็นอัมพาต ทำให้ท้องป่องและไม่สามารถขับถ่ายได้[1]: 359 เติ้ง เสี่ยวผิง, หลี่ เซียนเนี่ยน, วัง ตงซิง และคณะได้เดินทางมาเยี่ยมและรอ ตั้งแต่บ่ายยันค่ำ สมาชิกกรมการเมืองในกรุงปักกิ่งได้รับแจ้งว่าโจวป่วยหนักและทยอยกันไปเยี่ยมที่โรงพยาบาล วันที่ 7 มกราคม โจวเข้าสู่ภาวะโคม่า แพทย์ได้ใช้เครื่องช่วยหายใจและให้อาหารทางสายยางเพื่อยื้อชีวิตไว้ ในเวลา 23.00 น. คืนนั้น โจวอยู่ระหว่างการต่อสู้กับความตายแล้ว เขาลืมตาขึ้นเล็กน้อย รับรู้ถึงการปรากฏตัวของอู๋ เจียผิง และบุคคลอื่น ๆ ที่อยู่ตรงหน้า และกล่าวด้วยเสียงแผ่วเบาว่า: "ฉันสบายดีที่นี่ พวกคุณควรไปดูแลสหายที่เจ็บป่วยท่านอื่น คุณมีความจำเป็นมากกว่าที่นั่น..."[c] นี่เป็นคำพูดสุดท้ายที่โจวพูดก่อนถึงแก่อสัญกรรม[6]
อสัญกรรม
[แก้]วันที่ 8 มกราคม ค.ศ. 1976 เวลา 09:57 น. โจว เอินไหล ถึงแก่อสัญกรรมด้วยโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ณ โรงพยาบาล 305 กรุงปักกิ่ง สิริอายุ 78 ปี เติ้ง อิ่งเชา พร้อมด้วยสมาชิกกรมการเมืองคนอื่น ๆ ในกรุงปักกิ่งได้รีบไปยังโรงพยาบาลเพื่อกล่าวอำลาต่อศพและจัดเตรียมพิธีศพ "เสียงของเติ้ง เสี่ยวผิงสั่นเครือ เย่ เจี้ยนอิงน้ำตาไหลอาบแก้ม และกุมมือเติ้ง อิ่งเชาไว้ หลี่ เซียนเนี่ยน, เฉิน หย่งกุ้ย, ซู เจิ้น-หฺวา และคณะไม่สามารถเดินได้และหลายคนตาบวมแดงจากการร้องไห้ ขณะที่เจียง ชิง และคณะรีบหันหลังกลับไปทันที"[10] ในช่วงบ่าย กรมการเมืองได้จัดประชุมเพื่อร่างรายงานขออนุมัติประกาศแสดงความอาลัย และรายชื่อคณะกรรมการจัดพิธีศพ จากนั้นได้ส่งเอกสารเหล่านี้ไปยังเหมา เจ๋อตง เพื่อขออนุมัติ และในเวลา 01.00 น. ของวันที่ 9 เหมาได้ให้การอนุมัติ ร่างของโจวถูกส่งไปยังโรงพยาบาลปักกิ่งในเวลาเที่ยงวันของวันที่ 8 และได้มีการชันสูตรพลิกศพตามความประสงค์ของเขา พบว่ามะเร็งได้ลุกลามไปยังอวัยวะสำคัญทุกส่วน ต่อมาโจวได้รับการตัดผมโดยจู เตี้ยน-หฺวา ช่างตัดผมจากโรงแรมปักกิ่ง ในเวลาเที่ยงคืน หลังจากการตัดผม แต่งกาย ทำศัลยกรรมตกแต่ง และแต่งหน้าแล้ว ศพของโจวก็ถูกนำไปยังห้องเก็บศพของโรงพยาบาลปักกิ่ง ผู้สื่อข่าวจากสำนักข่าวซินหัว สถานีวิทยุโทรทัศน์กลางแห่งประเทศจีน และสตูดิโอภาพยนตร์สารคดีข่าวกลางจีน ได้รีบไปยังโรงพยาบาลเพื่อทำการบันทึกภาพจนถึงตอนดึก[1]: 383
