ข้ามไปเนื้อหา

เอดีอาร์ (รถดีเซลราง)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก แดวู)
Daewoo Railcar / ADR
รถดีเซลรางแดวู 2529 กำลังวิ่งผ่านสถานีการเคหะ
ประจำการการรถไฟแห่งประเทศไทย
ผู้ผลิตแดวู เฮฟวี อินดัสทรีส์.
เข้าประจำการพ.ศ. 2538 - 2539
จำนวนที่ผลิตรถดีเซลราง 40 คัน (แบบมีห้องขับ 32 คัน, แบบไม่มีห้องขับ 8 คัน)
รถพ่วงดีเซลราง 40 คัน
จำนวนในประจำการ39 (รถดีเซลราง)
จำนวนที่ปลดระวาง1 (รถดีเซลราง)
หมายเลขตัวรถกซข.ป.2513 - 2524 (APD.20),
กซข.ป.2524 - 2544 (APD.60),
กซม.ป.2121 - 2128 (APN.20),
พซน.ป.1101 - 1140 (ปัจจุบัน บนท.ป.1101 - 1140)
ความจุผู้โดยสาร72 ที่นั่ง/คัน (APD.20)
76 ที่นั่ง/คัน (APN.20)
64 ที่นั่ง/คัน (APD.60)
โรงซ่อมบำรุงโรงรถดีเซลรางกรุงเทพ, โรงรถดีเซลรางบางซื่อ (LD Depot)
สายที่ให้บริการสายตะวันออก, สายตะวันเฉียงเหนือ, สายใต้, สายเหนือ
คุณลักษณะ
วัสดุตัวถังสแตนเลสสตีล
ความยาว24.300 เมตร
ความกว้าง2.705 เมตร (APD.20,APN.20)
2.900 เมตร (APD.60)
ความสูง3.886 เมตร
จำนวนประตู2 ประตู
รูปแบบการจัดวางล้อ2-A1
ความเร็วสูงสุด120 กิโลเมตร/ชั่วโมง
น้ำหนักจอดนิ่ง 44.60 ตัน (APD.20)
43.50 ตัน (APN.20)
42.30 ตัน (APD.60)
ใช้การ 47.20 ตัน (APD.20)
46.10 ตัน (APN.20)
46.10 ตัน (APD.60)
น้ำหนักกดเพลา11.80 ตัน (APD.20)
11.53 ตัน (APN.20)
11.53 ตัน (APD.60)
เครื่องยนต์Cummins NTA855-R1
กำลังขับเคลื่อน350 แรงม้า ที่ 2,100 รอบ/นาที
แรงฉุดลากไฮดรอลิก
ชุดส่งกำลังVoith T211rZ
ความเร่ง0-70 กม./ชม. ที่ 0.97 m/s
70-120 กม./ชม. ที่ 0.41 m/s
แหล่งจ่ายไฟPerkins 1006-6TG ที 1,500 รอบ/นาที
ระบบปรับอากาศSigma RPR 40 LX 1 ขนาด 136,500 BTU
แคร่ล้อDTG-08 (APD.20)
DTD-08 (APN.20)
DTG-09 (APD.60)
DTD-09 (บนท.ป.11xx)
ระบบเบรกลมอัด 2 สูบ
ระบบความปลอดภัยETCS สำหรับ กซข.ป.2531,2534,2541,2542
มาตรฐานทางกว้าง1.000 เมตร

เอดีอาร์ (ADR) (อังกฤษ: Air conditioner Daewoo Railcar) หรือ รถดีเซลรางแดวู (อังกฤษ: Daewoo Diesel Railcar) เป็นรถดีเซลรางปรับอากาศของการรถไฟแห่งประเทศไทย ใช้สำหรับการทำขบวนรถโดยสาร และขบวนรถด่วนพิเศษดีเซลราง สั่งซื้อจากบริษัท แดวู เฮฟวี อินดัสทรีส์. ประเทศเกาหลีใต้ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 - 2539 เพื่อรองรับความต้องการใช้งานที่เพิ่มขึ้นของผู้โดยสาร ที่นิยมโดยสารด้วยรถไฟปรับอากาศ รถดีเซลรางแดวูยังถูกนำมาใช้รองรับการโดยสารของนักท่องเที่ยวในมหกรรมกีฬาซีเกมส์และเอเชียนเกมส์ช่วงปี พ.ศ.2538 - 2541 ที่จัดขึ้นในประเทศไทยในขณะนั้นอีกด้วย

