ตลาดนัดจตุจักร
13°47′56″N 100°33′03″E / 13.79889°N 100.55083°E
ตลาดนัดจตุจักร เป็นตลาดนัดในกรุงเทพมหานครที่ได้รับความนิยมจากคนไทยและชาวต่างชาติ มีจำนวนแผงค้าทั้งหมดมากกว่า 8,000 แผงค้า แบ่งเป็น 27 โครงการ มีสินค้า 8 ประเภท ได้แก่ ผักและผลไม้ เสื้อผ้า สัตว์เลี้ยง ต้นไม้ อาหารปรุง อาหารสำเร็จรูป อาหารสด และเบ็ดเตล็ด
ตลาดนัดจตุจักรถูกสร้างขึ้นโดย พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ ในสมัยปี พ.ศ. 2521 เป็นที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทยซึ่งในขณะนั้น พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ เป็นประธานกรรมการรถไฟ โดยการเอากองขยะที่ดินแดง มาถม ที่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย แล้วย้ายตลาดนัดสนามหลวงมาที่นี่ โดยใช้ทหารช่างมาทำการสร้างขึ้น[1]
ความเป็นมาของตลาดนัดจตุจักร
[แก้]ปี พ.ศ. 2491 จอมพล ป. พิบูลสงคราม อดีตนายกรัฐมนตรี มีนโยบายให้จัดตั้งตลาดนัดขึ้นในทุกจังหวัด สำหรับกรุงเทพมหานครนั้นได้เลือกสนามหลวงเป็นสถานที่จัดตลาดนัด แต่เพียงไม่ถึงปีรัฐบาลก็ย้ายตลาดนัด ไปอยู่ในพระราชอุทยานสราญรมย์แล้วจึงย้ายออกไปตั้งอยู่บริเวณสนามไชย และย้ายตลาดนัดกลับไปอยู่ที่สนามหลวงในปี พ.ศ. 2501
ต่อมาในปี พ.ศ. 2521 พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ อดีตนายกรัฐมนตรี ได้มีนโยบายใช้สนามหลวงเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ และจัดงานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี การรถไฟแห่งประเทศไทยจึงได้มอบที่ดินย่านพหลโยธิน โดยการดำเนินการโดยนายเชาวน์วัศ สุดลาภา อดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จึงจัดที่ดินสวนจตุจักรด้านทิศใต้ให้แก่ กรุงเทพมหานครเพื่อใช้ในกิจการสาธารณประโยชน์ และกรุงเทพมหานครได้ปรับพื้นที่เพื่อให้ผู้ค้าหาบเร่แผงลอยและขณะเดียวกันก็พยายามย้ายผู้ค้าจากสนามหลวงมาด้วย จนกระทั่งดำเนินการสำเร็จ เมื่อปี พ.ศ. 2525 โดยใช้ชื่อว่าตลาดนัดย่านพหลโยธิน ต่อมาเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “ตลาดนัดจตุจักร” ให้สอดคล้องกับสวนสาธารณะจตุจักรในบริเวณใกล้เคียง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 จนถึงปัจจุบัน[1]
ตลาดนัดสวนจตุจักรได้เปลี่ยนอำนาจการดูแลจากกรุงเทพมหานครไปยังการรถไฟแห่งประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2555 ซึ่งก็มีผู้ค้าขายแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย[2] แต่ในวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2561 การรถไฟแห่งประเทศไทยก็ได้คืนพื้นที่ตลาดนัดจตุจักรกลับไปอยู่ในอำนาจการดูแลของยังกรุงเทพมหานครตามเดิม
การค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมาย
[แก้]มีการศึกษาระบุว่าตลาดนัดจตุจักรเป็นศูนย์กลางการค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมาย[3] ในการสำรวจเมื่อวันที่ 28–29 มีนาคม 2558 นักวิจัยพบนก 1,271 ตัว 117 ชนิดขายในร้านค้าหรือแผงลอย 45 ร้าน มี 9 ชนิดอยู่ในรายการ "เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์" ของบัญชีแดงของสหภาพเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ และอีกแปดชนิดอยู่ใน "เกือบอยู่ในข่ายสูญพันธุ์"[4]:24-29[5]
โครงการในตลาดนัดจตุจักร
[แก้]
|
|
หอนาฬิกาตลาดนัดจตุจักร
[แก้]หอนาฬิกาเป็นจุดนัดพบยอดนิยมที่ในตลาดนัดจตุจักร สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2530 เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ เนื่องในโอกาสที่ทรงเจริญพระชนมพรรษา 5 รอบ วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2530 โดยความร่วมมือของกองอำนวยการตลาดนัดกรุงเทพมหานคร และ สมาคมพ่อค้า ไทย - จีน
บริการต่าง ๆ ภายในตลาดนัดจตุจักร
[แก้]- ศูนย์ประชาสัมพันธ์ ให้บริการตามหาญาติ สอบถามร้านค้า หาของสูญหาย
- เปิดบริการวันพุธ ถึง อาทิตย์ เวลา 8.00 - 20.00 น.
- ซุ้มประชาสัมพันธ์ (ประตู 1) ให้บริการสอบถามร้านค้า แผนที่ตลาดนัด
- เปิดบริการวันเสาร์ - อาทิตย์ เวลา 08.00 - 20.30 น.
