กาญจนา นาคนันทน์
นงไฉน ปริญญาธวัช | |
---|---|
ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ (นวนิยายและเรื่องสั้น) พ.ศ. 2555 | |
เกิด | 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2464 อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ |
เสียชีวิต | 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 (93 ปี) อำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี |
นามปากกา | กาญจนา นาคนันทน์ ธวัชวดี น.ฉ.น. ดนัยศักดิ์ |
อาชีพ | นักเขียน |
สัญชาติ | ไทย |
ผลงานที่สำคัญ | ผู้ใหญ่ลีกับนางมา ธรณีนี่นี้ใครครอง ผู้กองยอดรัก |
รางวัลสำคัญ | ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ (นวนิยายและเรื่องสั้น) พ.ศ. 2555 |
บิดามารดา | รองอำมาตย์ตรี มนู นาคามดี (บิดา) แหวน นาคามดี (มารดา) |
กาญจนา นาคนันทน์ เป็นนามปากกาของ นงไฉน ปริญญาธวัช (สกุลเดิม: นาคามดี; 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2464 – 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2557) ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ (นวนิยายและเรื่องสั้น) พ.ศ. 2555 นักเขียนเจ้าของผลงาน ผู้ใหญ่ลีกับนางมา, ธรณีนี่นี้ใครครอง และ ผู้กองยอดรัก เป็นต้น
ประวัติ
[แก้]นงไฉน ปริญญาธวัช (สกุลเดิม: นาคามดี) เกิดเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2464 ที่ตำบลผักปัง อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ[1] เป็นบุตรสาวของรองอำมาตย์ตรี มนู นาคามดี[2][3] หรือ หนู นาคามดี ผู้อำนวยการโรงเรียนชัยภูมิภักดีชุมพลคนที่ 6[4] และนางแหวน นาคามดี
นงไฉน สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนฝึกหัดครูมัธยม และปริญญาตรีด้านกฎหมาย[1]จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[5] และเป็นอดีตอาจารย์คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[6]
เริ่มพิมพ์งานประพันธ์ในหนังสือ "นครสาร" เป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2489 มีความชำนาญในการเขียนนวนิยาย บทความ สารคดี เรื่องสั้น และบทกวี มีความสามารถเขียนหนังสือได้หลายแนวหลายประเภท มีผลงานการประพันธ์หลายประเภทอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันมีเรื่องยาวประมาณ 50 เรื่อง และ เรื่องสั้นอีกกว่า 100 เรื่อง และได้รับรางวัลศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ (นวนิยายและเรื่องสั้น) พ.ศ. 2555
มรณกรรม
[แก้]นงไฉน ปริญญาธวัช ถึงแก่อนิจกรรมอย่างสงบ ณ บ้านพักส่วนตัวในตำบลทรายขาว อำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี ศพตั้งบำเพ็ญกุศล ณ วัดปะตงวนาราม ตำบลปะตง อำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี เป็นระยะเวลา 7 คืน ตั้งแต่วันที่ 30 พฤษภาคม ถึง 5 มิถุนายน พ.ศ. 2557 เวลา 19.00 น.[7][8]
ผลงาน
[แก้]- ผลงานสารคดี
- คุณป้าท่องโลก
- พระพี่นางสุพรรณกัลยาณี
- ผลงานวรรณกรรมเยาวชน
- นิทานคุณย่า (แปลจากนิทานรัสเซีย)
- เขาชื่อเดช
- สามดรุณ (ได้รับรางวัลงานวันสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ของกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2521)
- หนูชอบเชียงเมี่ยง
- โลกกว้าง
- บ้านหนูอยู่หาดเสี้ยว (ได้รับรางวัลหนังสือเด็กเยาวชนบัวหลวง พ.ศ. 2521)
- แม่ - ไต้ฝุ่นมาแล้ว (พายุเกย์ พ.ศ. 2519)
- ผมชื่อไอ้จุก
- ผลงานชุดพุทธศาสนา และจริยธรรม
- พี่ชาย
- หนูน้อยกลอยใจ
- ผลงานนวนิยาย
- เธอเป็นเพียงแหวนพลอย
- กุ้งนาง
- เกวลีสอยดาว
- โขมยที่รัก
- จุดหมายปลายทางของการดา
- คนึงนิจ
- แค่ขอบฟ้า
- ชื่นชีวานาวี
- ทาง(ห)ลวง
- ธรณีนี่นี้ใครครอง(ได้รับรางวัลงานวันสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ของกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2518)
- ผู้กองยอดรัก
- ยอดรักผู้กอง
- ผู้กองอยู่ไหน
- ผู้ใหญ่ลีกับนางมา (เป็นหนังสือที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนดให้เป็นหนังสืออ่านนอกเวลา สำหรับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหลายปีมาแล้ว)
- เบญจวรรณ (นวนิยายเรื่องแรก)
- บ่วงโลกีย์
- บุญส่ง
- ไปรษณีย์ทำหล่น
- หัวใจที่เบ่งบานด้วยความรัก
- สาวใช้คนใหม่
- รักต้องซ่อน
- วิมานดิน
- กาญจนาสารภาพ (โลกนวนิยาย)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2556 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.)[9]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 ชมวง พฤกษาถิ่น (30 เมษายน 2013). ""กาญจนา นาคนันทน์" ถนนนวนิยาย". สยามรัฐ. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 กรกฎาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2014.
- ↑ "เพลงยาวกลบทและกลอักษร หนังสืออนุสรณ์ รองอำมาตย์ตรีมนู นาคามดี (บิดา กาญจนา นาคนันท์)". tarad.com. สืบค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2014.
- ↑ "เพลงยาวกลบทและกลอักษร หนังสืออนุสรณ์ รองอำมาตย์ตรีมนู นาคามดี (บิดา กาญจนา นาคนันท์)". su-usedbook.com. สืบค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2014.
- ↑ "ประวัติโรงเรียนชัยภูมิ". ศูนย์การเรียนรู้ไทยภัณฑ์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 มิถุนายน 2016. สืบค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2014.
- ↑ "สิ้นนักเขียนนวนิยายชื่อดัง "กาญจนา นาคนันทน์" ผู้ประพันธ์ ผู้กองยอดรัก-ธรณีนี่นี้ใครครอง-ผู้ใหญ่ลีฯ"". มติชน. 31 พฤษภาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 26 กรกฎาคม 2014.
- ↑ "วรรณศิลป์ไทยอาลัย กาญจนา นาคนันทน์". ข่าวสด. 5 มิถุนายน 2014. สืบค้นเมื่อ 26 กรกฎาคม 2014.
- ↑ ไทยรัฐ, สิ้น! ศิลปินแห่งชาติ 'กาญจนา นาคนันทน์' เจ้าของนิยายดัง 'ผู้ใหญ่ลีกับนางมา', สืบค้นเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2557.
- ↑ เดลินิวส์, สิ้นศิลปินแห่งชาติ "กาญจนา นาคนันทน์, สืบค้นเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2557.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๕๖ เก็บถาวร 2022-05-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๑๐๕, ๒๔ ตุลาคม ๒๕๕๖
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2464
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2557
- นักเขียนชาวไทย
- บุคคลจากอำเภอภูเขียว
- บุคคลจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- อาจารย์คณะอักษรศาสตร์ - ศิลปศาสตร์ - มนุษยศาสตร์
- บุคคลจากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จ.ภ.
- บุคคลจากอำเภอสอยดาว
- ศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์
- นามปากกา