ข้ามไปเนื้อหา

สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร)

พิกัด: 13°29′05″N 100°19′32″E / 13.484759°N 100.325636°E / 13.484759; 100.325636
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก หมอชิต 2)
สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร)
ข้อมูลทั่วไป
ชื่ออื่นหมอชิตใหม่, หมอชิต 2
ที่ตั้งถนนกำแพงเพชร 2, แขวงลาดยาว, เขตจตุจักร, กรุงเทพมหานคร ไทย
พิกัด13°48′50″N 100°32′59″E / 13.8138609°N 100.5496779°E / 13.8138609; 100.5496779
เจ้าของบริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.)
รัฐวิสาหกิจในกำกับของ
กรมการขนส่งทางบก
กระทรวงคมนาคม
เช่าพื้นที่จาก
การรถไฟแห่งประเทศไทย
สายรถโดยสารประจำทางภาคเหนือ, ภาคกลาง, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ป้ายรถโดยสารประจำทาง126 ชานชลา
ผู้ให้บริการรถโดยสารประจำทางบริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.)
การเชื่อมต่อ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ:
สาย 3, 16, 49, 77, 96, 104, 134, 136, 138, 145, 157, 170, 509, 517, 529 และ 536
โครงสร้าง
ที่จอดรถมี
ทางเข้าออกสำหรับผู้พิการมี
ประวัติ
เริ่มเปิดให้บริการ8 เมษายน พ.ศ. 2541; 26 ปีก่อน (2541-04-08)
ที่ตั้ง
แผนที่

สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) หรือเรียกว่า หมอชิตใหม่ หรือที่เรียกกันติดปากว่า หมอชิต 2 ตั้งอยู่บนถนนกำแพงเพชร 2 แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร ในพื้นที่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย บริหารงานโดยบริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.)[1] ถือว่าเป็นสถานีขนส่งผู้โดยสารที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย[2]

สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) เป็นอาคารขนาด 4 ชั้น เนื้อที่ประมาณ 27,000 ตารางเมตร[3] บริการรถโดยสารปรับอากาศสำหรับเดินทางไปยังพื้นที่ ภาคกลาง, ภาคเหนือ, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ภาคอีสาน) ของประเทศไทย ในส่วนภาคตะวันออก และภาคใต้ จะมีให้บริการในบางเส้นทาง และมีการให้บริการรถโดยสารประจำทางไปยังประเทศเพื่อนบ้านบางประเทศ[4]

ประวัติ

[แก้]

แต่เดิมสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) ตั้งอยู่ในบริเวณพื้นที่ศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟฟ้าบีทีเอส และลานจอดรถจอดแล้วจรใกล้เคียงกับสถานีหมอชิตของรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท ซึ่งเป็นพื้นที่ของกรมธนารักษ์ จำนวน 63 ไร่ เปิดทำการครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2503 ในชื่อว่าสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (หมอชิต) หรือรู้จักกันในชื่อว่าสถานีขนส่งหมอชิต[5]

พื้นที่สถานีขนส่งหมอชิตเก่าในปัจจุบัน ภายใต้การดูแลของรถไฟฟ้าบีทีเอส

ต่อมาได้มีมติคณะรัฐมนตรีในปี พ.ศ. 2539 ให้กรมการขนส่งทางบกส่งมอบพื้นที่เนื้อที่ 63 ไร่ 2 งาน 65 ตารางวา คืนให้กับกรมธนารักษ์เพื่อนำไปพัฒนาพื้นที่ โดยกรมธนารักษ์ได้เซ็นสัญญากับบริษัท บางกอกเทอร์มินอล จำกัด (BKT) เพื่อก่อสร้างและพัฒนาโครงสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานในปี พ.ศ. 2539 หลังจากบริษัทชนะการประมูลมูลค่า 550 ล้านบาทในการก่อสร้างอาคารสำนักงาน สถานีขนส่ง พื้นที่เชิงพาณิชย์ และพื้นที่จอดรถ[6]

ในปี พ.ศ. 2541 สถานีขนส่งหมอชิตต้องย้ายจากพื้นที่เดิมมายังพื้นที่ปัจจุบัน เนื่องจากความต้องการใช้พื้นที่ของบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เพื่อใช้เป็นพื้นที่ก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟฟ้าบีทีเอสและที่ตั้งของสำนักงานใหญ่[7] กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลังจึงได้เปลี่ยนไปให้บีทีเอสเช่าใช้งานต่อ รวมถึงเพื่อแก้ไขปัญหาความแออัดของการจราจร[8] และเรียกสถานีขนส่งผู้โดยสารแห่งใหม่ว่า หมอชิตใหม่[9] หรือ หมอชิต 2[10] เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2541 ตั้งอยู่ที่ 999 ถนนกำแพงเพชร 2 แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร บนที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทยในรูปแบบของการเช่า เป็นอาคารขนาด 4 ชั้น เนื้อที่ประมาณ 27,000 ตารางเมตร[3] เนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 73 ไร่[11] พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน[3]

