แดนอรัญ แสงทอง
บทความนี้ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น คุณสามารถปรับปรุงแก้ไขบทความนี้ได้ และนำป้ายออก พิจารณาใช้ป้ายข้อความอื่นเพื่อชี้ชัดข้อบกพร่อง |
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
แดนอรัญ แสงทอง นักเขียนและนักแปลชาวไทยที่มีชื่อเสียงในระดับโลก เจ้าของฉายา "ขบถวรรรณกรรม" [1]
แดนอรัญมีชื่อจริงว่า เสน่ห์ สังข์สุข เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2500 ที่อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี ในวัยเยาว์อยู่ในการอุปการะของพระอาจารย์อิน อินฺทโชโต ซึ่งเป็นพระภิกษุที่เป็นที่นับถือของชาวเพชรบุรี
แดนอรัญสำเร็จการศึกษาด้านวรรณคดีอังกฤษจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร เคยทำงานเป็นล่ามให้กับองค์กรเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศแห่งสหรัฐอเมริกา หรือ USAID (United States Agency for International Development) ต่อมาได้ทำสำนักพิมพ์ มีผลงานแปลหนังสือของนักเขียนที่มีชื่อเสียงออกมาหลายเล่ม เช่น ออสการ์ ไวลด์, รพินทรนาถ ฐากูร[2]
แดนอรัญ เริ่มมีชื่อเสียงขึ้นมาเมื่อปี พ.ศ. 2536 เมื่อนวนิยายเรื่อง เงาสีขาว ที่ออกเผยแพร่เมื่อปีเดียวกัน เสมือนเป็นปรากฏการณ์เล็ก ๆ ในแวดวงวรรณกรรมไทย แต่นวนิยายเรื่องนี้กลับถูกปฏิเสธจากคณะกรรมการพิจารณารางวัลซีไรต์ ไม่ได้มีแม้ชื่อติดอันดับผู้เข้าชิงรางวัลเลย โดยเป็นที่กล่าวกันว่าเพราะสิ่งที่อยู่ในเรื่องไปกระทบกับโครงสร้างของสังคม แต่กระนั้นเงาสีขาวก็ได้ถูกแปลเป็นภาษาต่างประเทศมากมาย เช่น ฝรั่งเศส, โปรตุเกส, อังกฤษ, สเปน และทำยอดขายได้มากกว่า 100,000 เล่ม[1] ซึ่งหนึ่งในผู้มีชื่อเสียงระดับโลกที่ชื่นชอบหนังสือของแดนอรัญ คือ โชเซ มูรีนโย ผู้จัดการทีมและหัวหน้าผู้ฝึกสอนทีมเชลซี ทีมฟุตบอลที่มีชื่อเสียงของอังกฤษ[1][3] และทำให้แดนอรัญได้รับเหรียญอิสริยาภรณ์ศิลปศาสตร์และอักษรศาสตร์ชั้นอัศวิน (Chevalier de l'Ordre des Arts et des Lettres) จากกระทรวงวัฒนธรรม ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งได้รับรางวัลนี้พร้อมกับ บ็อบ ดีแลน นักร้อง นักดนตรีที่มีชื่อเสียงชาวอเมริกัน
แดนอรัญ แสงทอง เป็นนักเขียนที่มีชื่อเสียงในระดับนานาชาติ โดยเฉพาะทวีปยุโรป แต่ทว่าในประเทศไทยกลับมีผู้รู้จักน้อยมาก เนื่องจากผลงานมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นทั้งวรรณศิลป์ การใช้ภาษาที่มีพลัง และมุมมองที่ลุ่มลึก ล้ำสมัย จึงยากแก่การเข้าใจของผู้อ่าน และก่อนออกพิมพ์ต้องผ่านการตรวจสอบแก้ไขไม่น้อยกว่า 8 เที่ยว[1][4]
ในปี พ.ศ. 2557 จากผลงานรวมเรื่องสั้นชุด อสรพิษและเรื่องอื่นๆ ทำให้แดนอรัญได้รับรางวัลซีไรต์ ผู้คนจึงหันมาสนใจในผลงานของแดนอรัญมากยิ่งขึ้น[1]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2563 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.)[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 "รางวัลเกียรติยศของขบถวรรณกรรม "แดนอรัญ แสงทอง"". ไทยพีบีเอส. 15 October 2015. สืบค้นเมื่อ 17 October 2014.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "เหรียญอัศวินฝรั่งเศส แดนอรัญ นักเขียนไทย". happyreading.in.th. 24 December 2008. สืบค้นเมื่อ 17 October 2014.
- ↑ "แดนอรัญ แสงทอง อัศวินวรรณกรรมแห่งยุคไซเบอร์พังค์ ( ตอนที่ 1 )". ผู้จัดการออนไลน์. 22 December 2008. สืบค้นเมื่อ 17 October 2014.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "ข่าวฟ้ายามเย็น 10 10 57 เบรก 3". ฟ้าวันใหม่. 10 October 2015. สืบค้นเมื่อ 17 October 2014.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๖๓ เก็บถาวร 2022-05-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๒ ข หน้า ๒๔๐, ๒๙ มกราคม ๒๕๖๔
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2500
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากอำเภอเมืองเพชรบุรี
- นักเขียนจากจังหวัดเพชรบุรี
- นักเขียนนวนิยายชาวไทย
- นักเขียนเรื่องสั้นชาวไทย
- นักแปลชาวไทย
- บุคคลจากคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
- นักประพันธ์รางวัลซีไรต์ชาวไทย
- ศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์