ประเทศแคเมอรูน
สาธารณรัฐแคเมอรูน | |
---|---|
เมืองหลวง | ยาอุนเด[1] 3°52′N 11°31′E / 3.867°N 11.517°E |
เมืองใหญ่สุด | ยาอุนเด (เมือง) ดูอาลา (เขตปริมณฑล) |
ภาษาราชการ | |
กลุ่มชาติพันธุ์ |
|
ศาสนา (2018)[2] |
|
เดมะนิม | ชาวแคเมอรูน |
การปกครอง | รัฐเดี่ยว ระบบพรรคเด่น ระบบกึ่งประธานาธิบดี สาธารณรัฐรัฐธรรมนูญ |
พอล ไบยา | |
โจเซฟ งูเต | |
สภานิติบัญญัติ | รัฐสภา |
• สภาสูง | วุฒิสภา |
• สภาล่าง | สมัชชาแห่งชาติ |
เป็นเอกราชจากสหราชอาณาจักรและฝรั่งเศส | |
• ประกาศ | 1 มกราคม ค.ศ. 1960 |
• รวมกับอดีต บริติชแคเมอรูน | 1 ตุลาคม ค.ศ. 1961 |
พื้นที่ | |
• รวม | 475,442 ตารางกิโลเมตร (183,569 ตารางไมล์) (อันดับที่ 53) |
0.57 | |
ประชากร | |
• 2020 ประมาณ | 26,545,864 [3] (อันดับที่ 51) |
• สำมะโนประชากร 2005 | 17,463,836[4] |
39.7 ต่อตารางกิโลเมตร (102.8 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 167) | |
จีดีพี (อำนาจซื้อ) | 2021 (ประมาณ) |
• รวม | 101.950 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[5] (อันดับที่ 94) |
• ต่อหัว | 3,745 ดอลลาร์สหรัฐ[5] (อันดับที่ 151) |
จีดีพี (ราคาตลาด) | 2021 (ประมาณ) |
• รวม | 44.893 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[5] (89th) |
• ต่อหัว | 1,649 ดอลลาร์สหรัฐ[5] (อันดับที่ 150) |
จีนี (2014) | 46.6[6] สูง |
เอชดีไอ (2019) | 0.563[7] ปานกลาง · อันดับที่ 153 |
สกุลเงิน | ฟรังก์ซีเอฟเอ (XAF) |
เขตเวลา | UTC+1 (เวลาแอฟริกาตะวันตก) |
รูปแบบวันที่ | วว/ดด/ปปปป ปปปป/ดด/วว |
ขับรถด้าน | ขวา |
รหัสโทรศัพท์ | +237 |
โดเมนบนสุด | .cm |
แคเมอรูน (อังกฤษ: Cameroon; ฝรั่งเศส: Cameroun) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐแคเมอรูน (อังกฤษ: Republic of Cameroon; ฝรั่งเศส: République du Cameroun) เป็นสาธารณรัฐในแอฟริกากลาง มีอาณาเขตจรดไนจีเรีย ชาด สาธารณรัฐแอฟริกากลาง สาธารณรัฐคองโก กาบอง อิเควทอเรียลกินี แคเมอรูนถูกจัดให้เป็นประเทศในแถบแอฟริกาตะวันตก แต่ในบางครั้งก็สามารถรวมอยู่ในกลุ่มประเทศแอฟริกากลางได้เช่นกัน เนื่องจากสภาพที่ตั้งของประเทศตั้งอยู่ก้ำกึ่งระหว่างสองบริเวณดังกล่าว แคเมอรูนมีประชากรราว 27 ล้านคน และมีภาษาพูดมากกว่า 250 ภาษา[8][9][10] แคเมอรูนยังได้รับสมญานามว่า "ทวีปแอฟริกาย่อส่วน" จากการที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ วัฒนธรรม และทรัพยากรธรรมชาติมากที่สุดแห่งหนึ่งในทวีป[11]
แคเมอรูนมีประวัติศาสตร์ยาวนานมาตั้งแต่ยุคโบราณ กลุ่มคนดั้งเดิมในดินแดนแห่งนี้เป็นผู้นำอารยธรรมเซาเข้ามาเผยแพร่ และตั้งรกรากอยู่โดยรอบทะเลสาบชาด และมักประกอบอาชีพล่าสัตว์ นักสำรวจชาวโปรตุเกสมาถึงชายฝั่งบริเวณนี้ในศตวรรษที่ 15 และตั้งชื่อบริเวณนี้ว่า Rio dos Camarões (แม่น้ำกุ้ง) ซึ่งต่อมาได้กลายเป็น "แคเมอรูน" ในภาษาอังกฤษ ทหารชาวฟูลานีได้ก่อตั้งรัฐอาดามาโบราณขึ้นทางตอนเหนือของประเทศในศตวรรษที่ 19 และกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ทางตะวันตกและตะวันตกเฉียงเหนือได้ก่อตั้งกลุ่มการเมืองซึ่งนำโดยกลุ่มชาติพันธุ์แอฟริกันโบราณที่ทรงอำนาจ แคเมอรูนกลายเป็นอาณานิคมของเยอรมนีใน ค.ศ. 1884 รู้จักในชื่อ "คาเมรุน" (Kamerun) ภายหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักรได้แย่งกันครอบครองแคเมอรูน ซึ่งได้กลายเป็นหนึ่งในดินแดนในอาณัติของสันนิบาตชาติ และดินแดนทั้งหมดได้ถูกแบ่งเป็นสองส่วนคือ แคเมอรูนเหนือ (ปกครองโดยฝรั่งเศส) และ แคเมอรูนใต้ (ปกครองโดยสหราชอาณาจักร) พรรคการเมือง Union des Populations du Cameroun (UPC) ของแคเมอรูนซึ่งมีอุดมการณ์ชาตินิยมและต่อต้านการรุกรานของต่างชาติ เกิดความขัดแย้งกับฝรั่งเศสในทศวรรษ 1950 นำไปสู่สงคราม Bamileke จนถึงต้น ค.ศ. 1971 ใน ค.ศ 1960 ส่วนหนึ่งของแคเมอรูนที่ปกครองโดยฝรั่งเศส เป็นอิสระในฐานะสาธารณรัฐแคเมอรูนภายใต้การบริหารของ อาห์มาดู อายีโจ ประธานาธิบดีคนแรก ต่อมา บริเวณทางใต้ของประเทศที่เป็นบริติชแคเมอรูน ได้ควบรวมกับดินแดนที่เหลือทั้งหมดและก่อตั้งเป็นสาธารณรัฐแคเมอรูน และดินแดนนี้ได้ถูกทิ้งร้างเป็นเวลาหลายปี ก่อนจะเปลี่ยนชื่อมาเป็นสหสาธารณรัฐแคเมอรูน และกลายมาเป็นสาธารณรัฐแคเมอรูนใน ค.ศ. 1984 โดยมี ปอล บียา ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีมาอย่างยาวนานตั้งแต่ ค.ศ. 1982 และปกครองด้วย ระบบประธานาธิบดีมานับตั้งแต่นั้น