ต่อมาในปี พ.ศ. 2560 กระทรวงคมนาคมได้จัดทำแผนระบบขนส่งย่านพหลโยธิน และมีมติของคณะกรรมการคณะกรรมการขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะพื้นที่บางซื่อ[12] ให้ย้ายสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) ไปยังพื้นที่แห่งใหม่คือบริเวณหมอชิตเก่า เพื่อคืนพื้นที่ให้กับการรถไฟแห่งประเทศไทยนำไปก่อสร้างศูนย์ซ่อมรถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดง และก่อสร้างเป็นส่วนหนึ่งของสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์[13]

โครงการดังกล่าวยุติลงในปี พ.ศ. 2563 จากการเปิดเผยของ นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง ในฐานะประธานกรรมการบริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) ว่าจากการหารือกับนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม มีความเห็นร่วมกันว่าจะไม่ย้ายสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) ไปยังที่ตั้งใหม่ เพื่อประโยชน์ของประชาชนและลดภาระค่าใช้จ่ายในการเคลื่อนย้าย ซึ่งตัวสถานีมีศักยภาพในการเชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชนอื่นได้ในพื้นที่โดยรอบสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ และมีการต่อรองลดการเช่าพื้นที่จากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ลงจากเดิม 73 ไร่ เหลือ 58 ไร่ เพื่อลดค่าใช้จ่ายลง และพัฒนาพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น โดยแผนการเชื่อมต่อจะแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะแรกจะใช้รถโดยสารไฟฟ้าวิ่งเป็นชัตเติ้ลบัสรอบสถานี และระยะที่สองจะสร้างทางเดินลอยฟ้าเชื่อมต่อระหว่างสถานีขนส่งผู้โดยสารกับสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ ระยะทาง 800 เมตร[11]

ส่วนของการใช้งานสถานีขนส่งในโครงการของบางกอกเทอร์มินอลนั้น บริษัท ขนส่ง จำกัด ได้หารือร่วมกับทางกรมธนารักษ์ว่าจะสงวนสิทธิ์พื้นที่ประมาณ 11,200 ตารางเมตร เพื่อย้ายการเดินรถโดยสารขนาดเล็ก (มินิบัส) ที่ใช้ระยะทางเดินทางไม่เกิน 300 กิโลเมตร ไปใช้พื้นที่ดังกล่าวในการให้บริการ ซึ่งต้องรอความชัดเจนของโครงการและรอการก่อสร้างโครงการให้แล้วเสร็จจึงจะเริ่มให้บริการตามแผนดังกล่าว[14]

ที่ตั้ง

[แก้]

สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) ตั้งอยู่ในแขวงลาดยาว เขตจตุจักร เชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชนหลัก 3 รูปแบบด้วยกัน ได้แก่ รถโดยสารประจำทางท้องถิ่น (ขสมก.) รถไฟฟ้าบีทีเอส และรถไฟฟ้ามหานคร

สถานีรถไฟฟ้าที่ใกล้เคียงคือ

การเดินทางจากสถานีรถไฟฟ้าทั้งสามสถานีไปยังสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) สามารถเดินทางได้ด้วยรถแท็กซี่ รถมอเตอร์ไซค์รับจ้าง หรือด้วยการเดิน ระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร สำหรับรถโดยสารประจำทางที่ผ่าน ประกอบไปด้วย ฝั่งจตุจักร รถประจำทางสาย 3 และ 77 และบริเวณอื่นที่จะผ่านเข้าไปยังสถานีขนส่งคือสาย 96, 104, 134, 136, 138, 145, 517 และ 529

สำหรับรถโดยสารประจำทางในพื้นที่กรุงเทพที่ผ่านเข้ามายังสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) ประกอบไปด้วยสาย 3, 16, 49, 77, 96, 104, 134, 136, 138, 145, 157, 170, 509, 517, 529 และ 536 สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่รายชื่อด้านล่าง

พื้นที่ใกล้เคียง

[แก้]

ในพื้นที่ใกล้เคียงสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) เป็นที่ตั้งของตลาดนัดจตุจักร ซึ่งเป็นตลาดนัดยอดนิยมของนักท่องเที่ยวและประชาชนในพื้นที่ที่มีสินค้ามากมายจำหน่าย เช่น เสื้อผ้า อาหาร ขนมหวาน และพื้นที่การค้าอื่น ๆ ใกล้เคียง เช่น เจเจมอลล์, ยูเนียนมอลล์ และเซ็นทรัล ลาดพร้าว

แผนผังและบริการ

[แก้]

