ข้ามไปเนื้อหา

ท่าอากาศยานเลย

พิกัด: 17°26′21″N 101°43′20″E / 17.43917°N 101.72222°E / 17.43917; 101.72222
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ท่าอากาศยานเลย
ข้อมูลสำคัญ
การใช้งานสาธารณะ (ศุลกากร)
ผู้ดำเนินงานกรมท่าอากาศยาน
พื้นที่บริการจังหวัดเลย, จังหวัดหนองบัวลำภู (ฝั่งทิศตะวันตก)
ที่ตั้งตำบลนาอาน ตำบลนาโป่ง อำเภอเมือง จังหวัดเลย
เหนือระดับน้ำทะเล860 ฟุต / 262 เมตร
พิกัด17°26′21″N 101°43′20″E / 17.43917°N 101.72222°E / 17.43917; 101.72222
เว็บไซต์https://minisite.airports.go.th/loei/
แผนที่
แผนที่
ทางวิ่ง
ทิศทาง ความยาว พื้นผิว
ฟุต เมตร
01/19 6,890 2,100 ยางมะตอย
สถิติ (2563)
ผู้โดยสาร158,227
เที่ยวบิน1,694
แหล่งข้อมูล: http://www.airports.go.th

ท่าอากาศยานเลย หรือ สนามบินเลย[1] (IATA: LOEICAO: VTUL) ตั้งอยู่ที่ อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของตัวจังหวัด ห่างจากตัวเมืองประมาณ 5 กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ 1,429 ไร่ บริเวณโดยรอบเกือบทุกทิศทางจะมีภูเขาเตี้ยๆ ล้อมรอบ มีระดับความสูงตั้งแต่ 600-2,000 ฟุต เป็นท่าอากาศยานในสังกัดกรมท่าอากาศยาน กระทรวงคมนาคม[2] และได้ประกาศเป็นท่าอากาศยานศุลกากรเมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2560[3]

ประวัติ

[แก้]

ในปี พ.ศ. 2485 ข้าหลวงเทียน กำเนิดเพชร (หลวงนิคมคณารักษ์) เป็นผู้เริ่มวางแผนสร้างสนามบินโดยย้ายจากสนามบินชั่วคราวที่ตั้งบริเวณศาลากลางจังหวัดเลยปัจจุบัน ออกจากตัวจังหวัดเลยไปทางทิศใต้ประมาณ 5 กิโลเมตร ในเขตตำบลนาอาน โดยมีการถ่างป่าและถมดินเป็นทางวิ่ง สำหรับใช้รับส่งหนังสือทางราชการ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2489 กองทัพอากาศได้มาปักหลักที่ดินขึ้นเป็นที่ดินของกองทัพอากาศ และได้มีการก่อสร้างอาคารผู้โดยสารพร้อมทั้งปรับปรุงทางวิ่ง

เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2497 ได้มีการประกาศเป็นท่าอากาศยานอนุญาต

ในปี พ.ศ. 2511 กรมการบินพาณิชย์ได้เข้ามาดูแลและปรับปรุงทางวิ่ง สร้างอาคารดับเพลิง โรงเครื่องยนต์ และเครื่องช่วยเดินอากาศ จนมีการจัดซื้อที่ดินเพิ่มเติมในปี พ.ศ. 2515 เพื่อปรับปรุงก่อสร้างขยายทางวิ่ง ทางขับ ลานจอดอากาศยาน อาคารผู้โดยสาร เครื่องช่วยเดินอากาศ อาคารโรงเครื่องยนต์ อาคารดับเพลิง ลานจอดรถยนต์ และเครื่องอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ในการให้บริการอากาศยานและผู้โดยสาร[4]

ตามมติที่ประชุมกรรมการ กรอ. จังหวัดเลย ครั้งที่ 1/2559 เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2559 เห็นชอบสนับสนุนผลักดันการประกาศให้ท่าอากาศยานเลยเป็นท่าอากาศยานศุลกากร และเมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2560 ได้ประกาศเป็นท่าอากาศยานศุลกากร โดยเพิ่มเติมความในลำดับที่ 19/2 ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา จนมาสำเร็จและประกาศในที่สุด[5]

การพัฒนาท่าอากาศยาน

[แก้]

เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2561 ทางนายกรัฐมนตรีพร้อมคณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้จัดซื้อที่ดิน 460 ไร่ ให้จัดสร้างลานจอดเครื่องบินและอาคารผู้โดยสารใหม่[6]

อาคารสถานที่

[แก้]

ท่าอากาศยานเลย มีข้อมูลทางกายภาพ ดังนี้[7]

อาคารผู้โดยสาร

[แก้]
  • อาคารที่พักผู้โดยสาร เป็นอาคารสองชั้น ขนาดพื้นที่ใช้สอยประมาณ 2,100 ตารางเมตร สามารถรองรับผู้โดยสารได้ประมาณ 150 คนต่อชั่วโมง หรือ 1,200 คนต่อวัน
  • ลานจอดรถยนต์รองรับได้ 100 คัน
  • ลานจอดอากาศยาน พื้นผิวคอนกรีต ขนาดกว้าง 75 เมตร และยาว 180 เมตร รองรับจำนวนเครื่องบินได้ 16 เที่ยวบินต่อวัน

ทางวิ่ง (รันเวย์) และทางขับ (แท็กซี่เวย์)

