ข้ามไปเนื้อหา

อนุสาวรีย์วีรชน

พิกัด: 39°54′11″N 116°23′30″E / 39.90306°N 116.39167°E / 39.90306; 116.39167
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อนุสาวรีย์วีรชน
人民英雄纪念碑
มองจากทิศตะวันตกเฉียงใต้ (ค.ศ. 2014)
แผนที่
พิกัด39°54′11″N 116°23′30″E / 39.90306°N 116.39167°E / 39.90306; 116.39167
ที่ตั้งจัตุรัสเทียนอันเหมิน ปักกิ่ง ประเทศจีน
ผู้ออกแบบเหลียง ซือเฉิง, หลิน ฮุยอิน
ประเภทอนุสาวรีย์ 
วัสดุหินอ่อน, แกรนิต
ความสูง38 เมตร (125 ฟุต)
เริ่มก่อสร้างสิงหาคม ค.ศ. 1952
สร้างเสร็จพฤษภาคม ค.ศ. 1958
อุทิศแด่ทหารผ่านศึกสงครามจีน ค.ศ. 1842–1949

อนุสาวรีย์วีรชน (จีน: 人民英雄纪念碑; พินอิน: Rénmín Yīngxióng Jìniànbēi) เป็นเสาโอเบลิสก์สูงสิบชั้นที่สร้างขึ้นเป็นอนุสรณ์สถานแห่งชาติของจีนเพื่ออุทิศแด่บรรดาผู้พลีชีพในการต่อสู้ปฏิวัติตลอดคริสต์ศตวรรษที่ 19 และ 20 ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของจัตุรัสเทียนอันเหมินในกรุงปักกิ่ง ด้านหน้าสุสานของเหมา เจ๋อตง อนุสาวรีย์โอเบลิสก์แห่งนี้ถูกสร้างขึ้นตามมติของการประชุมเต็มสภาครั้งที่ 1 ของสภาที่ปรึกษาการเมืองประชาชนจีนเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน ค.ศ. 1949 โดยเริ่มก่อสร้างในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1952 และแล้วเสร็จในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1958 สถาปนิกของอนุสาวรีย์คือเหลียง ซือเฉิง โดยมีหลิน ฮุยอิน ภรรยาของเขาเป็นผู้ออกแบบองค์ประกอบบางส่วน เฉิน จื้อเต๋อ วิศวกรโยธา มีส่วนสำคัญในการทำให้การสร้างขั้นสุดท้ายสำเร็จลุล่วง[1]

อนุสาวรีย์มีความสูง 37.94 เมตร ตั้งอยู่ในแนวเหนือ-ใต้ ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ จากล่างขึ้นบน ได้แก่ ฐานรอง ฐานใหญ่ ตัวฐานหลัก ยอดอนุสาวรีย์ และฐานที่ประดับภาพนูนสูงขนาดใหญ่ 8 ภาพและขนาดเล็ก 2 ภาพ โดยภาพเหล่านี้ล้วนสื่อถึงเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์สมัยใหม่ของจีน ศิลากลางเสาหลักของอนุสาวรีย์นำมาจากภูเขาเหลาชาน เมืองชิงเต่า ด้านหน้าจารึกข้อความว่า "เกียรติยศชั่วนิรันดร์จงมีแด่วีรชน" ด้วยลายมือของเหมา เจ๋อตง ประธานพรรคคอมมิวนิสต์จีน ส่วนด้านหลังจารึกข้อความด้วยลายมือของเหมาและนายกรัฐมนตรีโจว เอินไหล นับตั้งแต่สร้างเสร็จสิ้น อนุสาวรีย์นี้ได้ผ่านการบูรณะซ่อมแซมมาหลายครั้ง และได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกวัฒนธรรมสำคัญที่ได้รับการคุ้มครองระดับชาติใน ค.ศ. 1961

ประวัติศาสตร์

[แก้]

การเตรียมการ

[แก้]