รุ่น

[แก้]

รถดีเซลรางแดวู มีชื่อเรียกรุ่นว่า เอดีอาร์ (ADR) (อังกฤษ: Air conditioner Daewoo Railcar) แต่ก็ยังมีรุ่นย่อยและประเภทที่แตกต่างกัน เพราะมีการสั่งซื้อหลายครั้ง หลายจุดประสงค์การใช้งาน

เอดีอาร์ (ADR) รุ่น 20

[แก้]
ADR รุ่น 20 (Daewoo DRH-11,DRH-12)
รถดีเซลรางแดวู 2520 กำลังผ่านที่หยุดรถแกรนด์คาแนล
เข้าประจำการพ.ศ. 2538
จำนวนที่ผลิต20 คัน (แบบมีห้องขับ 12 คัน / แบบไม่มีห้องขับ 8 คัน)
จำนวนในประจำการ19
จำนวนที่ปลดระวาง1
หมายเลขตัวรถกซข.ป.2513 - 2524 (APD.20),
กซม.ป.2121 - 2128 (APN.20)
ความจุผู้โดยสาร72 ที่นั่ง/คัน (APD.20)
76 ที่นั่ง/คัน (APN.20)
คุณลักษณะ
ความเร็วสูงสุด120 km/h (75 mph)

เป็นรถดีเซลรางแดวูล็อตแรก โดยเป็นรถนั่งดีเซลรางทั้งหมด มีมิติรถที่เล็กตามขนาดของรถไฟรุ่นเก่า ๆ เพื่อไม่ให้กระทบกับความกังวลด้านข้อจำกัดของเขตโครงสร้างต่าง ๆ แต่มีที่นั่งที่มากกว่าล็อตอื่น ๆ มักถูกเรียกว่า แดวูผอม

  • แดวู ดีอาร์เอช-11 (Daewoo DRH-11) /
    เอดีอาร์ (ADR)แบบเอพีดี.20 (APD.20)
    รุ่นเลขที่ กซข.ป. 2513 – 2524 (มีห้องขับ) จำนวน 12 คัน
รถดีเซลรางแดวู 2514 ขณะจอดที่สถานีรถไฟกรุงเทพ
  • แดวู ดีอาร์เอช-12 (Daewoo DRH-12) /
    เอดีอาร์ (ADR)แบบเอพีเอ็น.20 (APN.20)
    รุ่นเลขที่ กซม.ป. 2121 – 2128 (ไม่มีห้องขับ) จำนวน 8 คัน

เอดีอาร์ (ADR) รุ่น 60

[แก้]
ADR รุ่น 60 (Daewoo DRH-13,DPG-09)
รถดีเซลรางแดวู 2543 กำลังผ่านสถานีหลักหก
เข้าประจำการพ.ศ. 2539
จำนวนที่ผลิต20 คัน (แบบมีห้องขับ 12 คัน / แบบไม่มีห้องขับ 8 คัน)
จำนวนในประจำการ20
หมายเลขตัวรถกซข.ป.2525 - 2544 (APD.60),
พซน.ป. 1101–1140 (ปัจจุบัน บนท.ป.1101 - 1140)
ความจุผู้โดยสาร64 ที่นั่ง/คัน (APD.20)
40 ที่นั่ง/คัน (พซน.ป.) ขายที่แบบนั่งและนอน
80 ที่นั่ง/คัน (พซน.ป.) ขายแบบที่นั่งเท่านั้น
คุณลักษณะ
ความเร็วสูงสุด120 km/h (75 mph)

