ข้ามไปเนื้อหา

ศุภณัฐ มีนชัยนันท์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ศุภณัฐ มีนชัยนันท์
ศุภณัฐร่วมงานวันรัฐธรรมนูญ
ที่สัปปายะสภาสถาน พ.ศ. 2566
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร
เริ่มดำรงตำแหน่ง
14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566
(1 ปี 226 วัน)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด19 กรกฎาคม พ.ศ. 2534 (33 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
พรรคการเมืองก้าวไกล (2565–2567)
ประชาชน (2567–ปัจจุบัน)
บุพการี
  • วิสูตร์ มีนชัยนันท์ (บิดา)
  • โสพิศ มีนชัยนันท์ (มารดา)
ญาติวิชาญ มีนชัยนันท์
สุธี มีนชัยนันท์
ชื่อเล่นแบงค์

ศุภณัฐ มีนชัยนันท์ (เกิด 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2534) ชื่อเล่น แบงค์ เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคประชาชน[1]

ประวัติ

[แก้]

ศุภณัฐ เกิดเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2534 เป็นบุตรนายวิสูตร์ มีนชัยนันท์ มีพี่น้อง 4 คน คือ ณัฐภัทร มีนชัยนันท์, ศุภณัฐ มีนชัยนันท์, บอส มีนชัยนันท์ และกษิดิ์เดช มีนชัยนันท์

สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี เกียรตินิยมอันดับ 1 ด้านการบริหารโครงการเพื่อการก่อสร้าง (BSc Project Management for Construction) จากมหาวิทยาลัยคอลเลจลอนดอน (University College London: UCL) และปริญญาโท ปรัชญามหาบัณฑิต ด้านอสังหาริมทรัพย์การเงิน (MPhil in Real Estate Finance) จากควีนส์คอลเลจ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศสหราชอาณาจักร

ศุภณัฐ เป็นหลาน-ลุงกับนายวิชาญ มีนชัยนันท์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข 2 สมัย และหลาน-อา นายวิรัตน์ มีนชัยนันท์[2] อดีตประธานสภากรุงเทพมหานคร[3] โดยทั้งสองเป็นหลานสุธี มีนชัยนันท์ มหาเศรษฐีที่ดินหลายหมื่นล้านบาท ผู้นำชาวไทยเชื้อสายจีน และประธานกิตติมศักดิ์ถาวรหอการค้าไทย-จีน[4][5]

ศุภณัฐ ถือเป็นหนึ่งในนักการเมืองหน้าใหม่ที่น่าจับตามองที่สุดในกรุงเทพฯ เนื่องจากการศึกษา และครอบครัวที่มีความสัมพันธ์แนบแน่บพรรคเพื่อไทย และการเมืองแบบบ้านใหญ่[6] เกิดกระแสไวรัลสร้างความประหลาดใจอย่างมากตั้งแต่ช่วงเลือกตั้งถึงการตัดสินใจลงสมัครเลือกตั้งกับพรรคก้าวไกล และลงในโซนกรุงเทพฯชั้นในอย่างเขตจตุจักรที่มีการต่อสู้กันดุเดือดหลายพรรค แทนที่จะลงโซนกรุงเทพฯตะวันออกที่ตระกูล “มีนชัยนันท์” ตระกูลดังแห่งกรุงเทพตะวันออก มีเครือข่ายอิทธิพลอย่างกว้างขวาง กว่า 40 ปี จนถูกขนานนามว่าเป็น "บ้านใหญ่นครบาล"[7][8][9][10][11]

การทำงาน

[แก้]

หลังจากสำเร็จการศึกษาปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ศุภณัฐได้เดินทางกลับมาทำธุรกิจของตนเอง และของครอบครัว รวมกว่า 6 บริษัท ครอบคลุมทั้งด้าน ก่อสร้าง อสังหาริมทรัพย์ ขนส่ง และการแพทย์ รวมถึงเป็นที่ปรึกษาธุรกิจในต่างประเทศ

การศึกษา

[แก้]

งานการเมือง

[แก้]

การเลือกตั้งปี 2566 กับพรรคก้าวไกล[13]

[แก้]