- ซุ้มประชาสัมพันธ์ (ประตู 1) ให้บริการสอบถามร้านค้า แผนที่ตลาดนัด
- เปิดบริการวันพุธ ถึง อาทิตย์ เวลา 8.00 - 20.00 น.
- ธนาคารต่าง ๆ ให้บริการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ฝากเงิน เปิดบัญชี สินเชื่อ
- ธนาคารทหารไทยธนชาต (อาคารกองอำนวยการฯ)
- ธนาคารกรุงเทพ (อาคารกองอำนวยการฯ)
- ธนาคารออมสิน (ข้างๆ ฝ่ายปฏิบัติการ)
- ธนาคารไทยพาณิชย์ (ใกล้ประตู 1 ถ.กำแพงเพชร 2)
- ธนาคารกสิกรไทย (ตรงข้ามโครงการ 11)
- ห้องน้ำ
- ห้องพยาบาล (หลังอาคารกองอำนวยการฯ โครงการ 27)
สถานที่ใกล้เคียง
[แก้]- จตุจักรพลาซ่า
- จตุจักรตลาดนัดติดแอร์ (JJ Mall)
- จตุจักร เดย์ แอนด์ ไนท์
- จตุจักร สแควร์
- ร้านอาหาร ชมรมมังสวิรัติ จตุจักร
- ตลาด อ.ต.ก.
- ซันเดย์ มอลล์
- ศูนย์การค้ามิกซ์ จตุจักร
- พิพิธภัณฑ์เด็ก กรุงเทพมหานคร
- สวนจตุจักร
- สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ
- สวนวชิรเบญจทัศ
- ลานจอดรถจอดแล้วจร (โบเบ๊จตุจักร)
- สถานีขนส่งสายเหนือและสายตะวันออกเฉียงเหนือ (หมอชิต 2)
- ศูนย์การค้า อินสแควร์
การเดินทาง
[แก้]มีหลายรูปแบบทั้งรถยนต์ส่วนตัวซึ่งต้องนำไปจอดที่ลานจอดรถตลาดนัดจตุจักรหรือ Park & Ride และมีรถรับส่งระหว่างลานจอดรถกับตลาดนัดจตุจักร (ประตู 2) หรือนั่งรถประจำทางซึ่งมีหลายสายผ่าน และที่สะดวกมากก็คือโดยสารรถไฟฟ้าบีทีเอส ให้ลงที่สถานีหมอชิต หรือรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคลสามารถเลือกลงได้ทั้งสถานีกำแพงเพชร หรือสถานีสวนจตุจักร นอกจากนี้ก็ยังมีรถแท็กซี่ และรถตู้หลายสายให้บริการ
จุดเชื่อมต่อการเดินทาง
[แก้]บริการ | สถานี/ป้ายหยุดรถ | สายทาง |
---|---|---|
รถไฟฟ้าขนส่งมวลชน | หมอชิต | รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท |
สวนจตุจักร | รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล | |
กำแพงเพชร | ||
รถโดยสารประจำทาง | สวนจตุจักร | ช่วงเวลาปกติ A1 A2 3 8 26 27 28 34 39 44 52 59 63 77 90 96 104 122 134 136 138 145 502 503 509 510 517 524 Y70E 1-1 (29) 1-3 (34) 1-5 (39) 2-17 2-34 2-38 (8) 2-42 (44) 2-48 (122) 3-45 (77) 4-29E (529) |
ตลาดนัดจตุจักร (ประตู 1) | ช่วงเวลาปกติ 26 77 96 104 122 134 136 138 145 157 182 509 517 529 536
|
สิ่งสืบเนื่อง
[แก้]ในปี พ.ศ. 2548 คาราบาวได้แต่งเพลงชื่อ สวนจตุจักร อยู่ในอัลบั้มชุด "สามัคคีประเทศไทย" โดยมีเนื้อหาประชาสัมพันธ์ถึงตลาดนัดจตุจักร และมีเนื้อร้องบางท่อนเป็นแร็ปภาษาอังกฤษด้วย[6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. กาลานุกรมสยามประเทศไทย 2485-2554. กรุงเทพฯ : โพสต์ พับลิชชิง, 2555. 356 หน้า. หน้า 178. ISBN 978-974-228-070-3
- ↑ [1]เก็บถาวร 2014-04-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ขุมทรัพย์จตุจักร จากมติชน
- ↑ "Bangkok market a hub for illegal international trade in freshwater turtles and tortoises". International Union for Conservation of Nature (IUCN). 2008-04-25. สืบค้นเมื่อ 28 July 2016.
- ↑ Ching, Serene C L; Eaton, James A (2016). "Snapshot of an on-going trade: an inventory of birds for sale in Chatuchak weekend market, Bangkok, Thailand" (PDF). BirdingASIA. 25. สืบค้นเมื่อ 28 July 2016.
- ↑ "Persistent illegal bird trade highlighted at notorious Bangkok Market". Traffic. 28 July 2016. สืบค้นเมื่อ 28 July 2016.
- ↑ เนื้อเพลง :: เพลง >> สวนจตุจักร