รถโดยสารประจำทางสาย 8
รถโดยสารประจำทางสาย 8 (2-38) เป็นรถโดยสารประจำทางในกรุงเทพมหานคร วิ่งจากตลาดแฮปปี้แลนด์ไปยังสะพานพุทธ ได้รับอนุมัติเดินรถตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2475 จากข้อมูลปี 2557 มีรถธรรมดา หรือรถร้อน 72 คัน รถโดยสารปรับอากาศ หรือรถแอร์ 30 คัน ซึ่งมาจาก 3 บริษัท ประกอบด้วย บริษัท ทรัพย์ 888 จำกัด บริษัท ไทยบัสขนส่ง จำกัด และบริษัท กลุ่ม 39 เดินรถ จำกัด[1]
ปัจจุบันให้บริการด้วยรถปรับอากาศของบริษัท ไทยสมายล์บัส จำกัด ซึ่งเริ่มให้บริการตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม 2565 เป็นต้นมา (ข้อมูล ณ เดือนธันวาคม 2567 มีรถให้บริการจำนวน 62 คัน) โดยในช่วงแรกให้บริการจำนวน 40 คัน (แบ่งเป็นระยะแรกที่ให้บริการจะยังมีเพียง 20 คัน และจะทยอยเพิ่มรถจนครบ 40 คัน[2]) ให้บริการควบคู่กับรถธรรมดาในฐานะรถโดยสารที่ได้รับสัมปทานใหม่ในโครงการปฏิรูปรถเมล์สายที่ 2-38 เฉพาะรถธรรมดาสาย 8 ให้บริการมาจนถึงวันที่ 8 พฤศจิกายน 2567 จึงยุติการเดินรถไป
ประวัติ
[แก้]รถโดยสารประจำทางสาย 8 ได้รับอนุมัติให้เดินรถได้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2475 โดยเส้นทางแรกวิ่งระหว่างลานพระบรมรูปทรงม้าไปสะพานพุทธ ก่อนจะเปลี่ยนเป็นตลาดหมอชิต–สะพานพุทธ เมื่อปี 2498 และเปลี่ยนมาเป็น ลาดพร้าว–สะพานพุทธ ในปี 2505 มีบริษัทนายเลิศ เป็นผู้ประกอบการแต่แรก หลังจากนั้นรัฐบาลเข้ามาบริหารเองเมื่อปี 2519[3]
ในอดีตรถโดยสารประจำทางสาย 8 เส้นทางสะพานพุทธ–แฮปปี้แลนด์ เป็นรถร่วมประจำทาง ดำเนินงานโดย 3 บริษัท ประกอบด้วย บริษัท ทรัพย์ 888 จำกัด บริษัท ไทยบัสขนส่ง จำกัด และบริษัท กลุ่ม 39 เดินรถ จำกัด ซึ่งทั้ง 3 บริษัทได้รับสัมปทานเส้นทางนี้มาอย่างยาวนานกว่า 30 ปี[4] การเดินรถ 1 คัน โดยปกติแล้วสามารถเดินรถได้สูงสุด 4 รอบต่อวัน ยอดขายตั๋วโดยสารเฉลี่ยอยู่ที่ 5,000 ถึง 6,000 บาทต่อวัน[5]
-
รถประจำทางธรรมดาสาย 8 เดินรถโดย บจก.ทรัพย์ 888 (ปัจจุบันยุติการให้บริการไปแล้ว)
-
รถประจำทางธรรมดาสาย 8 เดินรถโดย บจก.ไทยบัสขนส่ง (ปัจจุบันยุติการให้บริการไปแล้ว)
-
รถประจำทางธรรมดาสาย 8 เดินรถโดย บจก.กลุ่ม 39 เดินรถ (ปัจจุบันยุติการให้บริการไปแล้ว)
การบริหารงานโดยบางบริษัทพนักงานได้รับเงินเดือน บางบริษัทได้ค่าตอบแทนจากส่วนแบ่งจากหน้าตั๋วโดยสาร[6]
สำหรับรถประจำทางปรับอากาศสาย 8 มีเส้นทางวิ่งเคหะร่มเกล้า–สะพานพุทธ เดิมเป็นรถเอกชนร่วมบริการ ดำเนินงานโดยบริษัท ซิตี้บัส จำกัด ต่อมาผู้ประกอบการรถร่วมปรับอากาศรายเดิม ได้ยุติการเดินรถสาย ปอ.8 ส่งผลให้ประชาชนไม่ได้รับความสะดวกในการเดินทาง องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ เขตการเดินรถที่ 2 จึงเปิดเส้นทางเดินรถปรับอากาศ สาย ปอ.8 เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนในการเดินทาง ตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม 2564 โดยใช้รถปรับอากาศสีฟ้า NGV จำนวน 25 คันในการเดินรถ และมีพิธีเปิดเดินรถ ณ ท่ารถเคหะร่มเกล้า ในเวลา 09.00 น. ของวันเดียวกัน[7] ต่อมาในวันที่ 31 ตุลาคม 2566 องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ เขตการเดินรถที่ 2 ได้ให้บริการสาย ปอ.8 เป็นวันสุดท้าย
-
รถประจำทางปรับอากาศสาย 8 เมื่อครั้งเป็นรถเอกชนร่วมบริการ (2551-2564)
-
รถประจำทางปรับอากาศสาย 8 ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (พ.ศ. 2564-2566)
ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2565 รถเมล์เอกชนสาย 8 ไม่ผ่านการประเมินคุณภาพการให้บริการจากกรมการขนส่งทางบก หลังจากนี้จะเปลี่ยนเลขสายเป็น 2-38 ให้บริการโดยบริษัท ไทยสมายล์บัส จำกัด ซึ่งจะเปลี่ยนไปใช้รถปรับอากาศพลังงานไฟฟ้าแทน โดยในระหว่างช่วงเปลี่ยนผ่าน ผู้ให้บริการรายเดิมยังสามารถดำเนินการต่อไปได้ เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทาง และบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชน[8]
ในวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2565 กระทรวงคมนาคมได้จัดพิธีเปิดให้บริการรถโดยสารพลังงานไฟฟ้า สาย 8 โดยบริษัท ไทยสมายล์บัส จำกัด ซึ่งในระยะแรกเฉพาะผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐจะชำระค่าโดยสารที่ 10 บาทตลอดสาย ส่วนรถเมล์ของเอกชนรายเดิมที่ไม่ได้รับการต่อสัญญาสัมปทานจะยังให้บริการจนถึงปี พ.ศ. 2566[9] อย่างไรก็ดีในปี พ.ศ. 2567 ยังพบรถเมล์ของเอกชนรายเดิมบางส่วนให้บริการตามปกติ ก่อนที่จะมีคำสั่งให้หยุดวิ่งทั้งหมดในวันที่ 8 พฤศจิกายนปีเดียวกัน เนื่องจากหมดสัญญาสัมปทานกับองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ และหากเดินรถต่อจะมีความเสี่ยงที่จะถูกปรับไม่น้อยกว่า 20,000-100,000 บาท และยังมีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ข้อหาเดินรถโดยไม่ได้รับอนุญาต[10]
-
รถประจำทางปรับอากาศสาย 8 เดินรถโดย บจก.ไทยสมายล์บัส
เส้นทาง
[แก้]รถประจำทางสาย 8 คันแรกออกจากแฮปปี้แลนด์เวลา 03.00 น. คันสุดท้ายออกจากแฮปปี้แลนด์เวลา 22.00 น. คันแรกออกจากสะพานพุทธเวลา 04.00 น. คันสุดท้ายออกจากสะพานพุทธเวลา 23.00 น. ต่อมาบริษัท ไทยสมายล์บัส จำกัด ได้จัดให้มีรถให้บริการตลอดคืน (กะสว่าง) วิ่งเป็นระยะทาง 23 กิโลเมตร
เส้นทางเดินรถ เที่ยวไป เริ่มที่ตลาดแฮปปี้แลนด์ วิ่งไปตามถนนลาดพร้าวจนถึงปากทางลาดพร้าว แยกซ้ายไปตามถนนพหลโยธิน ตรงไปถึงอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ แยกขวาไปตามถนนราชวิถี แยกซ้ายไปตามถนนพระราม 6 แยกโรงพยาบาลรามาธิบดี ขวาไปตามถนนศรีอยุธยา แยกซ้ายไปตามถนนสวรรคโลก แยกขวาไปตามถนนหลานหลวง แยกซ้ายไปตามถนนวรจักร ถนนจักรวรรดิ์ แยกซ้ายไปตามถนนข้างสะพานพระปกเกล้า ลอดใต้สะพานพระปกเกล้า สุดสายที่ใต้สะพานพุทธ (ฝั่งพระนคร)
