เทียนดำ
หน้าตา
เทียนดำ | |
---|---|
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Angiosperms |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Eudicots |
อันดับ: | Ranunculales |
วงศ์: | Ranunculaceae |
สกุล: | Nigella |
สปีชีส์: | N. sativa |
ชื่อทวินาม | |
Nigella sativa L. | |
ชื่อพ้อง[1] | |
|
เทียนดำ ชื่อวิทยาศาสตร์: Nigella sativa หรือ black-cumin[2] อยู่ในวงศ์ Ranunculaceae เป็นพืชพื้นเมืองของซีเรียและเลบานอน เป็นไม้ล้มลุกอายุปีเดียว ลำต้นตั้งตรง มีขน ใบเดี่ยว ดอกเดี่ยว ออกที่ปลายยอดหรือซอกใบ ดอกขนาดใหญ่ สีขาวหรือสีฟ้าอมม่วง ผลเป็นผลแห้งแตกได้ มีเมล็ดหลายเมล็ด
การใช้ประโยชน์
[แก้]เมล็ดเทียนดำใช้เป็นเครื่องเทศในอาหารอินเดียและอาหารตะวันออกกลาง มีรสชาติคล้ายหอมใหญ่ พริกไทยดำและออริกาโน[3] เมล็ดแห้งใช้ปรุงรสแกง ใช้แต่งกลิ่นขนมปัง ใช้เป็นเครื่องเทศในอาหารเบงกอลรวมทั้งนาน[4]
ใช้เป็นยาขับเสมหะ ขับลมในลำไส้ แก้อาเจียน มีอนุพันธ์ของควิโนนหลายชนิด [5]
ระเบียงภาพ
[แก้]-
ผล
-
เมล็ด
-
ขนาดเมล็ด
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "The Plant List: A Working List of All Plant Species". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-12-21. สืบค้นเมื่อ 2015-11-02.
- ↑ "BSBI List 2007". Botanical Society of Britain and Ireland. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (xls)เมื่อ 2015-01-25. สืบค้นเมื่อ 2014-10-17.
- ↑ Bharat B Aggarwal. Molecular Targets and Therapeutic Uses of Spices. Google Books. p. 259. ISBN 978-981-4468-95-4. สืบค้นเมื่อ 4 January 2015.
- ↑ Bramen L (16 February 2011). "Nigella Seeds: What the Heck Do I Do with Those?". smithsonian.com. The Smithsonian Online. สืบค้นเมื่อ 4 January 2015.
- ↑ ชยันต์ พิเชียรสุนทร และ วิเชียร จีรวงศ์. คู่มือเภสัชกรรมแผนไทยเล่ม 5 คณาเภสัช. พิมพ์ครั้งที่ 2. กทม. อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง. 2548. หน้า 168