ยี่หร่า
หน้าตา
ยี่หร่า | |
---|---|
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Angiosperms |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Eudicots |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Asterids |
อันดับ: | Apiales |
วงศ์: | Apiaceae |
สกุล: | Cuminum |
สปีชีส์: | C. cyminum |
ชื่อทวินาม | |
Cuminum cyminum L.[1] |
เมล็ดยี่หร่า หรือ เทียนขาว ชื่อวิทยาศาสตร์: Cuminum cyminum อยู่ในวงศ์ Apiaceae เมื่อใช้เป็นเครื่องเทศเรียกยี่หร่า (cumin) มีถิ่นกำเนิดในบริเวณทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เป็นไม้ล้มลุก ไม่มีขน ดอกช่อแบบก้านซี่ร่ม ก้านช่อดอกยาว กลีบดอกสีขาวหรือสีชมพู ผลแบบผักชี มีรสเผ็ดร้อน ขม ใช้แก้ลม ดีพิการ ขับเสมหะ
ยี่หร่าใช้เป็นเครื่องเทศที่สำคัญในแกงกะหรี่และมัสมั่น อาหารไทยใช้ใบยี่หร่าในการปรุงแต่งกลิ่นอาหาร โดยคั่วเมล็ดโขลกผสมกับเครื่องแกง เช่นแกงกะหรี่ แกงเผ็ด แกงเขียวหวาน ส่วนต้นและรากตากให้แห้ง ช่วยย่อย ยาขับลม แก้ปวดท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ มีน้ำมันระเหยง่ายเรียกน้ำมันยี่หร่า (cumin oil) ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องหอม น้ำหอม เครื่องดื่มและยาขับลม สารสกัดด้วยเอทานอลจากผลและเมล็ดยับยั้งการเจริญและการงอกของถั่วเขียวผิวดำได้[2]
อ้างอิง
[แก้]- ชยันต์ พิเชียรสุนทร และ วิเชียร จีรวงศ์. คู่มือเภสัชกรรมแผนไทยเล่ม 5 คณาเภสัช. พิมพ์ครั้งที่ 2. กทม. อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง. 2548.หน้า 159 – 160
- ↑ "Cuminum cyminum information from NPGS/GRIN". www.ars-grin.gov. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-20. สืบค้นเมื่อ 13 March 2008.
- ↑ ศานิต สวัสดิกาญจน์. 2554. ผลของแอลลีโลพาธีของพืชสมุนไพร 6 ชนิดต่อการงอกและการเจริญเติบโตของถั่วเขียวผิวดำ. เรื่องเต็มการประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 49 1-4 ก.พ. 2554 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หน้า 419-428