ข้ามไปเนื้อหา

หลี่ เซียนเนี่ยน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หลี่ เซียนเนี่ยน
李先念
หลี่ เซียนเนี่ยน ใน พ.ศ. 2497
ประธานาธิบดีสาธารณรัฐประชาชนจีน คนที่ 3
ดำรงตำแหน่ง
18 มิถุนายน พ.ศ. 2526 – 8 เมษายน พ.ศ. 2531
หัวหน้ารัฐบาลจ้าว จื่อหยาง
หลี่ เผิง
รองประธานาธิบดีโอลางฮู
ผู้นำเติ้ง เสี่ยวผิง
ก่อนหน้าหลิว เช่าฉี
(ในฐานะประธานรัฐในปี พ.ศ. 2511)
เย่ เจี้ยนอิง
(ในฐานะประธานสภาประชาชนแห่งชาติ)
ถัดไปหยาง ช่างคุน
ประธานสภาที่ปรึกษาทางการเมืองประชาชนจีน คนที่ 5
ดำรงตำแหน่ง
8 เมษายน พ.ศ. 2531 – 21 มิถุนายน พ.ศ. 2535
ก่อนหน้าเติ้ง อิ่งเชา
ถัดไปหลี่ รุ่ยหวน
รองประธานพรรคคอมมิวนิสต์จีน
ดำรงตำแหน่ง
มิถุนายน พ.ศ. 2520 – กันยายน พ.ศ. 2525
ประธานฮั่ว กั๋วเฟิง
หู เย่าปัง
สมาชิกสภาประชาชนแห่งชาติ
ดำรงตำแหน่ง
15 กันยายน พ.ศ. 2497 – 25 มีนาคม พ.ศ. 2531
เขตเลือกตั้งหูเป่ย์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด23 มิถุนายน พ.ศ. 2442
หงอัน, มณฑลหูเป่ย์, จักรวรรดิชิง
เสียชีวิต21 มิถุนายน พ.ศ. 2535 (82 ปี)
ปักกิ่ง, สาธารณรัฐประชาชนจีน
เชื้อชาติธงของประเทศจีน จีน
พรรคการเมือง พรรคคอมมิวนิสต์จีน (2470–2535)
คู่สมรสซาง เสี่ยวผิง (尚小平) (หย่า)[1]
หลิน เจียเหม่ย
บุตร4 คน[2]
หลี่ เซียนเนี่ยน
ภาษาจีน

หลี่ เซียนเนี่ยน (จีน: 李先念; พินอิน: Lǐ xiānniàn; 23 มิถุนายน พ.ศ. 2452 – 21 มิถุนายน พ.ศ. 2535) เป็นผู้นำทางทหารและการเมืองของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526–2531 ภายใต้การนำของผู้นำสูงสุดเติ้ง เสี่ยวผิง [3] และดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการแห่งชาติของสภาที่ปรึกษาทางการเมืองประชาชนจีน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 จนกระทั่งเสียชีวิต เขาเป็นสมาชิกคณะกรรมาธิการประจำกรมการเมือง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2499–2530 และเป็นสมาชิกของคณะกรรมาธิการถาวรประจำกรมการเมืองพรรคคอมมิวนิสต์จีน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2520–2530 [4] [5]

หลี่ทำงานเป็นช่างไม้ฝึกหัดในช่วงวัยรุ่นเพื่อหาเลี้ยงครอบครัว เขาเข้าร่วมพรรคคอมมิวนิสต์ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2470 และเข้าเป็นทหารในกองทัพแดงของจีน หลังจากศึกษาที่มหาวิทยาลัยการทหารและการเมืองของจีนต่อต้านญี่ปุ่น และโรงเรียนพรรคกลาง เขากลายเป็นผู้บัญชาการทหารที่มีอิทธิพลและประสบความสำเร็จในช่วงสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง และสงครามกลางเมืองจีน โดยสร้างชื่อเสียงให้กับตัวเองในการต่อสู้ในหวยไห่ [4] หลังจากการสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน เขาได้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าการและเลขาธิการพรรคฯ ในมณฑลหูเป่ย์ บ้านเกิดของเขาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2492 ถึง 2497 จากนั้นได้เข้าร่วมกับรัฐบาลกลางในกรุงปักกิ่ง โดยดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (พ.ศ. 2497–2513) และรองนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2497–2525) เขาสนับสนุนฮั่ว กั๋วเฟิง ผู้สืบทอดตำแหน่งของเหมา เจ๋อตง และได้รับตำแหน่งรองประธานพรรคฯ (พ.ศ. 2520–2525)

เขาเป็นหนึ่งในแปดผู้อาวุโส ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน เขาถือว่าเป็นฝ่ายซ้ายมากที่สุดในหมู่พวกเขา ทั้งทางการเมืองและเศรษฐกิจ หลี่มีบทบาทสำคัญในการสกัดกั้นการโอนธุรกิจของรัฐให้เป็นของเอกชนและรักษาการควบคุมของรัฐในหลายภาคส่วนของเศรษฐกิจ ส่งเสริมค่านิยมทางการเมืองและวัฒนธรรมแบบคอมมิวนิสต์ดั้งเดิมผ่านการอุปถัมภ์ของนักทฤษฎีเช่น หู เฉียวมู่ และเติ้ง ลี่คุน และมีส่วนสำคัญในการกำจัด หู เย่าปัง และจ้าว จื่อหยาง เขาสนับสนุนให้ทหารเข้าปราบปรามผู้ชุมนุมในการประท้วงที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน ในปี พ.ศ. 2532 [5] [6] [7]

ประวัติ

[แก้]

ครอบครัว

[แก้]

มรณกรรมและอนุสรณ์

[แก้]

เครื่องอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Rittenberg, Sidney; Bennett, Amanda (2001). The Man Who Stayed Behind. Duke University Press. p. 103. ISBN 9780822326670.
  2. Chen, Shanbin (19 May 2015). 李先念的夫人林佳媚简历 林佳楣生了几个孩子. lishiquwen. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 December 2019. สืบค้นเมื่อ 16 January 2017.
  3. Li, Xiaobing (2012). China at War: An Encyclopedia. ABC-CLIO. p. 226. ISBN 978-1-59884-415-3.
  4. 4.0 4.1 Li Xiannian (1909–1992), in Christopher R. Lew, Edwin Pak-wah Leung: Historical Dictionary of the Chinese Civil War, p.p. 120-121, Scarecrow Press, 2013
  5. 5.0 5.1 Holley, David.
  6. Wu Wei, Why China’s Political Reforms Failed.
  7. Brandt, Loren; Rawski, Thomas G. (2008). China's Great Economic Transformation. Cambridge University Press. p. 102. ISBN 978-0-521-88557-7. In economic policy, the most important elders were Li Xiannian and Chen Yun.
  8. 齐奥塞斯库总统盛宴欢迎李先念主席 宾主共赞中罗两党两国人民真挚友谊 齐奥塞斯库授予李先念“罗马尼亚社会主义共和国之星”一级勋章. People's Daily. 1984-08-29: 1.