ข้ามไปเนื้อหา

สถานีรถไฟสวรรคโลก

พิกัด: 17°18′53″N 99°49′56″E / 17.314668056496437°N 99.83223055733919°E / 17.314668056496437; 99.83223055733919
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สวรรคโลก

Sawankhalok
สถานีระดับที่ 2
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้ง2/11 ถนนพิศาลสุนทรกิจ ตำบลเมืองสวรรคโลก อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย ประเทศไทย
พิกัด17°18′53″N 99°49′56″E / 17.314668056496437°N 99.83223055733919°E / 17.314668056496437; 99.83223055733919
ผู้ให้บริการการรถไฟแห่งประเทศไทย
ผู้บริหารกระทรวงคมนาคม
สาย
ชานชาลา2
ข้อมูลอื่น
รหัสสถานี1143 (สว.)
ประวัติ
เริ่มเปิดให้บริการพ.ศ. 2453; 115 ปีที่แล้ว (2453)
การเชื่อมต่อ
สถานีก่อนหน้า การรถไฟแห่งประเทศไทย สถานีต่อไป
คลองมะพลับ สายเหนือ สถานีปลายทาง
สวรรคโลก
Sawankhalok
กิโลเมตรที่ 487.14
ที่หยุดรถ หนองเรียง
Nong Riang
−4.06 กม.
ดูเพิ่ม: รายชื่อสถานีรถไฟ สายเหนือ
ที่ตั้ง
แผนที่

สถานีรถไฟสวรรคโลก เป็นสถานีรถไฟชั้นสี่[1]ในทางรถไฟสายเหนือ เป็นสถานีปลายทางของเส้นทางรถไฟรองสายสวรรคโลก[2] โดยแยกออกจากเส้นทางรถไฟสายเหนือหลัก (กรุงเทพ–เชียงใหม่) ที่สถานีรถไฟชุมทางบ้านดารา จังหวัดอุตรดิตถ์

ตั้งอยู่ที่ ตำบลเมืองสวรรคโลก อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย เป็นหนึ่งในสองสถานีรถไฟที่ตั้งอยู่ในจังหวัดสุโขทัย โดยเป็นสถานีรถไฟประจำอำเภอสวรรคโลก และเป็นสถานีรถไฟที่ใกล้กับอำเภอเมืองสุโขทัยมากที่สุด มีระยะห่างจากสถานีรถไฟกรุงเทพ 487.14 กม.

ประวัติ

[แก้]

สถานีรถไฟสวรรคโลกเป็นส่วนหนึ่งของทางรถไฟแห่งประเทศ ก่อสร้างในรัตนโกสินทร์ศกที่ 128 หรือ พ.ศ. 2453 ตามพระกระแสพระราชโองการของพระบาลสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ต้องให้เขตที่อยู่ห่างไกลสามารถติดต่อกับพระนคร (กรุงเทพมหานคร ณ ขณะนั้น) ได้ง่าย เป็นการดีต่อการปกครองและการค้าขายของประชาชน สมัยนั้นเมืองอุตรดิตถ์และเมืองสวรรคโลกถือว่าเป็นตลาดสินค้าที่สำคัญของภาคเหนือตอนล่าง จึงได้มีการสร้างทางรถไฟแยกมาจากสายเหนือที่สถานีรถไฟชุมทางบ้านดารา จังหวัดอุตรดิตถ์ มาสุดปลายทางที่สถานีรถไฟสวรรคโลก อำเภอสวรรคโลก มีระยะทางทั้งหมด 29 กิโลเมตร ได้เปิดเดินรถครั้งแรกเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2453

โดยวันที่ 6–7 ธันวาคม พ.ศ. 2452 (นับแบบปัจจุบันคือ พ.ศ. 2453)[3] สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์เพื่อเปิดทางรถไฟ สถานีรถไฟสวรรคโลกและสถานีรถไฟอุตรดิตถ์ตามลำดับ หลังจากนั้นพระองค์เสด็จประพาสหัวเมืองรายทางรถไฟแถบเขาพลึง และเมืองสวรรคโลก แล้วจึงเสด็จกลับพระนครในวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2453[4]

ตารางเวลาเดินรถ

[แก้]

ขบวนรถที่จอดสถานีรถไฟสวรรคโลกมีทั้งหมด 4 ขบวน ได้แก่

  • ขบวนรถด่วนพิเศษที่ 3/4 กรุงเทพ(หัวลำโพง)-สวรรคโลก-ศิลาอาสน์-กรุงเทพ(หัวลำโพง) ปัจจุบัน ขบวนนี้อยู่ในสถานะ "งดเดินรถ"
  • ขบวนรถท้องถิ่นที่ 405/406 ศิลาอาสน์-สวรรคโลก-ศิลาอาสน์ ปัจจุบันงดเดินรถชั่วคราวตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2567 อันเกิดจากระดับน้ำแม่น้ำยมที่สูงขึ้น[5][6][7]
ขบวนรถ ต้นทาง สวรรคโลก ปลายทาง หมายเหตุ
ชื่อสถานี เวลาออก ชื่อสถานี เวลาถึง
ท405 ศิลาอาสน์ 10.00 ปลายทาง สวรรคโลก 11.00
ท406 สวรรคโลก 13.00 ต้นทาง ศิลาอาสน์ 14.05
ดพ3 กรุงเทพอภิวัฒน์ 10.50 17.46 ศิลาอาสน์ 19.15 งดเดินรถ
ดพ4 ศิลาอาสน์ 19.50 18.01 กรุงเทพอภิวัฒน์ 04.00 งดเดินรถ
หมายเหตุขบวนรถ: = สายเหนือ / = สายตะวันออกเฉียงเหนือ / = สายใต้ / = สายตะวันออก / = สายแม่กลอง
ดพ = รถด่วนพิเศษ / ด = รถด่วน / ร = รถเร็ว / ธ = รถธรรมดา / ช = รถชานเมือง / พช = รถพิเศษชานเมือง / ท = รถท้องถิ่น / น = รถนำเที่ยว / ส = รถสินค้า

สถานที่ใกล้เคียง

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. สถานีรถไฟ
  2. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สวรรควรนายก สุโขทัย
  3. คำกราบบังคมทูล รายงานการเปิดทางรถไฟอุตรดิตถ์และสวรรคโลก 26 ธ.ค. 2452
  4. การเปิดรถไฟ สายเหนือแต่เมืองพิษณุโลกไปยังเมืองอุตรดิตถ์และเมืองสวรรคโลก 2452
  5. "#พร้อมแล้วก็ไป การรถไฟฯ เปิดเดิน ขบวนรถท้องถิ่นที่ 405/406 ศิลาอาสน์-สวรรคโลก-ศิลาอาสน์ [จอดสวรรคโลก 35 นาที)". เฟซบุ๊ก. นายจ่า. 3 July 2023.
  6. "** ประชาสัมพันธ์ ** ตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม 2567 เป็นต้นไป ขบวนรถท้องถิ่น ศิลาอาสน์ - สวรรคโลก - ศิลาอาสน์ (ขบวน 405/406) จะมีการปรับเปลี่ยนเวลาเดินทางของขบวน 406 (สวรรคโลก-ศิลาอาสน์)". เฟซบุ๊ก. สถานีรถไฟศิลาอาสน์. 4 March 2024.
  7. Facebook official : สถานีรถไฟศิลาอาสน์ // ประกาศงดการให้บริการขบวนรถท้องถิ่น 405/406 ศิลาอาสน์-สวรรคโลก-ศิลาอาสน์ ตั้งแต่วันที่ 24 ส.ค. 2567