ประคิณ ชุมสาย ณ อยุธยา
ประคิณ ชุมสาย ณ อยุธยา | |
---|---|
เกิด | ประคิณ กรองทอง 6 กันยายน พ.ศ. 2462 จังหวัดพระนคร อาณาจักรสยาม |
เสียชีวิต | 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 (96 ปี) โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ กรุงเทพมหานคร |
นามปากกา | อุชเชนี นิด นรารักษ์ |
อาชีพ | นักเขียน, นักแปล |
คู่สมรส | หม่อมหลวงจิตรสาร ชุมสาย |
ประคิณ ชุมสาย ณ อยุธยา (สกุลเดิม กรองทอง; 6 กันยายน พ.ศ. 2462 — 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2559) มีนามปากกาว่า อุชเชนี และ นิด นรารักษ์ เป็นนักเขียนและนักแปลชาวไทย[1]
ประวัติ
[แก้]ประคิณเกิดเมื่อวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2462 ในครอบครัวคริสตัง เป็นธิดาของแสง กรองทอง (ศาสนนาม ยอห์น บัปติสตา) กับประคอง กรองทอง (ศาสนนาม โรซา) เธอมีเชื้อสายจีนจากปู่ มีชื่อทางศาสนาว่าเออเชนี ตั้งตามชื่อนักบุญเอวเยน (Eugène) ส่วนชื่อจริงมารดาตั้งตามพจนานุกรมปัลเลอกัวซ์ แปลว่า "ประคับประคอง"[2]
สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 8 ภาษาฝรั่งเศส จากโรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์ และเรียนซ้ำมัธยม 8 ทางภาษาอังกฤษ ก่อนเข้าศึกษาระดับอุดมศึกษาคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้เป็นที่หนึ่งของประเทศ จบปริญญาโทเกียรตินิยม ภาษาฝรั่งเศส พ.ศ. 2488 และได้ทุนไปศึกษาต่อที่ปารีส 1 ปี รับประกาศนียบัตรการศึกษาระดับสูงด้านวรรณคดีฝรั่งเศสร่วมสมัย มหาวิทยาลัยเซอร์บอน[3]
การทำงาน
[แก้]เริ่มเขียนกลอนตั้งแต่เข้าเรียนจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีรุ่นพี่ชื่อสุจิต ศิกษมัต ตั้งนามปากกาให้ว่า "อุชเชนี" ตามชื่อเดิม จนในปี พ.ศ. 2489 เธอเริ่มเขียนกลอนสั้น "มะลิแรกแย้ม" ลงพิมพ์ในหนังสือบ้าน- กับโรงเรียน ในนาม "มลิสด" ต่อมาในปี พ.ศ. 2491 เปลี่ยนแนวการแต่งจากรักเป็นเรื่องของคนทุกข์ยากคือ "ใต้- โค้งสะพาน" ลงในหนังสือการเมือง จนในปี พ.ศ. 2499 มีการรวมพิมพ์เป็นเล่มระหว่าง อุชเชนี และนิด นรารักษ์ ชื่อ "ขอบฟ้าขลิบทอง" บอกเล่าเรื่องราวเพื่อเสริมสร้างการมองโลกในแง่ดี โดยเฉพาะเคียงความรู้สึกของชนชั้นกลาง ที่เห็นคุณค่าของชนชั้นที่ต่ำกว่า ไม่มีการแบ่งชั้นวรรณะ ระหว่างความรวยและความจน
ต่อมาเธอกลับมาเป็นอาจารย์ที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งแต่ปีพ.ศ 2490-2500 และได้สมรสกับหม่อมหลวงจิตรสาร ชุมสาย (มีชื่อทางศาสนาว่า ยอห์น)[2] บุตรพระยาสีหพงศ์เพ็ญภาค (หม่อมราชวงศ์ประเวศ ชุมสาย) กับคุณหญิงเปลี่ยน[4] มีบุตร-ธิดา 3 คน[3]
ระหว่างศึกษาที่ฝรั่งเศส ได้อ่านหนังสือวรรณคดีชั้นเยี่ยมของฝรั่งเศสจำนวนมาก ซึ่งมีอิทธิพลต่อความคิดที่จะสร้างสรรค์งานที่มีค่าต่อสังคม เมื่อกลับมาเป็นอาจารย์มีโอกาสได้ติดตามนายแพทย์และบาทหลวงเข้าไปทำงานที่แหล่งเสื่อมโทรม และมีจิตสำนึกแบบชาวคาทอลิกที่เคร่งครัดว่าควรจะต้องทำอะไรเพื่อคนจน ทำให้เธอเขียนบทกวีที่สะท้อนภาพสังคมในเชิงมนุษยธรรม
ได้รับการยกย่องให้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ (กวีนิพนธ์) พร้อมกับเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ในปี พ.ศ. 2536[5]
หนังสือเรื่อง "ขอบฟ้าขลิบทอง" เป็นหนังสือที่ได้รับการคัดเลือกว่าเป็นงานวรรณกรรมที่น่าอ่าน มีคุณค่าทางศิลปวรรณกรรม ครบถ้วนตามแนวทางของวรรณกรรมโลกหรือวรรณกรรมสากลมีเนื้อหาสาระที่แสดงออกถึงความริเริ่มสร้างสรรค์ ช่วยให้ผู้อ่านมีทัศนะต่อชีวิตและต่อโลกกว้างขึ้น ได้รับความรู้ ความคิดอ่าน ความบันเทิงทางศิลปวัฒนธรรม ปรากฏแจ้งใน หนังสือดี 100 เล่มที่คนไทยควรอ่าน
