ข้ามไปเนื้อหา

ชนชั้นขุนนาง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชนชั้นขุนนางในโปแลนด์ ช่วงค.ศ. 1697-1795
งานเลี้ยงของเหล่าขุนนางและชนชั้นสูงในออสเตรีย ค.ศ. 1904
ขุนนางจีนสมัยราชวงศ์หมิง

ชนชั้นขุนนาง (อังกฤษ: nobility) เป็นชนชั้นทางสังคมที่อยู่รองลงมาจากชนชั้นเจ้า ชนชั้นนี้ถือครองสิทธิ์หรือชื่อเสียงมากกว่าชนชั้นอื่นในสังคมเป็นส่วนใหญ่ สิทธิของขุนนางอาจหมายถึง ความได้เปรียบเหนือกว่าชนชั้นอื่น หรืออาจเป็นเกียรติยศ ซึ่งมีบริบทแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศและในแต่ละยุค ปกติชนชั้นขุนนางสืบทอดสิทธิตามสายโลหิตฝ่ายบิดา ในอดีตการจะเข้าสู่ชนชั้นขุนนางได้จะต้องได้รับพระราชทานจากพระมหากษัตริย์หรือได้รับแต่งตั้งจากรัฐบาล บางทีการเลื่อนชนชั้นจากสามัญชนเป็นขุนนางอาจต้องอาศัยอำนาจ ความมั่งคั่ง อำนาจทางทหารหรือความโปรดปรานของพระมหากษัตริย์[1]

ในชนชั้นขุนนางเองก็จะมีการแบ่งออกเป็นอีกหลายระดับ ในประเทศที่ปกครองโดยกษัตริย์มักจะมีกฎหมายหรือข้อบัญญัติเกี่ยวกับชนชั้นขุนนาง แต่ในบางอดีตประเทศที่เป็นสาธารณรัฐก็มีกฎหมายที่เกี่ยวเนื่องเช่นเดียวกัน อาทิ สาธารณรัฐดัตช์ (ค.ศ. 1581–1795), สาธารณรัฐเจนัว (ค.ศ. 1005–1815), สาธารณรัฐเวนิส (ค.ศ. 697–1797) เป็นต้น ในปัจจุบันยังคงมีอีกหลายประเทศที่มีข้อบัญญัติทางชนชั้นอยู่ในลักษณะไม่สืบทอดสิทธิ์ อาทิ ประเทศซานมารีโน, นครรัฐวาติกันในยุโรป ฐานันดรศักดิ์ขุนนางยุโรปที่ทราบกันดี เช่น ดยุก เคานต์ และบารอน

ชนชั้นขุนนางที่ไม่สืบทอดตำแหน่งตามสายโลหิตก็มี โดยจะมีการคัดเลือกด้วยวิธีอื่น เช่น การสอบขุนนางในจีนสมัยจักรวรรดิ

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Move Over, Kate Middleton: These Commoners All Married Royals, Too". Vogue (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-25. สืบค้นเมื่อ 2018-10-24.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]