อัตตาธิปไตย
ส่วนหนึ่งของชุดการเมือง |
ระบอบการปกครอง พื้นฐาน |
---|
รายชื่อระบอบการปกครอง รายชื่อประเทศตามระบอบการปกครอง |
สถานีย่อยการเมือง |
ในสาขารัฐศาสตร์ อัตตาธิปไตย[1] (อังกฤษ: autocracy) เป็นระบอบการปกครองที่อำนาจสูงสุดรวมศูนย์อยู่ในมือของบุคคลคนเดียว ที่สามารถตัดสินใจได้อย่างไม่จำกัดโดยกฎหมายหรือกลไกการควบคุมที่ประชาชนตั้งขึ้น (อาจยกเว้นเมื่อคุกคามโดยปริยายด้วยรัฐประหารหรือการก่อการกำเริบของมวลชน)[2] เป็นคำที่ราชบัณฑิตยสถานได้ให้ความหมายไว้ว่า "ระบอบการปกครองที่ผู้นำมีอำนาจเด็ดขาดและไม่จำกัด"[3] อัตตาธิปไตยในประวัติศาสตร์ปกติจะอยู่ในรูปแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์หรือระบอบเผด็จการ ในยุคต้น ๆ คำว่า "autocrat" มักใช้หมายถึงลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้ปกครอง โดยนัยว่า "ไร้ผลประโยชน์ขัดกัน"
ประวัติ
[แก้]ในยุคกรีกสมัยกลาง (ประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 5-6 จนจบสมัยกลาง) คำว่า Autocrates ใช้กับใครก็ได้ที่มีบรรดาศักดิ์เป็น "จักรพรรดิ" ไม่ว่ากษัตริย์จะทรงมีอำนาจเช่นไรจริง ๆ กษัตริย์เชื้อสายสลาวิกบางพระองค์ รวมทั้งจักรพรรดิของรัสเซียยังทรงมีคำว่า อัตตาธิปัตย์ (Autocrat) ในพระยศของพระองค์ ผิดจากกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญในประเทศยุโรปอื่น ๆ
เปรียบเทียบกับระบอบอื่น
[แก้]ทั้งระบบรวบอำนาจเบ็ดเสร็จและเผด็จการทหารบ่อยครั้งระบุว่าเป็นอัตตาธิปไตย แม้อาจไม่ใช่จริง ๆ เพราะในระบบรวบอำนาจเบ็ดเสร็จ รัฐจะควบคุมวิถีชีวิตและประชาสังคมทุกอย่าง อาจมีผู้มีอำนาจเผด็จการสูงสุด ซึ่งก็จะทำให้เป็นอัตตาธิปไตย หรืออาจมีผู้นำเป็นกลุ่มเช่น คณะผู้ยึดอำนาจการปกครองหรือพรรคการเมืองเดี่ยว
ตามการวิเคราะห์ข้อพิพาททางการทหารระหว่างรัฐสองรัฐ ถ้ารัฐหนึ่งเป็นอัตตาธิปไตย โอกาสความรุนแรงจะเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ[4]
นิธิ เอียวศรีวงศ์ ได้ยกตัวอย่างที่จำแนกความแตกต่างระบอบอัตตาธิปไตยกับระบอบระบอบอำนาจนิยมโดยยกเรื่องราวของพันท้ายนรสิงห์ไว้ว่า "พระเจ้าเสือต้องการใช้อำนาจตามหลักอัตตาธิปไตย พระเจ้าแผ่นดินคือผู้มีอำนาจล้นพ้น จะรับสั่งให้อะไรเป็นผิดหรือถูกก็ได้ทั้งนั้น...แต่พระราชอำนาจในทัศนะของพันท้ายฯ เกิดขึ้นและดำรงอยู่ได้เพราะอาญาสิทธิ์ หากทรงละเว้นไม่เอาโทษพันท้ายฯ ก็จะทำให้อาญาสิทธิ์เสื่อมความศักดิ์สิทธิ์"[5]
การรักษาอำนาจ
[แก้]เพราะองค์อัตตาธิปัตย์ (autocrat) ก็ต้องอาศัยคนอื่น ๆ เพื่อจะปกครอง ดังนั้น การแยกแยะอัตตาธิปไตยจากคณาธิปไตยที่เกิดในประวัติศาสตร์ บางครั้งจึงเป็นเรื่องยาก อัตตาธิปัตย์ตามประวัติโดยมากต้องอาศัยขุนนาง ทหาร นักบวช และกลุ่มอภิสิทธิชนอื่น ๆ[6] อัตตาธิปไตยบางครั้งจะอิงอำนาจการปกครองกับเทวสิทธิราชย์