หลังการปลดปล่อยเป่ย์ผิงในเดือนกันยายน ค.ศ. 1949 การประชุมเต็มสภาครั้งที่ 1 ของสภาที่ปรึกษาการเมืองประชาชนจีนได้มติให้สร้างอนุสาวรีย์เพื่ออุทิศแด่บรรดาผู้เสียสละ ในเบื้องต้น สถานที่ที่เสนอมาประกอบด้วยปาเป่าชานและจัตุรัสตงตาน แต่สุดท้ายก็เลือกจัตุรัสเทียนอันเหมิน ผู้แทนที่ตัดสินใจเห็นว่า ประเพณีปฏิวัติของขบวนการ 4 พฤษภาคมปรากฏอยู่หน้าจัตุรัสเทียนอันเหมิน และมันจะสะดวกต่อผู้คนที่จะมาเยี่ยมชมและแสดงความเคารพ ที่ประชุมยังได้รับรองข้อความจารึกบนอนุสาวรีย์ซึ่งเขียนโดยเหมา เจ๋อตงด้วย

ผู้แทนที่เข้าร่วมการประชุมเต็มสภาครั้งแรกของสภาที่ปรึกษาการเมืองประชาชนจีนเข้าร่วมพิธีวางศิลาฤกษ์อนุสาวรีย์วีรชนที่จัตุรัสเทียนอันเหมินใน ค.ศ. 1949

วันที่ 24 กันยายน ค.ศ. 1949 เจ้าหน้าที่จากสภาที่ปรึกษาการเมืองประชาชนจีนได้พบกับช่างแกะสลักนามว่า เฉิน จื้อจิง ในย่านหลิวหลีฉ่าง และได้สั่งทำอนุสาวรีย์ทองแดงประดับลาพิสลาซูลีสำหรับพิธีวางศิลาฤกษ์ โดยฐานของอนุสาวรีย์สูง 2 ฟุต ตัวอนุสาวรีย์สูง 5 ฟุต กว้าง 2 ฟุต และหนาครึ่งฟุต วันที่ 25 กันยายน เจ้าหน้าที่ได้มอบจารึกบนอนุสาวรีย์ให้แก่เฉินและพี่ชายของเขา อนุสาวรีย์ดังกล่าวสร้างเสร็จในวันที่ 29 กันยายน ในวันที่สอง มีการจัดพิธีวางศิลาฤกษ์อนุสาวรีย์ ณ จัตุรัสเทียนอันเหมิน โดยมีผู้แทนจากสภาที่ปรึกษาการเมืองประชาชนจีนเข้าร่วมอย่างพร้อมเพรียง ศิลาฤกษ์ถูกวางโดยวงดุริยางค์กองทัพปลดปล่อยประชาชน ซึ่งบรรเลงเพลงมาร์ชทหารอาสาและระฆังลม หลังจากนั้นเหมา เจ๋อตง ได้อ่านจารึกบนอนุสาวรีย์ จากนั้น ผู้แทนและสมาชิกทั้งหมดสภาที่ปรึกษาฯ ก็ได้ถมดิน[2]

ไม่นานหลังจากนั้น คณะกรรมการวางผังเมืองเทศบาลกรุงปักกิ่งได้ร้องขอการออกแบบจากทั่วประเทศ ภายใน ค.ศ. 1951 คณะกรรมการฯ ได้รับข้อเสนอร่างการออกแบบทั้งหมดกว่า 140 ฉบับ[3][4] การออกแบบเหล่านี้สามารถจำแนกออกเป็นสามประเภทหลัก ได้แก่ แบบราบติดพื้น ประติมากรรมขนาดใหญ่ หรืออนุสาวรีย์สูงตระหง่าน รูปแบบการออกแบบอนุสาวรีย์ประกอบด้วย โอเบลิสก์ เสาหินขนาดใหญ่ และอนุสาวรีย์จีนโบราณ การออกแบบเหล่านี้ได้รับการสรุปโดยคณะกรรมการฯ และไม่ได้รับการนำไปใช้ คณะกรรมการมีมติว่าอนุสาวรีย์ควรมีความสูงและควรมีเพียงด้านเดียวของอนุสาวรีย์ที่มีข้อความ ส่วนอีกด้านหนึ่งควรเว้นไว้ ดังนั้นจึงได้เสนอขอให้ประธานเหมา เจ๋อตง จารึกคำว่า "วีรชนสถิตย์ยืนยง" และมอบหมายให้เผิง เจิน ขอให้นายกรัฐมนตรีโจว เอินไหล เขียนจารึกข้อความที่เหมาเคยเขียนไว้ก่อนหน้านี้บนอีกด้านหนึ่งของอนุสาวรีย์[5] ต่อมา คณะกรรมการฯ ได้รับแรงบันดาลใจจากอนุสาวรีย์ที่เขาว่านโช่ว ทะเลสาบคุนหมิง ในพระราชวังฤดูร้อน และอนุสาวรีย์ฉฺยงเต่าชุนอินในเป๋ย์ไห่ จึงได้ร่างแบบที่เป็นไปได้และสามารถนำไปก่อสร้างได้จริง แต่ยังไม่สามารถกำหนดรูปแบบสำหรับยอดอนุสาวรีย์ได้ในเวลานั้น[6]