แผนผัง

[แก้]

สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) มีพื้นที่รวม 58 ไร่[11] มีการแบ่งส่วนของผู้โดยสารขาเข้าและผู้โดยสารขาออกแยกจากกัน ตั้งติดอยู่กับถนนกำแพงเพชร 2 ทั้งสองด้าน และติดอยู่กับพื้นที่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย หลังสวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ อาคารผู้โดยสารแบ่งออกเป็น 4 ชั้นตามปลายทางของรถโดยสาร ได้แก่ ชั้นที่ 1 สำหรับภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และชานชลา ชั้นที่ 2 และ 4 เป็นที่ตั้งของสำนักงานบริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) และชั้น 3 เป็นส่วนของสำหรับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

อาคารมีการติดตั้งเครื่องปรับอากาศทั่วทั้งอาคาร ออกตั๋วโดยสารผ่านบูทจำหน่ายตั๋ว มีลิฟต์ให้บริการ 4 ตัว มีบันไดเลื่อนจำนวน 5 ตัว[16] พร้อมบันไดหนีไฟ มีจุดบริการแท็กซี่จำนวน 3 จุด 1 จุดในพื้นที่ผู้โดยสารขาเข้า และ 2 จุดในพื้นที่ผู้โดยสารขาออก มีระบบรักษาความปลอดภัยตลอด 24 ชั่วโมง[1] มีชานชลาเทียบรถโดยสารทั้งหมด 126 ชานชลา เป็นชานชลาหมายเลขปกติ 122 ชานชลา และชานชลา ก. (1ก.-4ก.) จำนวน 4 ชานชลา[17]

บริการ

[แก้]

สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) มีโซนพักรอรถโดยสารในห้องปรับอากาศ[18] มีศูนย์อาหารทั้งบริเวณชั้นที่ 1 และชั้นที่ 3 ให้บริการ มีเคาท์เตอร์จำหน่ายตั๋วตั้งอยู่ในพื้นที่ชั้นที่ 1 สำหรับการเดินทางในภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และชั้นที่ 3 สำหรับภาคตะวันออกเฉียงเหนือและเส้นทางไกลอื่น ๆ มีบริการรับฝากกระเป๋าบนชั้นที่ 4 ใกล้กับทางเข้าศูนย์อาหาร ให้บริการตั้งแต่เวลา 5.00 น. ถึง 22.00 น.[19] นอกจากนี้ยังมีร้านสะดวกซื้อและร้านนวดสปาให้บริการในชั้นที่ 1 อีกด้วย

เส้นทางเดินรถ

[แก้]

สามารถตรวจสอบเส้นทางเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของบริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) และบริษัทที่ได้สัมปทานเดินรถร่วมบริการในแต่ละภูมิภาค

รถโดยสารประจำทางสายกรุงเทพฯ - บุรีรัมย์
เส้นทางที่เป็นที่นิยม
จากกรุงเทพ
ปลายทาง เวลา ราคา
เชียงใหม่ 06:00–21:35 น. 594 บาท
พิษณุโลก 10:00–23:30 น. 320 บาท
เชียงราย 07:00–20:35 น. 626 บาท
นครราชสีมา 04:00–23:00 น. 227 บาท
สุโขทัย 07:00–21:00 น. 365 บาท
ไปกรุงเทพ
เริ่มต้นจาก เวลา ราคา
เชียงใหม่ 07:30–20:05 น. 572 บาท
พิษณุโลก 08:30–23:45 น. 320 บาท
เชียงราย 13:00–18:30 น. 698 บาท
นครราชสีมา 00:20–21:40 น. 227 บาท
สุโขทัย 08:00–21:10 น. 389 บาท

เส้นทางระหว่างประเทศ

[แก้]

เส้นทางรถโดยสารประจำทางที่ให้บริการเชื่อมต่อระหว่างกรุงเทพมหานครและประเทศเพื่อนบ้าน

เส้นทางระหว่างประเทศ
สถานีในไทย เที่ยวไป สายที่ เส้นทาง ประเทศเพื่อนบ้าน เที่ยวกลับ ราคา
สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) 20.00 น. 6 กรุงเทพฯ–เวียงจันทน์[20] เวียงจันทน์ (ลาว) 18.00 น. 900 บาท
20.30, 21.00 น. 10 กรุงเทพฯ–ปากเซ[21] ปากเซ (ลาว) 16.00,17.00 น. 900 บาท
08.00, 09.00 น. 12 กรุงเทพฯ–อรัญประเทศ–ปอยเปต–เสียมราฐ[22] เสียมราฐ (กัมพูชา) 08.00, 09.00 น. 750 บาท
05.00 น. 13 กรุงเทพฯ–อรัญประเทศ–ปอยเปต–พระตะบอง–พนมเปญ[23] พนมเปญ (กัมพูชา) 06.00 น. 900 บาท

