สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศจีน
อาคารสำนักงานใหญ่สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศจีน | |
พื้นที่กระจายเสียง | เอเชียแปซิฟิก |
---|---|
สัญลักษณ์ | ออกอากาศทั้งกลางวันและกลางคืน ไม่หยุดพัก (พ.ศ. 2553–ปัจจุบัน) |
การเป็นเจ้าของ | |
เจ้าของ | ไชนามีเดียกรุป (รัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน) |
ประวัติ | |
เริ่มกระจายเสียง | 5 ธันวาคม พ.ศ. 2492 |
สัญญาณเรียกขานเดิม |
|
ชื่อสัญญาณเรียกขาน | วอยซ์ออฟไชนา (Voice of China) |
ข้อมูลทางเทคนิค | |
พิกัดสถานีส่ง | เลขที่ 2 ถนนฟู่ซิงเหมินรอบนอก เขตซีเฉิง กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน |
สถานีถ่ายทอด | 17 สถานีภาคพื้นดิน, 4 ช่องวิทยุดิจิทัล |
ลิงก์ | |
เว็บไซต์ | cnr |
สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศจีน | |||||||
อักษรจีนตัวย่อ | 中央人民广播电台 | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรจีนตัวเต็ม | 中央人民廣播電台 | ||||||
ความหมายตามตัวอักษร | สถานีวิทยุกระจายเสียงประชาชนกลาง | ||||||
|
สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศจีน (อังกฤษ: China National Radio; จีน: 中央人民广播电台; พินอิน: Zhōngyāng Rénmín Guǎngbō Diàntái) เป็นหนึ่งในสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งชาติของจีน เริ่มออกอากาศเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2492 และเป็นหนึ่งในสื่อที่มีความสำคัญและมีอิทธิพลมากที่สุดในจีน โดยอยู่ในเครือของไชนามีเดียกรุป (CMG) มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561
สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศจีน เป็นสถานีวิทยุที่ออกอากาศครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศจีน มีผู้ฟังมากกว่า 700 ล้านคนในประเทศ และเป็นสถานีวิทยุที่มีผู้ฟังในประเทศมากที่สุดในโลก ปัจจุบันมีช่อง 17 ช่อง และออกอากาศตลอด 24 ชั่วโมง
ประวัติ
[แก้]โครงสร้างพื้นฐานเริ่มต้นด้วยเครื่องส่งสัญญาณจากมอสโกเพื่อตั้งสถานีแรกในหยานอัน (延安) ใช้สัญญาณเรียกขาน XNCR ("New China Radio") ในการออกอากาศ และเป็นสถานีวิทยุแห่งแรกที่จัดตั้งขึ้นโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีนในปี พ.ศ. 2483[1]
ในภูมิภาคทางตะวันตก สถานีนี้เป็นที่รู้จักในชื่อสถานีวิทยุหยานอันซินหัว (延安新华广播电台) ออกอากาศวันละสองชั่วโมง[1] ส่วนในประเทศจีนเรียกว่าสถานีออกอากาศหยานอันซินหัว ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2483[2]
ในวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2492 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นสถานีออกกาศซานเป่ยซินหัว (陕北新华广播电台) หลังจากที่ออกอากาศจากหยานอัน ได้เริ่มออกอากาศในกรุงเป่ยผิงภายใต้ชื่อสถานีออกอากาศเป่ยผิงซินหัว (北平新华广播电台) เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2492 ได้รับการตั้งชื่ออย่างเป็นทางการว่าสถานีวิทยุประชาชนกลาง สองเดือนหลังจากการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน สถานีเสนอรายการออกอากาศ 15.5 ชั่วโมงต่อวันไปยังพื้นที่ส่วนใหญ่ของจีน[1]
ในวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 เหมา เจ๋อตง ได้เน้นย้ำว่าประชาชนทุกคนควรฟังสถานีวิทยุนี้
"สำนักข่าวและกระจายเสียงกลาง" เป็นตัวขับเคลื่อนในการผลักดันให้โรงเรียน หน่วยทหาร และองค์กรสาธารณะทุกระดับติดตั้งลำโพงสาธารณะและเครื่องส่งวิทยุที่มีเสียงดัง[1] ในช่วงปีคริสต์ทศวรรษ 1960 มีการติดตั้งลำโพง 70 ล้านตัวเพื่อเข้าถึงประชากรในชนบท 400 ล้านคน[1]
สถานีวิทยุประชาชนกลาง ได้คิดค้นการส่งสัญญาณแบบมีสาย ซึ่งเชื่อมกับเสาโทรศัพท์ที่พบได้ทั่วไปที่ได้ติดตั้งลำโพง สถานีท้องถิ่นมักจะตั้งอยู่ในเทศมณฑลหรือในแต่ละโรงงานหรือกลุ่มการผลิตต่างๆ[3] มันเป็นส่วนหนึ่งของอุดมการณ์ของเหมาในการนำเสนอ "การเมืองตามความต้องการ" สถานีนี้ทำหน้าที่เป็นสำนักงานใหญ่ในการโฆษณาชวนเชื่อในช่วงการปฏิวัติทางวัฒนธรรม[1]
