ข้ามไปเนื้อหา

การเมืองฝ่ายซ้าย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การเมืองฝ่ายซ้าย คือ ฐานะหรือกิจกรรมทางการเมืองที่ยอมรับหรือสนับสนุนความเสมอภาคทางสังคม มักคัดค้านลำดับชั้นทางสังคมและความไม่เสมอภาคทางสังคม ซึ่งมักเกี่ยวข้องกับความกังวลต่อผู้ที่ในสังคมถูกมองว่าด้อยโอกาสเมื่อเทียบกับผู้อื่นและความเชื่อที่มีความไม่เสมอภาคอย่างไม่มีเหตุผลจำต้องลดหรือเลิก[1]

คำว่า "ซ้าย-ขวา" ในทางการเมืองมีขึ้นระหว่างการปฏิวัติฝรั่งเศส (ค.ศ. 1789–1799) หมายถึงการจัดที่นั่งในสภาฐานันดร คือ ผู้ที่นั่งอยู่ฝั่งซ้ายโดยทั่วไปคัดค้านพระมหากษัตริย์และสนับสนุนการปฏิวัติ ซึ่งรวมถึงการสถาปนาสาธารณรัฐและการแยกฝ่ายอาณาจักรออกจากฝ่ายศาสนจักร ส่วนผู้ที่นั่งฝั่งขวาสนับสนุนสถาบันประเพณีของระบอบเก่า การใช้คำว่า "ซ้าย" โดดเด่นขึ้นหลังการฟื้นฟูพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศสใน ค.ศ. 1815 เมื่อใช้กับ "กลุ่มอิสระ" (independents)[2] คำว่า "ฝ่าย" (wing) ใช้กับ "ซ้ายและขวา" ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยทั่วไปมีเจตนาดูถูก และ "ฝ่ายซ้าย" ใช้กับผู้ที่มีมุมมองทางศาสนาหรือการเมืองแบบนอกคอก

คำนี้ภายหลังใช้กับหลายขบวนการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งลัทธิสาธารณรัฐนิยมระหว่างการปฏิวัติฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ตามด้วยสังคมนิยม คอมมิวนิสต์และอนาธิปไตยในคริสต์ศตวรรษที่ 19 และ 20 นับแต่นั้น คำว่า "ฝ่ายซ้าย" ใช้กับขบวนการต่าง ๆ เช่น ขบวนการสิทธิพลเมือง ขบวนการนิยมสิทธิสตรี ขบวนการต่อต้านสงครามและขบวนการสิ่งแวดล้อม ตลอดจนพรรคการเมืองต่าง ๆ

อ้างอิง

[แก้]
  1. Lukes, Steven. 'Epilogue: The Grand Dichotomy of the Twentieth Century': concluding chapter to T. Ball and R. Bellamy (eds.), The Cambridge History of Twentieth-Century Political Thought.
  2. Realms of memory: conflicts and divisions (1996), ed. Pierre Nora, "Right and Left" by Marcel Gauchet, p. 248