ในปัจจุบัน ภาษาราชการของแคเมอรูนคือภาษาฝรั่งเศส และภาษาอังกฤษ[12] ในอดีตนั้นประชากรใช้ภาษาฝรั่งเศส-แคเมอรูน และ อังกฤษ-แคเมอรูน ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวคริสต์ โดยมีชนกลุ่มน้อยบางส่วนที่นับถือศาสนาอิสลามอย่างมีนัยสำคัญ รวมทั้งศาสนาอื่น ๆ ตามความเชื่อดั้งเดิมของชนเผ่าในป่าและชนบท ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา แคเมอรูนต้องเผชิญกับความขัดแย้งทางสังคมและวัฒนธรรมที่สำคัญ โดยกลุ่มคนที่พูดภาษาอังกฤษมีความพยายามที่จะกระจายการใช้ภาษาอังกฤษไปยังภูมิภาคอื่น ๆ และต้องการเรียกร้องสิทธิของประชากรกลุ่มน้อยที่พูดภาษาอังกฤษซึ่งยังไม่ได้รับการยอมรับจากประชากรส่วนใหญ่ที่พูดภาษาฝรั่งเศส[13] ในขณะที่ประชากรส่วนมากยังต้องการธำรงภาษาฝรั่งเศสและภาษาท้องถิ่นดั้งเดิมของตนเอาไว้ ความขัดแย้งลุกลามถึงขั้นเกิดสงครามแบ่งแยกดินแดน ซึ่งกลุ่มประชากรที่พูดภาษาอังกฤษได้ก่อตั้งองค์กร แอมบาโซเนีย (Ambazonia) และแยกตัวไปสร้างรัฐใหม่ของตนเองในนาม รัฐแอมบาโซเนียน ใน ค.ศ. 2017[14] แต่ยังไม่ได้รับการยอมรับจากประเทศมหาอำนาจอื่น ๆ รวมทั้งสหประชาชาติ[15]
แคเมอรูนตั้งอยู่ในจุดภูมิศาสตร์ที่เต็มไปด้วยความหลากหลายทางธรรมชาติ[16] ได้แก่ ชายหาด ทะเลทราย ภูเขา ป่าฝน และทุ่งหญ้าสะวันนา จุดที่สูงที่สุดในประเทศคือ ยอดเขาแคเมอรูน ตั้งอยู่ในภาคตะวันตกเฉียงใต้ มีความสูงกว่า 4,100 เมตร (13,500 ฟุต) เหนือระดับน้ำทะเล เมืองที่มีประชากรมากที่สุดคือเมืองดูอาลาบนแม่น้ำโวรี และยังเป็นเมืองหลวงทางเศรษฐกิจและท่าเรือหลัก และมีเมืองหลวงคือยาอุนเด แคเมอรูนมีชื่อเสียงในด้านดนตรีพื้นเมืองอันไพเราะ และมีทีมฟุตบอลที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดทีมหนึ่งในทวีปแอฟริกา[17][18] แคเมอรูนเป็นรัฐสมาชิกของสหภาพแอฟริกา สหประชาชาติ เครือจักรภพแห่งชาติ ขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด และองค์การความร่วมมืออิสลาม
แคเมอรูนเป็นประเทศกำลังพัฒนา และประชากรส่วนมากยังต้องเผชิญกับความยากจน[19] โดยมักประกอบอาชีพเกษตรกรรม เลี้ยงสัตว์ และค้าขาย ปัญหาหลักในปัจจุบันได้แก่ ความเหลื่อมล้ำทางสังคม การถูกกดขี่ของชนกลุ่มน้อย การใช้แรงงานเด็ก และสตรี[20] รวมทั้งการสาธารณสุขและระบบการศึกษาที่ขาดประสิทธิภาพในพื้นที่แถบชนบท[21] แม้ในเมืองใหญ่ ๆ แถบภาคกลางของประเทศจะได้รับการพัฒนาและมีระบบการจัดการที่ดี
ศัพทมูลวิทยา
[แก้]เดิมทีคำว่า แคเมอรูน (Cameroon) เป็นนามวลีที่ถูกเรียกโดยนักสำรวจชาวโปรตุเกสที่ตั้งชื่อให้แม่น้ำวูริ (Wouri) ซึ่งพวกเขาเรียกว่า Rio dos Camarões แปลว่า "แม่น้ำแห่งกุ้ง" หรือ "แม่น้ำกุ้ง" เนื่องจากเคยมีกุ้งผีแคเมอรูน (Cameroon ghost shrimp) อาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก[22] โดยในปัจจุบันชื่อประเทศแคเมอรูนในภาษาโปรตุเกสยังคงเป็น Camarões
ภูมิศาสตร์
[แก้]แคเมอรูนมีพื้นที่ 475,442 ตารางกิโลเมตร (183,569 ตารางไมล์) แคเมอรูนเป็นประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับ 53 ของโลก ตั้งอยู่ในแอฟริกากลางและแอฟริกาตะวันตก หรือที่รู้จักในชื่อประตูของทวีปแอฟริกา บนอ่าวบอนนี ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอ่าวกินีและมหาสมุทรแอตแลนติก แคเมอรูนอยู่ระหว่างละติจูด 1° ถึง 13°N และลองจิจูด 8° ถึง 17°E แคเมอรูนควบคุม 12 ไมล์ทะเลของมหาสมุทรแอตแลนติก[23]
นักวิชาการให้สมฐานามแคเมอรูนว่าเป็น "แอฟริกาย่อส่วน" เพราะประกอบไปด้วยความหลากหลายของสภาพอากาศและพืชพันธุ์ที่สำคัญทั้งหมดของทวีป ได้แก่ ชายฝั่ง ทะเลทราย ภูเขา ป่าฝน และทุ่งหญ้าสะวันนา เพื่อนบ้านของประเทศคือไนจีเรีย และติดกับมหาสมุทรแอตแลนติกทางทิศตะวันตก ติดกับประเทศชาดทางตะวันออกเฉียงเหนือ; สาธารณรัฐแอฟริกากลางทางทิศตะวันออก และอิเควทอเรียลกินี กาบอง และสาธารณรัฐคองโกทางทิศใต้[24][25]
แคเมอรูนแบ่งพื้นที่หลักออกเป็นห้าเขต โดดเด่นด้วยลักษณะทางกายภาพ ภูมิอากาศ และพืชพรรณที่โดดเด่น ที่ราบชายฝั่งทะเลมีความยาว 15 ถึง 150 กิโลเมตร (9 ถึง 93 ไมล์) มีระดับความสูงเฉลี่ย 90 เมตร (295 ฟุต) ร้อนและชื้นมากในฤดูแล้ง แถบนี้ยังมีมีป่าทึบและรวมถึงพื้นที่ที่มีฝนตกชุกที่สุดในโลก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของป่าชายฝั่งทะเล Cross-Sanaga-Bioko[26]