การก่อสร้าง

[แก้]

ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1952 คณะกรรมการก่อสร้างอนุสาวรีย์วีรชนได้ถูกจัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการ โดยมีเผิง เจิน เป็นประธาน เจิ้ง เจิ้นตั๋ว และเหลียง ซือเฉิง เป็นรองประธาน และซฺเว จื่อเจิ้ง เป็นเลขาธิการ ประกอบด้วยคณะกรรมการเฉพาะกิจ 4 คณะ ได้แก่[7]

กลางเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1952 คณะกรรมการวัสดุประวัติศาสตร์ได้เสนอหัวข้อของโครงการภาพนูนต่ำ โครงการนี้ประกอบด้วยแผงภาพทั้งหมดเก้าแผง โดยในเบื้องต้นมีการระบุหัวข้อหลักว่า เขาจิ่งกัง กบฏนักทวย ผิงสิงกวาน ซานยฺเหวียนหลี่ สงครามกองโจร และการเดินทัพทางไกล แต่หัวข้อที่เกี่ยวข้องทั้งหมดยังไม่ได้รับการสรุปในขณะนั้น

วันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1952 การก่อสร้างอนุสาวรีย์วีรชนได้เริ่มขึ้นอย่างเป็นทางการ การขุดหินอนุสาวรีย์จากเขาเหลาชาน การขนส่งเหล็กแท่งไร้รอยต่อด้วยลวดเหล็กและรถแทรกเตอร์สามคันที่เชื่อมต่อกับภูเขาจากสถานีรถไฟชิงเต่าเป็นไปอย่างราบรื่น กรมรถไฟได้เตรียมการจากสถานีไฟฟ้าพลังน้ำเฟิงหมานขนาดเล็กเพื่อโอนย้ายตู้รถไฟที่สามารถบรรทุกได้ 90 ตัน วันที่ 13 ตุลาคม ค.ศ. 1953 หินดังกล่าวถูกเคลื่อนย้ายไปยังสถานีรถไฟซีจื๋อเหมิน[9] คณะกรรมการฯ ได้เปลี่ยนแปลงแบบอนุสาวรีย์จากทิศใต้-เหนือ เป็นทิศเหนือ-ใต้ เพื่อให้เค้าโครงพื้นที่สำหรับกิจกรรมในอนาคตมีความเหมาะสม วันที่ 6–7 มีนาคม ค.ศ. 1955 การติดตั้งอนุสาวรีย์ทั้งสองแล้วเสร็จโดยใช้ปั้นจั่นสองตัวที่มีกำลังยกทั้งหมด 30 ตันร่วมกับรอกและปลายกระโดงที่ยกสูง หลังกองสำรวจและจัดทำแผนที่ของกองทัพได้ขยายอักษรที่เขียนด้วยลายมือของเหมาและโจวโดยการถ่ายภาพแล้ว หลิว ไค่ชิวได้ทำการแก้ไขส่วนที่ขยายแล้วให้คมชัดขึ้น จากนั้นจึงนำไปให้ช่างสลักหินแกะตามตัวอย่างลงบนศิลากลางของอนุสาวรีย์ ช่างสลักหินได้ใช้ปืนฉีดน้ำแรงดันสูงพ่นทรายแร่เพื่อกัดสลักอักษรลงบนหิน หลังจากสลักเสร็จแล้วจึงนำทองคำไปปิดที่อักษรเหล่านั้น และในที่สุดก็สามารถดำเนินการตกแต่งศิลากลางของอนุสาวรีย์ได้สำเร็จ[9]

