สุสานปฏิวัติปาเป่าชาน
สุสานปฏิวัติปาเป่าชาน | |||||||||||
ทางเข้าหลัก | |||||||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 八寶山革命公墓 | ||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรจีนตัวย่อ | 八宝山革命公墓 | ||||||||||
|
สุสานปฏิวัติปาเป่าชาน (จีน: 八宝山革命公墓) เป็นสถานที่ฝังศพหลักของวีรบุรุษปฏิวัติชั้นสูง เจ้าหน้าที่รัฐชั้นสูง และบุคคลที่ได้รับการยกย่องว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสังคมในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ในภาษาจีน ปาเป่าชาน แปลว่า "ภูเขาแปดสมบัติ" สุสานนี้อยู่ในแขวงปาเป่าชาน เขตฉือจิ่งชาน ทางตะวันตกของเทศบาลปักกิ่ง
ประวัติศาสตร์
[แก้]สุสานปฏิวัติปาเป่าชาน มีเนื้อที่ 0.10 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่บริเวณชายแดนด้านตะวันตกของเขตเมืองที่ขยายตัวอย่างรวดเร็วของปักกิ่ง สร้างขึ้นครั้งแรกในฐานะวัดเพื่อเป็นเกียรติแก่นายพลกัง ปิ่ง ทหารในราชวงศ์หมิงที่ตอนอวัยวะเพศเพื่อเป็นการเชื่อฟังจักรพรรดิหย่งเล่อ จักรพรรดิทรงกำหนดให้พื้นที่รอบวัดเป็นที่ฝังศพของนางสนมและขันที เมื่อเวลาผ่านไป วัดเต๋าได้กลายเป็นบ้านพักของขันทีเกษียณอายุ ชื่ออย่างเป็นทางการของวัดคือ (จีน: 褒忠护国祠; พินอิน: bāo zhōng hù guó cí) แปลคร่าว ๆ ว่าวัดแห่งความภักดีและผู้พิทักษ์ชาติ[ต้องการอ้างอิง]
เจ้าอาวาสองค์สุดท้ายของวัดคือซิ่น ซิวหมิง (信修明) ซึ่งได้แต่งงานแล้วและมีลูก 2 คน ด้วยสภาพการใช้ชีวิตที่แสนสาหัสในชนบทของประเทศจีน ซิ่นเมื่ออายุได้ 19 ปีได้ทำการตอนตัวเองและกลายเป็นขันทีของผู่อี๋ ท่ามกลางการต่อต้านอย่างหนักจากสมาชิกในครอบครัวของเขา หลังการก่อตั้งสาธารณรัฐจีน ซิ่นได้ออกจากพระราชวังต้องห้ามและไปอาศัยอยู่ในวัดแห่งความภักดีต่อประเทศชาติ และเมื่อถึง ค.ศ. 1930 เขาได้เลื่อนตำแหน่งขึ้นเป็นเจ้าอาวาสวัดเต๋า ภายใต้การบริหารของเจ้าอาวาสซิ่น วัดเต๋าเจริญรุ่งเรืองในฐานะสถานประกอบการธุรกิจทางการเกษตร โดยที่ดิน 52 เอเคอร์ที่เป็นของวัดทำการเกษตรโดยขันทีเอง ที่ดินอีก 157 เอเคอร์ที่เป็นของวัดทำการเกษตรโดยขันทีและผู้เช่าไร่นาร่วมกัน และพื้นที่ที่เหลือ 269 เอเคอร์ที่เป็นของวัดถูกเช่าให้ทำการเกษตรโดยผู้เช่าไร่นา เจ้าอาวาสซิ่นสามารถเจรจากับอู๋ ฮั่น รองนายกเทศมนตรีปักกิ่ง เพื่อให้ได้ข้อตกลงที่ดีสำหรับขันที โดยรัฐบาลจะจ่ายเงินเต็มจำนวนสำหรับทรัพย์สินทั้งหมดในวัด และจ่ายเงินบำนาญรายเดือนให้ขันทีแต่ละคนจนกว่าเสียชีวิต พระอุปัชฌาย์ยังโน้มน้าวรัฐบาลให้จัดพาหนะมาช่วยเคลื่อนย้ายขันทีไปยังสถานที่ใหม่สองแห่งด้วย ขันทีผู้สูงอายุเหล่านั้นถูกย้ายไปยังวัดเต๋าสำหรับขันทีที่แม่น้ำหลิวหลีเหอ (琉璃河) และขันทีที่เหลือถูกย้ายไปที่วัดเต๋าสำหรับขันทีอีกแห่งที่ถนนซีเสีย (西斜街)[ต้องการอ้างอิง]
ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1950 สุสานแห่งนี้ได้รับการจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นสถานที่ฝังศพผู้เสียสละทางการเมืองและการทหารของจีน[1]: 118
อิสราเอล เอปสไตน์ ชาวยิวคอมมิวนิสต์ที่อพยพไปยังประเทศจีน ได้รับเกียรติและฌาปนกิจที่ปาเป่าชานใน ค.ศ. 2005[2][3]
ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2010 บุคคล 8 ราย (เจ้าหน้าที่รักษาสันติภาพของสหประชาชาติ 4 ราย และผู้แทนจีน 4 ราย) ซึ่งเสียชีวิตจากแผ่นดินไหวในเฮติ ค.ศ. 2010 ก็ได้รับการฝังศพที่ปาเป่าชานในฐานะผู้เสียสละเช่นกัน[4]
เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม ค.ศ. 2022 เจียง เจ๋อหมิน อดีตประธานาธิบดีและผู้นำสูงสุดของจีนระหว่าง ค.ศ. 1989 ถึง 2002 ได้รับการฌาปนกิจที่ฌาปนสถานเพื่อเตรียมการสำหรับงานรัฐพิธีศพ[5]
บุคคลสำคัญที่ถูกฝังที่ปาเป่าชาน
[แก้]- ปั๋ว อีปัว (1908–2007)
- เฉา ตี๋ชิว (1909-1976)
- ยูจีน เฉิน (1878–1944)
- เฉิน ยฺหวิน (1905–1995)
- ต่ง ปี้อู่ (1886–1975)
- อิสราเอล เอปสไตน์ (1915–2005)
- เกิ่ง เปียว (1909–2000)
- จอร์จ ฮาเต็ม (หรืออีกชื่อหนึ่งคือ หมา ไห่เต๋อ) (1910–1988)
- เชอร์ลีย์ เกรแฮม ดูบัวส์ (1897–1977)
- หฺวา หลัวเกิง (1910–1985)
- เหลา เฉ่อ (1899–1966)
- หลี่ ฟู่ชุน (1900–1975)
- หลี่ เค่อเฉียง (1955–2023)
- หลี่ เขอหร่าน (1907–1989)
- หลี่ เผิง (1928–2019)
- หลี่ รุ่ย (1917–2019)
- หลี่ ซื่อกวง (1889–1971)
- หลี่ เซียนเนี่ยน (1909–1992)
- เหลียว เฉิงจื้อ (1908–1983)
- หลิน ปั๋วฉฺวี (1886–1960)
- หลิว ฟู่จือ (1917–2013)
- หลิ่ว ย่าจื่อ (1887–1958)
- หลง ยฺหวิน (1884‐1962)
- ลฺหวี่ เจิ้งเชา (1904–2009)
- หลัว หรงหวน (1902–1963)
- หลัว รุ่ยชิง (1906–1978)
- ฮันส์ มุลเลอร์ (1915–1994)
- งาปอย เซเดน โชอิการ์ (1915–2012)
- งาปอย งาวัง จิกมี (1910–2009)
- เนี่ย หรงเจิน (1899–1992)
- เผิง เต๋อหวย (1898–1974)
- เผิง เจิน (1902–1997)
- ผู่เริ่น (1918–2015)
- ฉี่ กง (1912–2005)
- เฉียน สฺเวเซิน (1911–2009)
- เฉียว ฉือ (1924–2015)
- ฉฺวี ฉิวไป่ (1899–1935)
- มันยา รีสส์ (1900–1962)
- เหริน ปี้ฉือ (1904–1950)
- แอกเนส สเมดลีย์ (1892–1950)