ที่ราบสูงแคเมอรูนใต้โผล่ขึ้นมาจากที่ราบชายฝั่งถึงระดับความสูงเฉลี่ย 650 เมตร (2,133 ฟุต) ป่าฝนเส้นศูนย์สูตรครอบคลุมพื้นที่ภูมิภาคนี้ บริเวณนี้เป็นส่วนหนึ่งของอีโครีเจียนป่าชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกเส้นศูนย์สูตร จุดสูงสุดของแคเมอรูนที่ 4,095 เมตร (13,435 ฟุต) ภูมิภาคนี้มีสภาพอากาศที่ไม่รุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งบนที่ราบสูงตะวันตก แม้ว่าจะมีฝนตกชุกก็ตาม และเป็นบริเวณที่มีดินอุดมสมบูรณ์ที่สุดของแคเมอรูน โดยเฉพาะบริเวณปล่องภูเขาไฟแคเมอรูน (Volcanic plug) ภูเขาไฟที่นี่ได้สร้างทะเลสาบปล่องภูเขาไฟ เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 1986 หนึ่งในนั้นคือทะเลสาบ Nyos พ่นคาร์บอนไดออกไซด์และคร่าชีวิตผู้คนไป 1,700 ถึง 2,000 คน พื้นที่นี้ยังถูกกำหนดโดยกองทุนสัตว์ป่าโลกว่าเป็นเขตหวงห้าม และได้รับการก่อตั้งเป็น อุทยานแห่งชาติวาซา เพื่ออนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่ามาถึงปัจจุบัน
ประวัติศาสตร์
[แก้]ศตวรรษที่ 19-20
[แก้]แคเมอรูนเคยอยู่ภายใต้การปกครองของเยอรมนี และเมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1 แคเมอรูนได้ตกเป็นดินแดนในอาณัติขององค์การสันนิบาตชาติ และเป็นดินแดนอยู่ในความปกครองของฝรั่งเศสและอังกฤษ (ซึ่งแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ แคเมอรูนใต้และแคเมอรูนเหนือ) หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ดินแดนในความปกครองของฝรั่งเศสและอังกฤษดังกล่าวตกเป็นดินแดนของสหประชาชาติ[27] และเมื่อวันที่ 1 มกราคม 1960 แคเมอรูนของฝรั่งเศสได้รับเอกราช มีการเลือกตั้ง และนาย Ahmadou Ahidjo เป็นประธานาธิบดี ต่อมาเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 1961 แคเมอรูนใต้ของอังกฤษได้ลงประชามติอยู่ร่วมกับอดีตแคเมอรูนของฝรั่งเศส ในขณะที่แคเมอรูนเหนือประสงค์จะอยู่ร่วมกับไนจีเรีย เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 1961 สาธารณรัฐแคเมอรูนและแคเมอรูนใต้ของอังกฤษจึงรวมกันเป็นสหพันธ์สาธารณรัฐแคเมอรูน และต่อมาเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 1972 ได้เปลี่ยนเป็นสหสาธารณรัฐแคเมอรูน (the United Republic of Cameroon)[28]
หลังการประกาศเอกราช
[แก้]ภายหลังจากกลายมาเป็นสาธารณรัฐแคเมอรูนใน ค.ศ. 1984 ปอล บียา ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีมาอย่างยาวนานถึงปัจจุบันนับตั้งแต่ ค.ศ. 1982 และแคเมอรูนได้ปกครองด้วยระบอบ ระบบประธานาธิบดี มานับตั้งแต่นั้น[29]
การเมืองการปกครอง
[แก้]บริหาร
[แก้]ประธานาธิบดีทำหน้าที่ประมุขแห่งรัฐ มาจากการเลือกตั้ง มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 7 ปี ตามรัฐธรรมนูญกำหนดให้ดำรงตำแหน่งได้ไม่เกิน 2 วาระ อย่างไรก็ตาม ในเดือนเมษายน 2008 รัฐสภาได้ลงมติรับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญขยายเป็น 3 วาระ ทั้งนี้ ประธานาธิบดีแคเมอรูนมีอำนาจในการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีเพื่อเป็นหัวหน้ารัฐบาล และแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีตามข้อเสนอของนายกรัฐมนตรี[30]
ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน คือ นาย ปอล บียา เข้าดำรงตำแหน่งตั้งแต่ 6 พฤษจิกายน 1982 เป็นต้นมา ได้รับเสียงสนับสนุน 70.9% ในการเลือกตั้งครั้งล่าสุด[31][32]
นิติบัญญัติ
[แก้]ประกอบไปด้วยรัฐภาระบบสภาเดียว (180 ที่นั่ง) สมาชิกสภามาจากการเลือกตั้งโดยตรง มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 5 ปี การเลือกตั้งครั้งล่าสุดมีขึ้นในวันที่ 22 กรกฎาคม 2007 พรรค Rassemblement démocratique du people camerounais (RDPC) หรือพรรค Cameroon People's Democratic Movement ชนะการเลือกตั้ง โดยมีเสียงในสภา 140 ที่นั่ง อนึ่ง รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันกำหนดให้มีการจัดตั้งสภาสูง หรือวุฒิสภาเพื่อบริหารอำนาจนิติบัญญัติด้วย อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการดำเนินการจัดตั้งในปัจจุบัน
ตุลาการ
[แก้]ประกอบไปด้วยศาลยุติธรรม (ผู้พิพากษามาจากการเลือกตั้งโดยรัฐสภา) และศาลฎีกาสูงสุด (ประธานาธิบดีเป็นผู้แต่งตั้งผู้พิพากษา)
กองทัพ
[แก้]กองกำลังติดอาวุธแคเมอรูน (ฝรั่งเศส: Forces armées camerounaises, FAC) ประกอบด้วยกองทัพบกของประเทศ (Armée de Terre) กองทัพเรือของประเทศ (Marine Nationale de la République (MNR) รวมถึงทหารราบของกองทัพเรือ) กองทัพอากาศแคเมอรูน[33] (Armée de l'Air du Cameroun, AAC) และนายทหารทั่วไป ประชากรชายและหญิงที่มีอายุ 18 ปีถึง 23 ปีและสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายมีสิทธิ์รับราชการทหารโดยสมัครใต ไม่มีการเกณฑ์ทหารในประเทศแคเมอรูน แต่รัฐบาลจะทำการเรียกอาสาสมัครเข้ามาช่วยกองทัพในยามจำเป็น[34]
