ข้ามไปเนื้อหา

เทียนสัตตบุษย์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เทียนสัตตบุษย์
ภาพวาดใน ค.ศ. 1897[1]
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
อาณาจักร: พืช
Plantae
เคลด: พืชมีท่อลำเลียง
Tracheophyta
เคลด: พืชดอก
Angiosperms
เคลด: พืชใบเลี้ยงคู่แท้
Eudicots
เคลด: แอสเทอริด
Asterids
อันดับ: อันดับผักชี
วงศ์: วงศ์ผักชี
สกุล: Pimpinella

L.
สปีชีส์: Pimpinella anisum
ชื่อทวินาม
Pimpinella anisum
L.
ชื่อพ้อง[2]
ชื่อพ้อง
  • Anisum odoratum Raf.
  • Anisum officinale DC.
  • Anisum officinarum Moench
  • Anisum vulgare Gaertn.
  • Apium anisum (L.) Crantz
  • Carum anisum (L.) Baill.
  • Pimpinele anisa St.-Lag.
  • Ptychotis vargasiana DC.
  • Selinum anisum (L.) E.H.L. Krause
  • Seseli gilliesii Hook. & Arn.
  • Sison anisum (L.) Spreng.
  • Tragium anisum (L.) Link

เทียนสัตตบุษย์ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Pimpinella anisum) เป็นพืชล้มลุกปีเดียวในวงศ์ผักชี (Apiaceae) ความสูง 30-75 ซม. ใบเป็นใบเดี่ยว ขอบใบอาจหยักลึกเป็นแฉกแบบขนนก หรือเป็นรูปไข่ ดอกเป็นช่อแบบก้านซี่ร่มหลายชั้น กลีบดอกมี 5 กลีบ สีขาวอมเหลือง ผลเป็นผลแห้งรูปไข่ สีน้ำตาลอมเขียวปนเทา มีถิ่นกำเนิดในบริเวณเมดิเตอร์เรเนียนและเอเชียตะวันตกเฉียงใต้

การนำไปใช้

[แก้]
ผลเทียนสัตตบุษย์
น้ำมันเทียนสัตตบุษย์

เทียนสัตตบุษย์มีกลิ่นหอมและรสหวาน ใช้แต่งกลิ่นอาหาร ขนมหวาน ลูกกวาด ขนมปัง และเครื่องดื่ม นอกจากนี้ผลยังใช้เป็นยาขับเสมหะ ขับลม ขับเหงื่อ มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อราและใช้แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อในคนที่เป็นหอบหืด[3] ในประเทศอินเดียจะใช้ใบและรากเป็นเครื่องเทศ โดยเข้าเป็นเครื่องแกงแบบอินเดีย และใช้เมล็ดในการเพิ่มรสชาติให้กับซุป ซอสต่าง ๆ ขนมปัง เค้ก เป็นต้น[4]

ผลเทียนสัตตบุษย์มีน้ำมันระเหยง่ายร้อยละ 1.9 – 3.1 เมื่อนำมากลั่นด้วยไอน้ำ จะได้น้ำมันเทียนสัตตบุษย์ (anise oil) ซึ่งมีสารสำคัญคืออเนโทล (anethole) ร้อยละ 80-90 น้ำมันนี้ใช้แต่งกลิ่นอาหาร เครื่องดื่ม น้ำยาบ้วนปาก สบู่ เครื่องหอมอื่น ๆ และบุหงา[5] ใช้แต่งกลิ่น อาหาร เครื่องดื่ม ลูกกวาด สุรา ใช้เป็นยาแก้ท้องอืดท้องเฟ้อในเด็ก สุราที่ปรุงด้วยน้ำมันชนิดนี้เรียกสุราอาหนี[6]

อ้างอิง

[แก้]
  1. from Franz Eugen Köhlae, Köhlae's Medizinal-Pflanzen, 1897
  2. The Plant List, Pimpinella anisum L.
  3. "เทียนสัตตบุษย์ -- ไทยเกษตรศาสตร์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-02. สืบค้นเมื่อ 2015-04-13.
  4. สรรพคุณทางยาของเทียนสัตตบุษย์ | ThaiHerbal.org
  5. คำอธิบาย ตำราพระโอสถพระนารายณ์, ชยันต์ พิเชียรสุนทร และคณะ, หน้า 421, พ.ศ. 2544, สำนักพิมพ์อมรินทร์ กรุงเทพฯ
  6. ชยันต์ พิเชียรสุนทร และ วิเชียร จีรวงศ์. คู่มือเภสัชกรรมแผนไทยเล่ม 5 คณาเภสัช. พิมพ์ครั้งที่ 2. กทม. อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง. 2548. หน้า 189 - 190

อ่านเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]