ผักแขยง
ผักกะแยง | |
---|---|
![]() | |
Limnophila aromatica ("Rice paddy herb") | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Angiosperms |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Eudicots |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Asterids |
อันดับ: | Lamiales |
วงศ์: | Plantaginaceae |
สกุล: | Limnophila |
สปีชีส์: | L. aromatica |
ชื่อทวินาม | |
Limnophila aromatica (Lam.) Merr. | |
ชื่อพ้อง | |
Limnophila aromaticoides Yang & Yen |
ผักแขยง [ขะ-แยง][1] (ชื่อวิทยาศาสตร์: Limnophila geoffrayi หรือ Limnophila aromatica)[2] ชื่ออื่น ๆ กะออม, กะแยง (ตะวันออกเฉียงเหนือ) กะแยงแดง (อุบลราชธานี) ผักพา (เหนือ) เป็นพืชในวงศ์ Scorphulariaceae หรือ Plantaginaceae ไม้ล้มลุกฤดูเดียว ลำต้นเรียวยาว ตั้งตรง กลมกลวง อวบน้ำ มีขนแน่น ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม ทุกข้อ ตลอดลำต้น รูปขอบขนานแกมใบหอกขอบใบหยักมนแกมฟันเลื่อย ปลายใบแหลม โคนใบห่อติดลำต้น ดอกช่อกระจะออกที่ซอกใบและปลายกิ่ง ออกพร้อมกันทั้งต้น ดอกย่อย 2–10 ดอก ดอกเป็นรูปหลอดคล้ายถ้วย รูปกรวย ปลายบานเล็กน้อย แยกออกเป็น 4 กลีบ กลีบดอกสีม่วง ผิวด้านนอกเรียบ ผิวด้านในตอนล่างของกลีบดอกมีขน ผลแห้งแตกได้ รูปกระสวย เมล็ดรูปร่างกลมรี สีน้ำตาลดำ ขนาดเล็กมาก ชอบขึ้นบริเวณที่มีน้ำขังเล็กน้อย[3]
ผักแขยงเป็นเป็นวัชพืชในนาข้าว ทั้งต้นมีกลิ่นหอมฉุน เผ็ดร้อนชาวอีสานใช้ใส่ในแกงต้มปลา อ่อมต่าง ๆ มีกลิ่นหอม ช่วยดับกลิ่นคาว และเป็นพืชสมุนไพร ทางภาคอีสาน ใช้ ทั้งต้น เป็นยาขับน้ำนม ขับลม และเป็นยาระบายท้อง น้ำคั้นจากต้นใช้แก้ไข้ แก้คัน ฝี และกลาก แก้อาการบวม เป็นยาระบายอ่อน ๆ ต้นแห้ง ที่เก็บไว้นาน 1 ปี ต้มน้ำดื่ม แก้พิษเบื่อเมา[4]
ผักแขยง จัดเป็นผักพื้นบ้านที่สำคัญของภาคอีสาน แต่ไม่พบในพื้นที่ภาคใต้[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ อดุลย์ศักดิ์ ไชยราช (19 สิงหาคม 2021). "ผักแขยง รสชาติเผ็ด เป็นยาดีมีคุณค่า". เทคโนโลยีชาวบ้าน. สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2023.
- ↑ "ผักแขยง สรรพคุณและประโยชน์ของผักแขยง". สำนักงานเกษตรและสหกรณ์ จังหวัดสุรินทร์. 10 พฤศจิกายน 2020.
- ↑ "ผักแขยง". ฐานข้อมูลสมุนไพรไทยเขตอีสานใต้ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
- ↑ ประไพภัทร คลังทรัพย์ (19 มีนาคม 2020). "ผักแขยง กลิ่นแรงแต่ดีและมีประโยชน์". กองหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กรมวิทยาศาสตร์บริการ.
- ↑ "ทำความรู้จัก "ผักแขยง (กะแยง)" ผักพื้นบ้าน มากสรรพคุณ". สปริงกรีน อีโวลูชั่น.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Limnophila aromatica