ขึ้นฉ่าย
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
ขึ้นฉ่าย | |
---|---|
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | พืช Plantae |
เคลด: | พืชมีท่อลำเลียง Tracheophyta |
เคลด: | พืชดอก Angiosperms |
เคลด: | พืชใบเลี้ยงคู่แท้ Eudicots |
เคลด: | แอสเทอริด Asterids |
อันดับ: | อันดับผักชี |
วงศ์: | วงศ์ผักชี |
สกุล: | Apium L.[1] |
สปีชีส์: | Apium graveolens |
ชื่อทวินาม | |
Apium graveolens L.[1] | |
ชื่อพ้อง[1] | |
รายการ
|
ขึ้นฉ่าย (จีน: 芹菜) เป็นพืชล้มลุกชอบพื้นที่ลุ่ม อยู่ในวงศ์ Apiaceae เป็นผักและสมุนไพรที่มีกลิ่นหอม นิยมใช้ในการปรุงอาหารที่ต้องการดับกลิ่นคาว หรือเพิ่มความหอมของน้ำซุป หรือ นำไปผัดเพื่อดับคาวปลา ขึ้นฉ่ายมีลำต้นและใบหลากหลายตามพันธุ์ปลูกและสถานที่ปลูกซึ่งแบ่งกว้าง ๆ ได้ 3 กลุ่มคือ ขึ้นฉ่ายใบ ใช้กินใบและตกแต่งอาหาร, ขึ้นฉ่ายยักษ์ ใช้กินก้านที่อวบน้ำ และขึ้นฉ่ายหัว ที่ใช้หัวในการปรุงอาหาร เมล็ดขึ้นฉ่ายยังใช้เป็นเครื่องเทศและมีการใช้สารสกัดในยาสมุนไพร
คำว่า "ขึ้นฉ่าย" ในภาษาไทยมาจากภาษาจีนว่า 芹菜 โดยอ่านแบบแต้จิ๋วเป็น "ขึ่งไฉ่" (เพ็งอิม: keng5 cai3) ส่วนอ่านแบบจีนกลางจะเป็น "ฉินไช่" (พินอิน: qín cài)
ลักษณะ
[แก้]เป็นพืชล้มลุกมีอายุ 1–2 ปี สูง 40–60 เซนติเมตร ใบประกอบแบบ ขนนกออก ตรงข้าม สีใบเป็น สีเหลืองอมเขียว ใบย่อยเป็นรูปลิ่มหยัก ขอบใบหยัก ก้านใบยาวแผ่ออกเป็นกาบ ดอกช่อสีขาว เป็นช่อดอกแบบซี่ร่ม (compound umbels) ผลมีขนาดเล็กมากเป็นสีน้ำตาล[2]
พันธุ์ปลูก | ภาพ | ชื่อวิทยาศาสตร์ | ลักษณะเด่น | การใช้ | |||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ขึ้นฉ่ายใบ | 唐芹 | Leaf celery | Apium graveolens var. secalinum |
|
กินใบ | ||
ขึ้นฉ่ายยักษ์ | 旱芹 | Celery | Apium graveolens var. graveolens |
|
กินใบและก้านใบ | ||
ขึ้นฉ่ายหัว[3] | Celeriac | Apium graveolens var. rapaceum |
|
กินหัว |
ประโยชน์
[แก้]มีโพแทสเซียมสูง ทำให้หลอดเลือดขยายตัว ช่วยลดความดันโลหิตสูง ช่วยขับปัสสาวะ รักษาโรคปวดข้อ เช่น รูมาติกและโรคเกาต์ มีโซเดียมอินทรีย์ที่สามารถช่วยปรับความเป็นกรดและด่างในเลือดให้สมดุล น้ำคั้นจากขึ้นฉ่ายมีสรรพคุณเป็นยากล่อมประสาท ทำให้รู้สึกสบาย และนอนหลับได้ดี การกินขึ้นฉ่ายจะทำให้อสุจิลดลงถึง 50% หลังจากยุติการกินแล้ว จำนวนเชื้ออสุจิจะเพิ่มกลับมาระดับปกติใน 8-13 สัปดาห์
สารสกัดด้วยเอทานอลจากผลและเมล็ดยับยั้งการเจริญและการงอกของถั่วเขียวผิวดำได้[4]
คุณค่าทางโภชนาการต่อ 100 กรัม (3.5 ออนซ์) | |
---|---|
พลังงาน | 67 กิโลจูล (16 กิโลแคลอรี) |
2.97 กรัม (including fiber) | |
แป้ง | 0.00 กรัม |
น้ำตาล | 1.34 กรัม 0.00 กรัม |
ใยอาหาร | 1.6 กรัม |
0.17 กรัม | |
อิ่มตัว | 0.042 กรัม |
ทรานส์ | 0.000 กรัม |
ไม่อิ่มตัวมีพันธะคู่เดี่ยว | 0.032 กรัม |
ไม่อิ่มตัวมีพันธะคู่หลายคู่ | 0.079 กรัม |
0.69 กรัม | |
วิตามิน | |
วิตามินเอ | (3%) 22 μg |
ไทอามีน (บี1) | (2%) 0.021 มก. |
ไรโบเฟลวิน (บี2) | (5%) 0.057 มก. |
ไนอาซิน (บี3) | (2%) 0.320 มก. |
(5%) 0.246 มก. | |
วิตามินบี6 | (6%) 0.074 มก. |
โฟเลต (บี9) | (9%) 36 μg |
วิตามินบี12 | (0%) 0.00 μg |
คลอรีน | (1%) 6.1 มก. |
วิตามินซี | (4%) 3.1 มก. |
วิตามินดี | (0%) 0 IU |
วิตามินอี | (2%) 0.27 มก. |
วิตามินเค | (28%) 29.3 μg |
แร่ธาตุ | |
แคลเซียม | (4%) 40 มก. |
เหล็ก | (2%) 0.20 มก. |
แมกนีเซียม | (3%) 11 มก. |
ฟอสฟอรัส | (3%) 24 มก. |
โพแทสเซียม | (6%) 260 มก. |
โซเดียม | (5%) 80 มก. |
สังกะสี | (1%) 0.13 มก. |
องค์ประกอบอื่น | |
น้ำ | 95.43 g |
แอลกอฮอล์ (เอธานอล) | 0.0 g |
คาเฟอีน | 0 mg |
คอเลสเตอรอล | 0 mg |
ประมาณร้อยละคร่าว ๆ โดยใช้การแนะนำของสหรัฐสำหรับผู้ใหญ่ แหล่งที่มา: USDA FoodData Central |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "Apium graveolens L.", Plants of the World Online, Royal Botanic Gardens, Kew, สืบค้นเมื่อ 2024-05-28
- ↑ "คึ่นฉ่าย".
- ↑ JOM (2017-01-18). "หัวขึ้นฉ่ายฝรั่ง". Thai Food.
- ↑ ศานิต สวัสดิกาญจน์. 2554. ผลของแอลลีโลพาธีของพืชสมุนไพร 6 ชนิดต่อการงอกและการเจริญเติบโตของถั่วเขียวผิวดำ. เรื่องเต็มการประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 49 1-4 ก.พ. 2554 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หน้า 419-428