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 นายศุภณัฐ ได้รับเลือกตั้งเป็น สส.กทม.ด้วยคะแนนสูงที่สุดเป็นอันดับ 1 ของกรุงเทพมหานคร โดยได้รับคะแนนเสียง 50,132 คะแนน [14]ศุภณัฐ ได้เข้าร่วมอุดมการณ์กับพรรคก้าวไกลหลังจากได้สมัครเป็นสมาชิกพรรคเมื่อปี พ.ศ.2565 และได้รับเลือกเป็นผู้สมัครของพรรค เขตหนึ่งในกรุงเทพมหานคร แต่เนื่องจากมองกว่าเขตดังกล่าวอยู่ในโซนกรุงเทพฯตะวันออกที่ “ตระกูล มีนชัยนันท์” ตระกูลดังแห่งกรุงเทพตะวันออก มีเครือข่ายอิทธิพล จะทำให้เกิดข้อครหาต่อตนเองและพรรคก้าวไกลได้ จึงได้ขอปฏิเสธที่จะลงสมัครเลือกตั้งในเขตดังกล่าว

จนเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 หลังจากมีการลาออกของผู้สมัครในเขตพญาไท-จตุจักร เนื่องจากปัญหาภายในพรรคและข้อเรียกร้องเรื่องการจัดสรรลำดับสส.ปาร์ตี้ลิสต์ไม่ลงตัว กรรมการบริหารพรรคจึงได้ติดต่อทาบทามศุภณัฐอีกครั้ง ขณะที่เจ้าตัวเดินทางไปทำธุระที่ประเทศอังกฤษ หลังเดินทางกลับไทย ศุภณัฐจึงได้ตอบตกลงที่จะลงรับสมัครเลือกตั้งในเขตดังกล่าวกับพรรคก้าวไกล

ในวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2566[15] ณ ที่ทำการพรรคก้าวไกล กรรมการบริหารพรรค ได้แถลงข่าวเปิดตัว นายศุภณัฐ มีนชัยนันท์ เป็นผู้สมัครเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร คนสุดท้ายในกรุงเทพฯ โดยลงเขต-จตุจักร ซึ่งนายศุภณัฐ ได้กล่าวถึงเหตุผลที่เลือกลงสมัครกับพรรคก้าวไกล เพราะเป็นพรรคที่ตรงไปตรงมา จุดยืนชัดเจนที่สุด และมีผลงานเด่นชัดที่สุดในการต่อต้านระบอบเผด็จการ ต่อสู้ทุนผูกขาด แม้แต่เรื่องผังเมืองเพื่อต่อสู้กับผังเมืองนายทุน[16]

หลังจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้มีการตัดเขตใหม่นายศุภณัฐ ได้ลงเลือกตั้งในกทม.เขตเลือกตั้งที่ 9 ประกอบด้วย เขตบางเขน (แขวงอนุสาวรีย์) เขตจตุจักร (แขวงจันทรเกษม และแขวงเสนานิคม) และ เขตหลักสี่ (แขวงตลาดบางเขน) โดยจับฉลากได้หมายเลข 10 พร้อมใช้แคมเปญ "แบงค์10" ในการหาเสียง

เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 นายศุภณัฐ มีนชัยนันท์ ชนะการเลือกตั้งในกทม.เขต 9 ประกอบด้วย เขตบางเขน เขตจตุจักร เขตหลักสี่ ด้วยคะแนน 50,132 คะแนน สูงสุดในกรุงเทพมหานคร เป็น สส.กทม. สมัยแรก โดยทิ้งห่างจากอันดับ 2 นาย อนุสรณ์ ปั้นทอง อดีต สส.กทม. 5 สมัย แชมป์เก่าจากพรรคเพื่อไทย ด้วยคะแนนทิ้งห่างกว่า 30,000 คะแนน [17] นับเป็นปรากฎการณ์ “ล้มช้าง” ที่ใหญ่ที่สุดในกทม. เนื่องจากนาย อนุสรณ์ ปั้นทอง เป็น สส.กทม.ที่ชนะเลือกตั้งติดต่อกันมากที่สุดในกรุงเทพฯ แต่แพ้ให้กับนาย ศุภณัฐ มีนชัยนันท์ ผู้สมัครที่มีเวลาหาเสียงสั้นที่สุดในพรรคก้าวไกล เพียง 2 เดือนเท่านั้น ทั้งนี้นายศุภณัฐ เป็นสส.ที่มีสัดส่วนคะแนนเขตสูงกว่าคะแนนบัญชีรายชื่อของพรรคก้าวไกล ในอัตราส่วน 49.18% ต่อ 47.53%

การทำหน้าที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

[แก้]