- ดักลาส สปริงฮอลล์ (1901–1953)
- แอนนา หลุยส์ สตรอง (1885–1970)
- เถา จู้ (1908–1969)
- ถาน เจิ้นหลิน (1902–1983)
- ว่าน หลี่ (1916–2015)
- วัง ตงซิง (1916–2015)
- หวัง กวงเหม่ย์ (1921–2006)
- หวัง เย่าอู่ (1904–1968)
- เว่ย์ เหวินปั๋ว (1905–1987)
- เหวิน อีตัว (1899–1946)
- เหยา อี้หลิน (1917–1994)
- ยฺหวี ชิวหลี่ (1914–1999)
- ไจ่เทา (1887–1970)
- เจิ้ง ชาน (1899–1972)
- จาง อ้ายผิง (1910–2003)
- จาง หลาน (1872–1955)
- จาง ว่านเหนียน (1928–2015)
- โจว ฉุนเฉฺวียน (1905–1985)
- จู เต๋อ (1886–1976)
- หว่าง วัน ฮวน (1905–1991)
- เฉิน ชุ่นเหยา - ภริยาของซ่ง ผิง อดีตมนตรีรัฐกิจ - ฝังเมื่อ ค.ศ. 2019
อัฐิของจักรพรรดิผู่อี๋ ซึ่งถูกฝังไว้ที่ปาเป่าชานเมื่อพระองค์สวรรคตใน ค.ศ. 1967 ได้รับการเคลื่อนย้ายไปยังสุสานหลวงหฺวาหลง (华龙皇家陵园) ใกล้กับสุสานหลวงราชวงศ์ชิงตะวันตกนอกกรุงปักกิ่งในเดือนเมษายน ค.ศ. 1996 ภายใต้การริเริ่มของหลี่ ชูเสียน พระมเหสีของผู่อี๋[6] อย่างไรก็ตาม พระศพของเจ้าชายผู่เจี๋ย (溥杰) น้องชายของผู่อีษ ยังคงฝังอยู่ที่ปาเป่าชาน[ต้องการอ้างอิง]
ดูเพิ่ม
[แก้]- รายชื่อสุสานแห่งชาติจำแนกตามประเทศ
- สุสานทหารภูเขาอู่จื้อ
- สุสานผู้เสียสละปฏิวัติ
- สุสานวีรชนผู้รักชาติ
- หอรำลึกประธานเหมา
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ Chatwin, Jonathan (2024). The Southern Tour: Deng Xiaoping and the Fight for China's Future. Bloomsbury Academic. p. 111. ISBN 9781350435711.
- ↑ "View from the Eunuch's Temple". Powerhouse Museum. สืบค้นเมื่อ 2006-11-27.
- ↑ Pattanaik, Devdutt (2001). The Man Who Was a Woman and Other Queer Tales of Hindu Lore. Haworth Press. p. 13. ISBN 1-56023-181-5.
- ↑ http://ca.news.yahoo.com/s/afp/100120/world/haiti_quake_china_funeral [ลิงก์เสีย]
- ↑ "Jiang Zemin cremated in Beijing, top leaders pay their respects". South China Morning Post (ภาษาอังกฤษ). 2022-12-05. สืบค้นเมื่อ 2023-02-15.
- ↑ "28 years after Puyi's death, his ashes were forcibly moved out of Babaoshan by his wife. You may not think of the reason!". 7 November 2020.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- ภาพถ่ายของปาเป่าชาน เก็บถาวร 2010-06-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ในช่วงเทศกาลเชงเม้งพร้อมประวัติสั้นของบุคคลที่ถูกฝังอยู่ที่นั่นหลายคน