เป็นรถดีเซลรางแดวูล็อตที่สอง โดยมีทั้งรถนั่งดีเซลราง และ รถพ่วงดีเซลรางแบบนั่งและนอน โดยมีมิติรถที่มีความกว้างมากกว่าล็อตแรก 19.5 เซนติเมตร โดยสร้างให้มีขนาดกว้างพอดีกับเขตโครงสร้าง และเพื่อเพิ่มพื้นที่ใช้งานต่าง ๆ มักถูกเรียกว่า แดวูอ้วน รถดีเซลรางแดวูล็อตนี้ได้เป็นมาตรฐานของขนาดรถไฟไทยในยุคใหม่ ที่ได้ใช้รถไฟที่มีมิติรถที่ใหญ่ขึ้นตามมาในอีกหลายรุ่น

  • แดวู ดีอาร์เอช-13 (Daewoo DRH-13) /
    เอดีอาร์ (ADR)แบบเอพีดี.60 (APD.60)
    รุ่นเลขที่ กซข.ป. 2525–2544 (มีห้องขับ) จำนวน 20 คัน
รถดีเซลรางแดวู 2529 ขณะจอดที่สถานีรถไฟเชียงใหม่
  • แดวู ดีพีจี-09 (Daewoo DPG-09) /
    เอดีอาร์ (ADR)แบบเอเอ็นที. (ANT.)
    รุ่นเลขที่ พซน.ป. 1101–1140 (รถพ่วงดีเซลรางแบบนั่งและนอนไม่มีห้องขับ) จำนวน 40 คัน
DPG-09 ขณะจอดที่สถานีรถไฟกรุงเทพ
DPG-09 ขณะจอดที่สถานีรถไฟกรุงเทพ

โดยในปัจจุบันได้ดัดแปลงเป็น บนท.ป.1101 - 1140 (รถปรับอากาศนั่งและนอนชั้นที่ 2) เพื่อนำไปใช้พ่วงร่วมกับขบวนรถต่าง ๆ ซึ่งใช้งานได้คล่องตัวกว่า ปัจจุบันมีพ่วงอยู่ในขบวนรถด่วนที่ 83/84 (กรุงเทพฯ-ตรัง-กรุงเทพฯ) และรถด่วนขบวนที่ 85/86 (กรุงเทพฯ-นครศรีธรรมราช-กรุงเทพฯ)

ด้านการใช้งาน

[แก้]

แม้ว่ารถดีเซลรางแดวูจะมีหลายรุ่น แต่ในการใช้งานจริง ก็ได้มีการจัดให้ใช้งานได้ร่วมกัน เพราะระบบต่าง ๆ เป็นแบบเดียวกันทั้งหมด เลยมักจะได้เห็นรถดีเซลรางแดวูที่มีริ้วขบวนแบบมีรถต่างขนาดกันในขบวนเดียวกัน

รถดีเซลรางแดวูรุ่น20 และ รุ่น60 ที่ใช้งานร่วมกัน จะเห็นได้ว่ามีขนาดที่แตกต่างกัน

ปัญหาและข้อวิจารณ์

[แก้]

เรือด

[แก้]

ในช่วงปลาย พ.ศ. 2550 – ต้น พ.ศ. 2551 ได้พบเรือดบนเบาะในตู้โดยสารของรถดีเซลรางแดวู[1][2][3] ทำให้ขบวนรถที่ใช้รถดีเซลรางแดวูหลายขบวนต้องงดให้บริการหรือใช้รถดีเซลรางสปรินเตอร์ทำการแทน เพื่อกำจัดเรือดและเปลี่ยนเบาะหนังเทียมเป็นแบบใหม่

เปลี่ยนสีและเสียงหวีด

[แก้]