ระบบขนส่งมวลชนที่เชื่อมต่อกับสถานี

[แก้]

ระบบขนส่งมวลชนเชื่อมต่อกับสถานีโดยตรงมีเพียงรถโดยสารประจำทางที่ให้บริการรับส่งและเชื่อมต่อสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) กับขนส่งมวลชนอื่นและพื้นที่ส่วนอื่น ๆ ของกรุงเทพมหานคร ประกอบไปด้วย

องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ

สีม่วง : เขตการเดินรถที่ 1
สีเขียว : เขตการเดินรถที่ 2
สีแดง : เขตการเดินรถที่ 3
สีส้มแดง : เขตการเดินรถที่ 4
สีชมพู : เขตการเดินรถที่ 5
สีเหลือง : เขตการเดินรถที่ 6
สีนํ้าเงิน : เขตการเดินรถที่ 7
สีนํ้าตาล : เขตการเดินรถที่ 8

รถเอกชน

สีกรมท่า : เส้นทางของ บจก.ไทยสมายล์บัส (และบริษัทในเครือ)

อู่หมอชิต (ด้านใน)

[แก้]

องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ

[แก้]
  • Handicapped/disabled access เส้นทางที่มีรถรองรับวีลแชร์
สายที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด เส้นทาง เวลาเดินรถเที่ยวแรก (ต้นทาง) เวลาเดินรถเที่ยวแรก (หมอชิต 2) เวลาเดินรถเที่ยวสุดท้าย (ต้นทาง) เวลาเดินรถเที่ยวสุดท้าย (หมอชิต 2) ประเภทของรถที่ให้บริการ ภาพประกอบ ผู้ให้บริการ หมายเหตุ
5 (1) อู่กำแพงเพชร สะพานพระพุทธยอดฟ้า

5
อู่กำแพงเพชร
สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร)
วงศ์สว่าง
วัดสร้อยทอง
บางโพ
เตาปูน
สะพานแดง
ราชวัตร
วัดเบญจมบพิตร
นางเลิ้ง
ผ่านฟ้าน้ำ
จักรวรรดิ์
สะพานพุทธ

04:00 น. XX:XX น. 22:00 น. XX:XX น. 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง
ขสมก.
1-36 (26) (3) รถโดยสารประจำทาง สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) รถโดยสารประจำทาง อู่มีนบุรี

26 (1-36)
มีนบุรี
แฟชั่นไอส์แลนด์
ถ.รามอินทรา
บางเขนย่าน
ม.เกษตร
กรุงเทพอภิวัฒน์
สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร)

04:20 น. 05:00 น. 22:00 น. 22:50 น. 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)

00:30 น. 01:10 น. 03:20 น. 04:00 น.
1-42 (96) (1)

96 (1-42)
มีนบุรี
แฟชั่นฯ
ถ.นวมินทร์
ท่าเรือเดอะมอลล์บางกะปิ
ถ.ลาดพร้าว
จตุจักร
สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร)

04:00 น. 05:00 น. 22:30 น. 00:00 น. 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง
2-20 (134) (1) รถโดยสารประจำทาง อู่บัวทองเคหะ

134
บัวทองเคหะ
หมู่บ้านบัวทอง
เซ็นทรัลเวสท์เกต
แยกพระนั่งเกล้า
เดอะมอลล์งามวงศ์วาน
วัดเสมียนนารี
ชินวัตร 3
บีทีเอสจตุจักร
สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร)

03:20 น. 04:20 น. 22:20 น. 23:40 น. 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีครีม-น้ำเงิน

23:00 น. 00:10 น. 00:10 น. 01:00 น. 01:20 น. 02:30 น. 02:20 น. 03:30 น.
2-37 (3) (1) รถโดยสารประจำทาง อู่กำแพงเพชร คลองสาน

3
อู่กำแพงเพชร
สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร)
สะพานควาย
ศรีย่าน
เทเวศร์
บางลำพู
สนามหลวง
วงเวียนใหญ่
ไอคอนสยาม
คลองสาน

04:20 น. 05:00 น. 22:00 น. 22:50 น. 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)

00:30 น. 01:10 น. 03:20 น. 04:00 น.
2-43 (49) (1) สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง)

49
อู่กำแพงเพชร
สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร)
ประชานุกูล
พระราม 7
ศรีย่าน
บางขุนพรหม
วรจักร
สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง)

XX:XX น. XX:XX น. XX:XX น. XX:XX น. 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)

2-52 (204) (2) รถโดยสารประจำทาง สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) เรือข้ามฟาก ท่านํ้าราชวงศ์