การก่อสร้างชะลอตัวลงระหว่าง ค.ศ. 1952 ถึง 1954 เนื่องจากไม่สามารถสรุปแบบร่างสำหรับยอดของอนุสาวรีย์และภาพนูนต่ำที่ตัวอนุสาวรีย์ได้ วันที่ 6 พฤศจิกายน ค.ศ. 1954 คณะกรรมการรัฐบาลประชาชนเทศบาลกรุงปักกิ่งได้ประชุมและเห็นชอบแบบร่างภาพสลักนูนและยอดของอนุสาวรีย์ โดยยืนยันว่าส่วนบนของอนุสาวรีย์จะเป็นส่วนบนที่เป็นสถาปัตยกรรมและละทิ้งแนวคิดของส่วนบนที่เป็นประติมากรรม ส่วนภาพนูนต่ำนั้นเป็นผลงานขั้นสุดท้ายที่มีขนาดใหญ่ 8 ชิ้นและขนาดเล็ก 2 ชิ้น งานที่เกี่ยวข้องกับการภาพนูนต่ำได้รับการดำเนินการแล้วเสร็จโดยหลิว ไค่ชิว ภายในปลายเดือนตุลาคมและต้นเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1956 ภาพนูนต่ำทั้งหมดก็แล้วเสร็จสมบูรณ์ และถูกติดตั้งในวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1957[10]

แสตมป์ที่ระลึกอนุสาวรีย์วีรชน ออกจำหน่ายในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1958

อนุสาวรีย์วีรชนได้เสร็จสิ้นการก่อสร้างอย่างเป็นทางการในเดือนเมษายน ค.ศ. 1958 และเปิดใช้งานเป็นทางการในวันที่ 1 พฤษภาคมปีเดียวกัน[11][12] มีค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างทั้งหมด 405,000 หยวน[13]

โครงสร้าง

[แก้]

อนุสาวรีย์วีรชนตั้งอยู่ที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน เขตตงเฉิง กรุงปักกิ่ง ศูนย์กลางอยู่ห่างจากฐานกำแพงจัตุรัสเทียนอันเหมินไปทางทิศใต้ 440 เมตร หันหน้าไปทางทิศเหนือ ครอบคลุมพื้นที่ 3,000 ตารางเมตร สูง 37.94 เมตร อนุสาวรีย์ทั้งองค์สร้างจากหินแกรนิตและอะลาบาสเทอร์รวมกันกว่า 13,000 ชิ้น[14]

บนแท่นของแผ่นจารึกประดับด้วยภาพนูนต่ำขนาดใหญ่ที่แสดงถึง 8 เหตุการณ์ปฏิวัติสำคัญ สามารถอ่านได้ตามลำดับเวลาโดยวนตามเข็มนาฬิกาเริ่มจากทิศตะวันออก ดังนี้:

  1. การทำลายฝิ่นที่หู่เหมิน (ค.ศ. 1839) ในช่วงก่อนสงครามฝิ่นครั้งที่หนึ่ง
  2. การก่อการกำเริบจินเถียน จุดเริ่มต้นของการปฏิวัติไท่ผิง (ค.ศ. 1851)
  3. การก่อการกำเริบอู่ชาง จุดเริ่มต้นของการปฏิวัติซินไฮ่ (ค.ศ. 1911)
  4. ขบวนการ 4 พฤษภาคม (ค.ศ. 1919)
  5. ขบวนการ 30 พฤษภาคม (ค.ศ. 1925)
  6. การก่อการกำเริบหนานชาง (ค.ศ. 1927)
  7. สงครามต่อต้านญี่ปุ่น (ค.ศ. 1931–1945)
  8. การทัพข้ามแม่น้ำแยงซีในสงครามกลางเมืองจีน (ค.ศ. 1949)

ด้านหน้าอนุสาวรีย์มีจารึกด้วยลายมือของเหมา เจ๋อตง ซึ่งเขียนว่า "เกียรติยศชั่วนิรันดร์จงมีแด่วีรชน!" (จีน: ; พินอิน: Rénmín yīngxióng yǒngchuí bùxiǔ)

จารึกทองคำ
อนุสาวรีย์หน้ามหาศาลาประชาชนในปี ค.ศ. 2016

ด้านหลังอนุสาวรีย์มีจารึกด้วยลายมือของโจว เอินไหล:[15]

