ราเมศ รัตนะเชวง
ราเมศ รัตนะเชวง | |
---|---|
![]() ราเมศ ใน พ.ศ. 2563 | |
โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ | |
ดำรงตำแหน่ง 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 – 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 (5 ปี 13 วัน) | |
ก่อนหน้า | ธนา ชีรวินิจ |
ถัดไป | เจนจิรา รัตนเพียร |
เลขานุการประธานรัฐสภาไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 – 1 มีนาคม พ.ศ. 2566 | |
ประธาน | ชวน หลีกภัย |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2521 อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ (2542–ปัจจุบัน) |
ราเมศ รัตนะเชวง (เกิด 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2521) ชื่อเล่น หมู อดีตโฆษกพรรคประชาธิปัตย์[1] อดีตเลขานุการประธานรัฐสภา (ชวน หลีกภัย) และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ[2] อดีตกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ 3 สมัย
ประวัติ
[แก้]ราเมศ เกิดเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2521 ที่บ้านโชคอำนวย ตำบลแม่นางขาว อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี นิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง เนติบัณฑิตไทย สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตสภา
งานการเมือง
[แก้]ในปี 2562 ราเมศ ลงสมัครรับเลือกเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระบบบัญชีรายชื่อภายหลัง เจือ ราชสีห์ ได้ลาออกจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรบัญชีรายชื่อ เขาจึงได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรบัญชีรายชื่อ (เลื่อนแทน)[3]
ในปี พ.ศ. 2566 ราเมศ ลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดพังงา เขต 2 แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง
ในวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 ราเมศ ได้ยื่นหนังสือลาออกจากสมาชิกพรรคและโฆษกของพรรคประชาธิปัตย์ และได้เดินทางไปอุปสมบทที่วัดแห่งหนึ่งในจังหวัดนครปฐม [4]
สังคมได้ทราบข่าวสารที่ราเมศได้ปรากฏตัวต่อสื่อมวลชนอีกครั้งเมื่อ สิงหาคม พ.ศ. 2567 โดยได้ออกมาให้สัมภาษณ์ปกป้องนายชวน หลีกภัย จากการให้ข่าวโจมตีของสมาชิกพรรคเพื่อไทยอย่างดุเดือด จึงทราบว่าได้ลาสิกขามาอย่างเงียบๆเช่นตอนลาอุปสมบทที่มีคนที่รับรู้อยู่ไม่กี่คน เช่น นายชวน หลีกภัยและญาติใกล้ชิดเพียงเท่านั้น หลังจากลาสิกขาแล้วราเมศได้สมัครเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ โดยเหตุผลที่ลาออกจากสมาชิกพรรคได้กล่าวผ่านรายการของสื่อมวลชนที่หนึ่งว่า เนื่องจากข้อบังคับพรรคได้เขียนไว้หากมีการบวชเป็นพระให้ขาดจากสมาชิกชั่วคราวจึงไม่อยากให้มีการตีความถึงตำแหน่งโฆษกพรรคว่าจะยังคงดำรงตำแหน่งหรือไม่และหากราเมศใช้เวลาในการอุปสมบทนานก็จะเสียหายหากไม่มีโฆษกพรรคทำหน้าที่จึงเป็นเหตุผลที่ตัดสินใจลาออกชั่วคราวและเมื่อลาสิกขาแล้วก็ได้กลับไปสมัครสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์เช่นเดิม
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
[แก้]ราเมศ รัตนะเชวง ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 1 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ (เลื่อนแทน)