เทพศิริ สุขโสภา
หน้าตา
บทความนี้ได้รับแจ้งให้ปรับปรุงหลายข้อ กรุณาช่วยปรับปรุงบทความ หรืออภิปรายปัญหาที่หน้าอภิปราย
|
เทพศิริ สุขโสภา | |
---|---|
เกิด | 6 มีนาคม พ.ศ. 2486 ตำบลย่านยาว อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย |
อาชีพ | นักเขียน จิตรกร |
สัญชาติ | ไทย |
เทพศิริ สุขโสภา เป็นนักเขียน จิตรกรชาวไทย เกิดเมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2486 ที่ตำบลย่านยาว อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย[1] เข้าเรียนที่คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากรวังท่าพระ ได้เป็นศิษย์ของอาจารย์ศิลป์ พีระศรี และเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ประจำปี 2560[2]
ผลงาน
[แก้]- วาดภาพประกอบให้หนังสือบทกวี สารคดี เรื่องสั้น เรื่องยาวมาทุกยุค
- เขียนเรื่องและวาดรูปชุด "โลกร้อยสี" "ปู่ดื้อ" นิทานผ่านเล่า "เรือกับรั้ว" ฯลฯ ให้มูลนิธิเด็ก
- ทำภาพนิ่งชุดชาวนาและปัญหาสิ่งแวดล้อม ช่วยเผยแพร่ประชาธิปไตย หลัง 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516
- เขียนบทละครเวทีสะท้อนปัญหาญี่ปุ่น-ไทย เรื่อง "อักลี่ จาเซียน" หลัง 6 ตุลาคม พ.ศ.2519
- เป็นนักเล่าเรื่องผ่านสื่อ แผ่นภาพ สไลด์ หุ่นมือ และการแสดงเพื่อชุมชน
- วรรณกรรมเยาวชนเรื่อง "บึงหญ้าป่าใหญ่"
- นิยายเรื่อง "คนหกคน"
- รวมบทความศิลปะหลายเล่ม
- "ศิลปินกับนางแบบ", "คนวาดภาพประกอบ" และนวนิยายเรื่อง "ร่างพระร่วง" กับสำนักพิมพ์มติชน
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2563 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.)[3]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "เทพศิริ สุขโสภา". praphansarn.com (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "17 ศิลปินแห่งชาติปี 60 พ่อรอง-วิรัช-ไข่บูติค". ไทยรัฐ. 20 มกราคม 2561. สืบค้นเมื่อ 23 เมษายน 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๖๓ เก็บถาวร 2022-05-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๒ ข หน้า ๒๔๐, ๒๙ มกราคม ๒๕๖๔