สิทธิมนุษยชน
[แก้]องค์กรสิทธิมนุษยชนกล่าวหาว่าตำรวจและกองกำลังทหารปฏิบัติของรัฐบาลแคเมอรูนกระทำการทารุณ และทรมานผู้ต้องสงสัยในคดีอาญา, ชนกลุ่มน้อย กลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ, กลุ่มคนรักร่วมเพศ และนักเคลื่อนไหวทางการเมือง[35][36] ตัวเลขขององค์การสหประชาชาติระบุว่ามีผู้คนมากกว่า 21,000 คนหลบหนีไปยังประเทศเพื่อนบ้าน[37] ในขณะที่ 160,000 คนต้องพลัดถิ่นจากสถานการณ์ความรุนแรงภายในประเทศ หลายคนถึงขั้นต้องซ่อนตัวอยู่ในป่า และยังประสบปัญหาเรือนจำแออัด และการสาธารณสุขที่มีคุณภาพน้อย นับตั้งแต่ทศวรรษแรกของศตวรรษที่ 21 เจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารรักษาพระองค์จำนวนมากขึ้นถูกดำเนินคดีในข้อหาประพฤติมิชอบ เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2018 ผู้นำแห่งสหประชาชาติเพื่อสิทธิมนุษยชน Zeid Ra'ad Al Hussein ได้แสดงความกังวลอย่างมากเกี่ยวกับรายงานการละเมิดสิทธิมนุษยชนในภูมิภาคตะวันตกเฉียงเหนือและตะวันตกเฉียงใต้ของแคเมอรูน การกระทำทางเพศกับเพศเดียวกันผิดกฎหมายอาญา โดยมีโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือนถึง 5 ปี[38]
นโยบายต่างประเทศ
[แก้]นโยบายต่างประเทศของแคเมอรูนให้ความสำคัญกับ ความเป็นเอกราช การเป็นประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด และการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศ ในภาพรวม แคเมอรูนมีความสัมพันธ์อันดีกับนานาประเทศ และมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดเป็นพิเศษกับประเทศฝรั่งเศสด้วยเหตุผลทางประวัติศาสตร์ ทั้งยังมีความสัมพันธ์อันดีกับประเทศจีนซึ่งมีเข้ามาจัดทำโครงการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานและสาธารณสุขหลายโครงการในแคเมอรูน รวมถึงความช่วยเหลือด้านการทหารด้วย[39][40][41]
แคเมอรูนเคยมีข้อพิพาทด้านดินแดนกับไนจีเรียบริเวณคาบสมุทร Bakassi ซึ่งเป็นแหล่งทรัพยากรน้ำมัน นำไปสู่การสู้รบกันของทหารทั้งสองฝ่ายในช่วงปี 1994-96 และจบลงด้วยการเข้ามาไกล่เกลี่ยขององค์การสหประชาชาติในปี 1996
ความสัมพันธ์กับราชอาณาจักรไทย
[แก้]ความสัมพันธ์ด้านการเมือง
ไทยและแคเมอรูนสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 1965 ในปัจจุบัน ไทยได้มอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงอาบูจา ประเทศไนจีเรีย มีเขตอาณาครอบคลุมประเทศแคเมอรูน ในปัจจุบัน ฝ่ายแคเมอรูนยังมิได้มอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูตใดมีเขตอาณาครอบคลุมประเทศไทย (สถานเอกอัครราชทูตแคเมอรูน ณ กรุงปักกิ่ง อยู่ใกล้ไทยที่สุด)ความสัมพันธ์ระหว่างไทยและแคเมอรูนดำเนินมาด้วยความราบรื่น และไม่มีปัญหาระหว่างกัน
ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจ
ปริมาณการค้าระหว่างไทยกับแคเมอรูนได้เพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ โดยไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้ามาโดยตลอด ในปี 2008 มูลค่าการค้าระหว่างไทยกับแคเมอรูนมีมูลค่า 109.26 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไทยส่งออก 87.31 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และนำเข้า 21.95 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้าเป็นเงิน 65.37 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
สินค้าหลักที่ไทยส่งออกไปแคเมอรูนได้แก่ ข้าว รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เสื้อผ้าสำเร็จรูป เม็ดพลาสติก ผลิตภัณฑ์พลาสติก และสินค้าที่ไทยนำเข้าจากแคเมอรูน ได้แก่ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์จากพืช ด้ายและเส้นใย ไม้ซุง ไม้แปรรูป[42]
ความสัมพันธ์ด้านสังคมและวัฒนธรรม
ประเทศไทยเคยให้ความช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรมแก่แคเมอรูน จากกรณีการระเบิดของก๊าซจากปล่องภูเขาไฟในแคเมอรูน โดยได้บริจาคข้าวนึ่งชนิด 5% จำนวน 25 ตัน ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 1988 และในปี 1990 ไทยได้บริจาคข้าวนึ่ง 10% จำนวน 100 ตัน ให้แก่แคเมอรูนโดยผ่านทางสมาคมฟุตบอลแคเมอรูน
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]รัฐธรรมนูญแบ่งแคเมอรูนออกเป็น 10 เขตกึ่งปกครองตนเอง โดยแต่ละภูมิภาคอยู่ภายใต้การบริหารงานของสภาภูมิภาคที่ได้รับการเลือกตั้ง แต่ละภูมิภาคนำโดยผู้ว่าการที่ได้รับการแต่งตั้งจากประธานาธิบดี
