ข้ามไปเนื้อหา

หลิน เปียว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หลิน เปียว
林彪
ภาพอย่างเป็นทางการ ค.ศ. 1955
รองประธานพรรคคอมมิวนิสต์จีน
ดำรงตำแหน่ง
25 พฤษภาคม ค.ศ. 1958 – 13 กันยายน ค.ศ. 1971
ประธานเหมา เจ๋อตง
รองประธานพรรคคอมมิวนิสต์จีนลำดับที่ 1
ดำรงตำแหน่ง
1 สิงหาคม ค.ศ. 1966 – 13 กันยายน ค.ศ. 1971
ประธานเหมา เจ๋อตง
ก่อนหน้าหลิว เช่าฉี
ถัดไปโจว เอินไหล (1973)
รองนายกรัฐมนตรีจีนลำดับที่ 1
ดำรงตำแหน่ง
21 ธันวาคม ค.ศ. 1964 – 13 กันยายน ค.ศ. 1971
หัวหน้ารัฐบาลโจว เอินไหล
ก่อนหน้าเฉิน ยฺหวิน
ถัดไปเติ้ง เสี่ยวผิง
รองนายกรัฐมนตรีจีน
ดำรงตำแหน่ง
15 กันยายน ค.ศ. 1954 – 13 กันยายน ค.ศ. 1971
หัวหน้ารัฐบาลโจว เอินไหล
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม คนที่ 2
ดำรงตำแหน่ง
17 กันยายน ค.ศ. 1959 – 13 กันยายน ค.ศ. 1971
หัวหน้ารัฐบาลโจว เอินไหล
ก่อนหน้าเผิง เต๋อหวย
ถัดไปเย่ เจี้ยนอิง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
หลิน ยฺวี่หรง

5 ธันวาคม ค.ศ. 1907(1907-12-05)
หฺวางกัง มณฑลหูเป่ย์ จักรวรรดิชิง
เสียชีวิต13 กันยายน ค.ศ. 1971(1971-09-13) (63 ปี)
อันดูร์ข่าน สาธารณรัฐประชาชนมองโกเลีย
พรรคการเมืองพรรคคอมมิวนิสต์จีน (1927–1971)
คู่สมรสจาง เหมย์ [zh] (1937–42)
เย่ ฉฺวิน (1942–71)
บุตรหลิน เสี่ยวหลิน [zh] (บุตรสาว)
หลิน ลี่กั่ว (บุตรชาย)
หลิน ลี่เหิง (บุตรสสว)
ศิษย์เก่าโรงเรียนการทหารหวงผู่
ชื่อเล่น
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้สาธารณรัฐประชาชนจีน
สังกัด
ประจำการ1925–1971
ยศ
บังคับบัญชา
รางวัล
หลิน เปียว
"หลินเปียว" ในอักษรจีนทั่วไป
ภาษาจีน

หลิน เปียว (จีน: 林彪; พินอิน: Lín Biāo; 5 ธันวาคม ค.ศ. 1907 – 13 กันยายน ค.ศ. 1971) เป็นนักการเมืองชาวจีนและจอมพลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ผู้มีบทบาทสำคัญในการนำพาพรรคคอมมิวนิสต์ชนะสงครามกลางเมืองจีน โดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีนตั้งแต่ ค.ศ. 1946 ถึง 1949 หลินเป็นแม่ทัพผู้บัญชาการในการทัพเหลียวเฉิ่นและผิงจินอย่างเด็ดขาด โดยเขาร่วมนำกองทัพสนามแมนจูเรียสู่ชัยชนะและนำกองทัพปลดปล่อยประชาชนเข้าสู่ปักกิ่ง เขาข้ามแม่น้ำแยงซีใน ค.ศ. 1949 สามารถเอาชนะก๊กมินตั๋งได้อย่างเด็ดขาด และเข้ายึดครองมณฑลชายฝั่งทะเลในภาคตะวันออกเฉียงใต้ของจีน เขาอยู่ในอันดับที่สามในบรรดาสิบจอมพล จู เต๋อ และเผิง เต๋อหวย นั้นถือว่าอาวุโสกว่าหลิน และหลินก็มีอาวุโสสูงกว่าเฮ่อ หลง และหลิว ปั๋วเฉิง

หลินงดบทบาททางการเมืองหลังสงครามยุติลงใน ค.ศ. 1949 เขาดำรงตำแหน่งหนึ่งในรองนายกรัฐมนตรีร่วมของสาธารณรัฐประชาชนจีนตั้งแต่ ค.ศ. 1954 เป็นต้นมา โดยมีหน้าที่ดูแลระบบราชการพลเรือนส่วนหนึ่งของรัฐบาล และเลื่อนขึ้นเป็นรองนายกรัฐมนตรีลำดับที่หนึ่งใน ค.ศ. 1964 หลิน มีบทบาททางการเมืองมากขึ้นเมื่อได้รับแต่งตั้งให้เป็นหนึ่งในรองประธานพรรคคอมมิวนิสต์จีนร่วมใน ค.ศ. 1958 เขาดำรงสามตำแหน่ง คือ รองนายกรัฐมนตรี รองประธานพรรค และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมตั้งแต่ ค.ศ. 1959 เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบัน หลินเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมที่ดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุดของจีน หลินมีส่วนในการสร้างรากฐานให้เกิดลัทธิบูชาบุคคลของเหมา เจ๋อตงในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1960 และรับการตอบแทนจากการรับใช้การปฏิวัติทางวัฒนธรรมด้วยการได้รับแต่งตั้งเป็นรองประธานพรรคคอมมิวนิสต์จีนเพียงคนเดียว ซึ่งเป็นผู้สืบทอดตำแหน่งที่เหมากำหนดให้ตั้งแต่ ค.ศ. 1966 กระทั่งเสียชีวิต

หลินเสียชีวิตในวันที่ 13 กันยายน ค.ศ. 1971 เมื่อเครื่องบินฮอว์เกอร์ ซิดเดลีย์ ไทรเดนต์ ที่เขากำลังโดยสารอยู่ประสบอุบัติเหตุตกที่อันดูร์ข่าน ประเทศมองโกเลีย "อุบัติการณ์หลิน เปียว" นี้ยังคงเป็นปริศนาและมีการถกเถียงกันอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับรายละเอียดที่เกิดขึ้นมาโดยตลอด รัฐบาลจีนให้คำอธิบายอย่างเป็นทางการว่าหลินและครอบครัวของเขาพยายามหลบหนีหลังการก่อรัฐประหารเพื่อโค่นเหมาล้มเหลว ส่วนผู้อื่นโต้แย้งว่าพวกเขาหลบหนีเพราะกลัวว่าจะถูกกำจัด เนื่องจากความสัมพันธ์ของหลินกับผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์คนอื่น ๆ นั้นย่ำแย่ลงในช่วงไม่กี่ปีสุดท้ายของชีวิตเขา หลังการเสียชีวิตของหลิน พรรคคอมมิวนิสต์ได้ประณามอย่างเป็นทางการว่าเขาเป็นผู้ทรยศ ตั้งแต่ปลายคริสต์ทศวรรษ 1970 หลินและเจียง ชิง ภริยาของเหมาถูกตราหน้าว่าเป็น "กองกำลังต่อต้านการปฏิวัติ" ที่สำคัญที่สุดสองกลุ่มของการปฏิวัติทางวัฒนธรรม และถูกรัฐบาลจีนตำหนิอย่างเป็นทางการว่าเป็นต้นเหตุของการกระทำที่เลวร้ายที่สุดในช่วงเวลาดังกล่าว

อ้างอิง

[แก้]