วันที่ 9 มกราคม เวลา 04:12 น. สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศจีนได้เริ่มกระจายเสียงประกาศการถึงแก่อสัญกรรมของโจว ซึ่งออกโดยคณะกรรมาธิการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน คณะกรรมาธิการสามัญประจำสภาประชาชนแห่งชาติ และคณะมนตรีรัฐกิจ พร้อมทั้งประกาศการตั้งคณะกรรมการจัดพิธีศพสำหรับสหายโจว เอินไหล ซึ่งประกอบด้วยสมาชิก 107 คน รวมถึงเหมา เจ๋อตง, หวัง หงเหวิน, เย่ เจี้ยนอิง, เติ้ง เสี่ยวผิง และจู เต๋อ ตั้งแต่วันที่ 9 ถึงวันที่ 15 ธงชาติถูกลดครึ่งเสา ณ จัตุรัสเทียนอันเหมิน ประตูซินหฺวา วังวัฒนธรรมแรงงาน และกระทรวงการต่างประเทศในกรุงปักกิ่ง[6][11] บนถนน ใบหน้าของผู้คนแทบทุกคนดูเศร้าสร้อย บนรถไฟ ทหารตีอกชกตัวร้องไห้ฟูมฟาย และในสำนักงาน อพาร์ตเมนต์ และโรงเรียน ผู้คนร้องไห้เงียบ ๆ สะอื้นไห้กันทั่วไป[12]: 1–13
วันที่ 10 มกราคม คณะกรรมาธิการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนและคณะมนตรีรัฐกิจได้ออกประกาศตัดสินใจจัดพิธีไว้อาลัยอย่างยิ่งใหญ่ให้แก่โจวในกรุงปักกิ่งและทั่วประเทศ ในวันที่ 10 และ 11 ผู้นำพรรคและรัฐ รวมถึงผู้แทนประชาชนจำนวนกว่า 10,000 คนเดินทางไปยังโรงพยาบาลปักกิ่งเพื่อกล่าวอำลาศพของโจว จู เต๋อ, เย่ เจี้ยนอิง, เติ้ง เสี่ยวผิง, ซ่ง ชิ่งหลิง, หวัง หงเหวิน, เจียง ชิง, จาง ฉุนเฉียว, เหยา เหวินหยวน และบุคคลสำคัญอื่น ๆ มาร่วมแสดงความเคารพต่อศพของโจวอย่างเงียบเชียบ เจียง ชิงไม่ได้ถอดหมวกในระหว่างขบวนศพ ซึ่งก่อให้เกิดความไม่พอใจในหมู่ผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์และผู้ที่รับชมผ่านโทรทัศน์[13][14] ในเวลาเดียวกัน ประชาชนจำนวนมากได้มารวมตัวกันหน้าโรงพยาบาลปักกิ่งเพื่อเข้าร่วมพิธีส่งศพ โดยหวังจะได้เห็นร่างของโจวและแสดงความอาลัย[6]
ในช่วงบ่ายของวันที่ 11 มกราคม ร่างของโจวถูกนำไปยังสุสานปฏิวัติปาเป่าชานในกรุงปักกิ่งเพื่อทำการฌาปนกิจ ชาวปักกิ่งนับล้านรวมตัวกันอย่างสมัครใจที่สองข้างถนนฉางอานหน้าประตูเทียนอันเพื่อส่งโจวเป็นครั้งสุดท้ายท่ามกลางอากาศหนาวจัด[15]: 447 พิธีศพเริ่มขึ้นในเวลา 16:00 น. ของวันที่ 11 มกราคม ร่างของโจวได้รับการอารักขาโดยหวัง หงเหวิน, วัง ตงซิง, เติ้ง อิ่งเชา เจ้าหน้าที่คณะกรรมการจัดพิธีศพ และมิตรสหายของโจวจากโรงพยาบาลปักกิ่งไปยังสุสานปฏิวัติเป่าชาน ผ่านถนนไถจีฉ่างและถนนฉางอาน