ประคิณ ชุมสาย ณ อยุธยา เสียชีวิตเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 ด้วยโรคมะเร็งลำไส้ ณ โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ สิริอายุ 96 ปี โดยจัดพิธีสวด ณ วัดพระมหาไถ่ และมีพิธีฝังศพที่สุสานศานติคาม จังหวัดนครปฐม[6][7]
ผลงาน
[แก้]ประคิณ ชุมสาย ณ อยุธยา มีผลงานเขียนและงานแปลดังนี้[8]
- ขอบฟ้าขลิบทอง เป็นผลงานรวมบทกวี
- อัษมา เป็นผลงานการแปลจากบทกวีนิทานพื้นบ้านของจีน
- ดาวผ่องนภาดิน เป็นผลงานรวมบทกวี
- เพียงแค่เม็ดทราย เป็นผลงานการประพันธ์ประเภทร้อยแก้ว
- หิ่งห้อย เป็นผลงานการแปลจากบทกวีของรพินทรนาถ ฐากูร ปราชญ์ชาวอินเดีย ซึ่งได้แปลร่วมกับศาสตราจารย์ระวี ภาวิไล
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2537 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.)[9]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "เบื้องหลังการแปล 'สาธนา' กับ 'หิ่งห้อย' บังเอิญ/โลกกลม/พรหมลิขิต?" (Press release). กรุงเทพธุรกิจ. 31 กรกฎาคม 2554. สืบค้นเมื่อ 24 สิงหาคม 2555.
{{cite press release}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ 2.0 2.1 "พิธีปลงศพ อ. ประคิณ ชุมสาย ณ อยุธยา" (PDF). โรเงรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-05-13. สืบค้นเมื่อ 18 กันยายน 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 3.0 3.1 ภาพคณะเซอเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร (7 พฤษภาคม 2559). "ขอร่วมแสดงความเสียใจต่อการจากไปของอาจารย์ประคิณ ชุมสาย ณ อยุธยา". แวดวงคาทอลิก. สืบค้นเมื่อ 18 กันยายน 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ กระทรวงศึกษาธิการ (2536). หม่อมหลวงมานิจ ชุมสาย บุคคลที่ทำคุณประโยชน์แก่การศึกษาของชาติอย่างสูงยิ่ง (PDF). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ครุสภาลาดพร้าว. p. 5.
- ↑ ศิลปินแห่งชาติ [ลิงก์เสีย]
- ↑ "อาลัยศิลปินแห่งชาติ กวี 'อุชเชนี' สิ้นด้วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่". มติชนออนไลน์. 8 พฤษภาคม 2559. สืบค้นเมื่อ 18 กันยายน 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "สิ้นกวีเอก 'อุชเชนี' มะเร็งคร่าชีวิตวัย 97 ปี". คมชัดลึก. 8 พฤษภาคม 2559. สืบค้นเมื่อ 18 กันยายน 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ประคิณ ชุมสาย ณ อยุธยา ศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์ (กวีนิพนธ์) พ.ศ. ๒๕๓๖ เก็บถาวร 2007-09-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน โดย นิติกร กรัยวิเชียร ฉบับที่ 2384 ปีที่ 46 ประจำวัน อังคาร ที่ 27 มิถุนายน 2543
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๕ ข หน้า ๕๓, ๒๘ เมษายน ๒๕๓๘
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- ประคิณ ชุมสาย ณ อยุธยา
- ประคิณ ชุมสาย ณ อยุธยาเก็บถาวร 2005-02-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ประคิณ ชุมสาย ณ อยุธยาเก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ประทีป เหมือนนิล. 100 นักประพันธ์ไทย. กรุงเทพ : สุวีริยาสาส์น, 2542. หน้า 479. ISBN 974-8267-78-4
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2462
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2559
- ศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์
- นักเขียนชาวไทย
- นามปากกา
- อาจารย์คณะอักษรศาสตร์ - ศิลปศาสตร์ - มนุษยศาสตร์
- ราชสกุลชุมสาย
- ณ อยุธยา
- นิสิตเก่าคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- กวีชาวไทย
- คริสต์ศาสนิกชนนิกายโรมันคาทอลิกชาวไทย
- บุคคลจากเขตบางรัก
- บุคคลจากโรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ต.ม.
- ชาวไทยเชื้อสายจีน