เกียรติยศอันอมตะจงมีแด่วีรชน ผู้ได้สละชีวิตในสงครามปลดปล่อยประชาชนและการปฏิวัติประชาชนในช่วงสามปีที่ผ่านมา!
เกียรติยศอันอมตะจงมีแด่วีรชน ผู้ได้สละชีวิตในสงครามปลดปล่อยประชาชนและการปฏิวัติประชาชนในช่วงสามสิบปีที่ผ่านมา!
เกียรติยศอันอมตะจงมีแด่วีรชน ผู้ได้สละชีวิตตั้งแต่ทศวรรษ 1840 เป็นต้นมา ในการต่อสู้มากมายเพื่อต้านทานศัตรูทั้งภายในและภายนอก เพื่อบรรลุเอกราชของชาติและเสรีภาพของปวงชน!

การกำหนดช่วงเวลาตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1840 เป็นต้นมามีวัตถุประสงค์เพื่อครอบคลุมประวัติศาสตร์สมัยใหม่ของจีนซึ่งเริ่มต้นจากสงครามฝิ่น ทำให้ช่วงเวลาตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1840 ถึง 1940 ถูกกำหนดให้เป็นศตวรรษแห่งการต่อต้านจักรวรรดินิยมและการปฏิวัติ[15]

การรำลึก

[แก้]
อนุสาวรีย์วีรชนโดยมีมหาศาลาประชาชนเป็นฉากหลัง ส่องสว่างยามค่ำคืน

การดำเนินกิจกรรมรำลึกที่อนุสาวรีย์วีรชนอยู่ภายใต้การควบคุมของสำนักบริหารกิจกรรมสำคัญของคณะกรรมการบริหารพื้นที่เทียนอันเหมิน

หลังวันชาติใน ค.ศ 1959 นายกรัฐมนตรีโจว เอินไหล ได้วางแผนที่จะเปลี่ยนยอดของอนุสาวรีย์ให้เป็นวัสดุที่สามารถส่องแสงได้ เพื่อจุดประสงค์นี้ คณะมนตรีรัฐกิจจึงได้รวบรวมร่างการออกแบบยอดอนุสาวรีย์ใหม่หลายสิบฉบับจากหน่วยงานออกแบบ วิทยาลัยและมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากขาดทางเลือกที่ดีกว่า แผนการจึงไม่ดำเนินต่อ ในปี ค.ศ. 1961 อนุสาวรีย์วีรชนได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกทางวัฒนธรรมสำคัญของชาติ ตั้งแต่ ค.ศ. 1980 เป็นต้นมา เป็นธรรมเนียมปฏิบัติสำหรับคณะผู้แทนต่างประเทศที่เดินทางมาเยือนปักกิ่งที่จะวางพวงมาลาที่อนุสาวรีย์[16][17][18]

ตั้งแต่วันที่ 8 กุมภาพันธ์ ถึง 14 กรกฎาคม ค.ศ. 2006 มีการซ่อมแซมฐานและราวกั้นของอนุสาวรีย์วีรชน รวมถึงการทำความสะอาดภาพนูนต่ำและตัวอนุสาวรีย์ และซ่อมแซมรอยร้าวโดยคณะทำงานก่อสร้าง ใน ค.ศ. 2014 เนื่องในวาระครบรอบ 65 ปีแห่งการก่อตั้งประเทศจีนใหม่ อนุสาวรีย์วีรชนได้รับการบูรณะโดยการทำความสะอาดและบำรุงรักษาอย่างครอบคลุม ในปีเดียวกันนั้น ประเทศจีนได้ประกาศให้มีวันรำลึกผู้เสียสละ และในวันดังกล่าว ผู้นำระดับชาติของจีนจะต้องนำพวงมาลาและตะกร้าดอกไม้ไปวางที่อนุสาวรีย์วีรชน[19]