ผลักดันการแก้ไขปัญหาสถานีหมอชิต 2

เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2566 นายศุภณัฐ ได้โพสข้อความทางออนไลน์สะท้อนถึงปัญหาของ สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) หรือ หมอชิต 2 รวม 14 ประเด็น ทั้งปัญหาความปลอดภัย วินแทกซี่เถื่อน พื้นที่รกร้าง ห้องน้ำสกปรก การโก่งราคาค่าตั๋วโดยสาร บันไดเลื่อนเสียเป็นเวลานาน ถังดับเพลิงไม่ครบ ห้องพยาบาลและห้องให้นมบุตรปิด [18] [19]กลายเป็นกระแสชั่วข้ามคืนมีผู้รับชมกว่าหลายล้านคน และมีประชาชนร่วมแสดงความเห็นและประสบการณ์ย่ำแย่ของสถานีหมอชิต 2 เป็นจำนวนมาก จนโพสต์ของ นายศุภณัฐ มีนชัยนันท์ ติดอันดับเทรนของทวิตเตอร์ในช่วงเทศกาลปีใหม่ และก่อให้เกิดปฏิกิริยาตามมามากมายมหาศาลและมีการเรียกร้องให้มีการปรับปรุงสถานีโดยด่วน [20] จนนายกรัฐมนตรีสั่งการด่วนให้หน่วยงานรีบดำเนินการแก้ไขทันที และคณะรัฐมนตรีว่าการ และช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมทั้ง 3 คน พร้อมผู้บริหารหน่วยงานต่างๆรีบลงพื้นที่จัดการแก้ไข ทำให้ปัจจุบันสถานีหมอชิต 2 มีการพัฒนาในทางที่ดีขึ้นอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปี พ.ศ. 2567 นายศุภณัฐ ได้ลงพื้นที่ติดตามปัญหาร่วมกับพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ และสส.พรรคก้าวไกล ซึ่งมีประชาชนชื่นชมถึงการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นและขอบคุณการเรียกร้องและติดตามปัญหาอย่างต่อเนื่องของนายศุภณัฐ [21][22]

ผลักดันการแก้ไขปัญหาร่างผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร

นายศุภณัฐ มีนชัยนันท์ ได้เปิดประเด็นทางสังคมอีกครั้ง กับการออกมาเปิดประเด็น "ผังเมืองเอื้อนายทุน" ในช่วงที่มีประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเพื่อจัดทำร่างผังเมืองของกรุงเทพมหานคร (ฉบับแก้ไข ครั้งที่ 4) ทำเกิดการถกเถียงและประชาชนหันมาสนใจปัญหาผังเมืองเป็นจำนวนมาก และเกิดการตรวจสอบทั้งกระบวนการรับฟังความเห็น กระบวนการจัดทำร่างผังเมือง การปรับผังสีแดงในบางพื้นที่ที่คาดว่าเป็นของกลุ่มทุนขนาดใหญ่ โดยที่พื้นที่รอบข้างกลับไม่มีการเปลี่ยนสี และปัญหาผังสีเขียวและพื้นที่ฟลัดเวย์[23][24][25] รวมถึงการออกมาสัมภาษณ์ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ขอให้หยุดใช้คำว่า"ผังเมืองเอื้อนายทุน"เพราะเป็นวาทะกรรมที่ทำให้เกิดความแตกแยก [26] จนทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ต่อตัวนายชัชชาติเป็นอย่างหนักจนมีการออกโพสต์เฟซบุ๊กขอโทษในภายหลัง[27] อย่างไรก็ดีทางกรุงเทพมหานคร ได้มีการขยายการรับฟังความเห็นเพิ่ม 6 เดือน พร้อมทบทวนร่างผังเมืองใหม่

ผลักดันการแก้ไขปัญหารถขนส่งสาธารณะ (รถเมล์)

นายศุภณัฐได้เรียกร้องการแก้ไขปัญหารถโดยสารประจำทาง (รถเมล์) อย่างต่อเนื่อง และได้ตั้งกระทู้สดถามรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 ถึงปัญหาการแก้ไขเลขสายรถเมล์ที่สร้างความสับสนในวงกว้าง ปัญหาคุณภาพรถเมล์ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ปัญหาขาดแคลนรถทั้งในกรุงเทพและต่างจังหวัด ปัญหารถวิ่งน้อยคอยนาน และจำนวนรอบวิ่งที่น้อยกว่าที่กำหนดในสัญญา รวมทั้งเปิดประเด็น ปัญหาการที่รัฐบาลยังไม่มีการแต่งตั้ง คณะกรรมการบริหารกิจการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (บอร์ด ขสมก.) ยาวนานกว่า 14 เดือน ทำให้ขสมก.ไม่สามารถจัดซื้อรถโดยสารประจำทางใหม่เพื่อให้บริการประชาชนได้ ซึ่งหลังจากตั้งกระทู้เพียง 2อาทิตย์ เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2567 คณะรัฐมนตรีได้มีมติแต่งตั้งบอร์ดองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ และประกาศแผนการจัดหารถโดยสารไฟฟ้าใหม่ เพื่อแก้ปัญหาคุณภาพรถโดยสารและปัญหาจำนวนรถที่ไม่เพียงพอ [28] [29] พร้อมทั้ง กรมการขนส่งทางบก ได้มีการศึกษาแนวทางในการอุดหนุดเพื่อทำให้เกิดรถโดยสารในพื้นที่ชานเมืองกรุงเทพมหานครอีกด้วย