204
สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร)
เจเจมอลล์
ตึกแดงจตุจักร
เอ็มอาร์ทีกำแพงเพชร
สวนจตุจักร
บีทีเอสจตุจักร/เอ็มอาร์ทีจตุจักร
ธ.ทหารไทยธนชาต
กรมการขนส่งทางบก
ตลาดห้วยขวาง
ตลาดดินแดง
ประตูน้ำ
เซ็นทรัลเวิลด์/บิ๊กซีราชดำริ
บีทีเอสสยาม
สยามสแควร์วัน/สยามพารากอน
บีทีเอสสนามกีฬาแห่งชาติ
โรงเรียนเทพศิรินทร์
ท่าเรือยศเส
คลองถม (เสือป่า)
ท่าน้ำราชวงศ์

05:00 น. 06:00 น. 19:40 น. 21:00 น. 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)

3-18 (145) (3) รถโดยสารประจำทาง อู่แพรกษาบ่อดิน

145
แพรกษา
แยกเทพารักษ์
พัฒนาการ
ทางด่วน
ดินแดง
สุทธิสาร
สวนจตุจักร
สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร)

02:30 น. 03:40 น. 22:00 น 00:00 น. 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู) 3.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้แก๊สธรรมชาติ)

มีรถให้บริการตลอดคืน
00:00 น. 01:30 น. 01:30 น. 03:00 น. 02:00 น. 03:10 น.
3-19E (145E) (3)

3-19E
ปากน้ำ
สวนจตุจักร
สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร)

02:30 น. 03:40 น. 22:00 น 00:00 น. 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง
3-24E (536E) (2) รถโดยสารประจำทาง อู่ฟาร์มจระเข้สมุทรปราการ

536
ปากน้ำ
สำโรง
ซ.แบริ่ง(บีทีเอส)
บางนา(ทางด่วน)
ประตูน้ำ
อนุสาวรีย์ชัยฯ
รพ.พระมงกุฎ
รร.สามเสน
สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร)

05:00 น. 06:00 น. 19:40 น. 21:00 น. 1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)
3-47 (136) (1) รถโดยสารประจำทาง อู่คลองเตย

136 (3-47)
คลองเตย
อโศก
รัชดาภิเษก
มักกะสัน
ห้วยขวาง
สุทธิสาร
รัชโยธิน
จตุจักร
สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร)

05:00 น. 06:00 น. 19:40 น. 21:00 น. 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง
4-22E (138) Handicapped/disabled access (1) รถโดยสารประจำทาง อู่ราชประชา

138
(ราชประชา)
ราชประชา
ครุใน
สามแยกพระประแดง
วัดสน
รพ.ทหารผ่านศึก
ร.ร.สุรศักดิ์มนตรี
ม.หอการค้าไทย
สโมสรทหารบก
แยกสุทธิสาร
ม.เซนต์จอห์น
ธ.ทหารไทยธนชาต
บีทีเอสจตุจักร/เอ็มอาร์ทีจตุจักร
เอ็มอาร์ทีกำแพงเพชร
ตึกแดงจตุจักร
เจเจมอลล์
สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร)

05:00 น. 06:00 น. 19:40 น. 21:00 น. 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู) 3.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้แก๊สธรรมชาติ)

4-33E Handicapped/disabled access (1) รถโดยสารประจำทาง ท่าน้ำพระประแดง

4-33

ท่าน้ำพระประแดง
สามแยกพระประแดง
วัดสน
ทางด่วน
อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
จตุจักร
นครชัยแอร์
กม.11
สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร)

05:00 น. 06:00 น. 19:40 น. 21:00 น. 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)

4-60 (509) (2) ม.เศรษฐกิจ (อัสสัมชัญธนบุรี)

509
ม.เศรษฐกิจ
บางแค
ท่าพระ
ไฟฉาย
บางขุนนนท์
พาต้า
ถ.ราชดำเนิน
กระทรวงศึกษาธิการ
รพ.รามาฯ
อนุสาวรีย์ชัยฯ
ซ.อารีย์
สะพานควาย
เจเจมอลล์
สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร)

00:00 น. 00:00 น. 00:00 น. 00:00 น. 1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)
A1 Handicapped/disabled access (1) ท่าอากาศยาน ท่าอากาศยานดอนเมือง

A1
ท่าอากาศยานดอนเมือง
ขึ้นโทลล์เวย์
สวนจตุจักร
เจเจมอลล์
สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร)

05:00 น. 06:00 น. 19:40 น. 21:00 น. 1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้แก๊สธรรมชาติ)


อู่หมอชิต 2 (ด้านใน) - สาย 77 96 134 136 138 145 509 536

อู่หมอชิต (ด้านนอก)

[แก้]

องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ

[แก้]
  • Handicapped/disabled access เส้นทางที่มีรถรองรับวีลแชร์
สายที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด ประเภทของรถที่ให้บริการ ผู้ให้บริการ หมายเหตุ
3 (2-37) (1) สถานีรถไฟกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ คลองสาน 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)

ขสมก.
5 (1) สะพานพระพุทธยอดฟ้า 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง
49 (2-43) (1) สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)

A1 Handicapped/disabled access (1) รถโดยสารประจำทาง สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) ท่าอากาศยาน ท่าอากาศยานดอนเมือง 1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้แก๊สธรรมชาติ)

รถเอกชน

[แก้]
สายที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด ประเภทของรถที่ให้บริการ ผู้ให้บริการ หมายเหตุ
104 Handicapped/disabled access ปากเกร็ด รถโดยสารประจำทาง สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีน้ำเงิน (ใช้พลังงานไฟฟ้า) บจก.สมาร์ทบัส (บริษัทในเครือไทยสมายล์บัส) ผ่านถนนงามวงศ์วาน

มีรถให้บริการตลอดคืน

1-6 (52) Handicapped/disabled access ผ่านถนนวิภาวดีรังสิต
1-56 (517) Handicapped/disabled access สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง บจก.ไทยสมายล์บัส
2-48 (122) Handicapped/disabled access แฮปปี้แลนด์ บจก.สมาร์ทบัส
(เครือไทยสมายล์บัส)
4-29E (529E) Handicapped/disabled access แสมดำ บจก.ไทยสมายล์บัส
4-49 (170) Handicapped/disabled access บรมราชชนนี สถานีรถไฟกลางกรุงเทพอภิวัฒน์
555 (S6) Handicapped/disabled access ท่าอากาศยาน ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ รถโดยสารประจำทาง สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) บจก.ราชาโร้ด
(เครือไทยสมายล์บัส)

อู่หมอชิต 2 (ด้านนอก) - สาย 3 16 49 104 122 170 517 A1

การวิพากษ์วิจารณ์

[แก้]

เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2566 นายศุภณัฐ มีนชัยนันท์ สมาชิกผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขต 9 พรรคก้าวไกล ได้ออกมาเปิดเผยถึงประเด็นปัญหาของสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) เกี่ยวกับความปลอดภัยและการชำรุดของสิ่งอำนวยความสะดวกภายในสถานีที่ขาดการดูแลและซ่อมบำรุงจนทำให้เกิดความไม่สะดวกกับผู้มาใช้บริการ ซึ่งสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) เป็นสถานีขนส่งผู้โดยสารหลักอีกแห่งหนึ่งของกรุงเทพมหานครที่มีผู้ใช้บริการในช่วงเทศกาลสูงถึง 60,000-100,000 คน / วัน และกล่าวหาว่าพรรคเพื่อไทยที่ดูแลกระทรวงคมนาคมไม่ดำเนินการดูแลแก้ไขปัญหาดังกล่าว[16] ระบุเป็นข้อปัญหาจำนวน 14 ข้อ[16] ประกอบไปด้วย

  1. บันไดเลื่อน 5 ตัว ทั้งหมดเสีย ไม่สามารถใช้การได้
  2. ไม่มีลิฟต์โดยสารให้บริการ
  3. อุปกรณ์ดับเพลิงประจำสถานีเสียหาย 11 จุดจากทั้งหมด 15 จุด
  4. ห้องปฐมพยาบาลในสถานียังไม่เปิดให้บริการ
  5. ห้องให้นมบุตรสำหรับผู้โดยสารยังไม่เปิดให้บริการ
  6. พื้นที่ท่าเทียบรถไม่มีระบบปรับอากาศ ทำให้ประชาชนต้องสูดดมควันไอเสียจากรถและฝุ่นละออง PM 2.5
  7. เครื่องจำหน่ายตั๋วอัตโนมัติไม่มีผู้ใช้งานทำให้สูญเสียงบประมาณโดยใช่เหตุ
  8. ทางเดินเท้าไม่ใช้การออกแบบแบบอารยสถาปัตย์ (Universal Design) ที่เอื้อต่อคนพิการ และลำบากต่อบุคคลทั่วไป
  9. แสงสว่างไม่เพียงพอ ทำให้ขาดความปลอดภัย มีจุดเสี่ยงภัยอยู่หลายจุด
  10. มีพื้นที่ทิ้งร้างจนมีผู้บุกรุกไปอาศัยอยู่
  11. ห้องน้ำมีสภาพไม่ดีและมีกลิ่นไม่พึงประสงค์
  12. ป้ายบอกทางออกแบบไม่ดี ทำให้เกิดความสับสนทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ
  13. การคิดค่าบริการเกินกว่ากฎหมายกำหนดของรถแท็กซี่และมอเตอร์ไซค์รับจ้างในพื้นที่
  14. ขาดการเชื่อมต่อขนส่งมวลชนจากตัวสถานีไปยังสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส

ซึ่งข้อปัญหาดังกล่าวมีการแจ้งไปยังรัฐบาลตั้งแต่ 3 เดือนก่อน แต่ก็ยังไม่มีการดำเนินการแก้ไขปรับปรุงแต่อย่างใด และแสดงความกังวลว่าสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) เป็นเหมือนกับหน้าตาของประเทศอีกด้าน เนื่องจากเป็นศูนย์กลางการเดินทางทั้งของชาวไทยและชาวต่างชาติ จึงอยากให้ช่วยดูแลและปรับปรุงให้ดีขึ้น รวมถึงมีข้อร้องเรียนเพิ่มเติมจากการลงพื้นที่ไปดูสถานีล่าสุดว่ามีปัญหาของการขายตั๋วผี ที่ขายตั๋วโดยสารรถโดยสารระหว่างจังหวัดเกินราคาที่กฎหมายกำหนด และที่นั่งพักคอยที่ไม่เพียงพอ[16]

ในขณะที่ บริษัท ขนส่ง จำกัด โดย นางสาวระพิพรรณ วรรณพินทุ รักษาการแทนกรรมการผู้จัดการใหญ่ ได้ออกมาชี้แจงถึงประเด็นปัญหาดังกล่าว ว่าสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) อยู่ภายใต้การดูแลของบริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจในประเภทจดทะเบียนบริษัท เพื่อบริการประชาชนแบบไม่ขอรับการสนับสนุนงบประมาณแผ่นดิน และเช่าพื้นที่ดังกล่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทยในการดำเนินงานสถานีขนส่ง ได้ชี้แจงถึงประเด็นปัญหาดังกล่าวทั้ง 14 ข้อ[1]

ส่วนของระบบโครงสร้างพื้นฐานที่ชำรุด เช่น บันไดเลื่อน, ห้องปฐมพยาบาล, ห้องให้นมบุตร, จุดดับเพลิง และไม่มีเครื่องปรับอากาศบริเวณท่าเทียบรถ ว่าได้ใช้งบประมาณของบริษัทในการดำเนินการซ่อมบำรุงโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ มาตลอด ส่วนของบันไดเลื่อนมีการใช้งานมานานกว่า 26 ปีตั้งแต่เริ่มใช้สถานี ทำให้เมื่อชำรุดทรุดโทรมจึงไม่สามารถหาอะไหล่ทดแทนได้ แม้บางตัวจะใช้งานได้แต่ก็จะปิดในช่วงเทศกาลด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัย ส่วนของลิฟท์ จุดดับเพลิง และเครื่องปรับอากาศยืนยันว่าสามารถใช้งานได้ทุกจุด ห้องปฐมพยาบาล ห้องให้นมบุตร สามารถใช้งานได้ เพียงแต่ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ประจำห้อง เพราะหาเปิดอยู่ตลอดอาจเป็นจุดเสี่ยงในการก่อเหตุอาชญากรรม ในขณะที่พื้นที่ที่มีการทิ้งร้างนั้นเป็นพื้นที่พาณิชย์ อยู่นอกบริเวณอาคารสถานี เดิมใช้เชื่อมต่อกับเขตเดินรถที่ 8 ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) แต่ไม่มีผู้เช่าใช้งานต่อในช่วงปี พ.ศ. 2563-2566 จึงได้ปิดทำการบริเวณดังกล่าวเพื่อเตรียมรื้อถอนเพื่อก่อสร้างเป็นศูนย์กลางการขนส่งคมนาคม (Transportation Hub) ตามนโยบายรัฐบาลซึ่งอยู่ระหว่างการจัดทำผังและแบบในการพัฒนา จะแล้วเสร็จภายใน 1 ปี[1]

ส่วนของการบริการและการเชื่อมต่อของผู้โดยสาร บขส. ได้ชี้แจงว่าสามารถเดินทางเข้าสู่สถานีได้จากระบบขนส่งมวลชนสาธารณะได้จากรถประจำทางหลายสาย และได้ดำเนินการตามนโยบายรัฐบาลในการเชื่อมโยงกับ รฟท. ในการหยุดส่งผู้โดยสารขาเข้าเชื่อมโยงไปยังรถไฟที่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ ซึ่งดำเนินการมาตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2566 และมีผู้ใช้บริการจำนวนมาก และประสานงานกับ ขสมก. ให้เข้ามาเทียบรถในบริเวณสถานีจำนวน 12 สาย เริ่มทดลองให้บริการในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 มีผู้ใช้บริการมากถึง 77,000 ราย[1] และจะมีการเพิ่มสายเข้ามาให้บริการในอนาคต[10] ปัญหาส่วนของแท็กซี่และรถจักรยานยนต์รับจ้างเถื่อนที่เข้ามาให้บริการนั้นเชื่อมโยงกับปัญหาผู้มีอิทธิพล บขส. ได้ประสานงานกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาดำเนินการแก้ไขปัญหาและจับกุมผู้กระทำความผิด ซึ่งบริษัทจะดำเนินการอย่างเด็ดขาด[1]