ประชาชนรวมตัวกันอยู่สองข้างทางเพื่อส่งร่างของโจว เสียงร่ำไห้โศกเศร้าดังกึกก้องไปทั่วทุกหนแห่งที่ขบวนเคลื่อนผ่าน[6] นี่คือเหตุการณ์ที่มีชื่อเสียงว่า "ถนนสิบลี้ส่งนายกรัฐมนตรี" เวลา 18:05 น. ขบวนรถมาถึงสู่สุสานปฏิวัติปาเป่าชาน ร่างของโจวถูกเคลื่อนย้ายไปยังห้องอำลาที่ 2 (หอประชุมตะวันออก สถานประกอบพิธีศพปาเป่าชาน) เติ้ง อิ่งเชา กล่าวอำลาโจวด้วยความเศร้าโศกว่า "เอินไหล ฉันมาหาคุณแล้ว ลาก่อน ขอให้ฉันได้มองคุณเป็นครั้งสุดท้าย! ฉันไม่ได้ร้องไห้หนักหนาเช่นนี้มานานนัก แต่บัดนี้ฉันจะร้องไห้ให้หนักยิ่งกว่า" ผู้คนมากมายที่อยู่ที่นั่นต่างหลั่งน้ำตาออกมา[13] ต่อมา ร่างของโจวถูกเผา และจาง ชู่อิ๋ง กับเกา เจิ้นผู่ อดีตทหารรักษาการณ์ของโจวได้นำอัฐิไปยังวังวัฒนธรรมแรงงานเพื่อประกอบพิธีฝัง[13]
ช่วงบ่ายของวันที่ 12 กรกฎาคม กรมการเมืองได้จัดประชุมเพื่อหารือเกี่ยวกับคำสรรเสริญและพิธีศพ โดยจาง ฉุนเฉียว เสนอให้เย่ เจี้ยนอิง กล่าวคำสรรเสริญในพิธีรำลึก แต่เขาปฏิเสธข้อเสนอนี้ และเสนอให้เติ้ง เสี่ยวผิง กล่าวแทน ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสมาชิกกรมการเมืองส่วนใหญ่ในที่ประชุม[16]
ตั้งแต่วันที่ 12 ถึง 14 มกราคม ประชาชนจากทุกสาขาอาชีพในเมืองหลวงกว่า 40,000 คนได้เข้าร่วมพิธีไว้อาลัยอย่างยิ่งใหญ่ ณ วังวัฒนธรรมแรงงาน หลังเสร็จพิธี อัฐิของโจวถูกเคลื่อนย้ายไปยังโถงไถวาน มหาศาลาประชาชน ในช่วงการไว้ทุกข์ ประชาชนจากทุกสาขาอาชีพทั้งโดยสมัครใจและการบังคับได้ร่วมกันจัดกิจกรรมรำลึกต่าง ๆ เพื่อเป็นการระลึกถึงและแสดงความเศร้าโศกต่อการจากไปของโจว อนุสาวรีย์วีรชน ใจกลางจัตุรัสเทียนอันเหมิน ซึ่งจารึกด้วยลายมือของโจวกลายเป็นสถานที่หลักในการไว้ทุกข์และระลึกถึงโจว ภายในเวลาเพียงไม่กี่วัน มีการวางพวงมาลาล้อมรอบอนุสาวรีย์ และประดับผนังทั้งสี่ด้านด้วยดอกไม้สีขาว กิจกรรมรำลึกในลักษณะเดียวกันนี้ยังเกิดขึ้นในเมืองใหญ่และกลางทั่วประเทศ เช่น เซี่ยงไฮ้, เทียนจิน, อู่ฮั่น, ซีอาน, หนานจิง, ฉงชิ่ง, หนานชาง, กว่างโจว และอื่น ๆ อีกมากมาย โดยมีการพัฒนาและขยายตัวอย่างต่อเนื่อง[6]
ในช่วงบ่ายของวันที่ 14 มกราคม คณะทำงานได้อ่านร่างคำสรรเสริญสำหรับพิธีรำลึก ซึ่งคณะกรรมาธิการกลางฯ ได้ส่งมาให้เหมาฟังและพิจารณา เหมาถึงกับร้องไห้ออกมา[d][15]: 447 เหมาป่วยหนักเกินกว่าจะเข้าร่วมพิธีรำลึก