เที่ยวกลับ เริ่มจากใต้สะพานพุทธฯ (ฝั่งพระนคร) แยกซ้ายไปตามถนนจักรเพชร แยกขวาไปตามถนนอัษฎางค์ แยกขวาไปตามถนนพระพิทักษ์ แยกซ้ายไปตามถนนตรีเพชร แยกขวาไปตามถนนเจริญกรุง แยกซ้ายไปตามถนนจักรวรรดิ์ ถนนวรจักร แยกขวาไปตามถนนหลานหลวง โรงพยาบาลรามาธิบดี แล้วไปตามเส้นทางเดิม จนสุดเส้นทางที่ตลาดแฮปปี้แลนด์
การเชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชนอื่น
[แก้]- สายสีน้ำเงิน
- ช่วงบางซื่อ–หัวลำโพง: สถานีลาดพร้าว–พหลโยธิน
- ช่วงหัวลำโพง–หลักสอง: สถานีสามยอด (เฉพาะเที่ยวกลับ)
- สายสุขุมวิท: สถานีห้าแยกลาดพร้าว–อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
- สายสีส้ม (กำลังก่อสร้าง/โครงการ): สถานียมราช–หลานหลวง
- สายสีเหลือง: สถานีบางกะปิ–ลาดพร้าว
- สายสีม่วง ช่วงเตาปูน–ครุใน (กำลังก่อสร้าง): สถานีสามยอด (เฉพาะเที่ยวกลับ)
- สายสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ–หัวลำโพง (โครงการ): สถานีแยกราชวิถี–ยมราช
- สายสีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อ–หัวหมาก (โครงการ): สถานีแยกราชวิถี
- เรือโดยสารคลองแสนแสบ : ท่าเอ็มไลฟ์สโตร์บางกะปิ
ข้อพิพาท
[แก้]พฤติกรรมของพนักงานรถประจำทางสาย 8 ได้รับเสียงวิจารณ์จากสังคมออนไลน์ในแง่ลบเป็นวงกว้าง โดยเฉพาะเรื่องการขับรถหวาดเสียว[11]
จากข้อมูลของกระทรวงคมนาคม ในปีงบประมาณ 2556 พบว่า มีการร้องเรียนเข้ามาทั้งสิ้น 3,863 ครั้ง รถโดยสารประจำทางสาย 8 ถือเป็นสายรถประจำทางที่ได้รับการร้องเรียนมากที่สุดในปี 2556[12], 2557[13] และปี 2558[14]
สำนักข่าว Nikei Asian Review วิจารณ์รถสาย 8 ว่า "แม้หลายคนจะพบความเลวร้ายของรถเมล์สาย 8 จากปัญหาคนขับ แต่รถเมล์สาย 8 ยังจะคงอยู่ติดกับวิถีชีวิตของคนในชุมชนอย่างหยั่งลึก"[15]
ผลสืบเนื่อง
[แก้]ปี 2559 พจน์ อานนท์ สร้างภาพยนตร์เรื่อง ป๊าด 888 แรงทะลุนรก นำแสดงโดย แจ๊ส ชวนชื่น และนิดา พัชรวีระพงษ์ ที่นำประเด็นรถประจำทางสาย 8 มาล้อเลียน โดยเริ่มแรกตั้งชื่อว่า สาย 8 เร็วทะลุนรก[16] โดยในภาพยนตร์ รถโดยสารประจำทางวิ่งเส้นทางพระราม 8 ถึงแฮปปี้แลนด์[17] รถโดยสารประจำทางสาย 8 ยังถูกผู้เล่นเกมชาวไทยนำไปสร้างเป็นตัวปรับแต่งรถบัสในเกม แกรนด์เธฟต์ออโต V โดยมีรายละเอียดป้ายหน้ารถว่า แฮปปี้แลนด์–สะพานพุทธ[18]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "สาย 8 รถเมล์ในตำนาน!สะท้อนความปลอดภัยคนกรุงฯ". ไทยรัฐ. 28 มีนาคม 2557. สืบค้นเมื่อ 30 สิงหาคม 2562.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ ปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์ สู่โฉมใหม่ของการให้บริการ สาย 8(2-38) EV BUS แฮปปี้แลนด์ - สะพานพุทธ เปิดให้บริการแล้วโดย ไทยสมายล์บัส , BKK BUS Photographer