อีกประเด็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการให้บริการเนื่องจากบริษัทประสบปัญหาขาดทุนในช่วงเวลา 3 ปีที่ผ่านมาจากทั้งปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด-19 และความนิยมในการใช้บริการลดลง ซึ่งบริษัทพึ่งจะกลับมาทำกำไรได้ในปี พ.ศ. 2566 โดยจะดำเนินการปรับปรุงข้อปัญหาตามที่ได้รับแจ้งมาและพัฒนาบริการในทุก ๆ ด้านให้ดีขึ้น[1]

สถานที่สำคัญใกล้เคียง

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 "บขส.แจง ปม ส.ส.ก้าวไกล แฉ 14 ข้อความพังหมอชิต 2". mgronline.com. 2023-12-29.
  2. "เปิดตำนาน "หมอชิต" สถานีขนส่งที่ใหญ่ที่สุดในไทย". เนชั่นทีวี. 2019-11-12.
  3. 3.0 3.1 3.2 "เกี่ยวกับ - บริษัท ขนส่ง จำกัด - องค์กร - MOT Data Catalog". datagov.mot.go.th.
  4. "การเดินรถระหว่างประเทศ - บขส". www.transport.co.th.
  5. "จุดกำเนิดเครือข่ายการเดินทางด้วยรถโดยสารประจำทาง และสถานีขนส่งในกรุงเทพฯ". www.silpa-mag.com.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  6. ฐานเศรษฐกิจ (2023-12-13). "บขส.ฝันค้าง แผนย้ายสถานีหมอชิต 2 ส่อวืด". thansettakij.
  7. "เปิดไทม์ไลน์ ทำไมหมอชิตถึงร่อนเร่". www.ddproperty.com.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  8. "ทำความรู้จัก ประวัติ หมอชิต : ที่มา หมอชิต 2 สถานีขนส่งที่ใหญ่ที่สุดในไทย". springnews. 2023-12-29.
  9. "เล่าด้วยภาพ หมอชิตใหม่ หมอชิตเก่า หมอชิตจะใหม่?". THAIRATH Money.
  10. 10.0 10.1 "หยุดปีใหม่ 67 กลับหมอชิต 2 โปรดทราบ ต่อรถ ขสมก.ที่ชานชาลาขาเข้า ไม่ต้องเดินไกลอีก". mgronline.com. 2023-12-27.
  11. 11.0 11.1 11.2 "บขส. พับแผนย้าย หมอชิต 2 รอเชื่อมต่อระบบราง-ขนส่งสาธารณะ". bangkokbiznews. 2020-07-27.
  12. "ย้าย บขส.กลับหมอชิตเก่า ร่วมโครงการ BKT พร้อมให้บริการ 2570". Thai PBS.
  13. "ย้อน "หมอชิตเก่า" เล่าความหลัง หาเหตุผลย้าย "หมอชิตใหม่" อีกครั้ง". THAIRATH Money.
  14. "บขส.เปิดแผนย้าย ยกเครื่อง "สถานีขนส่ง" หมอชิต รังสิต เอกมัย สายใต้". www.matichon.co.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  15. "MRT กำแพงเพชร". www.residences.in.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  16. 16.0 16.1 16.2 16.3 "สส.ก้าวไกล แฉ! 14 จุดความพังหมอชิต 2 ไร้การปรับปรุง". pptvhd36.com. 2023-12-29.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  17. "สถานที่ขึ้นรถ และคำอธิบาย ทางไปชานชาลาต่างๆ ช่วงเทศกาล ปี 57". www.thaiticketmajor.com (ภาษาอังกฤษ). 2566.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  18. "Bangkok Bus Terminal". Tourist Bangkok (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2023-11-13.
  19. "Mo Chit Bus Terminal (Chatuchak) | Thailand Bus Station | BusOnlineTicket.co.th". BusOnlineTicket Thailand (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2023-11-19.
  20. "เส้นทางสายที่ 6 กรุงเทพมหานคร– นครหลวงเวียงจันทน์ - บขส". www.transport.co.th.
  21. "เส้นทางสายที่ 10 กรุงเทพมหานคร – ปากเซ - บขส". www.transport.co.th.
  22. "เส้นทางสายที่ 12 กรุงเทพมหานคร – เสียมราฐ - บขส". www.transport.co.th.
  23. "เส้นทางสายที่ 13 กรุงเทพมหานคร – พนมเปญ - บขส". www.transport.co.th.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

13°29′05″N 100°19′32″E / 13.484759°N 100.325636°E / 13.484759; 100.325636