เศรษฐกิจ
[แก้]โครงสร้าง
[แก้]ภายหลังจากแผนงานการขจัดความยากจนและกระตุ้นความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (PRGF) ภายใต้การสนับสนุนด้านนโยบายและการเงินของ IMF (มูลค่ารวม 28.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) สิ้นสุดลงในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา รัฐบาลแคเมอรูนได้แสดงความตั้งใจที่จะดำเนินนโยบายเศรษฐกิจที่เป็นอิสระ อย่างไรก็ตาม ในเดือนมิถุนายน 2009 รัฐบาลได้ตอบรับความช่วยเหลือทางด้านการเงินของ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) มูลค่า 144 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายใต้แผนงานการรับมือกับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก (Exogenous Shocks Facility หรือ ESF)[43][44][45]
แคเมอรูนเป็นเส้นทางลำเลียงขนส่งสินค้าที่สำคัญไปยังประเทศเพื่อนบ้านที่ไม่มีทางออกทะเล ได้แก่ ชาดและสาธารณรัฐแอฟริกากลาง รัฐบาลแคเมอรูนมีรายได้หลักมาจากการเก็บภาษีศุลกากร (ประมาณร้อยละ 20 ของรายได้ทั้งหมด) แต่กำลังประสบปัญหาการหลีกเลี่ยงภาษี ทางการแคเมอรูนเปิดเผยว่า ในปี 2014 ร้อยละ 51 ของสินค้าที่อ้างว่าจะส่งออกไปขายต่อในประเทศเพื่อนบ้านเพื่อหลีกเลี่ยงภาษีขาเข้าถูกนำมาขายในประเทศ ทำให้รัฐบาลต้องสูญเสียรายได้จากการเก็บภาษีศุลกากรหลายพันล้าน ฟรังซ์ ปัจจุบัน หน่วยงานศุลกากรของแคเมอรูนกำลังเร่งดำเนินการติดตั้งระบบ GPS เพื่อตรวจสอบและติดตามผลการขนส่งสินค้าข้ามประเทศไปขายต่อในประเทศเพื่อนบ้าน
ปัจจุบัน แคเมอรูนได้รับผลกระทบจากการปรับตัวของอุปสงค์และราคาน้ำมันในตลาดโลกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เนื่องจากแคเมอรูนมีรายได้หลักจากการส่งออกน้ำมันดิบ ในปี 2008 สามารถผลิตน้ำมันได้เฉลี่ยประมาณ 87,400 บาร์เรล/วัน แต่มีแนวโน้มที่จะผลิตได้ลดลงในปัจจุบัน รัฐบาลแคเมอรูนกำลังหาแนวทางลดการพึ่งพิงรายได้จากการค้าน้ำมันและเพิ่มรายได้จากการลงทุนด้านการเกษตรเพื่อเพิ่มรายได้จากการส่งออก สินค้าเกษตรที่สำคัญของแคเมอรูน ได้แก่ ไม้แปรรูป กล้วย โกโก้ ฝ้าย และกาแฟ
นโยบายการเงินของแคเมอรูนถูกกำหนดโดยธนาคารแห่งรัฐในภูมิภาคแอฟริกากลาง (Banque des Etats de Afrique centrale หรือ BEAC) ซึ่งปัจจุบันให้ความสำคัญกับการคุมระดับอัตราเงินเฟ้อและรักษาการตรึงค่าเงิน CFA franc ไว้กับเงินสกุลยูโร (655.96 CFAfr เท่ากับ 1 ยูโร)
โครงสร้างพื้นฐาน
[แก้]การคมนาคม และ โทรคมนาคม
[แก้]เมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ในแอฟริกาแล้ว แคเมอรูนมีความเสถียรทางการเมืองและสังคม ทำให้แคเมอรูนได้มีโอกาสพัฒนาเกษตรกรรม ถนน และทางรถไฟ รวมถึงอุตสาหกรรมปิโตรเลียมอันกว้างขวางด้วย ถึงแม้ว่าจะมีการเคลื่อนไหวในการปฏิรูปการเมือง อำนาจก็ยังคงอยู่ในมือของคณาธิปไตยพื้นเมืองอย่างมั่นคง
การศึกษา และ สาธารณสุข
[แก้]ในปี 2013 อัตราการรู้หนังสือสำหรับผู้ใหญ่ทั้งหมดของแคเมอรูนอยู่ที่ 71.3%[46] ในหมู่เยาวชนอายุ 15-24 ปี อัตราการรู้หนังสืออยู่ที่ 85.4% สำหรับผู้ชาย และ 76.4% สำหรับผู้หญิง เด็กส่วนใหญ่สามารถเข้าถึงโรงเรียนของรัฐซึ่งมีราคาถูกกว่าสถานประกอบการของเอกชนและสถาบันทางศาสนา ระบบการศึกษาเป็นการผสมผสานระหว่างแบบอย่างของอังกฤษและฝรั่งเศส โดยมีการสอนส่วนใหญ่เป็นภาษาอังกฤษหรือฝรั่งเศส[47]
แคเมอรูนมีอัตราการเข้าเรียนสูงสุดแห่งหนึ่งในแอฟริกา แต่เด็กผู้หญิงได้ไปโรงเรียนน้อยกว่าเด็กผู้ชายเพราะค่านิยมทางวัฒนธรรม และยังต้องเผชิญกับปัญหาการแต่งงานก่อนวัยอันควร การตั้งครรภ์ และการล่วงละเมิดทางเพศ แม้ว่าอัตราการเข้าเรียนในภาคใต้จะสูงขึ้น ในปี 2013 อัตราการเข้าเรียนในโรงเรียนประถมศึกษาอยู่ที่ 93.5% และยังมีปัญหาในการใช้แรงงานเด็ก[48]
การสาธารณสุขในประเทศยังคงขาดประสิทธิภาพในภาพรวม โดยประชากรในพื้นที่ทุรกันดาร และชนบทยังไม่สามารถเข้าถึการบริการได้ อายุขัยโดยเฉลี่ยในแคเมอรูนอยู่ที่ 56 ปีเท่านั้น (ปี 2012) รํบบาลมีการจัดสรรค่าใช้จ่ายคิดเป็นเพียง 4.1% จีดีพีให้กับการดูแลสุขภาพ และประเทศยังขาดบุคลากรทางการแพทย์เป็นจำนวนมาก จากการสำรวจในปี 2012 พบว่า โรคที่ร้ายแรงที่สุดสามโรค ได้แก่ เอชไอวี การติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่าง และโรคท้องร่วง โรคอื่น ๆ ได้แก่ ไข้เลือดออก โรคเท้าช้าง โรคลิชมาเนีย มาลาเรีย เยื่อหุ้มสมองอักเสบ โรคสคิสโทโซมิอาซิส อัตราความชุกของเอชไอวีในปี 2016 อยู่ที่ประมาณ 3.8% สำหรับผู้ที่มีอายุ 15–49 ปี เด็กอายุต่ำกว่า 14 ปีประมาณ 46,000 คนติดเชื้อเอชไอวีในปี 2016 ในแคเมอรูน 58% ของผู้ติดเชื้อเอชไอวีต้องเสียชีวิตลง และเพียง 37% เท่านั้นที่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัส ในปี 2016 พบว่า มีผู้เสียชีวิตจากโรคเอดส์ถึง 29,000 คนทั้งในผู้ใหญ่และเด็ก