วันที่ 15 มกราคม ธงชาติทั่วประเทศถูกลดครึ่งเสาเพื่อเป็นการแสดงความอาลัย และกิจกรรมบันเทิงทุกประเภทถูกระงับชั่วคราว ในช่วงบ่าย มีการจัดพิธีรำลึกถึงโจว ณ มหาศาลาประชาชน จัตุรัสเทียนอันเหมิน โดยเติ้ง เสี่ยวผิง ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งรองประธานคณะกรรมาธิการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน และรองนายกรัฐมนตรี ได้เป็นประธานในพิธีและกล่าวคำสรรเสริญ บรรยากาศของโดยรวมเต็มไปด้วยความโศกเศร้าและเคร่งขรึม หลังการถึงแก่อสัญกรรมของโจว ตามเจตนารมณ์ของเขา ร่างของเขาถูกฌาปนกิจ และอัฐิไม่ได้ถูกเก็บรักษาไว้ เติ้ง อิ่งเชาได้มอบอัฐิให้แก่กัว ยฺวี่เฟิง, หลัว ชิงฉาง, จาง ชู่อิ๋ง และเกา เจิ้นผู่ ซึ่งได้นำเครื่องบินขนส่งอานโตนอฟ อาน-2 ไปโปรยอัฐเหนือกำแพงเมืองจีนในกรุงปักกิ่ง อ่างเก็บน้ำมี่หยุน ปากแม่น้ำไห่เหอในเทียนจิน และปากแม่น้ำเหลืองในทะเลปั๋วไห่ ที่ปินโจว มณฑลชานตง
หลังการถึงแก่อสัญกรรมของโจว ผู้นำจากกว่า 130 ประเทศและพรรคการเมืองต่างส่งโทรเลขและจดหมายแสดงความเสียใจมายังพรรคคอมมิวนิสต์และรัฐบาลจีน เพื่อแสดงถึงความอาลัยอย่างสุดซึ้งต่อการจากไปของโจว และเพื่อยกย่องถึงคุณูปการอันยิ่งใหญ่ของเขาที่มีต่อประเทศจีนและโลก ขณะเดียวกัน ที่การประชุมคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ประธานสมัชชาใหญ่ได้เสนอให้ผู้แทนทุกคนลุกยืนสงบนิ่งเพื่อไว้อาลัยแก่โจว และสหประชาชาติได้ลดธงครึ่งเสาเพื่อแสดงความอาลัยด้วย[6]
เหตุการณ์ที่ตามมา
[แก้]ความไม่พอใจและความต่อต้านที่สั่งสมมานานในสังคมจีนนับตั้งแต่การปฏิวัติทางวัฒนธรรมได้รวมตัวกันอย่างรวดเร็วภายใต้ร่มเงาของการไว้อาลัยโจว และแสดงออกในรูปแบบของ "ไว้อาลัยโจว สนับสนุนเติ้ง ตำหนิเจียง และยิงเหมา" (悼周、拥邓、讨江、射毛)[2] เหมาได้เขียนข้อความสั้น ๆ เพียงหกคำลงบนรายงานฉบับหนึ่งว่า "การไว้อาลัยเป็นเท็จ การฟื้นฟูเป็นจริง'" (悼念虚,复辟实)[2] กรมโฆษณาชวนเชื่อซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมของ "แก๊งออฟโฟร์" ได้ดำเนินการจัดพิธีศพของโจวอย่างเงียบเชียบ โดยเจตนาที่จะลดความสำคัญของเหตุการณ์นี้ เหยา เหวิน-ยฺเหวียน ได้สั่งห้ามรายงานข่าวเกี่ยวกับการไว้อาลัยของชาวปักกิ่งที่มีต่อโจว