[แก้]
  • ทางวิ่ง จำนวน 1 เส้น ขนาด 45 x 2,100 เมตร
  • ทางขับ จำนวน 2 เส้น ขนาด 45 x 150 เมตร และ 45 x 250 เมตร

รายชื่อสายการบิน

[แก้]

รายชื่อสายการบินที่ให้บริการ

[แก้]
สายการบิน จุดหมายปลายทาง[8] หมายเหตุ
นกแอร์ กรุงเทพฯ(ดอนเมือง) ภายในประเทศ
ไทยแอร์เอเชีย กรุงเทพฯ(ดอนเมือง) ภายในประเทศ

รายชื่อสายการบินที่เคยให้บริการ

[แก้]
สายการบิน จุดหมายปลายทาง หมายเหตุ
เดินอากาศไทย กรุงเทพฯ(ดอนเมือง)-ขอนแก่น-อุดรธานี พ.ศ. 2512 - 2525[4]
กรุงเทพฯ(ดอนเมือง)-พิษณุโลก พ.ศ. 2525 - 2534[4]
การบินไทย กรุงเทพฯ(ดอนเมือง)-พิษณุโลก พ.ศ. 2534 - 2537[4]
แอร์อันดามัน กรุงเทพฯ(ดอนเมือง) พ.ศ. 2545 - 2546[4]
นกแอร์ อุดรธานี พ.ศ. 2549 - 2550[4]
แฮปปี้แอร์ กรุงเทพฯ(สุวรรณภูมิ) พ.ศ. 2553[4]
โซลาร์แอร์ กรุงเทพฯ(ดอนเมือง)-เพชรบูรณ์, กรุงเทพฯ(ดอนเมือง) พ.ศ. 2554[4]
การบินไทยสมายล์ กรุงเทพฯ(สุวรรณภูมิ) พ.ศ. 2565[4]

สถิติ

[แก้]

ข้อมูลสถิติการขนส่งทางอากาศ

[แก้]
ข้อมูลสถิติการขนส่งทางอากาศในแต่ละปีปฏิทิน[9]
ปี (พ.ศ.) ผู้โดยสาร ความเปลี่ยนแปลง จำนวนเที่ยวบิน คาร์โก้ (ตัน)
2544 98 30 0.00
2545 1,850 เพิ่มขึ้น 1787.76% 85 0.217
2546 6,439 เพิ่มขึ้น 248.05% 310 0.774
2547 97 ลดลง 98.49% 21 0.00
2548 146 เพิ่มขึ้น 50.52% 31 0.00
2549 7,890 เพิ่มขึ้น 5304.11% 290 0.013
2550 7,196 ลดลง 8.80% 183 0.005
2551 12 ลดลง 99.83% 2 0.00
2552 0 ลดลง 100.00% 0 0.00
2553 884 เพิ่มขึ้น 78 0.00
2554 10,304 เพิ่มขึ้น 1065.61% 580 0.00
2555 22,451 เพิ่มขึ้น 117.89% 620 0.00
2556 41,894 เพิ่มขึ้น 86.60% 796 0.00
2557 55,478 เพิ่มขึ้น 32.42% 1,067 0.00
2558 234,419 เพิ่มขึ้น 322.54% 2,591 0.045
2559 261,280 เพิ่มขึ้น 11.46% 2,639 17.245
2560 270,284 เพิ่มขึ้น 3.45% 2,696 23.624
2561 267,747 ลดลง 0.94% 2,528 24.484
2562 262,236 ลดลง 2.06% 2,380 16.050
2563 158,227 ลดลง 39.66% 1,694 8.46

การเดินทางสู่ท่าอากาศยาน

[แก้]

ท่าอากาศยานเลยตั้งอยู่ริมทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 201 ห่างจากศาลากลางจังหวัดเลยไปทางทิศใต้ 5 กิโลเมตร

อ้างอิง

[แก้]
  1. ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง กำหนดเขตบริเวณใกล้เคียงสนามบินเลย ในท้องที่อำเภอเมืองเลย และอำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย เป็นเขตปลอดภัยในการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๕๔๔
  2. "รายชื่อท่าอากาศยานของกรมท่าอากาศยาน". กรมท่าอากาศยาน. สืบค้นเมื่อ 21 ตุลาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. "รายชื่อท่าอากาศยานศุลกากร". กรมท่าอากาศยาน. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-10. สืบค้นเมื่อ 21 ตุลาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 4.6 4.7 4.8 "ประวัติท่าอากาศยานเลย". กรมท่าอากาศยาน. สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. "ท่าอากาศยานเลยยกระดับสนามบินศุลกากรรับ เออีซี". เดลินิวส์. สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. "รัฐมนตรีเห็นชอบให้จัดซื้อที่ดิน 460 ไร่ พัฒนาสนามบินเลย รองรับนักท่องเที่ยว". เนชั่นทีวี. 17 กันยายน 2561. สืบค้นเมื่อ 21 มีนาคม 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. ข้อมูลแสดงลักษณะกายภาพของท่าอากาศยานที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมท่าอากาศยานจากเว็บไซต์ กรมท่าอากาศยาน
  8. "เว็บไซต์และตารางบินท่าอากาศยานเลย". กรมท่าอากาศยาน. สืบค้นเมื่อ 21 ตุลาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. "ข้อมูลสถิติท่าอากาศยานสังกัดกรมท่าอากาศยาน". กรมท่าอากาศยาน. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-10. สืบค้นเมื่อ 28 ตุลาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)