ประชากรศาสตร์
[แก้]แคเมอรูนมีประชากรหญิงมากกว่าชายเล็กน้อย 50.5% และ 49.5% ประชากรกว่า 60% มีอายุต่ำกว่า 25 ปี ผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปีคิดเป็นเพียง 3.11% ของประชากรทั้งหมด ประชากรของแคเมอรูนเกือบจะแบ่งได้เป็นอัตราส่วนเท่า ๆ กันระหว่างชาวเมืองและชาวชนบท ความหนาแน่นของประชากรสูงที่สุดอยู่ในใจกลางเมืองใหญ่ บริเวณที่ราบสูงทางทิศตะวันตก และที่ราบทางตะวันออกเฉียงเหนือ ดูอาลา ยาอุนเด และการัวเป็นสามเมืองที่ใหญ่ที่สุด ในทางตรงกันข้าม ที่ราบสูงอดามาวา ที่ลุ่มเบนูเอตะวันออกเฉียงใต้ และที่ราบสูงทางใต้ของแคเมอรูนส่วนใหญ่มีประชากรเบาบาง องค์การอนามัยโลกระบุว่าอัตราการเจริญพันธุ์อยู่ที่ 4.8 ในปี 2556 โดยมีอัตราการเติบโตของประชากร 2.56%[49]
เชื้อชาติ
[แก้]จากการสำรวจ ชาวแคเมอรูนมีชนกลุ่มน้อยและชาวเผ่าอาศัยรวมกันมากกว่า 230-282 กลุ่ม[50] จำนวนน้อยอาศัยอยู่ใกล้ทะเลสาบชาด ในขณะที่แคเมอรูนตอนใต้ผู้อยู่อาศัคือผู้พูดภาษาเป่าตูและกึ่งบันตู กลุ่มที่พูดภาษาเป่าตูอาศัยอยู่ในเขตชายฝั่งและเส้นศูนย์สูตร ในขณะที่ผู้พูดภาษาเซมิ-บันตูอาศัยอยู่ในทุ่งหญ้าตะวันตก ชาว Gyele และ Baka Pygmy ราว 5,000 คนเร่ร่อนอยู่ตามป่าฝนทางตะวันออกเฉียงใต้และชายฝั่งหรืออาศัยอยู่ในชุมชนเล็ก ๆ ริมถนน และชาวไนจีเรียเป็นกลุ่มชาวต่างชาติที่ใหญ่ที่สุดในประเทศแคเมอรูน
ศาสนา
[แก้]กีฬา
[แก้]ฟุตบอล
[แก้]ฟุตบอลเป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในประเทศ ฟุตบอลทีมชาติแคเมอรูนเป็นทีมที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดทีมหนึ่งในทวีปแอฟริกา ทีมชาติแคเมอรูน มีส่วนร่วมในการแข่งขันสำคัญหลายครั้ง ลงเล่นฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย 8 สมัย[53] เคยผ่านเข้ารอบ 8 ทีมสุดท้าย ในฟุตบอลโลก 1990 และยังเป็นอีกหนึ่งทีมที่ประสบความสำเร็จในรายการแอฟริกาคัพออฟเนชันส์ ลงแข่งขัน 20 ครั้ง[54] และชนะเลิศ 5 สมัย มากที่สุดเป็นอันดับสอง เป็นรองเพียงอียิปต์ พวกเขาฉายาว่า "สิงโตผู้ไม่ย่อท้อ" นักเตะระดับโลกที่มีชื่อเสียงได้แก่ ซามุแอล เอโต, โรเจอร์ มิลลา, ริโกแบร์ ซง, ฟรังซัว โอมัม บียิก และ โลร็อง
อาหาร
[แก้]อาหารแตกต่างกันไปตามภูมิภาค อาหารทั่วไปในประเทศมีวัตถุดิบหลักมาจากโกโก้ ข้าวโพด มันสำปะหลัง ข้าวฟ่าง ต้นแปลนทิน มันฝรั่ง ข้าว หรือมันเทศ เสิร์ฟพร้อมกับซอส ซุป หรือสตูว์ที่ทำจากผักใบเขียว ถั่วลิสง น้ำมันปาล์ม หรือส่วนผสมอื่น ๆ เนื้อสัตว์และปลาเป็นที่นิยมแต่มีราคาแพง โดยไก่มักถูกเสริ์ฟไว้สำหรับโอกาสพิเศษเช่น วันขอบคุณพระเจ้า วันใหม่ วันคล้ายวันเกิด อาหารโดยทั่วไปมักจะค่อนข้างเผ็ดร้อนด้วยพริก เกลือ ซอสพริกแดง และซอสปรุงรส
ชาวแคเมอรูนใช้ช้อนส้อมเป็นส่วนมาก แต่บางแถบท้องถื่นในชนบทยังมีการใช้มืออยู่ อาหารเช้าประกอบด้วยขนมปังและผลไม้ต่าง ๆ พร้อมกาแฟหรือชา โดยทั่วไปอาหารเช้าทำจากแป้งสาลีในอาหารต่างๆ เช่น พัฟพัฟ (โดนัท) ที่ทำจากกล้วยและแป้ง เค้ก ถั่ว และอื่นๆ อีกมากมาย ขนมเป็นที่นิยม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเมืองใหญ่ที่พวกเขาสามารถซื้อได้จากพ่อค้าแม่ค้าข้างถนน เครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมสูงคือ เบียร์ และ ไวน์ รวมทั้งน้ำสมุนไพร[55][56]
ดนตรี
[แก้]ดนตรีและการเต้นรำเป็นส่วนสำคัญของพิธีการ เทศกาล การรวมตัวทางสังคม และการเล่าเรื่องของชาวแคเมอรูน การเต้นรำตามประเพณีมีการออกแบบท่าเต้นอย่างดีและแยกชายหญิงหรือห้ามไม่ให้เต้นร่วมกัน จุดประสงค์ของการเต้นรำมีตั้งแต่เพื่อความบันเทิง ไปจนถึงการอุทิศตนทางศาสนา
ดนตรีบรรเลงอาจจะเป็นเพลงง่ายพอ ๆ กับการปรบมือและตีเท้า[57] มักจะมีการเต้น ตีกลอง รวมทั้งใช้ ขลุ่ย แตร อุปกรณ์อื่น ๆ ที่เขย่าแล้วมีเสียง เครื่องขูด เครื่องสาย นกหวีด และระนาด ซึ่งแตกต่างกันไปตามกลุ่มชาติพันธุ์และภูมิภาค นักแสดงบางคนสามารถร้องเพลงและเล่นเครื่องดนตรีไปพร้อมกันได้โดยไม่ต้องมีผู้ช่วย
แนวเพลงที่ได้รับความนิยม ได้แก่ อัสซิโกแห่งบาสซา, มังกาบือแห่งบังกังเต และ ทซามัสซีแห่งบามิเลเก
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Cameroon". World Factbook. CIA. สืบค้นเมื่อ 3 August 2020.