ในช่วงการปฏิวัติทางวัฒนธรรม สถานีได้เสนอตารางรายการประจำวันมากมาย โดยเริ่มออกอากาศโดยการบรรเลงเพลงตงฟางหง (东方红)[4] ตารางรายการประจำวันส่วนใหญ่ประกอบด้วยรายการข่าวและรายการวัฒนธรรม แบ่งเป็นรายการพิเศษในหัวข้อต่างๆ เช่น การเพาะกายตอนเช้า รายการสำหรับเด็ก และการออกอากาศรายการทางทหาร[3]
ต่อมาสถานีได้เปลี่ยนชื่อเป็น China National Radio ในชื่อเวอร์ชันภาษาอังกฤษ[2] และย้ายไปที่สำนักงานใหญ่แห่งใหม่ในปี 2541[ต้องการอ้างอิง]
บริการ
[แก้]สถานีวิทยุ
[แก้]ช่อง | คำอธิบาย | คลื่นความถี่ |
---|---|---|
CNR 1: ข่าวทั่วไป (中国之声) |
รายงานข่าวสารทั่วไปเป็นหลัก ตลอด 24 ชั่วโมง | แตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาค |
CNR 2: เศรษฐกิจ (经济之声) |
รายงานข่าวเศรษฐกิจเป็นหลัก ตลอด 24 ชั่วโมง |
|
CNR 3: เพลง (音乐之声) |
ออกอากาศเพลงป็อปจีนและทั่วโลกทาง FM ในเมืองหลักหลายแห่งของจีน ออกอากาศช่วง GMT+8 6–24 | FM 90.0 ในปักกิ่ง, FM 107.7 ในเซี่ยงไฮ้, FM 87.4 ในกวางโจว ฯลฯ (ความถี่ของ FM อาจแตกต่างกันไปในแต่ละเมือง) |
CNR 4: เพลงคลาสสิค (经典音乐广播) |
ออกอากาศในปักกิ่งเท่านั้น ออกอากาศเพลงคลาสสิคเป็นหลัก ออกอากาศช่วง GMT+8 5-1 | FM 101.8 ในปักกิ่ง |
CNR 5: ข้ามช่องแคบ (台海之声) |
ออกอากาศในไต้หวัน ออกอากาศในช่วง GMT+8 5-1 เป็นหลัก |
|
CNR 6: เซินเจิ้นอีซี่เรดิโอ (神州之声) |
ออกอากาศในไต้หวัน ในภาษาถิ่น ได้แก่ อามอย ฮากกา ออกอากาศระหว่าง GMT+8 6–24 |
|
CNR 7: กวางตุ้ง (粤港澳大湾区之声) |
สามเหลี่ยมปากแม่น้ำจูเจียง ฮ่องกงและมาเก๊า ออกอากาศในภาษาจีนกลาง กวางตุ้ง แต้จิ๋ว ฮากกา เซี่ยงไฮ้ และอามอย ออกอากาศระหว่าง GMT+8 5-2 |
|
CNR 8: ชนกลุ่มน้อย (民族之声) |
ออกอากาศในกลุ่มน้อยรวมถึงเกาหลีและมองโกเลีย |
|
CNR 9: วรรณกรรม (文艺之声) |
ออกอากาศในปักกิ่งเท่านั้น วรรณกรรมและรายการบันเทิงทั้งหมด ออกอากาศในช่วง GMT+8 5-2 | FM: 106.6 ในปักกิ่ง |
CNR 10: ผู้สูงอายุ (老年之声) |
ออกอากาศในปักกิ่งเท่านั้น สำหรับผู้สูงอายุ รวมถึงรายการบันเทิง รายการสุขภาพ ฯลฯ ออกอากาศช่วง GMT+8 4:00–1:30 น. | AM: 1053 ในปักกิ่ง |
CNR 11: ทิเบต (藏语广播) |
ออกอากาศทิเบต ออกอากาศในช่วง GMT+8 6–24 |
|
CNR 12: การอ่าน (阅读之声) |
ออกอากาศในปักกิ่งเท่านั้น ส่วนใหญ่เป็นเสียงอ่าน ออกอากาศในช่วง GMT+8 6-2 | AM: 747 ในปักกิ่ง |
CNR 13: อุยกูร์ (维吾尔语广播) |
ออกอากาศในอุยูร์ |
|
CNR 14: ฮ่องกง (香港之声) |
ออกอากาศในฮ่องกงเท่านั้น เป็นภาษาจีนกลาง กวางตุ้ง แต้จิ๋ว และฮากกา ตลอด 24 ชั่วโมง | AM 675 (ถ่ายทอดโดย RTHK) และ FM 87.8 ในฮ่องกงและเสิ่นเจิ้น |
CNR 15: ทางหลวง (中国交通广播) |
ออกอากาศทั่วประเทศ บนทางหลวง นำเสนอข้อมูลทางหลวง | ทาง FM 99.6 ในปักกิ่ง, เทียนจิน, FM 101.2 ในเหอเป่ย, FM 95.5 ในเซี่ยงไฮ้, FM 90.5 ในหูหนาน ฯลฯ (ความถี่ของ FM อาจแตกต่างกันไปในแต่ละเมือง) |
CNR 16: ชนบท (中国乡村之声) |
ออกอากาศรายการเกษตร |
อาจออกอากาศโดยสถานีวิทยุท้องถิ่นบางแห่งในกุ้ยโจว เจียงซู มองโกเลียใน เสฉวน ซินเจียง หรือโดยฟังก์ชันวิทยุ DTV ผ่านเทคนิค CDR |
CNR 17: คาซัค (哈萨克语广播) |
ออกอากาศในคาซัคสถาน |
|
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 Miller, Toby (2003). Television: Critical Concepts in Media and Cultural Studies. Routledge Publishing. ISBN 0-415-25502-3
- ↑ 2.0 2.1 CNR website. "CNR website." CNR introduction. Retrieved on 2007-04-29.
- ↑ 3.0 3.1 Coderre, Laurence (2021). Newborn socialist things : materiality in Maoist China. Durham: Duke University Press. p. 38. ISBN 1-4780-2161-6. OCLC 1250021710.
- ↑ Coderre, Laurence (2021). Newborn socialist things : materiality in Maoist China. Durham: Duke University Press. p. 38. ISBN 1-4780-2161-6. OCLC 1250021710.