กฎหมายคุ้มครองวีรชนและผู้พลีชีพสาธารณรัฐประชาชนจีน ค.ศ. 2018 (中华人民共和国英雄烈士保护法) มาตรา 7 กำหนดให้อนุสาวรีย์วีรชนเป็นอนุสรณ์ถาวรเพื่อรำลึกและสดุดีวีรกรรมของวีรชนและผู้พลีชีพ ตลอดจนเป็นสัญลักษณ์แห่งจิตวิญญาณของประชาชนจีนและการต่อสู้ของประชาชาติจีนเพื่อเอกราชและการปลดปล่อยของชาติ เสรีภาพและความสงบสุขของประชาชน ความเจริญรุ่งเรืองและเข้มแข็งของประเทศในสมัยปัจจุบัน กฎหมายได้ระบุเพิ่มเติมว่าอนุสาวรีย์และส่วนประกอบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นชื่อ จารึก ภาพนูนต่ำ หรือสัญลักษณ์ต่าง ๆ ล้วนได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย[20][21][22]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "The Monument to the People's Heroes". news.sohu.com (ภาษาจีน). 2009-08-07. สืบค้นเมื่อ 2021-07-28.
  2. "人民英雄纪念碑的故事——人民政协网". www.rmzxb.com.cn. สืบค้นเมื่อ 28 April 2024.
  3. 中共江西省委. 党史研究室 (2009). 党史文苑 (ภาษาจีน). 中共江西省委党史研究室. p. 8. สืบค้นเมื่อ 2024-04-27.
  4. 共和国要事珍闻 (ภาษาจีน). 吉林文史出版社. 2000. p. 34. สืบค้นเมื่อ 2024-04-27.
  5. 在周恩来身边的日子: 西花厅工作人员的回忆 (ภาษาจีน). Central Literature Publishing House. 1998. p. 323. ISBN 978-7-5073-0430-5. สืบค้นเมื่อ 2024-04-27.
  6. 永恒的象征: 人民英雄纪念碑研究 (ภาษาจีน). 河北美术出版社. 2006. p. 99-100. ISBN 978-7-5310-2456-9. สืบค้นเมื่อ 2024-04-28.
  7. "人民英雄纪念碑的那些事儿 - 中华人民共和国国防部". www.mod.gov.cn. สืบค้นเมื่อ 28 April 2024.
  8. "人民英雄纪念碑设计的经过-清华大学校史馆". xsg.tsinghua.edu.cn. สืบค้นเมื่อ 28 April 2024.
  9. 9.0 9.1 闫铁英 (2014). "陈志德与人民英雄纪念碑". 中国工程咨询. 11: 77–79.
  10. "Hero's sculpt in time". www.chinadaily.com.cn. สืบค้นเมื่อ 28 April 2024.
  11. "This Day, That Year: April 22". www.chinadaily.com.cn. สืบค้นเมื่อ 28 April 2024.
  12. "On this Day in Chinese History; 22 April". The Nanjinger. 22 April 2024. สืบค้นเมื่อ 28 April 2024.
  13. "建造人民英雄纪念碑秘闻_藏趣逸闻_新浪收藏_新浪网". collection.sina.com.cn. สืบค้นเมื่อ 28 April 2024.
  14. "人民英雄纪念碑 - 北京市东城区图书馆". www.bjdclib.com. สืบค้นเมื่อ 28 April 2024.
  15. 15.0 15.1 Cai, Xiang; 蔡翔 (2016). Revolution and its narratives : China's socialist literary and cultural imaginaries (1949-1966). Rebecca E. Karl, Xueping Zhong, 钟雪萍. Durham: Duke University Press. pp. 235. ISBN 978-0-8223-7461-9. OCLC 932368688.
  16. "King Mohammed VI of Morocco lays wreath to Monument to People's Heroes (3) - People's Daily Online". en.people.cn. สืบค้นเมื่อ 28 April 2024.
  17. "Barbados PM lays wreath at Monument to the People's Heroes on Tian'anmen Square-Xinhua". english.news.cn. สืบค้นเมื่อ 28 April 2024.
  18. "Sierra Leonean president lays wreath at Monument to People's Heroes in Beijing-Xinhua". english.news.cn. สืบค้นเมื่อ 28 April 2024.
  19. "Xi pays tribute to national heroes on Martyrs' Day". english.www.gov.cn. สืบค้นเมื่อ 28 April 2024.
  20. "英雄烈士保护法(yīngxióng lièshì bǎohùfǎ): Law on the protection of heroes and martyrs". www.chinadaily.com.cn. สืบค้นเมื่อ 28 April 2024.
  21. "中华人民共和国英雄烈士保护法--中国人大新闻--人民网". npc.people.com.cn. สืบค้นเมื่อ 28 April 2024.
  22. "China mulls law on protecting reputation of heroes, martyrs - Xinhua | English.news.cn". www.xinhuanet.com. สืบค้นเมื่อ 28 April 2024.