และเริ่มจับกุมประชาชนบางส่วนที่มารวมตัวกันไว้อาลัยที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน วันที่ 25 มีนาคม หนังสือพิมพ์เหวินฮุ่ยเป้า (文汇报) ได้ตีพิมพ์รายงานหน้าหนึ่งที่มีใจความว่า "ผู้เดินสายทุนนิยมในพรรคต้องการนำผู้เดินสายทุนนิยมที่ถูกโค่นล้มและไม่ยอมกลับใจมาสู่อำนาจ" โดยทั่วไปเข้าใจกันว่ารายงานฉบับนี้เป็นการพาดพิงถึง "ความตั้งใจของโจวที่ต้องการนำเติ้ง เสี่ยวผิงขึ้นสู่อำนาจ"[18] ไม่กี่วันต่อมา นักศึกษาและกรรมกรในเมืองหนานจิงได้ออกมาเดินขบวนประท้วง ป้ายประกาศที่มีข้อความ เช่น "จับจาง ฉุนเฉียว ผู้ทะเยอทะยาน ร่วมสมคบคิด และสองหน้าเช่นเดียวกับครุชชอฟ มาลงโทษเป็นเยี่ยงอย่าง!", "โค่นล้มผู้ใดก็ตามที่คัดค้านนายกโจว!" และ "เปิดโปงเบื้องหลังดำมืดของเวินฮุ่ยเป้า!" ปรากฏอยู่บนท้องถนนในหนานจิงและบนขบวนรถไฟที่มุ่งหน้าไปปักกิ่ง[19]: 727 ไม่นานหลังจากนั้น เหตุการณ์ในลักษณะเดียวกันก็เกิดขึ้นในหลายเมืองทั่วประเทศ ในวันที่ 4 เมษายน ซึ่งตรงกับวันเช็งเม้ง ชาวปักกิ่งได้รวมตัวกันที่จัตุรัสเทียนอันเหมินเพื่อรำลึกถึงโจว กล่าวสุนทรพจน์และแต่งบทกวีเพื่อไว้อาลัยต่อการจากไปของโจว พร้อมทั้งวิพากษ์วิจารณ์ "แก๊งออฟโฟร์" อย่างลับ ๆ ในช่วงเย็นวันเดียวกัน กรมการเมืองได้จัดการประชุม ที่ประชุมเชื่อว่ามีบางกลุ่มบุคคลกำลังใช้การรำลึกถึงโจวในการดำเนินกิจกรรมต่อต้านการปฏิวัติและมุ่งเป้าไปที่เติ้ง เสี่ยวผิง ซึ่งในความเป็นจริงถูกปลดจากอำนาจไปแล้ว ด้วยการอนุมัติจากเหมา จึงมีการตัดสินใจเคลียร์พื้นที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน ท้ายที่สุด เหตุการณ์ปะทะกันระหว่างตำรวจกับประชาชนก็ปะทุขึ้นที่จัตุรัสเทียนอันเหมินในช่วงเช้ามืดของวันที่ 5 เมษายน อันเป็นจุดเริ่มต้นของการประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตยครั้งใหญ่ในประเทศจีน เหตุการณ์นี้เป็นที่รู้จักในนาม "ขบวนการ 5 มิถุนายน" ซึ่งรัฐบาลจีนได้ใช้กำลังเข้าปราบปรามอย่างรุนแรง ส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจำนวนมาก และนำไปสู่การโค่นล้มเติ้ง เสี่ยวผิงอีกครั้งหนึ่ง
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 1.11 1.12 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อbj
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 高文谦 (2003). 晚年周恩来. 明镜出版社. ISBN 9781932138078.