ตัวอย่างตามประวัติ
[แก้]จักรวรรดิโรมัน - ในปี 27 ก่อนคริสตกาล จักรพรรดิเอากุสตุสทรงก่อตั้งจักรวรรดิโรมันหลังจากอวสานของสาธารณรัฐโรมัน แม้พระองค์จะทรงอนุญาตวุฒิสภาโรมัน แต่อำนาจที่แท้จริงก็อยู่ในพระหัตถ์ของพระองค์ทั้งสิ้น เป็นระบอบที่ทรงสันติภาพและความรุ่งเรืองจนกระทั่งถึงจักรพรรดิก็อมมอดุสเริ่มตั้งแต่ ค.ศ. 161 แล้วต่อมาในคริสต์ทศวรรษที่ 3 จึงเห็นการรุกรานจากอนารยชนและความตกต่ำทางเศรษฐกิจ ต่อมาทั้งจักรพรรดิดิออเกลติอานุส (ค.ศ. 284-305) และจักรพรรดิคอนสตันไทน์มหาราช (ค.ศ. 306-337) ก็ทรงอำนาจโดยเป็นผู้นำเผด็จการเบ็ดเสร็จ ซึ่งเพิ่มอำนาจขององค์จักรพรรดิ แต่จักรวรรดิโรมันก็ขยายใหญ่มากจนจักรพรรดิดิออเกลติอานุส ต้องทรงให้ปกครองโดยผู้นำ 4 ท่านเป็นระบบ tetrarchy (ค.ศ. 284-324)
ในที่สุด จักรวรรดิโรมันก็แบ่งออกเป็นสองส่วน คือ ภาคตะวันตก (โรมัน) และภาคตะวันออก (จักรวรรดิไบแซนไทน์) โดยจักรวรรดิโรมันตะวันตกในที่สุดก็ล้มลงใน ค.ศ. 476 หลังจากที่จักรพรรดิโรมุลุส เอากุสตุส ทรงยอมแพ้ต่อกษัตริย์เยอรมัน[7]
ดูเพิ่ม
[แก้]เชิงอรรถและอ้างอิง
[แก้]- ↑ "autocracy", ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑ ฉบับ ๒๕๔๕,
(รัฐศาสตร์) อัตตาธิปไตย
- ↑ Johnson, Paul M. "Autocracy: A Glossary of Political Economy Terms". Auburn.edu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-02. สืบค้นเมื่อ 2012-09-14.
A system of government in which supreme political power to direct all the activities of the state is concentrated in the hands of one person, whose decisions are subject to neither external legal restraints nor regularized mechanisms of popular control (except perhaps for the implicit threat of coup d'etat or mass insurrection)
- ↑ "อัตตาธิปไตย", พจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒,
[-ทิปะไต, -ทิบปะไต] น. การถือตนเองเป็นใหญ่. ( ป. อตฺตาธิปเตยฺย) ; ระบอบการปกครองที่ผู้นำมีอำนาจเด็ดขาดและไม่จำกัด. ( อ. autocracy)
- ↑ Pinker, Steven (2011). The Better Angels Of Our Nature. Penguin. p. 341. ISBN 978-0-141-03464-5.
- ↑ อัตตาธิปไตยและอาญาสิทธิ์นิยม โดยนิธิ เอียวศรีวงศ์ มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 31 พฤษภาคม - 6 มิถุนายน 2562
- ↑ Tullock, Gordon (1987). Autocracy. Springer Science+Business. ISBN 90-247-3398-7.
{{cite book}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ "Romulus Augustus - The Last Roman Emperor". Rome Across Europe (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-07-15. สืบค้นเมื่อ 2016-04-19.