- ↑ "Cameroon – the World Factbook". 29 September 2021.
- ↑ United Nations. "World Population Prospects 2020".
- ↑ "Rapport de présentation des résultats définitifs" (PDF) (ภาษาฝรั่งเศส). Institut national de la statistique. p. 6. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 13 August 2012. สืบค้นเมื่อ 21 July 2012.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 5.3 "World Economic Outlook Database, April 2021". IMF.org. International Monetary Fund. สืบค้นเมื่อ 6 April 2021.
- ↑ "GINI index (World Bank estimate)". databank.worldbank.org. World Bank. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 March 2018. สืบค้นเมื่อ 7 February 2019.
- ↑ Human Development Report 2020 The Next Frontier: Human Development and the Anthropocene (PDF). United Nations Development Programme. 15 December 2020. pp. 343–346. ISBN 978-92-1-126442-5. สืบค้นเมื่อ 16 December 2020.
- ↑ Kouega, Jean-Paul. 'The Language Situation in Cameroon', Current Issues in Language Planning, vol. 8/no. 1, (2007), pp. 3–94.
- ↑ "Cameroon". Ethnologue (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Linguistic diversity in Africa and Europe | Bilingualism/multilingualism | Geolinguistics | Languages Of The World". web.archive.org. 2012-05-15. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-15. สืบค้นเมื่อ 2021-09-07.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "Countries". Commonwealth Governance (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ "Linguistic diversity in Africa and Europe | Bilingualism/multilingualism | Geolinguistics | Languages Of The World". web.archive.org. 2012-05-15. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-15. สืบค้นเมื่อ 2021-09-07.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "UNPO News:". unpo.org.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "Cameroon's Anglophone crisis: Red Dragons and Tigers - the rebels fighting for independence". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2018-10-04. สืบค้นเมื่อ 2021-09-07.
- ↑ Welle (www.dw.com), Deutsche. "Will 'Ambazonia' become Africa's newest country? | DW | 02.10.2017". DW.COM (ภาษาอังกฤษแบบบริติช).
- ↑ "archive.ph". archive.ph.
- ↑ "African Cup Of Nations Team Profile: Cameroon | Goal.com". www.goal.com.
- ↑ "Africa Cup of Nations | History, Winners, Trophy, & Facts". Encyclopedia Britannica (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Cameroon Poverty Rate 1996-2021". www.macrotrends.net.
- ↑ "Findings on the Worst Forms of Child Labor - Cameroon | U.S. Department of Labor". www.dol.gov.
- ↑ "WFP Cameroon Country Brief, March 2018 - Cameroon". ReliefWeb (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Camarões: o que os crustáceos têm a ver com o país? | Sobre Palavras". VEJA (ภาษาโปรตุเกสแบบบราซิล).
- ↑ "Cameroon | Culture, History, & People". Encyclopedia Britannica (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Cameroon geography, maps, climate, environment and terrain from Cameroon | - CountryReports". www.countryreports.org.
- ↑ "Cameroon Geography Profile". www.indexmundi.com (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ abc_admin (2013-01-12). "Geography". African Bird Club (ภาษาอังกฤษ).[ลิงก์เสีย]
- ↑ B. S., Texas A&M University; Facebook, Facebook. "A Brief History of Cameroon, Africa". ThoughtCo (ภาษาอังกฤษ).
{{cite web}}
:|last2=
มีชื่อเรียกทั่วไป (help) - ↑ Hydrant (http://www.hydrant.co.uk), Site designed and built by. "Cameroon : History". The Commonwealth (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-04-15. สืบค้นเมื่อ 2021-09-07.
{{cite web}}
: ระบุ|accessdate=
และ|access-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help) - ↑ "Cameroon - History". Encyclopedia Britannica (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "สาธารณรัฐแคเมอรูน". กระทรวงการต่างประเทศ.
- ↑ Emvana, Michel Roger (2005). Paul Biya: les secrets du pouvoir (ภาษาฝรั่งเศส). KARTHALA Editions. ISBN 978-2-84586-684-3.
- ↑ "Elections. La fraude «made in Cameroon» fait fureur". Cameroonvoice (ภาษาฝรั่งเศส). 2012-10-29.
- ↑ AfricaNews (2021-06-27CEST15:10:00+02:00). "Cameroon: Military under attack". Africanews (ภาษาอังกฤษ).
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ "Cameroon Army: Latest News, Photos, Videos on Cameroon Army". NDTV.com.
- ↑ https://fr.allafrica.com/stories/200707170411.html
- ↑ "freedomhouse.org: Country Report". web.archive.org. 2007-09-30. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2021-09-07.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ CNN, Radina Gigova,. "Rights groups call for probe into protesters' deaths in Cameroon". CNN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-03-18. สืบค้นเมื่อ 2021-09-07.
