ข้ามไปเนื้อหา

อาณาจักรศรีวิชัย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ศรีวิชัย)
ศรีวิชัย

Kadatuan Sriwijaya
श्रीविजय
ราวปี พ.ศ. 1193–พ.ศ. 1818
แผนที่ของอาณาจักรศรีวิชัยในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 8-11 ซึ่งเป็นช่วงที่รุ่งเรืองสูงสุด
แผนที่ของอาณาจักรศรีวิชัยในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 8-11 ซึ่งเป็นช่วงที่รุ่งเรืองสูงสุด
เมืองหลวง
ภาษาทั่วไปภาษามลายูโบราณและภาษาสันสกฤต
ศาสนา
มหายาน, วัชรยาน, ศาสนาฮินดู และวิญญาณนิยม
การปกครองราชาธิปไตย
มหาราช 
• ราว พ.ศ. 1226
ศรีชยานาสแห่งศรีวิชัย
• ราว พ.ศ. 1318
ธรรมเสตุ
• ราว พ.ศ. 1335
สัมระตุงกา
• ราว พ.ศ. 1378
พลาปุตรา
• ราว พ.ศ. 1531
ศรีจุฑามณีวรมันเทวะ
ประวัติศาสตร์ 
• ศรีชยานาสแห่งศรีวิชัยเสด็จพระราชดำเนินและขยายราชอาณาจักร (จารึกเกดูกันบูกิต)
ราวปี พ.ศ. 1193
พ.ศ. 1568
พ.ศ. 1818
สกุลเงินเหรียญทองและเงินพื้นเมือง
ก่อนหน้า
ถัดไป
อาณาจักรกันโตลี
ราชวงศ์ไศเรนทร์
อาณาจักรมลายู
อาณาจักรธรรมะสรยา
อาณาจักรสิงคโปร์
อาณาจักรสุลต่านสมุเดราปาไซ
อาณาจักรมัชปาหิต
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของอินโดนีเซีย
สิงคโปร์
มาเลเซีย
ไทย

อาณาจักรศรีวิชัย หรือ อาณาจักรศรีโพธิ์ ก่อตั้งโดยราชวงศ์ไศเลนทร์ ในช่วงที่อาณาจักรฟูนันล่มสลาย มีอาณาเขตครอบคลุมมลายู เกาะชวา เกาะสุมาตรา ช่องแคบมะละกา ช่องแคบซุนดา และบริเวณภาคใต้ของประเทศไทย โดยมีศูนย์กลางอยู่บริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานีของประเทศไทยในปัจจุบัน พื้นที่อาณาจักรแบ่งได้สามส่วน คือส่วนคาบสมุทรมลายู เกาะสุมาตรา และเกาะชวา โดยส่วนของชวาได้แยกตัวออกไปตั้งเป็นอาณาจักรมัชปาหิต ต่อมาเมื่ออาณาจักรศรีวิชัยอ่อนแอลง อาณาจักรมัชปาหิตได้ยกทัพเข้ามาตีศรีวิชัย ได้ดินแดนสุมาตราและบางส่วนของคาบสมุทรมลายูไป และทำให้ศรีวิชัยล่มสลายไปในที่สุด ส่วนพื้นที่คาบสมุทรที่เหลือ ต่อมาเชื้อพระวงศ์จากอาณาจักรเพชรบุรี ได้เสด็จมาฟื้นฟูและตั้งเป็นอาณาจักรนครศรีธรรมราช ศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ ได้ระบุว่า ศรีวิชัยสถาปนาในช่วงเวลาก่อนปี พ.ศ. 1225 เล็กน้อย[3] มีการพบศิลาจารึกภาษามลายูโบราณเกี่ยวกับอาณาจักรศรีวิชัยทั้งที่สุมาตรา และที่วัดเสมาเมืองจังหวัดนครศรีธรรมราช และพบศิลาจารึกภาษาสันสกฤต เมืองไชยา ระบุว่าศรีวิชัยเป็นเมืองท่าค้าพริก ดีปลีและพริกไทยเม็ด โดยมีต้นหมากและต้นมะพร้าวจำนวนมาก

หลวงจีนอี้จิง เคยเดินทางจากเมืองกวางตุ้ง ประเทศจีนโดยเรือของพวกอาหรับ ผ่านฟูนานมาพักที่อาณาจักรศรีวิชัยในเดือน 11 พ.ศ. 1214 เป็นเวลา 2 เดือน ก่อนที่จะเดินทางต่อผ่านเมืองไทรบุรี ผ่านหมู่เกาะคนเปลือยนิโคบาร์ ถึงเมืองท่า[4] ตามพรลิงก์ที่อินเดีย เพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนา หลวงจีนอี้จิงบันทึกไว้ว่า พุทธศาสนาแบบมหายานเจริญรุ่งเรืองในอาณาจักรศรีวิชัย ประชาชนทางแหลมมลายูเดิมส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนา แต่ก็ได้ติดต่อกับพ่อค้าอาหรับมุสลิมที่เดินทางผ่านเพื่อไปยังประเทศจีน ดังนั้นในเวลาต่อมาศาสนาอิสลามจึงได้เผยแพร่ไปยังมะละกา กลันตัน ตรังกานู ปะหัง และปัตตานี จนกลายเป็นรัฐอิสลามไป ต่อมาใน พ.ศ. 1568 อาณาจักรศรีวิชัยได้ตกอยู่ใต้อำนาจและกลายเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรมัชปาหิตของชวาใน พ.ศ. 1940 แต่มีหลักฐานจากตำนานเมืองเพชรบุรีว่า อาณาจักรศรีวิชัยได้ล่มสลายไปก่อนหน้านี้แล้ว เพราะตำนานฯ ระบุว่าก่อนพระพนมวังจะได้สถาปนาอาณาจักรนครศรีธรรมราชในปี พ.ศ. 1830 นครศรีธรรมราชมีสภาพเป็นเมืองร้างมาก่อน[5]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Indonesia - The Malay kingdom of Srivijaya-Palembang". Encyclopedia Britannica (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2019-05-23.
  2. Partogi, Sebastian (November 25, 2017). "Historical fragments of Sriwijaya in Palembang". The Jakarta Post. สืบค้นเมื่อ 23 May 2019.
  3. "ฐานข้อมูลบทความวิชาการ ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้า สุภัทรดิศ ดิศกุล". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-08. สืบค้นเมื่อ 2008-05-06.
  4. Zuhdi, Susanto (2018-09-04). "Sriwijaya dan Spirit Asia". kompas.id (ภาษาอินโดนีเซีย).
  5. "FI - Under maintenance". filmindonesia.or.id.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

หนังสือและบทความ

[แก้]

เว็บไซต์

[แก้]