ประสบการณ์ด้านการเมือง

[แก้]
  • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขต 9 พรรคก้าวไกล (2566-2567)
  • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขต 9 พรรคประชาชน (2567-ปัจจุบัน)
  • เลขานุการคณะกรรมาธิการการพัฒนาเศรษฐกิจ สภาผู้แทนราษฎร
  • ประธานอนุกรรมาธิการการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)
  • โฆษกกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งเพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้เชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน (โครงการแลนด์บริดจ์)
  • ที่ปรึกษาอนุกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567
  • อนุกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2568 ด้านที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง และรัฐวิสาหกิจ

ประวัติการลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.

[แก้]
  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 กรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคก้าวไกลพรรคประชาชน

อ้างอิง

[แก้]
  1. ตรวจสอบหมายเลขผู้สมัคร สส.กทม. 33 เขต พรรคก้าวไกล
  2. เปิดประวัติ “วิรัตน์ มีนชัยนันท์” พรรคเพื่อไทย ประธานสภา กทม.
  3. สภากรุงเทพมหานคร ชุดที่ 13
  4. น้ำใจข้ามพรรค! ทีมเพื่อไทยโดดเข้าช่วยประชาธิปัตย์ หลังรถหาเสียงชนต้นไม้
  5. ยันนักการเมืองตัวการขวางทางน้ำฝั่งตะวันออก ชี้ รบ.ป้องสุวรรณภูมิ มรดกบาป “ทักษิณ”
  6. เลือกตั้ง 2566 เช็กที่นี่ หมายเลขผู้สมัครส.ส.กทม. แบบแบ่งเขต "พรรคก้าวไกล"
  7. https://www.thereporters.co/tw-politics/0603231402/
  8. https://thestandard.co/kaoklai-launches-supanat/
  9. https://www.dailynews.co.th/news/2067614/
  10. https://www.matichonweekly.com/e-daung/article_654847
  11. https://www.bangkokbiznews.com/politics/1056545
  12. เปิดอาณาจักรครอบครัว ‘มีนชัยนันท์’ กับ 4 หนุ่มหล่อตระกูลดังหมื่นล้านhttps://th.hellomagazine.com/celebrity/exclusive-interviews/minchaiynunt-august-2022/
  13. https://www.thereporters.co/tw-politics/0603231402/
  14. https://www.matichon.co.th/politics/news_3994338
  15. matichon (2023-03-07). "'ศุภณัฐ มีนชัยนันท์' ว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.ก้าวไกล หาเสียงจตุจักร อ้อนขอร่วมเป็นส่วนหนึ่งเปลี่ยนแปลงประเทศ". มติชนออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 2023-03-07.
  16. "เลือกตั้ง 66 ก้าวไกล เปิดตัว 'ศุภณัฐ มีนชัยนันท์' ชิงชัยเขตจตุจักร". workpointTODAY. สืบค้นเมื่อ 2023-03-07.
  17. https://www.tnnthailand.com/news/election/146279/
  18. https://www.sanook.com/news/9161806/
  19. "'แบงค์ ศุภณัฐ' ส.ส.ก้าวไกล แฉ 14 ข้อความพัง 'หมอชิต 2'". bangkokbiznews. 2023-12-28.
  20. https://www.matichon.co.th/politics/news_4352303...+อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่+:+https://www.matichon.co.th/politics/news_4352303
  21. "พิธา ขน สส. ก้าวไกล เช็กสภาพหมอชิตช่วงสงกรานต์ ปฏิเสธลงพื้นที่พบประชาชนวัดพลังการเมือง 'ทักษิณ-เศรษฐา'". THE STANDARD. 2024-04-11.
  22. https://www.thairath.co.th/news/politic/2777810
  23. https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/ewt_news.php?nid=114341&filename=welcome2019
  24. https://www.matichon.co.th/politics/news_4369458
  25. https://www.thaipost.net/x-cite-news/502814/
  26. https://thestandard.co/new-city-plan-is-not-conducive-to-capitalists/
  27. https://www.thaipbs.or.th/news/content/335858
  28. https://www.thansettakij.com/business/economy/587971
  29. https://thestandard.co/move-forward-party-questioned-communication/