- ↑ ""一代国医"吴阶平_尚文频道_新浪网". style.sina.com.cn. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-12-02. สืบค้นเมื่อ 2022-12-02.
{{cite web}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|dead-url=
ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=
) (help) - ↑ 《毛泽东传(第6册)》. 中央文献出版社. 2011. ISBN 9787507331882.
{{cite book}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|editors=
ถูกละเว้น แนะนำ (|editor=
) (help) - ↑ "周恩来的最后时光:让医生去照顾别的同志【2】". zhouenlai.people.cn. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-11-03. สืบค้นเมื่อ 2023-11-02.
{{cite web}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|dead-url=
ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=
) (help) - ↑ 6.00 6.01 6.02 6.03 6.04 6.05 6.06 6.07 6.08 6.09 6.10 6.11 中共中央文献研究室 (2007). 周恩来年谱(下). 北京. ISBN 978-7-5073-2404-4.
- ↑ 高文谦 (2005-03-22). "把历史的知情权还给民众——驳复"司马公"先生(二)". 华夏文摘增刊. 中国新闻电脑网络 (425). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-12-02. สืบค้นเมื่อ 2022-12-02.
{{cite journal}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|dead-url=
ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=
) (help) - ↑ "周恩来讣告和悼词起草前后_cctv.com提供". news.cctv.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-12-02. สืบค้นเมื่อ 2022-12-02.
{{cite web}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|dead-url=
ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=
) (help) - ↑ 阎长贵 (2013). "康生的秘书谈康生". 炎黄子孙 (2).
- ↑ "难忘的400余天——忆周恩来总理在三〇五医院_腾讯新闻". new.qq.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-12-02. สืบค้นเมื่อ 2022-12-02.
{{cite web}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|dead-url=
ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=
) (help) - ↑ 张树军主编;荆彦周副主编. 图文中国共产党纪事 6 1972-1981[M]. 石家庄:河北人民出版社, 2011.06.
- ↑ 《震撼世界的二十天——外國記者筆下的周恩來逝世》. 北京: 中央文獻出版社. 1999.
- ↑ 13.0 13.1 13.2 陈寰著. 流光漫忆 一个女记者的人生旅程[M]. 北京:新世界出版社, 2003.11.pp63-73
- ↑ 董惠民著. 小写历史[M]. 北京:九州出版社, 2016.01.pp390
- ↑ 15.0 15.1 《毛澤東傳(第六卷)》 (香港第一版 ed.). 香港: 中和出版. 2011. ISBN 978-988-15116-8-3.
{{cite book}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|editors=
ถูกละเว้น แนะนำ (|editor=
) (help) - ↑ 中国中央文献研究室编 (2007). 邓小平年谱 1975-1997 上. 北京: 中央文献出版社. p. 143. ISBN 7507324068.
{{cite book}}
: ตรวจสอบค่า|isbn=
: checksum (help) - ↑ 张玉凤 (1989). "毛泽东周恩来晚年二三事". 炎黄子孙 (1).
- ↑ 沈国祥 (2005). "〈亲历1976年"三·五"、"三·二五"事件〉" (03). 《百年潮》. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-12-24. สืบค้นเมื่อ 2012-11-24.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์|dead-url=
ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=
) (help) - ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อzcq
ก่อนหน้า | โจว เอินไหล | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
ไม่มี | นายกรัฐมนตรีจีน (ค.ศ. 1949 – 1976) |
ฮั่ว กั๋วเฟิง |
อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref>
สำหรับกลุ่มชื่อ "lower-alpha" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="lower-alpha"/>
ที่สอดคล้องกัน