รถดีเซลรางแดวูเป็นรถดีเซลรางที่ทำความเร็วได้ถึง 120 กิโลเมตร/ชั่วโมง จนเป็นสาเหตุทำให้เมื่อเกิดอุบัติเหตุ มักจะเป็นอุบัติเหตุรุนแรงหลายครั้ง เนื่องจากมีจุดตัดที่ไม่มีเครื่องกั้นหรือทางลักผ่านหลายจุด และผู้ขับขี่พาหนะทางถนนไม่เคารพกฎจราจร[4] ทำให้รถดีเซลรางแดวูเคยต้องทำสีด้านหน้ารถใหม่หลายแบบโดยเพิ่มสีโทนเหลืองเพื่อเพิ่มจุดสังเกต แต่อุบัติเหตุก็ไม่ได้ลดลง เลยมีการเปลี่ยนเสียงหวีดใหม่ เป็นเสียงหวีดยี่ห้อ Nathan AirChime รุ่น K3LA คล้ายกับที่ใช้ในรถจักรของแอ็มแทร็กในสหรัฐ เพื่อที่จะใช้จะเตือนผู้ขับขี่พาหนะทางถนนให้ดียิ่งขึ้น เพราะเสียงหวีดดั้งเดิมมีเสียงที่ค่อนข้างเบา ได้ยินในระยะที่ไม่ไกลมาก

ขบวนรถที่ให้บริการ

[แก้]
ปัจจุบัน
  • ขบวนรถด่วนพิเศษที่ 3/4 กรุงเทพอภิวัฒน์–สวรรคโลกศิลาอาสน์–กรุงเทพอภิวัฒน์ (วิ่งแทนสปรินเตอร์เป็นบางครั้ง) (ปัจจุบันงดให้บริการชั่วคราว)
  • ขบวนรถด่วนพิเศษที่ 7/8 กรุงเทพอภิวัฒน์–เชียงใหม่–กรุงเทพอภิวัฒน์
  • ขบวนรถด่วนพิเศษที่ 21/22 กรุงเทพอภิวัฒน์–อุบลราชธานี–กรุงเทพอภิวัฒน์
  • ขบวนรถด่วนพิเศษที่ 39/40 กรุงเทพอภิวัฒน์–สุราษฎร์ธานี–กรุงเทพอภิวัฒน์
  • ขบวนรถด่วนพิเศษที่ 41/42 กรุงเทพอภิวัฒน์–ยะลา–กรุงเทพอภิวัฒน์ (ปัจจุบันงดให้บริการชั่วคราวและในอนาคตอาจจะกลับมาให้บริการอีกครั้ง)
  • ขบวนรถด่วนพิเศษที่ 43/44 กรุงเทพอภิวัฒน์–สุราษฎร์ธานี–กรุงเทพอภิวัฒน์
  • ขบวนรถเร็วที่ 997/998 กรุงเทพ–จุกเสม็ด–กรุงเทพ (วิ่งแทนสปรินเตอร์เป็นบางครั้ง)
อดีต
  • ขบวนรถด่วนพิเศษที่ 11/10 กรุงเทพฯ–เชียงใหม่–กรุงเทพฯ (ปัจจุบันยกเลิกการเดินรถแล้ว)
  • ขบวนรถด่วนที่ 71/74 กรุงเทพฯ–ศรีสะเกษ–กรุงเทพฯ (เคยวิ่งแทนทีเอชเอ็นในช่วง พ.ศ. 2548–2549 และ พ.ศ. 2552–2553)[5]
  • ขบวนรถด่วนที่ 73/72 กรุงเทพฯ–ศีขรภูมิ–กรุงเทพฯ (เคยวิ่งแทนทีเอชเอ็นในช่วง พ.ศ. 2548–2549)
  • ขบวนรถด่วนพิเศษระหว่างประเทศที่ 947/948 และ 949/950 ชุมทางหาดใหญ่ปาดังเบซาร์–ชุมทางหาดใหญ่ (ปัจจุบันใช้รถจักรดีเซลพ่วงรถนั่งชั้น 3 ทำขบวนแทน)

ระเบียงภาพ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ตัวเรือด บุกดีเซลราง Daewoo". สืบค้นเมื่อ 13 เมษายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "กองทัพ'ตัวเรือด'ระบาดในเบาะรถไฟ - รุมกัดผู้โดยสาร". สืบค้นเมื่อ 13 เมษายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. "ขนลุกไต่ยุ่บยั่บ ตัวเรือด ในเบาะนั่งรถไฟ". สืบค้นเมื่อ 13 เมษายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. "เรื่องน่ารู้ก่อนโดยสารรถไฟไทย". สืบค้นเมื่อ 13 เมษายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. "เล่าเรื่องรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ". สืบค้นเมื่อ 13 เมษายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]