- ↑ "รถเมล์สาย 8". สืบค้นเมื่อ 30 สิงหาคม 2562.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ "รถเมล์สาย 8 รายได้เท่าไร". มาร์เกตเทียร์. 5 มิถุนายน 2561. สืบค้นเมื่อ 30 สิงหาคม 2562.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ "เจาะสภาพการจ้างงานกระเป๋า-คนขับรถเมล์ ต้นตอคุณภาพการบริการ". ประชาไท. 25 สิงหาคม 2557. สืบค้นเมื่อ 30 สิงหาคม 2562.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ "เจาะลึกสัมปทานรถเมล์สาย8". โพสต์ทูเดย์. 31 มีนาคม 2557. สืบค้นเมื่อ 30 สิงหาคม 2562.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ เปิดแล้ว ปอ.8 ขสมก. เคหะร่มเกล้า-สะพานพุทธ , bangkokbusclub
- ↑ "ปิดตำนาน! รถเมล์สาย 8 ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานประมูล". Thai PBS. 2022-07-13.
- ↑ matichon (2022-08-19). "สาย 8 โฉมใหม่ 'ฟาสต์ ทูฟีลกู้ด' แตะจ่าย พร้อม กัปตันเมล์-บัสโฮสเตส 10 บาทตลอดสาย". มติชนออนไลน์.
- ↑ "รถเมล์สาย 8 ผี วิตก หยุดให้บริการ". ข่าวช่อง 7. 2024-11-08.
- ↑ "รถเมล์"สาย 8"ในตำนาน ดังไกล! สื่อนอกชี้ต้องปรับพฤติกรรมคนขับ". สนุก.คอม. 7 ธันวาคม 2558. สืบค้นเมื่อ 30 สิงหาคม 2562.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ ""รถเมล์สาย8"มหากาพย์ความซ่าบนถนนกทม". โพสต์ทูเดย์. 11 มีนาคม 2557. สืบค้นเมื่อ 30 สิงหาคม 2562.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ "เมล์ในตำนาน สาย 8 เหตุผลซิ่งระเบิด จนผงาดคว้าแชมป์ !?". ไทยรัฐ. 30 เมษายน 2558. สืบค้นเมื่อ 30 สิงหาคม 2562.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ "จัดสถิติ! 10 อันดับสายรถเมล์ที่ถูกร้องเรียนมากสุด". ทรูไอดี. 22 มีนาคม 2559. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-08-30. สืบค้นเมื่อ 30 สิงหาคม 2562.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ "สื่อต่างชาติแนะรถเมล์สาย 8 ควรปรับปรุงไม่งั้นไปไม่รอด". วอยซ์ทีวี. 6 ธันวาคม 2558. สืบค้นเมื่อ 30 สิงหาคม 2562.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ "สาย 8 เร็วทะลุนรก หนังใหม่ พจน์ อานนท์ ผู้กำกับ หลวงพี่แจ๊ส 4G". bugaboo. 8 พฤษภาคม 2559. สืบค้นเมื่อ 30 สิงหาคม 2562.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ "หนังลงโรง (สัปดาห์ที่ 1 : ตุลาคม 2559)". เนชั่น. 5 ตุลาคม 2559. สืบค้นเมื่อ 30 สิงหาคม 2562.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ "สุดฮา เมื่อรถเมล์สาย 8 ในตำนานไปอยู่ในเกม GTA5". แบไต๋. 1 กรกฎาคม 2558. สืบค้นเมื่อ 30 สิงหาคม 2562.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help)