{{cite news}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) CS1 maint: extra punctuation (ลิงก์) - ↑ "Cameroon goes offline after Anglophone revolt - CNN.com". web.archive.org. 2017-03-18. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-03-18. สืบค้นเมื่อ 2021-09-07.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "AGREEMENT TRANSFERRING AUTHORITY OVER BAKASSI PENINSULA FROM NIGERIA TO CAMEROON 'TRIUMPH FOR THE RULE OF LAW', SECRETARY-GENERAL SAYS IN MESSAGE FOR CEREMONY | Meetings Coverage and Press Releases". web.archive.org. 2018-01-31. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-01-31. สืบค้นเมื่อ 2021-09-07.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "Cameroon profile - Timeline - BBC News". web.archive.org. 2018-02-09. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-02-09. สืบค้นเมื่อ 2021-09-07.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ Putz, Catherine. "Which Countries Are For or Against China's Xinjiang Policies?". thediplomat.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ "จับตาสถานการณ์เศรษฐกิจที่ดีขึ้นของแคเมอรูนและการส่งออกข้าวไทยมูลค่ากว่า 275 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็นสัดส่วน 5.2% ของการนำเข้าของแคเมอรูน – globthailand.com". globthailand.com.
- ↑ "Overview". World Bank (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Cameroon - Economy". Encyclopedia Britannica (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ author., Forster, E. M. (Edward Morgan), 1879-1970,. A passage to India. ISBN 978-0-593-24156-1. OCLC 1202052414.
{{cite book}}
:|last=
มีชื่อเรียกทั่วไป (help)CS1 maint: extra punctuation (ลิงก์) - ↑ "Statistics | Cameroon | UNICEF". web.archive.org. 2017-12-24. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-12-24. สืบค้นเมื่อ 2021-09-07.
{{cite web}}
: ระบุ|accessdate=
และ|access-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help) - ↑ DeLancey, Mark W.; DeLancey, Mark Dike (2000). Historical Dictionary of the Republic of Cameroon (3rd ed.). Lanham, Maryland: The Scarecrow Press
- ↑ "UNdata | country profile | Cameroon". web.archive.org. 2016-11-04. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-11-04. สืบค้นเมื่อ 2021-09-07.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "World Population Prospects - Population Division - United Nations". population.un.org.
- ↑ West, Ben (2004). Cameroon: The Bradt Travel Guide. Guilford, Connecticut: The Globe Pequot Press.
- ↑ Pew Research Center's Religion & Public Life Project: Cameroon เก็บถาวร 2018-08-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Pew Research Center. 2010.
- ↑ "July–December, 2010 International Religious Freedom Report – Cameroon". US Department of State. 8 April 2011. สืบค้นเมื่อ 12 November 2011.
- ↑ "FIFA". fifa.com (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ http://preview.thenewsmarket.com/Previews/puma/DocumentAssets/269104.pdf
- ↑ portfolio. "Les plats de la cuisine du Cameroun" (ภาษาฝรั่งเศส). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-09-07. สืบค้นเมื่อ 2021-09-07.
- ↑ "Cuisine Camerounaise". Recettes Africaines (ภาษาฝรั่งเศส). 2016-11-12.
- ↑ "Dance as a window into Cameroonian culture". www.peacecorps.gov (ภาษาอังกฤษ).
บรรณานุกรม
[แก้]- DeLancey, Mark W.; DeLancey, Mark Dike (2000). Historical Dictionary of the Republic of Cameroon (3rd ed.). Lanham, Maryland: The Scarecrow Press. ISBN 978-0810837751.
- Hudgens, Jim; Trillo, Richard (1999). West Africa: The Rough Guide (3rd ed.). London: Rough Guides. ISBN 978-1858284682.
- Mbaku, John Mukum (2005). Culture and Customs of Cameroon. Westport, Connecticut: Greenwood Press. ISBN 978-0313332319.
- Neba, Aaron (1999). Modern Geography of the Republic of Cameroon (3rd ed.). Bamenda: Neba Publishers.
- West, Ben (2004). Cameroon: The Bradt Travel Guide. Guilford, Connecticut: The Globe Pequot Press. ISBN 978-1841620787.
อ่านเพิ่ม
[แก้]- "Cameroon – Annual Report 2007". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 May 2007. สืบค้นเมื่อ 7 February 2007. . Reporters without Borders. Retrieved 6 April 2007.
- "Cameroon". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 January 2007. สืบค้นเมื่อ 6 January 2007. . Human Development Report 2006. United Nations Development Programme. Retrieved 6 April 2007.
- Fonge, Fuabeh P. (1997). Modernization without Development in Africa: Patterns of Change and Continuity in Post-Independence Cameroonian Public Service. Trenton, New Jersey: Africa World Press, Inc.
- MacDonald, Brian S. (1997). "Case Study 4: Cameroon", Military Spending in Developing Countries: How Much Is Too Much? McGill-Queen's University Press.
- Njeuma, Dorothy L. (no date). "Country Profiles: Cameroon". The Boston College Center for International Higher Education. Retrieved 11 April 2008.
- Rechniewski, Elizabeth. "1947: Decolonisation in the Shadow of the Cold War: the Case of French Cameroon." Australian & New Zealand Journal of European Studies 9.3 (2017). online[ลิงก์เสีย]
- Sa'ah, Randy Joe (23 June 2006). "Cameroon girls battle 'breast ironing'". BBC News. Retrieved 6 April 2007.
- Wright, Susannah, ed. (2006). Cameroon. Madrid: MTH Multimedia S.L.
- "World Economic and Financial Surveys". World Economic Outlook Database, International Monetary Fund. September 2006. Retrieved 6 April 2007.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Cameroon. The World Factbook. Central Intelligence Agency.
- Cameroon Corruption Profile เก็บถาวร 2014-03-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน from Business Anti-Corruption Portal
- Cameroon from UCB Libraries GovPubs
- ประเทศแคเมอรูน ที่เว็บไซต์ Curlie
- Cameroon profile from the BBC News
- Wikimedia Atlas of Cameroon
- Key Development Forecasts for Cameroon from International Futures
- รัฐบาล
- Presidency of the Republic of Cameroon
- Prime Minister's Office
- National Assembly of Cameroon
- Global Integrity Report: Cameroon has reporting on anti-corruption in Cameroon
- Chief of State and Cabinet Members
- การค้า
- Summary Trade Statistics from World Bank